Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ความผิดปกติของระบบทางเดินอาหาร - Coggle Diagram
ความผิดปกติของระบบทางเดินอาหาร
ท้องผูก
ภาวะท้องผูก(Constipation) หมายถึง การไม่ถ่ายอุจจาระต่อเนื่อง 3 วันขึ้นไป หรือถ่ายอุจจาระแห้ง แข็ง ต้องออกแรงเบ่ง
อาการและการแสดง
อุจจาระอัดแน่น
อึดอัด แน่นท้อง ท้องอืด
มีไข้ อาเจียน
สับสน
รับประทานอาหารได้น้อยลง
พร่องโภชนาการ
มีภาวะซีด
ภาวะแทรกซ้อน
ลำไส้บวมและโปร่งพอง
ปวดท้องเรื้อรัง
ยังไม่มีการพิสูจน์แน่ชัด
Hemorrhoid
CA Colon
Melanesia coli
Stercoral ulcerration บาดแผลของสลำไส้ใหญ่เกิดจากการที่อุจจาระที่ค่อนข้างแข็งอยู่ภายในลำไส้ใหญ่ ไม่สามารถขับออกมาได้ เกิดความดันในลำไส้ จะเกิดการแตกของลำไส้
การดูแล
ชี้ให้เห็นถึงความสำคัญ และปัจจัยที่ทำให้เกิดปัญหาการขับถ่าย
กระตุ้นให้ดื่มน้ำอย่างเพียงพอและสม่ำเสมอมากกว่า2000 ml/day
แนะนำให้รับประทานอาหารที่มีกากใยสูง
แนะนำการบดเคี้ยวอาหารอย่างละเอียด
จัดสิ่งแวดล้อมที่เป็นมิตร มีความส่วนตัว ให้เวลาในการขับถ่าย
แนะนำให้หลีกเลี่ยงการกลั้นอุจจาระ
ควรฝึกการขับถ่ายให้เป็นนิสัย
กรณีนอนติดเตียง ควรจัดท่านั่งศีรษะสูงในการขับถ่ายอุจจาระ
กระตุ้นให้เคลื่อนไหวหรือออกกำลังกายสม่ำเสมอ
กรณีที่อุจจาระอัดแน่นให้ทำการล้วงด้วยความนุ่มนวล
หากใช้ยาระบาย ควรปฏิบัติตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด
สาเหตุ
พฤติกรรมและแบบแผนการดำเนินชีวิตประจำวัน
นิสัยการกลั้นอุจจาระเป้นประจำ
รับประทานอาหารที่มีกากใยน้อยเกินไป
ขาดการออกกำลังกาย
ภาวะเครียด
ยาบางชนิด
ยากลุ่ม Opiates
ยาต้านการซึมเศร้า
ยากันชัก
ยาลดกรดที่มีเกลืออลูมิเนียม
โรคประจำตัว
โรคทางระบบประสาท
โรคของลำไส้และทวารหนัก
การเคลื่อนไหวของร่างกายลดลง
สมุนไพรรักษาท้องผูก
มะขามแขก
ส้มแขก
ขี้เหล็ก
เม็ดแมงลัก
ท้องเสีย
ท้องเสีย หรือ อุจจาระร่วง (Diarrhea) เป็นอาการถ่ายอุจจาระเหลวหรือเป็นน้ำมากกว่าปกติ หรือในบางครั้งถ่ายเป็นมูกปนเลือด มักเกิดจากการติดเชื้อหรือภาวะอาหารเป็นพิษ หลังจากการรับประทานอาหารที่ปนเปื้อนเชื้อโรคเข้าไป โดยอาการจะเกิขึ้นในระยะเวลาเพียงไม่กี่วัน แต่ในบางรายอาจอาการเรื้อรังเป็นเวลานาน ซึ่งอาจเกิดจากโรคอื่น ๆ ได้ เช่น โรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง (Inflammatory Bowel Disease: IBD) หรือโรคลำไส้แปรปรวน (Irritable Bowel Syndrome: IBS)
ภาวะแทรกซ้อนของอาการท้องเสีย
ภาวะขาดน้ำและเกลือแร่
โรคลำไส้แปรปรวน
กลุ่มอาการเม็ดเลือดแดงแตกยูรีเมีย หากท้องเสียจากการติดเชื้อบางชนิด
ร่างกายส่วนอื่นตอบสนองต่อการติดเชื้อในทางเดินอาหารจนเกิดการอักเสบตามไปด้วย
การติดเชื้อลุกลามไปยังอวัยวะส่วนอื่น ๆ ในร่างกาย
สาเหตุ
ท้องเสียแบบเฉียบพลัน
มักเกิดจากโรคกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กอักเสบ เนื่องจากการติดเชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัส หรือเชื้อปรสิต
ท้องเสียแบบเรื้อรัง
อาการท้องเสียที่เกิดขึ้นติดต่อกันอย่างน้อย 2 สัปดาห์ขึ้นไป
โรคในระบบทางเดินอาหารและโรคลำไส้ผิดปกติ
โรคโครห์น โรคลำไส้อักเสบ โรคเซลิแอคหรือแพ้กลูเตน โรคลำไส้แปรปรวน โรคถุงผนังลำไส้อักเสบ โรคตับอ่อนอักเสบเรื้อรัง หรือมะเร็งลำไส้ใหญ่ เป็นต้น
อาหาร
บางคนอาจมีปัญหาในการย่อยสารอาหารบางประเภท อย่างการขาดน้ำย่อยสำหรับย่อยน้ำตาลแล็กโทส ซึ่งเป็นน้ำตาลที่พบมากในนมหรือผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับนม นอกจากนี้ การรับประทานสารทดแทนความหวานในปริมาณมากก็อาจเป็นปัจจัยหนึ่งที่ก่อให้เกิดอาการท้องเสียได้
การตอบสนองต่อยาบางประเภท
ยาปฏิชีวนะ ยารักษาโรคมะเร็ง รวมถึงยาลดกรดที่มีแมกนีเซียม สามารถทำให้เกิดอาการท้องเสียได้
การผ่าตัด
อาการท้องเสียอาจเกิดขึ้นหลังจากเข้ารับการผ่าตัดบางชนิด อย่างการผ่าตัดลำไส้ หรือการผ่าตัดนำถุงน้ำดีออกไป
อาการ
จะมีการถ่ายอุจจาระเหลว ถ่ายเป็นน้ำมากกว่า 3 ครั้งขึ้นไป
ถ่ายบ่อยกว่าปกติของแต่ละคน หรือถ่ายเป็นมูกปนเลือด 1 ครั้ง
ปวดท้อง ท้องอืด คลื่นไส้
อ่อนเพลีย รู้สึกครั่นเนื้อครั่นตัว และมีไข้
แนวทางการดูแล
ดื่มน้ำมาก ๆ หรือดื่มผงน้ำตาลเกลือแร่โออาร์เอส (ORS) เพื่อชดเชยน้ำและเกลือแร่ที่ร่างกายสูญเสียไป
แนะนำให้รับประทานอาหารที่ปรุงสุกใหม่ สด สะอาด
สังเกตอาการและอาการแสดงของภาวะเสียสมดุลอีเล็คโทรลัยท์ เช่น ซึม อ่อนเพลีย ชีพจรเบา ความดันโลหิต ต่ำ ปวดศีรษะ กล้ามเนื้ออ่อนแรง คลื่นไส้ อาเจียน หัวใจเต้นผิดจังหวะ ในรายที่รุนแรง อาจมีสับสน ชัก และหมดสติ
บันทึกปริมาณน้ำเข้า – ออกในร่างกาย
บันทึกปริมาณปัสสาวะและอุจจาระที่ขับถ่าย
ติดตามผลการตรวจอุจจาระ
ล้างมือก่อนและหลังการให้การพยาบาล
ติดตามวัดสัญญาณชีพ ทุก 2 – 4 ชม.