Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ความผิดปกติของระบบทางเดินอาหาร - Coggle Diagram
ความผิดปกติของระบบทางเดินอาหาร
ท้องผูก
ปัญหาของท้องผูก
ถ่ายอุจจาระลำบาก ต้องเบ่งและใช้เวลานาน อุจจาระมีลักษณะแข็งมาก หลังจากถ่ายเสร็จแล้วยังปวดท้องและมีความรู้สึกว่าถ่ายไม่หมด รวมถึงการถ่ายอุจจาระน้อยกว่า 3 ครั้งต่อสัปดาห์ ก็ถือว่ามีอาการท้องผูกเช่นกัน เนื่องจากกระบวนการย่อยอาหารตั้งแต่ต้นจนถึงการถ่ายอุจจาระ ใช้เวลาประมาณ 1–3 วัน ขึ้นอยู่กับชนิดของอาหาร การดื่มน้ำ ออกกำลังกาย และร่างกายของแต่ละคน ส่วนใหญ่ใช้เวลาประมาณ 1 วัน ถ้าไม่ถ่าย อุจจาระจะถูกเก็บไว้ในลำไส้ใหญ่ เมื่อสะสมมากขึ้น ทำให้อุจจาระแข็งและถ่ายด้วยความลำบาก
มิใช่ปัญหาที่พบเฉพาะในผู้สูงอายุเท่านั้น แต่เป็นปัญหาที่อยู่ในระดับกว้าง พบได้ในคนทุกเพศ ทุกวัย ส่วนใหญ่มักมีอาการที่ไม่รุนแรง ผู้ที่มีปัญหาท้องผูกมักจะดำเนินวิธีการแก้ไขในรูปแบบที่แตกต่างกันไป เช่น การหาอาหารหรือผลไม้บางชนิดมารับประทาน แล้วทำให้มีการถ่ายอุจจาระออกมา
ความหมาย
อาการท้องผูก หมายถึง อาการที่มีความยากลำบากในการถ่ายอุจจาระ ต้องใช้เวลาในการถ่ายมาก มีการเบ่งถ่ายอุจจาระ ลักษณะอุจจาระแข็งมาก ถ่ายแล้วแต่ยังมีความรู้สึกว่าถ่ายยังไม่หมด หรือถ่ายยังไม่สุด หรือยังปวดท้องอยากถ่าย หรือเบ่งอยู่ตลอดเวลา ถ้าพิจารณาจากความถี่ของการถ่ายอุจจาระจะถือว่า ถ้าถ่ายอุจจาระน้อยกว่า 3 ครั้งต่อสัปดาห์ เรียกว่า มีอาการท้องผูก
การทำงานของทางเดินอาหาร เริ่มตั้งแต่อาหารถูกรับประทานเข้าไปทางปาก มีการบดเคี้ยวด้วยฟันจนเป็นชิ้นเล็ก ๆ และลงไปคลุกเคล้ากับน้ำย่อย ในกระเพาะอาหารและลำไส้เล็ก อาหารจะมีขนาดเล็กลงเรื่อย ๆ และจะถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือด เพื่อนำไปใช้ในการดำรงชีวิตต่อไป อาหารบางส่วนที่ร่างกายไม่สามารถจะดูดซึมไปใช้ได้ เรียกว่า กากอาหาร จะค่อย ๆ เคลื่อนตัวลงมาตามลำไส้เล็กเข้าสู่ลำไส้ใหญ่ตอนต้น ในขณะนั้นกากอาหารส่วนใหญ ่จะอยู่ในสภาพค่อนข้างเหลว เพราะมีน้ำเป็นส่วนประกอบอยู่ด้วยมากพอควร ขณะที่กากอาหารส่วนนี้ผ่านจากลำไส้ใหญ่ส่วนต้น สู่ส่วนสุดท้ายก่อนจะถึงทวาร ลำไส้ก็จะดูดน้ำออกจากกากอาหารไปเรื่อย ๆ จนทำให้กากอาหารข้นเข้าทุกที จนจับกันเป็นก้อน เมื่อกากอาหารมารวมกันมากขึ้น จะทำให้ลำไส้ใหญ่ส่วนปลายมีแรงบีบตัว ทำให้เรารู้สึกปวดอยากจะถ่าย และเกิดการขับถ่ายอุจจาระออกมานั่นเอง
ขบวนการย่อยอาหารจากต้นจนจบถึงขั้นสุดท้าย คือการถ่ายอุจจาระ จะกินเวลาประมาณ 1–3 วัน ซึ่งอัตราความเร็วนี้ ขึ้นอยู่กับลักษณะการเคลื่อนไหวของทางเดินอาหารของแต่ละคน ชนิดของอาหาร และปริมาณของกากอาหารที่เหลือค้างในลำไส้ คนส่วนใหญ่จะใช้เวลาประมาณ 1 วัน อุจจาระจะมาถึงลำไส้ใหญ่ส่วนล่าง แต่ถ้าไม่มีการขับถ่ายออกมาตามเวลาปกติ อุจจาระที่ถูกเก็บในลำไส้ใหญ่ จะถูกดูดน้ำออกไปเรื่อย ๆ จนแห้งและแข็งมากขึ้นทุกที ทำให้อุจจาระออกด้วยความลำบาก นั่นคือเกิดอาการท้องผูก
อาการ
อุจจาระแข็ง หรือจับเป็นก้อน
ขับถ่ายยาก หรือขับถ่ายเองไม่ได้ ต้องให้ช่วยบ่อยๆ เป็นเวลากว่า 6 เดือน
ขับถ่ายอุจจาระน้อยกว่า 3 ครั้งใน 1 สัปดาห์
สาเหตุ
ทำไมผู้สูงอายุจึงท้องผูก
รับประทานอาหารที่มีเส้นใยน้อย ดื่มน้ำน้อย หรือความอยากอาหารลดน้อยลง อาหารที่มีเส้นใยจะเพิ่มกากอาหาร หรือปริมาณเนื้ออุจจาระ และอุ้มน้ำทำให้อุจจาระอ่อน
สุขนิสัยส่วนตัว เช่น ถ่ายอุจจาระไม่เป็นเวลา หรือการกลั้นอุจจาระบ่อยๆ
ระบบการย่อยของทางเดินอาหารเสื่อมลง เช่น การบดเคี้ยวไม่ดีเนื่องจากฟันผุ ไม่มีฟันที่จะบดเคี้ยวอาหารที่มีเส้นใย ประกอบกับการเคลื่อนไหวบีบตัวของลำไส้ลดลง
ไม่ได้เคลื่อนไหวหรือไม่มีการออกกำลังกาย หรือผู้ป่วยที่นอนติดเตียง การเคลื่อนไหวร่างกายและการออกกำลังกายจะกระตุ้นกระบวนการเผาผลาญอาหารและช่วยให้ลำไส้มีการเคลื่อนไหวบีบตัวให้มีการขับถ่ายดีขึ้น
การรับประทานยาระบายเป็นประจำ ทำให้ลำไส้ใหญ่ถูกกระตุ้นจากยาอยู่เสมอจนลำไส้ไม่สามารถทำงานตามกลไกปกติได้
ความเครียดส่งผลให้ร่างกายรู้สึกเบื่ออาหาร และรับประทานอาหารได้น้อย มีผลกระทบต่อระบบการขับถ่าย ร่างกายจะระงับการขับถ่ายชั่วคราวได้
ยารักษาโรคบางชนิด อาจจะทำให้เกิดอาการท้องผูก เช่น ยาแก้ปวดบางชนิด เช่น มอร์ฟีน
สาเหตุอื่นๆ เช่น ดื่มเครื่องดื่มประเภทชา กาแฟมากเกินไป ได้รับยาแก้ปวด หรือยาบางอย่าง หรืออาจมีโรคที่ทำให้ท้องผูกได้ เช่น โรคทางระบบประสาท มะเร็งลำไส้ใหญ่ ฯลฯ
อายุที่เพิ่มขึ้นทำให้มีการเปลี่ยนแปลงการทำงานของกระเพาะอาหารในการหลั่งกรดที่ช่วยในการย่อยอาหารลดลง ลำไส้เล็กบีบตัวเคลื่อนไหวลดลง และลำไส้ใหญ่มีการบีบตัวเคลื่อนไหวช้ากว่าปกติ จึงส่งผลให้มีอุจจาระคั่งค้างในลำไส้ใหญ่มากขึ้น นอกจากนี้การรับรสและการดมกลิ่นในผู้สูงอายุลดลง ส่งผลให้ผู้สูงอายุรับประทานอาหารน้อยลงและยังส่งผลต่อการขับถ่ายอุจจาระ รวมทั้งมีความตึงตัวของกล้ามเนื้อหน้าท้องลดลงและกล้ามเนื้อในอุ้งเชิงกรานหย่อน/ทำงานลดลงในผู้สูงอายุ ทำให้ผู้สูงอายุไม่มีแรงเบ่งอุจจาระตามธรรมชาติจึงทำให้เกิดท้องผูกตามมา
เพศ: มีความสัมพันธ์กับภาวะท้องผูกในผู้สูงอายุ จากการศึกษาทั้งต่างประเทศและในประเทศไทยพบว่า ผู้สูงอายุเพศหญิงมีปัญหาท้องผูกมากกว่าผู้สูงอายุเพศชาย
การกลั้นอุจจาระ: การกลั้นอุจจาระบ่อยๆ การไม่ถ่ายอุจจาระให้เป็นเวลา ทำให้มีอุจจาระค้างอยู่ในลำไส้ใหญ่เป็นเวลานาน
ภาวะแทรกซ้อน
อาการท้องผูกโดยทั่วไปไม่ค่อยก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรง ผู้ป่วยอาจมีอาการเจ็บในขณะขับถ่าย แต่หากเกิดอาการท้องผูกบ่อยมากขึ้นอาจส่งผลให้อุจจาระตกค้างอยู่ภายในลำไส้จนแห้งและแข็ง ทำให้ถ่ายออกได้ลำบากหรือไปเสียดกับผนังลำไส้และทวารหนักขณะถ่าย จึงอาจทำให้ถ่ายเป็นเลือด ในบางรายอาจพัฒนาเป็นแผลแตกรอบ ๆ ทวารหนักหรือโรคริดสีดวงทวารขึ้นได้ เนื่องจากต้องใช้แรงเบ่งในการขับอุจจาระ
แนวทางในการดูแลรักษา
อาการท้องผูกสามารถรักษาได้หลายวิธี โดยต้องดูสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการท้องผูกขึ้นเป็นหลัก
การปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิตและรับประทานอาหาร
เป็นการรักษาอาการท้องผูกที่มีอาการไม่รุนแรงและช่วยบรรเทาอาการให้ดีขึ้นโดยไม่ต้องรับประทานยา ซึ่งแพทย์อาจมีคำแนะนำให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมบางส่วน เช่น
ออกกำลังกายด้วยการเดินเป็นระยะเวลา 10-15 นาที วันละหลาย ๆ ครั้ง เพื่อฝึกกล้ามเนื้อให้ทำงานได้เป็นปกติ
ปรับพฤติกรรมการขับถ่ายให้เป็นเวลาในแต่ละวัน ไม่ควรมีการอั้นอุจจาระหรือรีบร้อนในการขับถ่าย
ดื่มน้ำอย่างน้อย 2 ลิตร เพื่อหลีกเลี่ยงภาวะการขาดน้ำ และไม่ทำให้อุจจาระแข็งจนเกินไป
ไม่ควรใช้ยาระบายติดต่อกันเกิน 1 สัปดาห์ และควรมีการปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนการใช้ยาทุกครั้ง
รับประทานอาหารที่มีกากใยสูงอย่างน้อย 18-30 กรัมต่อวัน โดยเฉพาะผักและผลไม้สด ธัญพืช หรือเติมสารเพิ่มปริมาณ (Bulking Agents) ในอาหารที่รับประทาน เช่น รำข้าวสาลี เพื่อช่วยให้อุจจาระมีความอ่อนตัวมากขึ้นและง่ายต่อการขับถ่าย
การรักษาด้วยการใช้ยา
เมื่อการปรับพฤติกรรมในข้างต้นยังไม่ช่วยให้อาการท้องผูกดีขึ้น การรับประทานยาจะช่วยให้การขับถ่ายอุจจาระทำได้ง่ายขึ้น โดยตัวยาสามารถแบ่งออกได้หลายชนิด และแต่ละชนิดออกฤทธิ์ต่อระบบทางเดินอาหารที่แตกต่างกัน
ยาระบายกลุ่มออสโมซิส (Osmotic Laxatives) จะออกฤทธิ์ดูดซึมน้ำกลับเข้าสู่ลำไส้ใหญ่มากขึ้น ทำให้อุจจาระไม่แห้งและแข็งจนถ่ายออกลำบาก เช่น ยาแมกนิเซียม ไฮดรอกไซด์ (Magnesium Hydroxide) ยาแลคตูโลส (Lactulose) ยาแมกนีเซียม ซิเตรท (Magnesium Citrate) ยาโพลีเอทิลีน ไกลคอล ( Polyethylene Glycol: PEG)
ยาช่วยหล่อลื่นอุจจาระ (Lubricant) เป็นยาที่ช่วยเพิ่มความลื่นให้กับลำไส้ อุจจาระจึงเคลื่อนตัวได้ง่ายขึ้น เช่น มิเนอรอล ออยด์ (Mineral Oils)
ยาระบายกลุ่มกระตุ้น (Stimulants) จะช่วยกระตุ้นจังหวะการบีบตัวของลำไส้ให้ทำงานดีขึ้น เช่น ยาดัลโคแลค (Dulcolax) ยาบิซาโคดิล (Bisacodyl) ยาเซนโนไซด์ (Sennosides)
ยาที่ช่วยให้อุจจาระอ่อนตัว (Stool Softeners) มีฤทธิ์ช่วยให้อุจจาระนิ่มจนง่ายต่อการเคลื่อนตัวผ่านลำไส้ เช่น ยาในกลุ่มด๊อกคิวเซท (Docusate Sodium/Docusate Calcium)
ยาระบายกลุ่มเส้นใยหรือไฟเบอร์ (Fiber Supplements) จะช่วยเพิ่มปริมาตรในอุจจาระให้มีมากขึ้นและบางตัวมีสารที่มีคุณสมบัติในการดูดน้ำได้ดี อุจจาระจึงนิ่มและถ่ายออกได้ง่าย เช่น ยาไซเลียม (Psyllium) ยาพอลิคาร์บอฟิล (Calcium Polycarbophil) ยาเมทิล เซลลูโลส (Methylcellulose Fiber)
ยาเหน็บและการสวนอุจจาระ (Suppositories/Enemas) ยาเหน็บช่วยทำให้อุจจาระอ่อนนุ่มลงและเพิ่มการเคลื่อนไหวของลำไส้ในการขับอุจจาระมากขึ้น เช่น โซเดียม ฟอสเฟต (Sodium Phosphate) แต่ในกรณีที่อุจจาระแข็งมากอาจแนะนำให้มีการสวนอุจจาระที่อุดตันออกก่อน อาจเป็นการสวนด้วยน้ำเปล่า น้ำสบู่ หรือชุดสวนอุจจาระสำเร็จรูปที่มีส่วนผสมของยาบิซาโคดิล (Bisacodyl) หรือกลีเซอรีน (Glycerin) จากนั้นจึงค่อยรักษาด้วยยาในกลุ่มรับประทานยาต่อ
การรักษาด้วยซินไบโอติก (Synbiotic)
จากงานวิจัยที่ศึกษาประสิทธิภาพของซินไบโอติกชนิดหนึ่งเปรียบเทียบกับยาหลอกในผู้ป่วยที่มีอาการท้องผูก 100 คน โดยให้ผู้ป่วยรับประทานซินไบโอติกหรือยาหลอกเป็นระยะเวลา 3 เดือน ผลพบว่ากลุ่มผู้ป่วยที่รับประทานซินไบโอติกมีอุจจาระอ่อนนุ่มลง และอุจจาระถูกขับออกมาจากลำไส้ได้เร็วกว่ากลุ่มที่ได้รับยาหลอก การรับประทานซินไบโอติกจึงอาจช่วยบรรเทาอาการท้องผูกได้
อย่างไรก็ตาม มีเพียงซินไบโอติกบางชนิดเท่านั้นที่ช่วยในการรักษาท้องผูกโดยตรง โดยในปัจจุบันซินไบโอติกถูกพัฒนามาอยู่ในรูปแบบที่หาซื้อและรับประทานได้ง่าย อีกทั้งยังไม่พบผลข้างเคียงที่รุนแรงหลังจากการบริโภค จึงอาจใช้เป็นหนึ่งในการรักษาทางเลือกเพื่อส่งเสริมสุขภาพลำไส้ แต่สำหรับผู้ที่ต้องการใช้ซินไบโอติกในการรักษาโรค ควรปรึกษาแพทย์ผู้ดูแลเกี่ยวกับความปลอดภัยและปริมาณที่เหมาะสม โดยเฉพาะผู้ที่มีโรคประจำตัวหรือสตรีมีครรภ์
การฝึกบริหารกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน หรือที่เรียกว่า ไบโอฟีดแบ็ก (Biofeedback Training)
เป็นการฝึกควบคุมการทำงานและผ่อนคลายกล้ามเนื้อบริเวณอุ้งเชิงกราน โดยจะมีการสอดอุปกรณ์เข้าไปทางทวารหนัก จากนั้นนักกายภาพบำบัดจะบอกให้ผู้ป่วยลองขมิบหรือคลายกล้ามเนื้อ ซึ่งเครื่องมือที่ถูกสอดเข้าไปจะบันทึกและประเมินการทำงานของกล้ามเนื้อที่ช่วยในการขับถ่ายอุจจาระ
การผ่าตัด
มักใช้ในกรณีที่การรักษาอื่น ๆ ในข้างต้นไม่ได้ผลดีและอาการท้องผูกรุนแรง ซึ่งอาจมีสาเหตุมาจากการลำไส้เกิดการอุดตัน ตีบแคบ หรือหย่อนออกมา โดยแพทย์อาจจะมีการผ่าตัดลำไส้ใหญ่ในบางช่วงออก
การป้องกันอาการท้องผูก
การรับประทานอาหารควรเลือกอาหารประเภทที่มีกากใยมากขึ้น (ประมาณ 30 กรัมต่อวัน) โดยเฉพาะผักและผลไม้ โดยค่อย ๆ เพิ่มปริมาณการรับประทานขึ้นทีละน้อย เพื่อป้องกันไม่ให้ท้องอืด และในบางรายอาจเกิดปัญหาท้องผูกจากการรับประทานผลิตภัณฑ์จากนม จึงควรหลีกเลี่ยงหรือรับประทานในปริมาณน้อย
นอกจากนี้ ควรมีการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอประมาณ 30 นาทีต่อวัน หรือพยายามเคลื่อนไหวร่างกายในชีวิตประจำวันบ่อย ๆ จะเป็นการช่วยบริหารกล้ามเนื้อให้ทำงานได้ดีมากยิ่งขึ้น รวมไปถึงปรับพฤติกรรมการขับถ่ายให้ตรงเวลา ไม่อั้นอุจจาระเมื่อเกิดอาการปวดโดยไม่จำเป็น และหากพบอาการผิดปกติควรไปพบแพทย์ ซึ่งจะป้องกันไม่ให้อาการท้องผูกกลายเป็นอาการเรื้อรังหรือรุนแรงมากขึ้น
อาการท้องผูกป้องกันได้โดยดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพอในแต่ละวัน เพื่อให้ร่างกายได้รับน้ำเพียงพอและป้องกันการเกิดภาวะขาดน้ำ ยกเว้นในบางกรณีที่การดื่มน้ำมีผลต่อสภาวะของร่างกายหรือโรคที่เป็นในขณะนั้น รวมไปถึงการหลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มคาเฟอีน แอลกอฮอล์ และน้ำอัดลมมากเกินไป เพราะจะยิ่งทำให้ร่างกายขาดน้ำมากขึ้น
สมุนไพรแก้ท้องผูก
มะขามแขก
แต่หากมีอาการจุกเสียดให้กินร่วมกับยาขับถ่ายอย่างขิงแก่ กระวาน หรือกานพลู สมุนไพรเหล่านี้จะแก้อาการจุกเสียดแน่นเฟ้อได้ โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่มีอาการท้องผูกเป็นประจำ อีกทั้งไม่ควรแก้ท้องผูกด้วยมะขามแขกติดต่อกันเป็นเวลานาน เพราะอาจทำให้ร่างกายขาดธาตุโพแทสเซียม และร่างกายอาจเคยชินกับการใช้ตัวช่วยจนทำให้ระบบประสาทที่ควบคุมการบีบตัวของลำไส้เสื่อมลง
ตามสรรพคุณแล้วมะขามแขกมีฤทธิ์เป็นยาระบาย เพียงนำใบมะขามแขกแห้งสัก 1-2 หยิบมือ หรือจะใช้ฝักมะขามแขก 4-5 ฝักมาหักเป็นชิ้นเล็ก ๆ แล้วต้มกับน้ำ 1 ถ้วยตวง นาน 15 นาที แล้วกรองเอาไว้ดื่มก่อนนอน แค่นี้ก็ช่วยให้ระบบขับถ่ายคล่องตัวมากขึ้น
เม็ดแมงลัก
เม็ดแมงลักมีเมือกหล่อลื่นในตัวเอง จึงช่วยให้อุจจาระอ่อนตัวลง ขับถ่ายได้ง่ายขึ้น โดยวิธีแก้ท้องผูกก็เพียงนำเม็ดแมงลัก 2 ช้อนชามาแช่น้ำเปล่า 1 แก้ว (250 ซี.ซี.) รอจนเม็ดแมงลักพองตัวเต็มที่แล้วก็ผสมน้ำดื่มหรือจะตักกินเล่นเลยก็แล้วแต่ชอบ
อย่างไรก็ตาม ควรรอให้เม็ดแมงลักพองตัวเต็มที่แล้วเท่านั้นจึงทานได้ เพราะหากเม็ดแมงลักยังพองตัวไม่เต็มที่ เจ้าสมุนไพรชนิดนี้อาจเข้าไปดูดน้ำจากลำไส้และกระเพาะของเรา ทำให้อุจจาระยิ่งแข็งและอุดตันจนเกิดอาการท้องผูกได้
ใบมะรุม
สมุนไพรไทยอย่างมะรุมก็เด็ดไม่เบา โดยเฉพาะสรรพคุณแก้ท้องผูก เนื่องจากใบมะรุมมีใยอาหารสูงมาก อีกทั้งยังพกคุณค่าทางสารอาหารอื่น ๆ มาเพียบ มะรุมจึงเป็นทั้งยาระบายจากธรรมชาติ และช่วยบำรุงระบบย่อยอาหารได้ในคราวเดียวกัน
โดยวิธีแก้ท้องผูกด้วยใบมะรุมก็แค่นำใบมะรุมไปประกอบอาหาร หรือเด็ดใบอ่อนมาต้มกับน้ำพอท่วม กรองเอาแต่น้ำมาดื่มก่อนนอนก็ได้
ขี้เหล็ก
สมุนไพรตัวนี้มีฤทธิ์กระตุ้นการบีบตัวของลำไส้ใหญ่ ช่วยให้การขับถ่ายดีขึ้น ดีต่อคนที่มีอาการท้องผูกเป็นประจำ โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่เบื่ออาหาร รับประทานอะไรไม่ค่อยได้ ให้นำใบอ่อนหรือดอกตูมของขี้เหล็กมาประกอบอาหารรับประทาน หรือจะนำใบขี้เหล็กมาต้มกับน้ำพอท่วม เคี้ยวเอาแต่น้ำมาดื่มก่อนนอนก็ได้เช่นกัน
ชุมเห็ดเทศ
เป็นอีกหนึ่งสมุนไพรที่มีฤทธิ์เป็นยาระบายชั้นเลิศที่น่าลอง โดยใช้ดอกสดมาต้มจิ้มกินกับน้ำพริก หรือนำใบสดไปหั่นแล้วตากแห้ง จากนั้นนำไปต้มเป็นน้ำชาไว้ดื่ม
ส้มแขก
ส้มแขกมีสรรพคุณเป็นยาระบายอ่อน ๆ มีฤทธิ์ขับปัสสาวะ โดยเราจะนำส่วนใบสดของส้มแขกมาต้มกับน้ำ หรือหากเป็นใบอ่อนจะนำมาจิ้มน้ำพริกกินสด ๆ ก็อร่อย และช่วยแก้ท้องผูกไปในตัว
จำปา
เปลือกรากของต้นจำปามีสรรพคุณเป็นยาถ่ายอ่อน ๆ ช่วยแก้อาการท้องผูก ทำให้ประจำเดือนมาปกติ แถมยังรักษาโรคปวดตามข้อได้ด้วย วิธีใช้ให้นำเปลือกรากจำปีไปตากแดดให้แห้ง จากนั้นนำมาต้มกับน้ำและดื่มเป็นยาระบาย
คูน
นำเนื้อในฝักแก่ของดอกคูนออกมาสักประมาณเท่าหัวแม่มือ (ราว ๆ 4 กรัม) ต้มกับน้ำ 1 ถ้วยตวง ใส่เกลือลงไปเล็กน้อย กรองแต่น้ำเอาไว้ดื่มก่อนนอนหรือก่อนอาหารเช้า เหมาะเป็นยาระบายสำหรับคนที่ท้องผูกเป็นประจำ อีกทั้งสตรีมีครรภ์ก็กินเป็นยาระบายได้
สมอไทย
สมอไทยเป็นสมุนไพรที่มีฤทธิ์เป็นยาระบายตัวเด็ด แถมยังช่วยขับลมในลำไส้ โดยใช้ผลอ่อน 5-6 ผลต้มกับน้ำ 1 ถ้วยตวง ใส่เกลือลงไปเล็กน้อย แล้วกรองเอาแต่น้ำมาดื่มวันละ 1 ครั้ง ภายใน 2 ชั่วโมงจะเห็นผล ได้ถ่ายจนโล่งสบายท้องแน่นอน
ผักกาดขาว
ใครจะรู้ว่ารากของผักกาดขาวมีฤทธิ์เป็นยาระบาย แก้หวัด แก้อาการผิวหนังอักเสบและผื่นแพ้ได้อีกต่างหาก โดยนำรากผักกาดขาว 1 กำมือล้างให้สะอาด แล้วนำไปต้มกับน้ำดื่ม กรองเอาแต่น้ำมาดื่มก่อนนอน เท่านี้ก็ปราบอาการท้องผูกได้อยู่หมัด
ท้องเสีย
ภาวะแทรกซ้อน
ผู้ป่วยท้องเสียส่วนใหญ่มักไม่มีภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงตามมา แต่คนบางกลุ่มอย่างหญิงตั้งครรภ์ ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยโรคเบาหวาน หรือผู้ที่มีภูมิคุ้มกันอ่อนแอ อาจเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนต่อไปนี้มากกว่าปกติ
ภาวะย่อยน้ำตาลแล็กโทสบกพร่อง
กลุ่มอาการเม็ดเลือดแดงแตกยูรีเมีย หากท้องเสียจากการติดเชื้อบางชนิด
โรคลำไส้แปรปรวน
การติดเชื้อลุกลามไปยังอวัยวะส่วนอื่น ๆ ในร่างกาย
ภาวะขาดน้ำและเกลือแร่
ร่างกายส่วนอื่นตอบสนองต่อการติดเชื้อในทางเดินอาหารจนเกิดการอักเสบตามไปด้วย
ปัญหาของท้องเสีย
นบางรายอาจมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น ปวดท้อง ท้องอืด คลื่นไส้ อ่อนเพลีย รู้สึกครั่นเนื้อครั่นตัว และมีไข้
ถึงแม้ท้องเสียมักจะเป็นอาการที่ไม่ร้ายแรง แต่อาจสร้างความทรมานให้แก่ผู้ป่วยและเป็นเรื้อรังจนก่อให้เกิดโรคอื่น ๆ ตามมาในภายหลัง
แนวทางในการดูแลรักษา
การรักษาภาวะขาดน้ำ
1.กินน้ำเกลือแร่โออาเอส ใช้ในผู้ป่วยที่มีภาวะขาดน้ำน้อย
ใส่แก้ว ค่อยๆจิบ หรือ ใช้ช้อนตักป้อน
ไม่ควรดื่มรวดเดียวจนหมดเพราะจะทำให้มีอาการอาเจียนเพิ่มขึ้นได้
น้ำเกลือแร่โออาเอส 1 ซอง ผสมน้ำสะอาดตามสัดส่วนที่ระบุไว้
2.ให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ ใช้ในกรณีที่มีภาวะขาดน้ำปานกลางจนถึงมากหรือมีภาวะช็อค และในกรณีที่ไม่สามารถกินน้ำเกลือแร่โออาเอสได้
การรักษาโดยใช้ยา
2.ยาลดปริมาณอุจจาระและหรือลดจำนวนครั้งของการถ่ายอุจจาระ
3.โปรไบโอติกส์ จำเป็นต้องเป็นชนิดที่เหมาะสมเพื่อการรักษาโดยเฉพาะ
1.ยาปฏิชีวนะหรือยาฆ่าเชื้อ ใช้เฉพาะในกรณีที่สงสัยติดเชื้อแบคทีเรียที่รุนแรง, มีการติดเชื้อในกระแสเลือด หรือในผู้ป่วยที่มีภาวะภูมิต้านทานต่ำ เด็กเล็ก มีโรคประจำตัว
4.ยารักษาตามอาการ เช่น ยาลดการอาเจียน ยาลดไข้ ยารักษาอาการท้องอืด ยาลดอาการปวดท้อง ยาทาก้นแดง แร่ธาตุสังกะสี
อาการ
แบบเรื้อรัง ผู้ป่วยจะถ่ายนานเกิน 7 วัน อาจเกิดจาก ภาวะดังนี้
ขาด Enzyme lactase เพื่อย่อย lactose
ความผิดปกติเกี่ยวกับการดูดซึมของลำไส้
โรคเรื้อรัง เช่น เบาหวาน คอพอกเป็นพิษ
เนื้องอก หรือ มะเร็งของลำไส้ หรือ ตับอ่อน
ติดเชื้อ เช่น บิดอะมีบา
อื่นๆ เช่น หลังการผ่าตัด
ภาวะเครียด
แบบเฉียบพลัน จะพบมากในคนส่วนใหญ่ เกิดขึ้นเร็ว แต่เป็นไม่นาน เช่น
สารพิษ จากเชื้อโรค เกิดจากการกินพิษของโรคที่ปนเปื้อนในอาหาร
สารเคมี เช่น ตะกั่ว สารหนู
จากการติดเชื้อ อาจเกิดจากไวรัส บิด อหิวา
พืชพิษ เช่น เห็ดพิษ กลอย เป็นต้น
สาเหตุ
โดยปกติลำไส้จะดูดซึมสารอาหารในรูปแบบของเหลวจากสิ่งที่รับประทานเข้าไปในร่างกายจนเหลือแต่กากใยทิ้งไว้ แต่เมื่อเกิดอาการท้องเสียขึ้น ทำให้ลำไส้ไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ สารอาหารเหล่านั้นจึงไม่ถูกดูดซึมและถูกขับออกมาจากร่างกาย
การถ่ายอุจจาระเหลวหรือถ่ายเป็นมูกเลือดนั้นเกิดได้จากหลายสาเหตุ แบ่งออกเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการท้องเสียแบบเฉียบพลันและแบบเรื้อรัง
โรคในระบบทางเดินอาหารและโรคลำไส้ผิดปกติ
เช่น โรคโครห์น โรคลำไส้อักเสบ โรคเซลิแอคหรือแพ้กลูเตน โรคลำไส้แปรปรวน โรคถุงผนังลำไส้อักเสบ โรคตับอ่อนอักเสบเรื้อรัง หรือมะเร็งลำไส้ใหญ่ เป็นต้น
อาหาร
บางคนอาจมีปัญหาในการย่อยสารอาหารบางประเภท อย่างการขาดน้ำย่อยสำหรับย่อยน้ำตาลแล็กโทส ซึ่งเป็นน้ำตาลที่พบมากในนมหรือผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับนม นอกจากนี้ การรับประทานสารทดแทนความหวานในปริมาณมากก็อาจเป็นปัจจัยหนึ่งที่ก่อให้เกิดอาการท้องเสียได้เช่นกัน
การตอบสนองต่อยาบางประเภท
ยาปฏิชีวนะ ยารักษาโรคมะเร็ง รวมถึงยาลดกรดที่มีแมกนีเซียม สามารถทำให้เกิดอาการท้องเสียได้
การผ่าตัด
อาการท้องเสียอาจเกิดขึ้นหลังจากเข้ารับการผ่าตัดบางชนิด อย่างการผ่าตัดลำไส้ หรือการผ่าตัดนำถุงน้ำดีออกไป
ท้องเสียแบบเรื้อรัง
อาการท้องเสียที่เกิดขึ้นติดต่อกันอย่างน้อย 2 สัปดาห์ขึ้นไป จะถือเป็นอาการท้องเสียเรื้อรัง ซึ่งอาจเกิดจากปัจจัยต่อไปนี้
ท้องเสียแบบเฉียบพลัน
อาการท้องเสียแบบเฉียบพลับมักเกิดจากโรคกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กอักเสบ เนื่องจากการติดเชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัส หรือเชื้อปรสิต ดังนี้
การติดเชื้อไวรัส
มีไวรัสหลายชนิดที่ก่อให้เกิดอาการท้องเสีย เช่น โรต้าไวรัส โนโรไวรัส ไซโตเมกาโลไวรัส เฮอร์พีส์ซิมเพล็กซ์ไวรัส ไวรัสตับอักเสบ เป็นต้น โดยโรต้าไวรัสเป็นสาเหตุของการเกิดอาการท้องเสียในเด็กมากที่สุด ซึ่งสามารถหายได้ภายใน 3-7 วัน แต่อาจจะก่อให้เกิดปัญหาในการย่อยและดูดซึมแล็กโทสที่พบในน้ำนมได้
การได้รับเชื้อปรสิต
เชื้อปรสิตสามารถเข้าสู่ร่างกายผ่านอาหารและน้ำที่ปนเปื้อน และอาศัยอยู่ในระบบย่อยอาหารของคนเรา เชื้อปรสิตที่มักพบ คือ เชื้อไกอาเดีย เชื้อแอนตามีบาฮิสโตลิติกาหรือเชื้อบิดอะมีบา และเชื้อคริปโตสปอริเดียม
การติดเชื้อแบคทีเรีย
เชื้อแบคทีเรียที่มักปนเปื้อนในน้ำหรืออาหาร และก่อให้เกิดอาการท้องเสียตามมา ได้แก่ เชื้อแคมไพโลแบคเตอร์ เชื้อซาลโมเนลลา เชื้อชิเกลลา และเชื้ออีโคไล
ความหมาย
คำว่า "ท้องเสีย" เป็นภาษาพูดที่หมายถึงการที่คนเราถ่ายเหลวผิดปกติ แต่ในทางการแพทย์ เราจะใช้คำว่า "อุจจาระร่วง" (diarrhea) มากกว่า ซึ่งความหมายต่างกับท้องเสีย เล็กน้อย กล่าวคือ "อุจจาระร่วง" หมายถึงการที่คนเราถ่ายอุจจาระเหลวผิดจากปกติ ตั้งแต่ 3 ครั้งขึ้นไปใน 1 วัน หรือถ่ายอุจจาระเป็นน้ำหรือเป็นมูกเลือดแม้เพียง ครั้งเดียว ซึ่งการที่กำหนดเช่นนั้นก็เพื่อความสะดวกในการดูแลคนไข้ โดยคนไข้ที่มี อาการอุจจาระร่วง มักจะเกิดจากโรคที่อาจจำเป็นต้องได้รับการดูแลรักษาจากหมอ ขณะที่อาการท้องเสียเล็กน้อยไม่ถึงขั้นอุจจาระร่วงมักหายเองได้ โดยไม่ต้องรับการ ดูแลใดๆ
สมุนไพรแก้ท้องเสีย
ฟ้าทะลายโจร ขมเย็น
หลายคนอาจคุ้นชินกับการกินสมุนไพรฟ้าทะลายโจร รักษาอาการหวัด เจ็บคอ หรืออาการไข้ตัวร้อน เเต่รู้หรือไม่ว่าฟ้าทะลายโจรยังสามารถกินรักษาอาการท้องเสียได้อีกด้วย เเต่ต้องเป็นอาการท้องเสีย ถ่ายเหลว ที่ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อ
วิธีการกินที่ง่ายสุด : คือการกินในรูปแบบแคปซูล 500 มิลลิกรัม ก่อนอาหาร เช้า กลางวัน เย็น หรือกินห่างกันทุกๆ 4 ชั่วโมง ก็ได้เช่นกัน เมื่อหยุดถ่ายหรืออาการดีขึ้นก็ควรหยุดกินฟ้าทะลายโจรทันที
อีกแบบหนึ่งคือ การกินในรูปแบบของยาต้ม ซึ่งการกินเเบบนี้จะหายไวกว่า เห็นผลชัดเจน แต่ก็มีข้อจำกัดคือ ปริมาณสารสำคัญแอนโดรกราโฟไลด์ อาจจะไม่คงที่เหมือนการกินแบบเเคปซูล เพราะมีการควบคุมปริมาณสารสำคัญ
ใช้ฟ้าทะลายโจร 15 กรัม หรือ 1 กำมือ ต้มกับน้ำ ปริมาณท่วมยา หรือ 2 ถ้วยตวง ต้มเดือด 15 นาที แล้วรินดื่ม ก่อนอาหาร หรือเมื่อมีอาการ คล้ายคลึงกับการกินแบบแคปซูล
ขมิ้นชัน เหลืองเข้ม
สมุนไพรสีเหลืองเข้ม จนถึงสีเหลืองอ่อน มีสารเคอร์คูมิน ช่วยรักษาอาการท้องเสียได้ เพราะมีฤทธิ์ต้านการอักเสบ ฆ่าเชื้อ รวมไปถึงแก้อาการข้างเคียงจากระบบย่อยอาหารที่ผิดปกติได้ เช่น อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ คลื่นไส้ อาเจียน ได้เช่นกัน รวมไปถึงช่วยสมานแผล รักษาโรคกระเพาะอาหาร และกรดไหลย้อนได้อีกด้วย
วิธีกินขมิ้นชัน: ก็คล้ายๆคลึงกับการกินสมุนไพรฟ้าทะลายโจร คือ กินในรูปแบบเเคปซูล 250-500 มิลลิกรัม ก่อนอาหาร หรือเมื่อมีอาการท้องเสีย ปวดมวนท้อง และการกินในรูปแบบยาต้ม โดยการนำขมิ้นชัน 10-15 กรัม ใส่น้ำท่วมยา ต้มเดือด 15 นาที และรินดื่ม
หรือกินในรูปแบบของอาหาร เป็นซุปร้อนๆ เช่น ปลาต้มขมิ้น แกงส้มหรือแกงเหลือง เป็นต้น
ปล. ขมิ้นมีหลายชนิด แนะนำให้เลือกกินขมิ้นชัน มีสีเหลืองเเดงเข้ม ส่วนขมิ้นที่มีสีเลืองอ่อนๆ เรียกว่าขมิ้นอ้อย มักจะเข้าตำรับยาประจำเดือน บำรุงเลือดในผู้หญิง
เปลือกมังคุด ราชินีผลไม้
มังคุดขึ้นชื่อว่าเป็นราชินีผลไม้ไทย มีรสหวานเย็น แต่เปลือกของมังคุด มีรสฝาด ใช้เป็นสมุนไพรแก้ท้องเสียได้ เพราะมีสารแทนนินค่อนข้างสูง เปลือกมังคุดจะมีสีม่วงอ่อนจนถึงสีม่วงเข้ม
วิธีกิน: ให้นำเปลือกมังคุดที่เเคะเนื้อออกหมดแล้ว ไปตากเเดดให้เเห้ง หรืออบให้แห้งก็ได้เช่นกัน เพื่อเป็นการไล่น้ำออกจากเปลือกมังคุด สามารถทำให้เก็บได้นานมากขึ้น หรือใช้เปลือกสดๆ ต้มกับน้ำดื่มก็ได้เหมือนกัน
เมือได้เปลือกมังคุดตากแดดแล้ว นำไปบดให้ละเอียด เมื่อมีอาการท้องเสีย ให้ชงดื่ม 1-2 ช้อนชา ละลายกับน้ำต้มสุก หรือใช้โรยบนอาหารก็ได้เช่นกัน
ใบฝรั่ง แต่เป็นสมุนไพรไทย
ฝรั่งอาจจะมีรสหวานเย็น เปลือกมีความฝาดเล็กน้อย แต่สำหรับลูกอ่อน แก่ และใบของฝรั่งมีความฝาดสูงมาก กินแล้วสามารถช่วยสมานแผลในกระเพาะอาหาร หรือช่วยรักษาอาการท้องเสียได้เป็นอย่างดี
วิธีกิน: สามารถกินได้ทั้งใบสดและแห้ง สำหรับการกินสด แนะนำให้เลือกใบฝรั่งยอดอ่อนๆ สัก 2-3 ยอด เคี้ยวให้ละเอียดแล้วกลืน หรือน้ำใบฝรั่งต้ม แล้วดื่มเป็นชา ใช้จิบแก้อาการท้องเสียได้
ใบชา
เราอาจจิบชา เพื่อความสุนทรีย์ ดื่มด่ำความหอม และรวมไปถึงจิบชาเพื่อวัฒนธรรม ปรัชญาการดำเนินชีวิต แต่ครั้งนี้เรามาสอนจิบยาแก้อาการท้องเสีย กันดีกว่า เหตุผลที่ชาสามารถจิบ หรือดื่ม แก้อาการท้องเสียได้ ก็เป็นเพราะใบชามีสารแทนนินอยู่เป็นจำนวนมาก จึงถูกจัดว่าเป็นสมุนไพรแก้ท้องเสียด้วย
วิธีกิน: การจิบ หรือดื่มชาให้ได้สารแทนนินนั้นมันมีวิธีการของมันอยู่ คือ เราต้องเเช่ชา หรือต้มชา ให้นานมากที่สุด มากกว่า 5 นาทีขึ้นไป สารแทนนนินในใบชาก็จะค่อยๆออกมา นั้นแหละเป็นช่วงเวลาที่เหมาะกับการดื่มเพื่อรักษาอาการท้องเสียของเราได้
แต่ในทางตรงกันข้าม ถ้าใครไม่อยากท้องผูก เพราะดื่มชา ก็ไม่ควรเเช่หรือต้มชา นานจนเกินไป
กล้วยดิบ
เราสามารถกินกล้วยดิบ หรือแก่ๆ แก้อาการท้องเสียได้นะรู้ยัง (เอาจริงๆผมเขียนบ่อยมากเรื่องกล้วย) เเค่เราเลือกกล้วยให้ถูกสัดส่วนและระยะเวลาการสุกของกล้วยได้ถูกต้องก็สามารถแก้โรคต่างๆได้มากมาย
วิธีกิน: เราสามารถเลือกกินกล้วยดิบได้ง่ายๆ หลายรูปแบบ หายได้เร็วสุด ต้องกินในรูปแบบของยาน้ำ หรือเป็นยาชงแบบผงก็ได้ หรือถ้าใครฮาร์ดคอร์หน่อยๆ ก็หั่นกินดิบ เคี้ยวให้ละเอียดเเล้วกลืน หรือใช้กล้วยดิบไปแกง หรือบวดก็ได้นะ