Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ไข้สุกใส(Chickenpox), สุกใส, สุกใส2 - Coggle Diagram
ไข้สุกใส(Chickenpox)
การรักษา
3.ควรตัดเล็บให้สั้น หลีกเลี่ยงการแกะเกาตุ่มคันสุกใส เพราะนอกจากจะกลายเป็นแผลเป็นที่รักษายากแล้ว ยังทำให้ติดเชื้อแบคทีเรียที่อยู่ในเล็บและผิวหนังจนเกิดโรคผิวหนังแทรกซ้อน ได้ นอกจากนี้เชื้อแบคทีเรียดังกล่าวอาจแพร่เข้าสู่กระแสเลือดไปยังอวัยวะต่างๆ เช่นที่ปอดจนเกิดฝีในปอดได้
4.รับประทานอาหารได้ตามปกติ ทั้งเนื้อนมไข่ เพื่อให้ร่างกายเสริมสร้างภูมิต้านทานต่อโรค แต่ควรลดอาหารรสจัดถ้ามีแผลในปาก
2.โรคไข้สุกใสไม่มียาต้านไวรัส ดังนั้นการดูแลรักษาจึงเป็นการรักษาตามอาการ เช่น เช็ดตัวลดไข้ ดื่มน้ำมากๆ พักผ่อนให้เพียงพอกินยาลดไข้เฉพาะพาราเซตามอลเท่านั้น ห้ามกินยาลดไข้ชนิดแอสไพริน เนื่องจากทำให้ตับอักเสบรุนแรงได้
5.โดยทั่วไปอาการไข้สุกใสจะค่อยๆ ทุเลาได้เองภายใน 1 ถึง 3 อาทิตย์ ในระยะนี้ให้ระวังโรคแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้เช่น แก้วหูอักเสบ ปอดอักเสบ ตับอักเสบ หรือ ติดเชื้อในสมอง ดังนั้นเมื่อมีอาการปวดหู หรือไอ หายใจเหนื่อย เจ็บหน้าอก หรือ ตาเหลืองตัวเหลือง (ดีซ่าน) หรือ ปวดศีรษะมาก ซึมลง ควรรีบพบแพทย์เพื่อรับการตรวจรักษาเพิ่มเติม
1.ผู้ป่วยที่สุขภาพแข็งแรงและอาการไม่รุนแรงสามารถดูแลตนเองได้ที่บ้าน แต่ในรายที่อาการรุนแรง เช่น เด็กเล็ก สตรีตั้งครรภ์ หรือผู้มีภูมิคุ้มกันต่ำควรไปพบแพทย์ เพื่อการรักษาได้อย่างถูกต้องและต้องระวังอย่าให้เกิดโรคแทรกซ้อน
อาการและอาการแสดง
1.มีไข้ต่ำ รู้สึกครั่นเนื้อครั่นตัว เหนื่อยง่าย เฉื่อยชา ปวดศีรษะ เจ็บคอ อยากอาหารลดลงหรือไม่อยากอาหารในช่วง 1-2 วันแรกของการติดเชื้อ
-
-
-
-
การป้องกัน
- ไม่ควรใช้ของร่วมกับผู้ป่วย เช่น ผ้าเช็ดตัว ผ้าเช็ดหน้า แก้วน้ำ ช้อน จาน ชาม
- ควรทำร่างกายให้แข็งแรงอยู่เสมอ ด้วยการพักผ่อนให้เพียงพอ ดื่มน้ำมากๆ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
- หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับผู้ป่วยโรคสุกใสโดยตรง
- ควรฉีดวัคซีนป้องกันโรคสุกใส โดยสามารถเริ่มฉีดได้ตั้งแต่อายุ 1 ปีขึ้นไป และฉีดกระตุ้นซ้ำอีกครั้งเมื่อเด็กอายุ 4 ถึง 6 ขวบ ปัจจุบันมีวัคซีนรวมของสุกใสและหัด หัดเยอรมัน คางทูม (MMR) ทำให้ถูกฉีดวัคซีนน้อยครั้งลง
การติดต่อ
1.โรคสุกใสสามารถติดต่อโดยการหายใจเอาฝอยละอองจากทางเดินหายใจของผู้ป่วย หรือสัมผัสโดยตรงกับตุ่มน้ำบนผิวหนังของผู้ป่วยที่อยู่ในระยะแพร่เชื้อ ระยะที่ผู้ป่วยอาจแพร่เชื้อได้คือ 1-2 วันก่อนผื่นขึ้น จนกระทั่งผื่นตกสะเก็ดหมด
2.หลังจากได้รับเชื้อเข้าสู่ร่างกาย ผู้ป่วยจะเริ่มแสดงอาการในระยะเวลาประมาณ 10-21 วัน อาการที่พบคือ มีไข้ (มักมีไข้ประมาณ 37.8 – 38.9 C แต่อาจพบไข้สูงถึง 41.1 C ได้ ไข้จะลดลงหลังจากมีผื่น 2 – 4 วัน) ปวดเมื่อยตามตัว เบื่ออาหาร ปวดศีรษะ ปวดท้องเล็กน้อย อาการเหล่านี้มักเกิดก่อนมีผื่น 1 – 2 วัน
3.ผื่นที่พบในโรคสุกใสมีลักษณะเป็นผื่นแดงราบมีอาการคัน ต่อมากลายเป็นตุ่มนูนมีน้ำใสอยู่ภายในแล้วตกสะเก็ด สะเก็ดจะหลุดหายไปในเวลาประมาณ 5-20 วัน ผื่นมักขึ้นเต็มที่ใน 4 วัน โดยจะไม่ขึ้นพร้อมกันทั่วร่างกาย กล่าวคือบางที่เป็นผื่นแดงราบ บางที่เป็นตุ่มนูนใส หรือบางที่เริ่มตกสะเก็ด ตำแหน่งที่เริ่มพบคือที่หนังศีรษะ ใบหน้า ลำตัว แล้วกระจายไปที่แขน ขา อาจพบแผลในช่องปากและในลำคอได้ จำนวนผื่นที่พบโดยเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 300 จุด
ภาวะแทรกซ้อน
โดยทั่วไป ผื่นจากอีสุกอีใสจะหายโดยไม่มีแผลเป็น ยกเว้นมีการติดเชื้อ แบคทีเรียแทรกซ้อน จะทำให้ผื่นกลายเป็นหนอง และมีแผลเป็นตามมา อาจก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนได้ในผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาไม่ถูกต้อง ส่วนใหญ่มักจะไม่รุนแรง แต่ในบางรายก็อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงจากโรคจนต้องเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล และถึงขั้นเสียชีวิตได้ โดยเฉพาะเด็กและผู้ที่ไม่ได้รับวัคซีนป้องกันโรคอีสุกอีใส
เช่น การติดเชื้อแบคทีเรียที่ผิวหนังและเนื้อเยื่อ การติดเชื้อสเตรปโตคอคคัสกรุ๊ป-เอ (Group A Streptococcal Infections) โรคปอดบวม โรคสมองอักเสบ หรือภาวะกล้ามเนื้อเสียสหการ (Cerebellar Ataxia) เป็นการประสานงานของกล้ามเนื้อผิดปกติที่มีสาเหตุจากสมองส่วนซีรีเบลลัมทำให้เดินเซ มีปัญหาเลือดออก ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด ภาวะขาดน้ำและเกลือแร่
สาเหตุ
เกิดจากเชื้อไวรัสที่มีชื่อว่า ไวรัสวาริเซลลา (Varicella Virus) หรือ Human Herpes Virus Type 3 เป็นเชื้อไวรัสชนิดเดียวกับที่ทำให้เกิด งูสวัด
การวินิจฉัย
แพทย์จะวินิจฉัยโรคอีสุกอีใสจากการดูลักษณะของผื่น ตุ่มน้ำ หรือตุ่มพองบนผิวหนังเป็นหลัก ร่วมกับการตรวจร่างกายทั่วไปและอาการที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วย เช่น มีไข้ขึ้น ไม่อยากอาหาร ปวดศีรษะ แต่ในบางกรณีที่บอกไม่ได้แน่ชัดว่าเป็นโรคอีสุกอีใสหรือไม่ แพทย์จะนำตัวอย่างของเชื้อจากตุ่มน้ำที่พบบนร่างกายผู้ป่วยไปตรวจในห้องปฏิบัติการ เพื่อตรวจหาต้นตอความผิดปกติว่าเกิดจากเชื้อวีซีวีที่ทำให้เกิดโรคอีสุกอีใสหรือการติดเชื้อชนิดอื่น ซึ่งจะช่วยยืนยันได้ว่าผู้ป่วยเป็นโรคอีสุกอีใสอย่างแน่นอน
-
-