Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ความผิดปกติของระบบทางเดินอาหาร - Coggle Diagram
ความผิดปกติของระบบทางเดินอาหาร
ภาวะท้องผูก
ปัญหา
มิใช่ปัญหาที่พบเฉพาะในผู้สูงอายุเท่านั้น แต่เป็นปัญหาที่อยู่ในระดับกว้าง พบได้ในคนทุกเพศ ทุกวัย ส่วนใหญ่มักมีอาการที่ไม่รุนแรง ผู้ที่มีปัญหาท้องผูกมักจะดำเนินวิธีการแก้ไขในรูปแบบที่แตกต่างกันไป เช่น การหาอาหารหรือผลไม้บางชนิดมารับประทาน แล้วทำให้มีการถ่ายอุจจาระออกมาใช้ยาหรือน้ำสบู่สวนทวาร ทำให้อุจจาระนิ่มหรืออ่อนตัวลง แล้วทำให้ขับถ่ายออกมาโดยง่าย
ความหมาย
ท้องผูก หมายถึง การถ่ายอุจจาระลำบาก ต้องใช้เวลาเบ่งนานกว่าปกติ ร่วมกับการมีอุจจาระแข็ง ซึ่งเกิดจากกากอาหารที่ย่อยแล้วเคลื่อนที่มาถึงลำไส้ใหญ่แล้วถูกดูดซึมน้ำและสารบางอย่างกลับเข้าสู่ร่างกาย ทำให้อุจจาระแห้งเป็นก้อนแข็ง อุจจาระที่ค้างอยู่ในลำไส้ยิ่งนาน ร่างกายมีภาวะขาดน้ำ เนื่องจากดื่มน้ำไม่เพียงพอ จะทำให้น้ำถูกดูดซึมกลับเข้าสู่ร่างกายมาก อุจจาระก็จะแข็งมากขึ้น เป็นเหตุให้ถ่ายลำบาก หรือผู้ที่ถ่ายอุจจาระน้อยกว่า 3 ครั้งต่อสัปดาห์ การที่อุจจาระที่คั่งค้างในลำไส้นาน ทำให้เกิดความไม่สุขสบาย แน่นท้องอึดอัด
อาการ
อาการที่มีความยากลำบากในการถ่ายอุจจาระ ต้องใช้เวลาในการถ่ายมาก มีการเบ่งถ่ายอุจจาระ ลักษณะอุจจาระแข็งมาก ถ่ายแล้วแต่ยังมีความรู้สึกว่าถ่ายยังไม่หมด หรือถ่ายยังไม่สุด หรือยังปวดท้องอยากถ่าย หรือเบ่งอยู่ตลอดเวลา ถ้าพิจารณาจากความถี่ของการถ่ายอุจจาระจะถือว่า ถ้าถ่ายอุจจาระน้อยกว่า 3 ครั้งต่อสัปดาห์ เรียกว่า มีอาการท้องผูก
สาเหตุ
รับประทานอาหารที่มีเส้นใยน้อย ดื่มน้ำน้อย หรือความอยากอาหารลดน้อยลง อาหารที่มีเส้นใยจะเพิ่มกากอาหาร หรือปริมาณเนื้ออุจจาระ และอุ้มน้ำทำให้อุจจาระอ่อน
สุขนิสัยส่วนตัว เช่น ถ่ายอุจจาระไม่เป็นเวลา หรือการกลั้นอุจจาระบ่อยๆ
ระบบการย่อยของทางเดินอาหารเสื่อมลง เช่น การบดเคี้ยวไม่ดีเนื่องจากฟันผุ ไม่มีฟันที่จะบดเคี้ยวอาหารที่มีเส้นใย ประกอบกับการเคลื่อนไหวบีบตัวของลำไส้ลดลง
ไม่ได้เคลื่อนไหวหรือไม่มีการออกกำลังกาย หรือผู้ป่วยที่นอนติดเตียง การเคลื่อนไหวร่างกายและการออกกำลังกายจะกระตุ้นกระบวนการเผาผลาญอาหารและช่วยให้ลำไส้มีการเคลื่อนไหวบีบตัวให้มีการขับถ่ายดีขึ้น
การรับประทานยาระบายเป็นประจำ ทำให้ลำไส้ใหญ่ถูกกระตุ้นจากยาอยู่เสมอจนลำไส้ไม่สามารถทำงานตามกลไกปกติได้
ความเครียดส่งผลให้ร่างกายรู้สึกเบื่ออาหาร และรับประทานอาหารได้น้อย มีผลกระทบต่อระบบการขับถ่าย ร่างกายจะระงับการขับถ่ายชั่วคราวได้
ยารักษาโรคบางชนิด อาจจะทำให้เกิดอาการท้องผูก เช่น ยาแก้ปวดบางชนิด เช่น มอร์ฟีน
ภาวะแทรกซ้อน
1.ท้องผูกอาจเป็นสาเหตุทำให้เกิดความไม่สุขสบายในกระเพาะอาหาร ทวารหนัก
2.อาจทำให้เกิดภาวะลำไส้อุดตัน เกิดโรคริดสีดวงทวารได้
3.มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน
4.ทานอาหารได้น้อย
5.อาหารไม่ย่อยเกิน มีอาเจียนในผู้สูงอายุที่ให้อาหารทางสายยาง
แนวทางการดูแล
1.ปรับเปลี่ยนลักษณะการรับประทานอาหาร ควรมีการปรับแต่งอาหารของผู้สูงอายุให้ประกอบด้วยผัก และผลไม้มากขึ้น ถ้าผู้สูงอายุมีปัญหาเรื่องฟัน ควรเลือกผักที่นิ่ม เช่น ตำลึง ถั่วงอก ผักบุ้ง ผักกวางตุ้ง ผักกาดขาว และปรุงให้นิ่ม ผักที่เป็นหัวหรือเป็นผล เช่น ไชเท้า ฟักเขียว น้ำเต้า ก็สามารถนำมาปรุงอาหารให้นิ่มได้โดยง่าย
2.ดื่มน้ำให้เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย ประมาณ 6 - 8 แก้วต่อวัน
3.ฝึกการขับถ่ายอุจจาระให้เป็นเวลา และอย่ากลั้นอุจจาระ
4.ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เช่น การเดิน
ภาวะท้องเสีย
ปัญหา
“โรคท้องร่วงกับผู้สูงอายุ” โดยเฉพาะในช่วงหน้าร้อนมักพบได้บ่อย สำหรับคนหนุ่มสาวเกิดภาวะท้องเดิน 7-8 ครั้ง อาจไม่อันตรายเท่ากับคุณตาคุณยายถ่ายหนักเกิน 2 ครั้ง เพราะอาจทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรงและบางรายอาจถึงขั้นชีวิตได้จากการสูญเสียน้ำและเกลือแร่ หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที
ความหมาย
เป็นอาการถ่ายอุจจาระเหลวหรือเป็นน้ำมากกว่าปกติ หรือในบางครั้งถ่ายเป็นมูกปนเลือด มักเกิดจากการติดเชื้อหรือภาวะอาหารเป็นพิษ หลังจากการรับประทานอาหารที่ปนเปื้อนเชื้อโรคเข้าไป โดยอาการจะเกิดขึ้นในระยะเวลาเพียงไม่กี่วัน แต่ในบางรายอาจอาการเรื้อรังเป็นเวลานาน
อาการ
จะมีการถ่ายอุจจาระเหลว ถ่ายเป็นน้ำมากกว่า 3 ครั้งขึ้นไป ถ่ายบ่อยกว่าปกติของแต่ละคน หรือถ่ายเป็นมูกปนเลือด 1 ครั้งหรือมากกว่านั้นภายใน 24 ชั่วโมง ในบางรายอาจมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น ปวดท้อง ท้องอืด คลื่นไส้ อ่อนเพลีย รู้สึกครั่นเนื้อครั่นตัว และมีไข้
สาเหตุุ
การติดเชื้อ ซึ่งพบได้บ่อยกว่าสาเหตุอื่นๆ อาจเกิดจากเชื้อไวรัส บิด ไทฟอยก์ อหิวาต์ มาลาเรีย พยาธิบางชนิด เช่น ไทอาร์เดีย พยาธิแส้ม้า
อาหารเป็นพิษ โดยการปะปนของเชื้อโรคที่อยู่ในอาหาร
สารเคมี เช่น สารตะกั่ว สารหนูไนเตรท ยาฆ่าแมลง ทำให้อาเจียน ปวดท้องรุนแรง และชักร่วมด้วย
ยา เช่น ยาถ่าย ยาระบาย ยาปฏิชีวนะ
พืชพิษ เช่น เห็ดพิษ กลอย
ภาวะแทรกซ้อน
ภาวะขาดน้ำและเกลือแร่
โรคลำไส้แปรปรวน
ภาวะย่อยน้ำตาลเล็กโทสบกพร่อง
กลุ่มอาการเม็ดเลือดแดงแตกยูรีเมีย หากท้องเสียจากการติดเชื้อบางชนิด
การติดเชื้อลุกลามไปยังอวัยวะส่วนอื่น ๆ ในร่างกาย
แนวทางการดูแล
ในผู้สูงอายุ หากมีท้องเสีย 1-2 ครั้ง ควรเริ่มทานผลเกลือแร่สำเร็จรูปได้แล้ว โดยดื่มแทนน้ำเปล่า เป็นการดูแลอาการเบื้องต้นที่ช่วยบรรเทาอาการได้เป็นอย่างดีแต่หากผู้สูงอายุมีอุจจาระมีเลือดปนควรรีบพบแพทย์
ไม่ควรดื่มน้ำเกลือแร่สำหรับการสูญเสียเหงื่อจากการออกกำลังกาย เครื่องดื่มบำรุงกำลัง หรือน้ำอัดลมที่ผสมเกลือแทนการดื่มน้ำเกลือแร่ เพราะจะไม่ได้ปริมาณเกลือแร่ที่สูญเสียไปตามที่ร่างกายต้องการ
มื่อหายท้องเสียใหม่ๆ ระบบย่อยอาหารในผู้สูงอายุมักไม่ค่อยดี อาจมีอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ และย่อยอาหารบางอย่างไม่ได้ ดังนั้น หลังจากท้องเสีย 1 สัปดาห์ ควรงดอาหารรสจัด มีแก๊สเยอะ ถั่ว ผลิตภัณฑ์จากนม แต่ควรทานอาหารอ่อนๆ ย่อยง่ายแทน
ไม่จำเป็นต้องทานยาหยุดถ่าย ควรปล่อยให้ถ่ายไป เพราะร่างกายต้องขับของเสียออกมาจนหมดจึงจะหยุดถ่ายไปเองตามธรรมชาติ แต่หากอยู่ในระหว่างการเดินทาง หรือต้องนั่งรถหลายชั่วโมง ก็สามารถทานยาหยุดถ่ายได้ แต่ควรทานเพียง 1 เม็ดเท่านั้น และไม่ควรทานทันทีเมื่อท้องเสีย ควรทานในกรณีที่ท้องเสียติดต่อกันหลายครั้ง และยังไม่หยุดจริงๆ และเมื่อยาหมดฤทธิ์ ร่างกายจะขับของเสียออกมาจนหมดต่อเองตามธรรมชาติ
หากผู้สูงอายุท้องเสียมากๆ จะเกิดอาการแสบก้นหรือก้นเปื่อย ให้ใช้ปิโตรเลียมเจลทาบริเวณดังกล่าว เพื่อช่วยลดอาการแสบ
หลังท้องเสีย 1 สัปดาห์ ควรระวังเรื่องอาหารการกินมากขึ้น เพราะอาจจะท้องเสียซ้ำอีกได้ หากทานอาหารที่ไม่สะอาด หรือรสจัด