Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การส่งเสริมสุขภาพมารดาทารกหลังคลอด - Coggle Diagram
การส่งเสริมสุขภาพมารดาทารกหลังคลอด
การตรวจสอบสัญญาณชีพ
ใน 24 ชั่วโมงแรกหลังคลอด เมื่อรับย้ายจาก LR ควรประเมินสัญญาณชีพ ทั้ง BT, PR และ BP ทุก 4ชั่วโมง
ยกเว้น ในรายที่มีภาวะความดันโลหิตสูงร่วมกับการตั้งครรภ์หรือมีการประเมิน V/Sบ่อยขึ้น
ถ้าพบว่ามีไข้ต่ำๆ ควรกระตุ้นให้มารดาหลังคลอดดื่มน้ำและพักผ่อนให้เพียงพอ และประเมิน BT อย่างน้อยวันละครั้ง
ควรสอนการวัดอุณหภูมิร่างกายแก่มารดาและบุตรเมื่อต้องกลับไปอยู่บ้าน
การประเมินการหดตัวของมดลูกและการกลับสู่สภาพปกติของมดลูก
ประเมินการหดรัดตัวของมดลูก ทันทีที่รับย้ายจาก LR ควรประเมินการหดรัดตัวของมดลูกทุก 1 ชั่วโมง อย่างน้อย 2 ครั้ง เมื่อมดลูกหดรัดตัวดีแล้วประเมินทุก 8ชั่วโมงในวันแรกหลังคลอด
ควรประเมิน Bladder full ร่วมด้วย ถ้ามดลูกยังหดรัดตัวไม่ดี อาจให้ยากระตุ้นการหดรัดตัวของมดลูกตามแผนการรักษา เช่น metherginและ syntocinon
การประเมินการกลับสู่สภาพปกติของมดลูก ควรทาภายหลังมารดาคลอดทางช่องคลอดครบ 24ชั่วโมงประเมินโดยการวัดความสูงของมดลูกทุกวัน (ควรลดลงวันละ 0.5-1 นิ้วฟุต หรือ 1 FB)
การบรรเทาอาการปวด
อธิบายให้ทราบว่าอาการปวดมดลูกเป็นอาการปกติที่เกิดขึ้นได้ใน 1-2วันแรกหลังคลอด โดยเฉพาะมารดาครรภ์หลังที่มีอาการปวดมากกว่าครรภ์แรก
ดูแลกระเพาะปัสสาวะให้ว่าง กระตุ้นปัสสาวะทุก 3 –4ชั่วโมง
แนะนาให้นอนคว่าโดยใช้หมอนรองใต้ท้องน้อยทาให้มดลูกถูกกด เป็นการกระตุ้นให้มดลูก หดรัดตัว และน้าคาวปลาไหลออกได้สะดวก
รับประทานยาแก้ปวดก่อน BF อย่างน้อย 30นาที หากมีอาการปวดมดลูกมาก
ส่งปรึกษาแพทย์หากมีอาการปวดมดลูกมากกว่าปกติ และนานมากกว่า 72ชั่วโมง เนื่องจากอาจมีเศษรก และก้อนเลือดค้างในโพรงมดลูก
ห้ามประคบความร้อนบริเวณหน้าท้องในวันแรก เพราะมดลูกจะคลายตัวและทาให้เกิด PPH ตามมา
ส่งเสริมการนอนหลับพักผ่อน
การพักผ่อนอย่างเพียงพอช่วยให้ร่างการฟื้นฟูสู่สภาพปกติได้เร็วขึ้น มีผลต่อการสร้างและหลั่งน้านมดีขึ้น และสุขภาพจิตมารดา พยาบาลผดุงครรภ์ควรส่งเสริมให้มารดาได้รับการพักผ่อนอย่างเพียงพอ ดังนี้
จัดสิ่งแวดล้อมให้เงียบ สงบ และส่งเสริมการพักผ่อน
ปรับกิจกรรมการพยาบาลอย่างเป็นระบบ รบกวนมารดาน้อยที่สุด เพื่อให้พักผ่อนอย่างเต็มที่
ให้คำแนะนำมารดาในการใช้เทคนิคการผ่อนคลาย
หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน และอาหารที่ทำให้ท้องอืด
แนะนาให้มารดาหลังคลอดปรับเปลี่ยนเวลานอน เช่น ให้นอนหลับพักผ่อนพร้อมบุตรหรือหาบุคคลอื่นช่วยดูแลบุตรเมื่อรู้สึกอ่อนเพลีย
การทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์และการเปลี่ยนผ้าอนามัย
การทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์และการเปลี่ยนผ้าอนามัย มารดาหลังคลอดที่ช่วยเหลือตัวเองได้ดี ควรให้คำแนะนำ ดังนี้
ล้างมือให้สะอาดก่อนและหลังทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์
ทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอกด้วยสบู่และน้าสะอาดโดยล้างจากด้านหน้าไปด้านหลังเพื่อป้องกันการปนเปื้อนจากทวารหนัก และซับให้แห้งหลังขับถ่าย
เปลี่ยนผ้าอนามัยเมื่อรู้สึกเปียกชุ่มหรือทุกครั้งหลังขับถ่าย และล้างมือก่อนและหลังจับผ้าอนามัยทุกครั้ง
วิธีจับผ้าอนามัย ควรจับกับด้านที่ไม่สัมผัสกับอวัยวะสืบพันธุ์ ใส่และถอดผ้าอนามัยจากด้านหน้าไปด้านหลัง โดยใส่ให้กระชับไม่เลื่อนไปมา เพราะอาจนาเชื้อโรคจาก ทวารหนักมายังช่องคลอดได้
สังเกตความผิดปกติของน้าคาวปลาขณะขับถ่ายและเปลี่ยนผ้าอนามัย
การดูแลแผลฝีเย็บและน้ำคาวปลา
การประเมินแผลฝีเย็บและน้าคาวปลา ควรประเมินอย่างน้อย 2 ครั้งต่อวัน โดยใช้หลักการREEDA
อาการแดง
อาการบวม
อาการห้อเลือด
สิ่งคัดหลั่งที่ไหลออกจากแผล
ลักษณะการชิดกันของขอบแผล
การบรรเทาความไม่สุขสบายจากการปวดแผลฝีเย็บ
ice pack (การวางถุงน้าแข็ง) ใน 24 ชั่วโมงแรกหลังคลอด ถ้ามารดาปวดแผลฝีเย็บและมีอาการบวมจากเลือดคั่ง ให้ประคบด้วย ice pack 15-20นาที พักประมาณ 10นาทีและทำซ้า เพื่อลดอาการบวมและความเจ็บปวด
sitzbath (การนั่งแช่ก้น) ใช้บรรเทาความปวดริดสีดวงทวาร ควรทาหลังคลอด 24ชั่วโมง มี 2วิธี คือ
hot sitzbath (การนั่งแช่ก้นในน้าอุ่น)
cool sitzbath (การนั่งแช่ก้นในน้าเย็น)
การอบแผลฝีเย็บด้วย intra red light ช่วยลดอาการบวมของแผลฝีเย็บ กระตุ้นการไหลเวียนของโลหิต ช่วยให้แผลแห้งและหายไว ทาให้รู้สึกสุขสบาย วิธีปฏิบัติ วางหลอดไฟให้ห่างจากฝีเย็บประมาณ 1-1 ½ ฟุต อบไฟนาน 3-5นาทีก่อนอบควรชำระอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอกให้แห้ง
การใช้ยาแก้ปวด มารดาหลังคลอดที่มีอาการปวดแผลฝีเย็บมาก อาจให้ยาแก้ปวดรับประทานหรือใช้ anesthetic spray หรือ ointment ทำบริเวณแผลเพื่อลดอาการปวดตามแผนการรักษา
การมีเพศสัมพันธ์หลังคลอด
ควรงดการมีเพศสัมพันธ์ ประมาณ 4 -6 สัปดาห์หลังคลอด คือ จนกระทั่งมารดาตรวจร่างกายแล้ว
การมีเพศสัมพันธ์อาจจำเป็นต้องใช้น้ามันหล่อลื่น และเลือกใช้ท่าที่เหมาะสม สามารถควบคุมได้ เนื่องจากหลังคลอดช่องคลอดจะค่อนข้างแห้ง
3.มารดาสามารถให้นมบุตรก่อนมีเพศสัมพันธ์ เนื่องจากฮอร์โมนออกซิโทซินจะส่งผลให้มีการหลั่งของน้ำนมได้
การขับถ่ายปัสสาวะและอุจจาระ
ขับถ่ายปัสสาวะ
เบื้องต้นช่วยเหลือในการราดน้าอุ่นบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์ หรือเปิดน้ำ
ถ้า 4-8 ชั่วโมงหลังคลอด ยังไม่สามารถปัสสาวะได้เอง และกระเพาะปัสสาวะเต็มหรือถ่ายปัสสาวะเองไม่หมด ต้องสวนปัสสาวะทิ้ง (singer catheter) ถ้าปัสสาวะไม่ออกเกิน8 ชั่วโมง ต้องสวนปัสสาวะและติดตามความสามารถในการขับถ่ายปัสสาวะ
ถ้ามีปริมาณน้าปัสสาวะค้างมากกว่า 100-150ml. อาจพิจารณาคาสายสวนปัสสาวะคาไว้ 12 –24 ชั่วโมง เพื่อช่วยให้แรงตึงตัวของกล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะทางานปกติ
ขับถ่ายอุจจาระ
แนะนำให้รับประทานผัก ผลไม้ ดื่มน้ำให้เพียงพอ และขับถ่ายเป็นเวลา
กระตุ้นให้เกิด early ambulation และบริหารร่างกายสม่ำเสมอ
หากมีอาการท้องผูก 3-4 วัน และมารดารู้สึกท้องอืด ให้ยาระบายอ่อนๆ หรือสวนอุจจาระ
ดูแลบรรเทาอาการริดสีดวงทวารในช่วง 2 –3 วันแรก โดยทา hot sitzbath นอนในท่า sim’s position เพื่อช่วยการไหลเวียนของหลอดเลือดดาบริเวณทวารหนักดีขึ้น
ดูแลให้ยาเหน็บทางทวารหนัก หรือให้ยาที่ทำให้อุจจาระอ่อนตัวตามแผนการรักษา
การส่งเสริมการรับประทานอาหาร
มารดาสูญเสียน้า พลังงานในระยะคลอด ควรส่งเสริมให้มารดารับประทานอาหารให้ครบ 5หมู่ เพิ่มโปรตีน เกลือแร่ และวิตามิน เพื่อช่วยให้ร่างกายแข็งแรงขึ้น ฟื้นฟูสู่สภาวะปกติอย่างรวดเร็ว
ควรดื่มน้ำอย่างน้อง 6-8แก้วต่อวัน
ควรได้รับ calcium อย่างน้อย 1200 mg/day เพื่อทดแทนการสูญเสีย calcium ในช่วง 6 เดือนแรก
ควรได้รับ ธาตุเหล็กนาน 4 –6 สัปดาห์หลังคลอด เนื่องจากการดูดซึมธาตุเหล็กน้อยลง
อาหารที่ควรงดและหลีกเลี่ยง ได้แก่ ชา กาแฟ ของหมักดอง อาหารรสจัด เครื่องดื่ม อาหารที่มีแอลกอฮอล์ผสม รวมทั งควรงดอาหารสุกๆ ดิบๆ อาหารที่รับประทานแล้วมีอาการ ปวดท้อง ท้องอืด ท้องเสีย เป็นผื่น เป็นต้น
งดการดื่มน้าไพล เนื่องจากไพลมีคุณสมบัติท้าให้มดลูกคลายตัวอาจะท้าให้เกิด PPH ได้
สำหรับมารดาที่รับประทานมังสวิรัติอาจได้รับวิตามิน B 12 ไม่เพียงพอ ดังนั้นอาจจำเป็นให้วิตามิน B12 ในมารดาที่ทานมังสวิรัติ
การควบคุมน้ำหนักในมารดาหลังคลอด
มารดาหลังคลอดไม่ควรลดน้าหนักก่อน 6 สัปดาห์ และไม่ควรลดน้าหนักมากกว่า 2 กก./เดือน เพื่อให้ร่างการฟื้นฟูจากการคลอดและมีการสร้างน้านมอย่างเพียงพอ
การลดน้าหนักประมาณ 0.5-1 กก./เดือน จะไม่ส่งผลต่อการสร้างน้ำนมลดลง
แต่ในขณะควบคุมน้าหนักควรรับประทานอาหารให้ครบถ้วน ไม่ควรงดอาหารมื อใดมื อหนึ่ง เพราะร่างกายอาจได้รับสารอาหารไม่เพียงพอต่อความต้องการ
การบริหารร่างกายของมารดาหลังคลอด
มารดาหลังคลอดปกติ ควรเริ่มบริหารร่างกายภายใน 24 ชม.แรกสาหรับมารดา C/Sอาจเริ่มช้ากว่านี้
ควรบริหารวันละ 20-30 นาที จนครบ 6 สัปดาห์หลังคลอด
มารดาควรปัสสาวะและให้นมบุตรอิ่มก่อนเริ่มบริหาร
กรณีรู้สึกเหนื่อยมาก ปวดแผลมาก น้าคาวปลาไหลมาก หรือ หน้ามืดให้หยุดพัก และลดระยะเวลา ความแรงในการบริหารร่างกายในครั้งถัดไป
มารดาที่มีภาวะ diastasis recti abdominis
ให้มารดานอนหงาย ชันเข่าขึ้นประมาณ 45 องศา วางมือไขว้ให้ข้อมือทั้งสองข้างอยู่ตรงกับบริเวณส่วนกลางของหน้าท้อง ค่อยๆสูดลมหายใจเข้าพร้อมทั้งยกศีรษะขึ้นช้าๆ จนคางจรดหน้าอก และใช้มือทั้งสองพยุงกล้ามเนื้อ rectus เข้าหากัน แล้วค่อยๆ ผ่อนลมหายใจออกวางศีรษะลง และผ่อนคลายมือที่พยุงกล้ามเนื้อหน้าท้อง ทำซ้าอย่างน้อย 12 ครั้งต่อวัน จนกระทั้งตรวจสอบการแยกของกล้ามเนื้อ rectusขณะหดตัวได้เพียง 1 ถึง 2 FB
การกระตุ้น ให้มี early ambulation
ประเมินความพร้อม ของร่างกายและให้การดูแลอย่างใกล้ชิดเพราะมารดาอาจมีอาการหน้ามืด เวียนศีรษะและเป็นลมได้
ส่งเสริมให้มารดาหลังคลอดเริ่มปฏิบัติกิจวัตรประจำวันเบาๆ ในระยะแรกหลังคลอด
มารดาที่ต้องนอนบนเตียงนานเกิน 8 ชั่วโมง แนะนาให้บริหารเท้าและขา กระดกปลายเท้าขึ้นลงสลับกัน หมุนข้อเท้าเป็นวงกลม งอขาและเหยียดขาสลับกัน
หลีกเลี่ยงการยกของหนัก การทางานหนัก เพราะจะทาให้ความดันช่องท้องสูงขึ้น กล้ามเนื้อและเอ็นที่ยึดมดลูกยังไม่แข็งแรง อาจทาให้มดลูกเคลื่อนต่ำ
ควรเริ่มทางานบ้านเบาๆ ได้ภายหลัง 2สัปดาห์หลังคลอด ส่วนงานหนักควรเริ่มทาภายหลัง 6สัปดาห์หลังคลอด