Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ทฤษฎีทางการพยาบาล (ทฤษฎีการพยาบาลของโอเร็ม) ( Orem ’s self careTheory ),…
ทฤษฎีทางการพยาบาล
(ทฤษฎีการพยาบาลของโอเร็ม)
( Orem ’s self careTheory )
กระบวนทัศน์หลัก 4 ประการ
บุคคล
เป็นผู้ที่มีความสามารถในการกระทําอย่างจง ใจ (deliberate action) มีความสามารถในการเรียนรู้ วางแผนจัดระเบียบปฏิบัติกิจกรรมเกี่ยวกับตนเอง
สิ่งแวดล้อม
คนกับเรื่องสิ่งแวดล้อมไม่สามารถแยกออกจากกันได้ และมีอิทธิพลซึ่งกันและกัน การจัดสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม จะมีส่วนในการพัฒนาความสามารถในการดูแลตนเอง
สุขภาพ
เป็นภาวะที่มีความสมบูรณ์ไม่บกพร่อง ผู้ที่มีสุขภาพดี คือ คนที่มีโครงสร้างที่สมบูรณ์สามารถ ทําหน้าที่ของตนได้
การทําหน้าที่นั้นเป็นการผสมผสานกันของทางสรีระ จิตใจสัมพันธภาพระหว่างบุคคล และด้านสังคมโดยไม่สามารถแยกจากกันได้
การที่จะมีสุขภาพดีนั้นบุคคลจะต้องมีการดูแลตนเองใน ระดับที่เพียงพอและต่อเนื่องจนมีผลทําให้เกิดภาวะสุขภาพดี
การพยาบาล
เป็นบริการการช่วยเหลือบุคคลอื่นให้สามารถดูแลตนเองได้อย่างต่อเนื่องและเพียงพอกับ ความต้องการในการดูแลตนเอง
เป้าหมายการพยาบาลคือช่วยให้บุคคลตอบสนองต่อความต้องการการดูแล ตนเองในระดับที่เพียงพอและต่อเนื่อง และช่วยเพิ่มความสามารถในการดูแลตนเอง
ทฤษฎีการดูแลตนเอง ( The Theory of Self - care )
การดูแลตนเอง (Self - care)
การปฏิบัติกิจกรรมที่บุคคลริเริ่มและกระทําด้วย ตนเองเพื่อดํารงไว้ซึ่งชีวิต สุขภาพและสวัสดิภาพของตน รวมทั้งการแสวงหาและการมีส่วนร่วมในการรักษา และการพยาบาล
ระยะที่ 1 ระยะการพิจารณาและตัดสินใจ ( Intention phase) เป็นระยะที่มีการหาข้อมูล เพื่อพิจารณาและตัดสินใจเลือกกระทํา โดยหาข้อมูลที่เกี่ยวข้องว่าคืออะไร เป็นอย่างไร จากนั้นนําข้อมูลที่ ได้มาวิเคราะห์ ทดสอบ และเชื่อมโยงปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ในขั้นตอนนี้ความรู้เป็นพื้นฐานสําคัญเพราะจะช่วยให้ เกิดกระบวนการคิดเชิงวิทยาศาสตร์มากกว่าการใช้ความรู้สึก นอกจากนี้ยังต้องอาศัยสติปัญญาในการที่จะ ตัดสินใจที่จะกระทํา
ระยะที่ 2 ระยะการกระทําและผลของการกระทํา ( Productive phase) เป็นระยะที่เมื่อ ตัดสินใจแล้วจะกําหนดเป้าหมายที่ต้องการและดําเนินการกระทํากิจกรรมเพื่อไปสู่เป้าหมายที่กําหนด
ความสามารถในการดูแลตนเอง (Self –care agency )
เป็นมโนมติที่กล่าวถึงคุณสมบัติที่ซับซ้อน หรือพลังความสามารถของบุคคลที่เอื้อต่อการกระทํากิจกรรมการดูแลตนเองอย่างจงใจ โครงสร้างของ
ความสามารถในการดูแลตนเองมี3 ระดับ
ความสามารถในการปฏิบัติเพื่อดูแลตนเอง (Capabilities for self-care operations)
การปรับเปลี่ยน (Transitional) เป็นความสามารถในการตัดสินใจเกี่ยวกับสิ่งที่สามารถ ควร และจะกระทําเพื่อสนองตอบต่อความต้องการในการดูแลตนเองที่จําเป็น
การลงมือปฏิบัติ(Productive operation) เป็นความสามารถในการปฏิบัติกิจกรรม ต่างๆ เพื่อสนองตอบต่อความต้องการดูแลตนเองที่จําเป็น
การคาดการณ์ (Estimative) เป็นความสามารถในการตรวจสอบสถานการณ์และ องค์ประกอบในตนเองและสิ่งแวดล้อมที่สําคัญสําหรับการดูแลตนเอง ความหมาย และ ความต้องการในการปรับการดูแลตนเอง
พลังความสามารถในการดูแลตนเอง (Power components)
มีแรงจูงใจที่จะกระทําการดูแลตนเอง
มีทักษะในการตัดสินใจเกี่ยวกับการดูแลตนเองและปฏิบัติตามที่ได้ตัดสินใจ
ความสามารถที่จะควบคุมส่วนต่างๆ ของร่างกายเพื่อการเคลื่อนไหวที่จําเป็นใน
มีความสามารถในการเสาะแสวงหาความรู้เกี่ยวกับการดูแลตนเอง
ความสามารถที่จะควบคุมส่วนต่างๆ ของร่างกายเพื่อการเคลื่อนไหวที่จําเป็นใน
มีทักษะในการใช้กระบวนการทางความคิดและสติปัญญา การรับรู้ การจัดกระทํา การ ติดต่อ และการสร้างสัมพันธภาพกับบุคคลอื่น เพื่อปรับการปฏิบัติการดูแลตนเอง
ความสามารถที่จะควบคุมพลังงานทางด้านร่างกายของตนเองให้เพียงพอ
มีความสามารถในการจัดระบบการดูแลตนเอง
ความสนใจและเอาใจใส่ในตนเอง
มีความสามารถที่จะปฏิบัติการดูแลตนเองอย่างต่อเนื่อง และสอดแทรกการดูแลตนเอง เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งในแบบแผนการดําเนินชีวิต
ความสามารถและคุณสมบัติขั้นพื้นฐาน (Foundational capabilities and disposition)
ความสามารถที่จะรู้(Knowing) กับความสามารถที่จะกระทํา (Doing) (ทางสรีระและ จิตวิทยาแบ่งเป็นการรับความรู้สึก การรับรู้ ความจํา และการวางตนให้เหมาะสม เป็นต้น)
คุณสมบัติหรือปัจจัยที่มีผลต่อการแสวงหาเป้าหมายของการกระทํา ความสามารถและ คุณสมบัติขั้นพื้นฐาน
ความสามารถและทักษะในการเรียนรู้ ได้แก่ ความจํา ความสามารถในการอ่าน เขียนนับเลข รวมทั้งความสามารถในการหาเหตุผลและการใช้เหตุผล
หน้าที่ของประสาทรับความรู้สึก (Sensation) ทั้งการสัมผัส การมองเห็น การ ได้ยิน การได้กลิ่น และการรับรส
นิสัยประจําตัว
การรับรู้ในเหตุการณ์ต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอกตนเอง
ความตั้งใจ
การเห็นคุณค่าในตนเอง
ความเข้าใจในตนเอง
ความห่วงใยในตนเอง
การยอมรับตนเอง
ระบบการจัดลําดับความสําคัญ รู้จักจัดแบ่งเวลาในการกระทํากิจกรรมต่าง ๆ
ความสามารถที่จะจัดการเกี่ยวกับตนเอง