Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลมารดาในระยะหลังคลอด, นางสาวอมรรัตน์ สะพานแก้ว ชั้นปีที่2…
การพยาบาลมารดาในระยะหลังคลอด
การเปลี่ยนแปลงทางด้านสรีรวิทยา
ของมารดาในระยะหลังคลอด
มดลูก
มดลูกจะโตและอยู่สูงจากระดับสะดือทันทีที่คลอดแล้ว โดยมีความกว้างประมาณ 12 ซม. ยาว 15 ซม. หนา 8-10 ซม. มีน้ำหนักประมาณ 2 ปอนด์ และมดลูกจะลดขนาดลงเพื่อกลับคืนสู่สภาพปกติประมาณวันละ ½ นิ้ว เรียกการเปลี่ยนแปลงนี้ว่า “มดลูกเข้าอู่”
ระดับของมดลูกจะอยู่กึ่งกลางระหว่างหัวเหน่ากับสะดือหรือประมาณ 3 นิ้วเหนือหัวเหน่าภายหลังจากคลอดในวันที่ 7 และระดับยอดมดลูกจะอยู่เหนือหัวเหน่าหลังจากคลอดประมาณวันที่ 10-12 โดยมีน้ำหนักประมาณ 8-9 ออนซ์ และภายใน 6-8 สัปดาห์ก็จะมีขนาดปกติ คือมีขนาด 3x2x1 นิ้ว มีน้ำหนักประมาณ 2-3 ออนซ์
หลังการคลอดใน 24 ชั่วโมงแรกบริเวณที่รกเกาะจะเป็นแผลใหญ่และมีเลือดซึมออกมา แต่หลอดเลือดในบริเวณนั้นจะตีบลงและมีก้อนเลือดเล็กๆ มาปิดในระยะต่อมา ซึ่งอาจมีภาวะแทรกซ้อนเกิดขึ้นได้มากที่สุดในระยะ 10-14 วันแรกของการคลอด จึงต้องเฝ้าระวังและดูแลรักษาเป็นพิเศษในระยะสำคัญนี้
เนื้อเยื่อบุโพรงมดลูก
เนื้อเยื่อบุโพรงมดลูกที่เหลืออยู่ในโรงมดลูก
จะแบ่งตัวเป็น 2 ชั้น ภายหลังจากการคลอด
ได้ 2-3 วัน
ชั้นผิว ส่วนนี้เรียกว่า น้ำคาวปลา จะมีระยะการหลุดออกมาเป็น 3 ระยะคือ
ใน 2-3 วันแรก ชั้นผิวส่วนนี้ส่วนใหญ่จะประกอบไปด้วยเลือดจึงออกมาเป็นสีแดง
ในราววันที่ 10 จะมีเนื้อเยื่อบุโพรงมดลูกสลายตัวปะปนออกมาด้วย จึงทำให้สีแดงจางลง และมีปริมาณน้อยลงด้วย
ภายใน 3 สัปดาห์หลังคลอด สีของน้ำคาวปลาจะหมดไป แต่อาจมีอยู่นานถึง 6 สัปดาห์ในบางราย
เยื่อบุโพรงมดลูก
เป็นส่วนที่อยู่ติดกับเนื้อมดลูก ซึ่งภายในเยื่อบุโพรงมดลูกจะมีต่อมของเยื่อบุโพรงมดลูกอยู่ และภายใน 3 สัปดาห์ก็จะมีการเจริญจนเต็มโพรง แต่จะกินเวลานานถึง 6 สัปดาห์ในส่วนที่เป็นรอยเกาะของรก ในส่วนที่รกเกาะหากไม่มีการเจริญของเยื่อบุโพรงมดลูกก็จะทำให้กลายเป็นแผลเป็น ซึ่งการตั้งครรภ์ในครั้งต่อไปจะมีอันตรายได้
ปากมดลูกและตัวมดลูกส่วนล่าง
ปากมดลูกจะมีลักษณะนุ่มบางและมีรอยฉีกขาดออกไปทางด้านข้างภายหลังที่รกคลอดแล้ว และมีการหดตัวอย่างช้าๆ พบว่าหลังคลอดประมาณ 2-3 วันแรก จะมีขนาดเท่ากับสอด 2 นิ้วมือได้ และจะแคบลงเมื่อครบ 3 สัปดาห์ หรือเรียกว่า ปากมดลูกด้านนอก จะมีลักษณะแตกต่างไปจากเดิมเมื่อสิ้นสุดสัปดาห์ที่ 6 คือขนาดจะกว้างออกและด้านข้างจะมีรอยแตก ส่วนมดลูกก็จะหดตัวหนาขึ้นและสั้นลง ภายใน 2-3 สัปดาห์ก็จะเป็นคอมดลูกตามเดิม
ช่องคลอดและปากช่องคลอด
เป็นอวัยวะที่ผนังมีการหย่อนมากกว่าเดิม ไม่สามารถกลับสู่สภาพปกติเหมือนตอนก่อนคลอดได้ โดยผนังช่องคลอดจะปรากฏเป็นรอยย่นให้เห็น และจะสมบูรณ์เหมือนเดิมในสัปดาห์ที่ 6-10 ส่วนลักษณะของเยื่อพรหมจารีจะขาดกะรุ่งกะริ่งเป็นติ่งเนื้อเล็กๆ ซึ่งทำให้รู้ได้ว่าเคยผ่านการคลอดบุตรมาแล้ว
ในรายที่แผลสมานกันได้รวดเร็วจะเป็นการฉีดขาดจากการตัดฝีเย็บ ปกติแล้วภายใน 5-7 วันแผลนี้จะหายเข้าสู่สภาพเดิมได้ หากเกิดอาการบวมและอักเสบก็อาจเกิดจากไม่ได้เย็บแผลหรือเย็บไม่ถูกวิธี จนอาจทำให้มีการติดเชื้อเข้าไปภายในมดลูก ปีกมดลูก และช่องท้อง ซึ่งต้องใช้เวลานานกว่ารักษาหาย
หัวนมและเต้านม
ฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรนจากรกจะหมดไปภายหลังการคลอด ทำให้ต่อมปิทูอิตารี่ส่วนหน้าเกิดการหลั่งฮอร์โมนโปรแลคติน ส่งผลให้มีน้ำนมเกิดขึ้น น้ำนมจะมีในประมาณวันที่ 3-4 ในครรภ์แรก แต่จะมีในประมาณวันที่ 2 หากเป็นครรภ์หลังๆ
โดยมารดาจะรู้ว่านมแข็ง คัดเต้านม เจ็บร้อนบริเวณเต้านม และอาจจะบวมไปถึงบริเวณรักแร้ในบางราย ในครั้งแรกที่เกิดนมคัดนี้ เกิดจากหลอดเลือดและท่อน้ำเหลืองมีการคั่ง เมื่อยังไม่มีการหลั่งก็จะเก็บน้ำนมไว้ แต่ประสาทที่ปลายหัวนมและเซลล์รอบๆ ต่อมน้ำนมจะหดตัวจากการดูดกระตุ้นของเด็ก ทำให้มีน้ำนมไหลออกมา
การดูดของทารกและความดันภายในเต้านมจะมีผลต่อจำนวนและคุณภาพของน้ำนม เต้านมเป็นอวัยวะที่ยังคงมีการเจริญเติบโตต่อไปอีกแม้ภายหลังจากคลอดแล้ว น้ำนมที่มีใหม่ๆ หลังจากคลอด 2-3 วันแรก เรียกว่า น้ำนมเหลือง(Colostum) จะมีลักษณะเป็นสีเหลืองใสๆ ซึ่งมีส่วนประกอบในน้ำนมตามปกติ แต่จะมีโปรตีนและเกลือแร่อยู่ในปริมาณที่มากกว่า และยังมีสารภูมิคุ้มกันที่ช่วยป้องกันลำไส้อักเสบด้วย น้ำนมเหลืองจะหมดไปประมาณวันที่ 5-7 หลังคลอด และมีน้ำนมตามปกติที่มีสารอาหารเหมาะกับการเลี้ยงดูทารกมากกว่านมจากแหล่งอื่นๆ
ระบบต่อมไร้ท่อ
การตกไข่และการมีประจำเดือนแรกแตกต่างกันในมารดาหลังคลอดแต่ละราย มารดาหลังคลอดจะไม่มีการตกไข่และการมีประจำเดือนอยู่ช่วงระยะหนึ่งเนื่องจากระดับ Estrogenและ Progesterone ในเลือดลดลงอย่างรวดเร็วร่วมกับระดับ Prolactin เพิ่มขึ้นกดการทำงานของรังไข่ (Inhibit follicular development) ทำให้กดการหลั่ง FSH & LH ซึ่งทำให้ไม่มีการกดไข่และไม่มีประจำเดือน
มารดาที่ไม่ได้ BF จะกลับมามีประเดือนอีกครั้ง ภายใน 7-9 สัปดาห์ พบว่าร้อยละ 50 ของประจำเดือนครั้งแรกจะไม่มีการตกไข่ เนื่องจาก corpus luteum ยังทำงานได้ไม่เต็มที่ มีระดับ LH และ Progesterone ในเลือดต่ำการตกไข่จะเกิดขึ้นเร็วสุดอีกครั้ง ประมาณวันที่ 25 หลังคลอด
ระบบปัสสาวะ
ส่วนนำของทารกจะไปกดทับบริเวณกระเพาะปัสสาวะในระหว่างการคลอด ทำให้ผนังใต้เยื่อบุกระเพาะปัสสาวะเกิดบวม มีเลือดคั่งและเลือดออก ความจุของกระเพาะปัสสาวะจะมีมากขึ้น มีความยืดหยุ่นลดน้อยลง ทำให้เกิดการโป่งของกระเพาะปัสสาวะ เมื่อถ่ายปัสสาวะก็จะถ่ายออกได้ไม่หมด
นอกจากนั้น ใน 1-2 วันแรกหลังคลอด ยังอาจพบโปรตีนในปัสสาวะด้วย ซึ่งภาวะนี้จะเกิดร่วมกับการขยายตัวของหลอดไตและกรวยไต จึงทำให้ทางเดินปัสสาวะมีการติดเชื้อได้ง่ายขึ้น ในเวลา 8-12 สัปดาห์ กรวยไตและหลอดไตที่ขยายตัวก็จะกลับคืนสู่สภาพปกติ
ระบบไหลเวียนของเลือดและหัวใจ
มดลูกจะมีการหดรัดตัวทันทีหลังคลอด เพื่อไล่เลือดในชั้นกล้ามเนื้อของมดลูกเข้าสู่ระบบไหลเวียน ในร่างกายจึงมีปริมาณเลือดไหลเวียนเพิ่มมากขึ้นกะทันหัน แต่มารดาที่ไม่มีปัญหาเกี่ยวหัวใจหรือหลอดเลือดก็จะไม่เกิดอันตรายขึ้น เพราะระหว่างการคลอดที่มีการเสียเลือดจะช่วยรักษาสมดุลเอาไว้ได้
จะพบว่ามีเม็ดเลือดแดงมากกว่าปกติถึง 20% ปริมาณเลือดมากกว่าปกติ 32% น้ำเหลืองมีปริมาณมากกว่าปกติ 40% เมื่อครรภ์ครบกำหนด และภายใน 1 สัปดาห์หลังการคลอดจำนวนเหล่านี้ก็จะลดลงเข้าสู่สภาพปกติเหมือนตอนก่อนคลอด
ปริมาณเลือดที่ออกจากหัวใจ
2-3 ชั่วโมงแรกจะสูงขึ้นชั่วคราว เนื่องจากมดลูกมีขนาดเล็กลงและแรงกด ที่บริเวณมดลูกลดลงและน้ำนอกหลอดเลือดกลับเข้าสู่หลอดเลือดโดยปกติ Cardiac output จะสูงประมาณ 48 ชั่วโมงหลังคลอดจะลดลงภายใน 2 สัปดาห์ ลดลงร้อยละ 30และ6-12 สัปดาห์ จะกลับเข้าสู่สภาวะ ปกติ
สัญญาณชีพ
ชีพจรเกิด bradycardia ประมาณ 50 -60/ min เนื่องจาก Cardiac output เพิ่มขึ้นและ stroke volume 8-10 สัปดาห์หลังคลอดจะกลับสู่ระดับปกติ PR จาก PPH, infection, pain, anxiety
RR ลดลงจากการลดลงของมดลูก กระบังลมเคลื่อนต่ำลง มีผลต่อ cardiac axis เข้าสู่ระดับปกติในสัปดาห์ที่ 6-8 หลังคลอด Systolic murmur ที่เกิดขึ้นในระยะตั้งครรภ์ หายไปในวันที่ 8 หลังคลอดหรือคงอยู่นานถึง 4 เดือนหลังคลอด
ความดันโลหิต
ภายใน 48 ชั่วโมงหลังคลอด BP อาจสูงขึ้นหรือลดลงได้เล็กน้อยกลับคืนสู่ระดับปกติ ประมาณวันที่ 4 หลังคลอด เกิด orthostatic hypotension จากการที่ความดันในช่องท้องลดลงอย่างรวดเร็ว ทำให้หลอดเลือดที่มีเลี้ยงอวัยวะต่างๆในช่องท้อง เกิดการขยายตัวและคั่งทำให้ BP ลดลง อย่างรวดเร็ว BP ต่ำได้จากสูญเสียเลือดมากจากการคลอดหรือได้รับยาบางชนิด
อุณหภูมิร่างกาย
24 ชั่วโมงแรกหลังคลอด อุณหภูมิอาจสูงขึ้นเล็กน้อย ภาวะนี้เรียกว่า Reactionary fever เป็นผลจากการสูญเสียน้ำเลือดและพลังงานจากการคลอด แต่หาก BT เกิน 38 องศาเซลเซียส เกิน 24 ชั่วโมง แสดงว่าอาจติดเชื้อเกิดขึ้น 2-3 วันแรกอาจมีไขต่ำๆ จากการคัดตึงเต้านม “milk fever” เกิดจาก vascular และ lymphatic engorgement ถือเป็นภาวะปกติ
การเปลี่ยนแปลงของน้ำ
และเกลือแร่ในร่างกาย
ในระหว่างเจ็บครรภ์น้ำหนักของมารดาจะลดลงจากการเสียน้ำทางเหงื่อและการหายใจร่วมกับน้ำหนักของเด็กและรกไปประมาณ 5.5 กิโลกรัม และในสัปดาห์แรกของเหลวจะถูกขับออกมาอีกประมาณ 2 ลิตร ทำให้น้ำหนักของมารดาลดลงไปอีกประมาณ 4 กิโลกรัม และของเหลวจะถูกขับออกมาอีกประมาณ 1.5 ลิตรในอีก 5 สัปดาห์ต่อมา
การตกไข่และการมีประจำเดือน
ระยะหนึ่งหลังจากการคลอดจะไม่มีการตกไข่และไม่มีประจำเดือน และในรายของมารดาที่ให้นมบุตรก็จะมีช้ากว่ารายที่ไม่ได้เลี้ยงลูกด้วยนมของตัวเอง ใน 40 สัปดาห์ของการตั้งครรภ์ รังไข่จะหยุดทำงานจึงทำให้ไม่มีประจำเดือน และเป็นผลจากการได้รับฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรนจากรกด้วย หลังคลอดใน 4-6 สัปดาห์ หากไม่ได้เลี้ยงลูกด้วยนมตนเองประจำเดือนก็จะกลับมา
ระบบทางเดินอาหาร
มารดาจะกระหายน้ำและดื่มน้ำได้เป็นจำนวนมากภายหลังจากการคลอด เพราะระหว่างการคลอดและหลังคลอดร่างกายได้เสียน้ำไปมากทางเหงื่อ น้ำคาวปลา ปัสสาวะ และยังรับประทานอาหารไม่ค่อยได้ เมื่อรับประทานอาหารได้น้อยจึงทำให้ไม่ถ่ายอุจจาระในระยะ 2-3 วันแรก และกากอาหารจะแห้งกว่าปกติจากการเสียน้ำมาก ฝีเย็บและกล้ามเนื้อหน้าท้องก็ยังไม่เป็นปกติ และมีอาการปวดแผลร่วมด้วย และการนอนถ่ายก็เป็นสาเหตุของการกลั้นอุจจาระไว้ไม่ยอมถ่ายด้วย
ระบบผิวหนัง
Linea nigra, Facial chloasma
สีผิวที่เข้มขึ้นบริเวณลานนมจะจางลง และหายไป
Striae gravidarum บริเวณหน้าท้อง เต้านม และต้นขา
จะค่อยๆจางเป็นสีเงิน และจะไปหายสมบูรณ์
หลอดเลือดที่ผิดปกติ เช่น spider angiomus,
plamar erythema และ epulis โดยปกติจะลดลง
ระบบกล้ามเนื้อและโครงสร้าง
กล้ามเนื้อและข้อต่อ
1 – 2 วันหลังคลอดมารดามักมีอาการล้าและปวดเมื่อย กล้ามเนื้อ เป็นผลมาจากการเบ่งคลอด การลดลงของระดับ relaxin ช้าๆ ประมาณ 6-8 สัปดาห์หลังคลอดข้อต่อจะกลับคืนสู่สภาพ เหมือนเดิมก่อนตั้งครรภ์
กล้ามเนื้อหน้าท้อง
ผนังกล้ามเนื้อมีการยืดขยายจากการคลอด ความตึงตัว ของกล้ามเนื้อลดลงโดยเฉพาะสตรีที่ผ่านการคลอดหลายครั้ง พบ diastasis recti เกิดจาก rectus abdomenis ออกเป็น 2 ส่วน ทำให้ไม่มีกล้ามเนื้อตรงกลางหน้าท้อง
การส่งเสริมสุขภาพมารดาหลังคลอด
การประเมินภาวะสุขภาพตามหลัก13B
Background ข้อมูลส่วนบุคคล ได้แก่ อายุ อาชีพ รายได้ ระดับการศึกษา สถานภาพ สมรส จำนวนบุตร ลักษณะหรือถิ่นที่อยู่อาศัย แหล่งสนับสนุนทางสังคม ศาสนา ความเชื่อ ประเพณีวัฒนธรรม การเลี้ยงดูบุตร และการปฏิบัติตัว ของมารดา ประวัติการตั้งครรภ์ในอดีต ปัจจุบัน รวมทั้งผลการตรวจพิเศษต่างๆ ประวัติการคลอดในปัจจุบัน ประวัติความเจ็บป่วยในครอบครัว ประวัติทารกเกิดใหม่ เพศ น้ำหนัก ภาวะสุขภาพแรกเกิด Apgar scoreภาวะแทรกซ้อน ข้อมูลค าแนะนำที่ได้รับในระยะตั้งครรภ์ และระยะแรกคลอด
Body condition ลักษณะทั่วไป ได้แก่ สีหน้าท่าทาง อาการอ่อนเพลีย early ambulation ความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวัน ความสุขสบาย ความพร้อม และความ ต้องการเรียนรู้ ภาวะซีด ระดับ Hct, Hbข้อมูลที่บ่งบอกถึงภาวะตกเลือดหลังคลอด shock Deep vein thrombosis การตรวจHoman’s sign ลักษณะสีของผิวหนัง บริเวณน่องและขา การพักผ่อนนอนหลับ ประเมินระยะเวลาการนอน ความเพียงพอของการนอน อาการหงุดหงิด ตึงเครียด ความต้องการอาหารและน้ำ ประเมินความต้องการอาหาร ภาวะขาดน้ำ ความเชื่อเกี่ยวกับอาหาร
body temperature and blood pressure สัญญาณชีพ BT
ภายหลังคลอด 24 ชั่วโมง อุณหภูมิอาจสูงขึ้น เล็กน้อยแต่ไม่เกิน 38 องศา เซลเซียส เนื่องจากภาวะ reactionary fever PR ปกติจะเต้นช้าลง จากการเสียเลือดมาก หากเต้นเร็วกว่า 100/นาที อาจเกิดจากการคลอดยาก ตกเลือด ติดเชื้อ ภาวะขาดน้ำ ความปวด หากตรวจพบว่ามีชีพจรเบาเร็ว ร่วมกับความดันโลหิตต่ำ อาจเกิดภาวะตกเลือดหลัง
คลอด และช็อกได้ RR ถ้าเร็วหรือผิดปกติอาจเกิดจากโรคหัวใจและโรคทางเดินหายใจ BP ใน 48ชั่วโมงแรกอาจเกิดภาวะโลหิตต่ำกว่าปกติ จากภาวะ orthostatic hypotension
Breast and lactation
ลักษณะหัวนม สั้น บอด บุ๋ม การแตกของหัวนม อาการปวดบริเวณหัวนม เต้านม การคัดตึง ความปวด เต้าอักเสบ ความไม่สุขสบาย ความสมมาตรของเต้านม การคลำลักษณะตึงตัว ไม่มีก้อน การกดเจ็บจากการคั่งของเลือดและ น้ำเหลือง น้ำนม ชนิด ลักษณะ และปริมาณน้ำนม ทารกได้รับน้ำนมเพียงพอหรือไม่ (ประเมินจากพฤติกรรมทารก การหลับ การขับถ่าย และน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นตามเกณฑ์ 15-30 กรัม/วัน) LATCH score
Belly and uterus หน้าท้อง ประเมินลักษณะทั่วไป ได้แก่ pendulas abdomen, Striae gravidarum, linea nigra และ diastasis recti มดลูก ประเมินการหดรัดตัวของมดลูก ระดับยอด มดลูก after pain
Bladder การขับถ่ายปสัสาวะ โดยควรถ่ายปัสสาวะ ประมาณ 300-400 ml/ครั้งปัสสาวะ ภายใน 6-8 ชั่วโมงหลังคลอด Residual urine อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ ประเมิน bladder full
Bleeding and lochia การตรวจดูลักษณะน้ำคาวปลา สีกลิ่น ปริมาณน้ำคาวปลา ประเมินจากการซึม ที่ผ้าอนามัย
แนวทางการประเมินปริมาณน้ำคาวปลา
ออกน้อยมาก (scant lochia) ชุ่มน้อยว่า 2.5 cms. ภายใน 1 ชั่วโมง
ออกน้อย (light or mild lochia) ชุ่มประมาณ 10 cms. ภายใน 1 ชั่วโมง ออกปานกลาง (moderate lochia) ชุ่มประมาณ 10-15 cms. ภายใน 1 ชั่วโมง
ออกมาก (heavy lochia) ออกชุ่มทั่วแผ่นภายใน 1 ชั่วโมง
ออกมากผิดปกติ (excessive heavy lochia) ออกชุ่มทั่วแผ่นภายใน 15 นาที
Bottom
1.ฝีเย็บ อาการแดง(Reedness ) อาการบวม (edema/ swelling) อาการห้อเลือด(Ecchymosis) สิ่งคัดหลั่งที่ไหลออกจากแผล(Discharge) ลักษณะการชิดกันของขอบแผล (Approximation)
2.บริเวณอวัยวะสืบพันธ์ภายนอก การบวม ก้อนเลือดคั่ง varicose vein การหย่อนของพื้นเชิงกราน
3.ทวารหนัก ประเมินขนาด จำนวน อาการปวดของริดสีดวงทวาร
Bowel movement ประเมินการทำงานของลำไส้ การถ่ายอุจจาระ อาการท้องอืด ท้องผูก ซึ่งเป็นผลจากการ สูญเสียน้ำในระยะคลอด กล้ามเนื้อท้องหย่อน ปวดฝีเย็บไม่กล้าเบ่งถ่าย ประเมิน bowel sound และการเคาะท้อง
Blues ประเมินภาวะด้านจิตสังคมของสตรีหลังคลอด ประเมินพัฒนกิจในระยะหลังคลอด ปัจจัยที่มีผลต่อการปรับตัวของมารดาหลังคลอด
Baby ประเมินสภาพทั่วไป
• ศีรษะ ใบหน้า ผิวหนัง ร่างกายสมบูรณ์ ผิวกายสีชมพู สุขภาพ แข็งแรง แขน-ขาสมมาตร อวัยวะสืบพันธุ์
• เพศทารก น้ำหนักหลังคลอด น้ำหนักลดหรือไม่
• สัญญาณชีพ
• ทรวงอก หายใจปกติ ไม่มีอกบุ๋ม ลักษณะ หน้าท้อง สายสะดือ
• sign hypo-hyperthermia
• การดูดนม อาการท้องอืด การขับถ่าย ทวารหนัก
• การนอนหลับ
Bonding ประเมินสัมพันธภาพระหว่างมารดาและทารก และพฤติกรรมที่บ่งบอกถึงสัมพันธภาพไม่ดี ประเมินความสนใจของมารดาและบิดาในการ ดูแลทารก การโอบกอด พูดคุย สัมผัสทารกด้วย ความอ่อนโยน
Belief ประเมินความเชื่อของมารดาหลังคลอดและสมาชิกใน ครอบครัว ศาสนา ประเพณี วัฒนธรรม วิถีความเชื่อที่มีผลต่อ การดูแลทารกและการปฏิบัติตัวของมารดาหลังคลอด การอยู่ไฟ การอยู่เดือน กระโจม ความเชื่อเกี่ยวกับอาหาร
การส่งเสริมสุขภาพในมารดาหลังคลอด
การตรวจสอบสัญาณชีพ
ใน 24 ชั่วโมงแรกหลังคลอดเมื่อรับย้ายจาก LR ควรประเมินสัญญาณชีพ ทั้ง BT, PR และ BP ทุก 4ชั่วโมง ถ้าพบว่ามีไข้ต่ำๆ ควรกระตุ้นให้มารดาหลังคลอดดื่มน้ำและพักผ่อนให้เพียงพอ และประเมิน BT อย่างน้อยวันละครั้ง
ยกเว้น ในรายที่มีภาวะความดันโลหิตสูงร่วมกับการตั้งครรภ์หรือมีการประเมิน V/Sบ่อยขึ้น *
ควรสอนการวัดอุณหภูมิร่างกายแก่มารดาและบุตรเมื่อต้องกลับไปอยู่บ้าน
การประเมินการหดรัดตัวของมดลูก
และการกลับสู่สภาพปกติของมดลูก
ประเมินการหดรัดตัวของมดลูกทันทีที่รับย้ายจาก LR ควรประเมินการหดรัดตัวของมดลูกทกุ 1 ชั่วโมง อย่างน้อย 2 ครั้ง เมื่อมดลูกหดรัดตัวดีแล้วประเมิน ทุก 8ชั่วโมงในวันแรกหลังคลอด
ควรประเมิน Bladder full ร่วมด้วย ถ้ามดลูกยังหดรัดตัวไม่ดีอาจให้ยากระตุ้นการหดรัดตัวของมดลูกตามแผนการรักษา เช่น methergin และ syntocinon
การประเมินการกลับสู่สภาพปกติของมดลูก ควรทำภายหลังมารดาคลอดทางช่องคลอดครบ 24 ชั่วโมง ประเมินโดยการวัดความสูงของมดลูกทุกวัน (ควรลดลงวันละ 0.5-1 นิ้วฟุต หรือ 1 FB)
การบรรเทาอาการปวด
พยาบาลผดงุครรภ์ควรให้การพยาบาลเพื่อบรรเทาอาการปวดมดลกู มีดังนี้
อธิบายให้ทราบว่าอาการปวดมดลูกเป็นอาการปกติที่เกิดขึ้นได้ใน 1-2วันแรกหลังคลอด โดยเฉพาะมารดาครรภ์หลังที่มีอาการปวดมากกว่าครรภ์แรก
ดูแลกระเพาะปัสสาวะให้ว่าง กระตุ้นปัสสาวะทุก 3 –4 ชั่วโมง
แนะนำให้นอนคว่ำโดยใช้หมอนรองใต้ท้องน้อยทำให้มดลูกถูกกด เป็นการกระตุ้นให้มดลูกหดรัดตัว และน้ำคาวปลาไหลออกได้สะดวก
ห้ามประคบความร้อนบริเวณหน้าท้องในวันแรก เพราะมดลูกจะคลายตัวและทำให้เกิด PPH ตามมา
รับประทานยาแก้ปวดก่อน BF อย่างน้อย 30นาที หากมีอาการปวดมดลูกมาก
ส่งปรึกษาแพทย์หากมีอาการปวดมดลูกมากกว่าปกติ และนานมากกว่า 72ชั่วโมง เนื่องจาก อาจมีเศษรก และก้อนเลือดค้างในโพรงมดลูก
การดูแลแผลฝีเย็บและน้ำคาวปลา
การประเมินแผลฝีเย็บและน้ำคาวปลา ควรประเมินอย่างน้อย 2 ครั้งต่อวัน โดยใช้หลักการREEDA
การบรรเทาความไม่สุขสบาย
จากการปวดแผลฝีเย็บ
2.1 ice pack (การวางถุงน้ำแข็ง) ใน 24 ชั่วโมงแรกหลงัคลอด ถ้ามารดาปวดแผลฝเีย็บและ มีอาการบวมจากเลือดคั่ง ให้ประคบด้วย ice pack 15-20นาที พักประมาณ 10นาทีและทำซ้ำ เพื่อ ลดอาการบวมและความเจ็บปวด
2.2 sitz bath (การนั่งแช่ก้น) ใช้บรรเทาความปวดรดิสดีวงทวาร ควรทำหลังคลอด 24 ชั่วโมง มี 2วิธี คือ
hot sitz bath (การนั่งแช่ก้นในน้ำอุ่น)โดยปรับอุณหภูมิน้ำประมาณ
38-41 องศาเซลเซียสทำวันละประมาณ 2 ครั้ง ครั้งละประมาณ 20 นาที การแช่ก้นในน้ำอนุ่ช่วยให้การไหลเวียนโลหิตดขีึ้นส่งเสริมกระบวน
การหายของแผลและการอักเสบของริดสีดวงทวาร
ช่วยทำให้รู้สึกสขุสบาย
cool sitz bath (การนั่งแช่ก้นในน้ำเย็น) ช่วยลดอาการบวมของฝีเย็บและลดการตอบสนองของประสาทส่วนปลายซึ่งเป็นสาเหตุ
ให้เกิดความเจ็บปวด วิธีปฏิบัติให้มารดานั่งแช่ก้นในน้ำเย็นธรรมดา
และค่อยๆใส่ก้อนน้ำแข็งลงในอ่างจนมารดารู้สึกสุขสบาย
2.3 การใช้ยาแก้ปวด มารดาหลังคลอดที่มีอาการปวดแผลฝีเย็บมาก อาจให้ยาแก้ปวดรับประทานหรือใช้ anesthetic spray หรือ ointment ทาบริเวณแผลเพื่อลดอาการปวดตามแผนการรักษา
2.4 การอบแผลฝีเย็บด้วย intra red light ช่วยลดอาการบวมของแผลฝีเย็บ กระตุ้นการไหลเวียนของโลหิต ช่วยให้แผลแห้งและหายไว ทำให้รู้สึกสุขสบาย วิธีปฏิบัติวางหลอดไฟให้ห่างจากฝีเย็บประมาณ 1-1 ½ ฟุต อบไฟนาน 3-5นาที ก่อนอนควรชำระอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอกให้แห้ง
การทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธ์ุ
และการเปลี่ยนผ้าอนามัย
การทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์และการเปลี่ยนผ้าอนามัย มารดาหลังคลอดที่ช่วยเหลือตัวเองได้ดี ควรให้คำแนะนำ ดังนี้
ล้างมือให้สะอาดก่อนและหลังทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์
ทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอกด้วยสบู่และน้ำสะอาด
โดยล้างจากด้านหน้าไปด้านหลังเพื่อป้องกันการปนเปื้อน
จากทวารหนักและซับให้แห้งหลังขับถ่าย
เปลี่ยนผ้าอนามัยเมื่อรู้สึกเปียกชุ่มหรือทุกครั้งหลังขับถ่าย
และล้างมือก่อนและหลัง จับผ้าอนามัยทุกครั้ง
วิธีจับผ้าอนามัยควรจับกับด้านที่ไม่สัมผัสกับอวัยวะสืบพันธุ์
ใส่และถอดผ้าอนามัยจากด้านหน้าไปด้านหลัง โดยใส่ให้กระชับ
ไม่เลื่อนไปมา เพราะอาจนำเชื้อโรคจากทวารหนักมายังช่องคลอดได้
สังเกตความผิดปกติของน้ำคาวปลาขณะขับถ่ายและเปลี่ยนผ้าอนามัย
ส่งเสริมการนอนหลับพักผ่อน
ภายหลังการคลอดมารดาจะรู้สึกอ่อนเพลีย การพักผ่อนอย่างเพียงพอช่วยให้ร่างการฟื้นฟูสู่สภาพปกติได้เร็วขึ้น มีผลต่อการสร้างและหลั่งน้ำนมดีขึ้นและสุขภาพจิตมารดา พยาบาลผดุงครรภ์ควรส่งเสริมให้มารดาได้รับการพักผ่อนอย่างเพียงพอ ดังนี้
จัดสิ่งแวดล้อมให้เงียบ สงบ และส่งเสริมการพักผ่อน
ปรับกิจกรรมการพยาบาลอย่างเป็นระบบ รบกวนมารดาน้อยที่สุดเพื่อให้พักผ่อนอย่างเต็มที่
ให้คำแนะนำมารดาในการใช้เทคนิคการผ่อนคลาย
หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน และอาหารที่ทำให้ท้องอืด
แนะนำให้มารดาหลังคลอดปรับเปลี่ยนเวลานอน เช่น ให้นอนหลับพักผ่อนพร้อม บุตรหรือหาบุคคลอื่นช่วยดูแลบุตรเมื่อรู้สึกอ่อนเพลีย
การมีเพศสัมพันธ์หลังคลอด
ควรงดการมีเพศสัมพันธ์ประมาณ 4 -6 สัปดาห์หลังคลอด
คือจนกระทั่งมารดาตรวจร่างกายแล้ว 4 -6 สัปดาห์นี้แผลโพรงมดลูก
และแผลฝีเย็บต้องการเวลาเพื่อให้แผลหายสนิทและไม่มี
การติดเชื้อตามมาหลังจากมีเพศสัมพันธ์ ระยะหลังคลอดช่องคลอด
จะค่อนข้างแห้งและการมีเพศสัมพันธ์อาจมีน้ำนมไหลออกมา
เนื่องจากมีการหลั่ง Oxytocin
การมีเพศสัมพันธ์อาจจำเป็นต้องใช้น้ำมันหล่อลื่น และเลือกใช้ท่าที่เหมาะสมสามารถควบคุมได้ เนื่องจากหลังคลอดช่องคลอดจะค่อนข้างแห้ง
มารดาสามารถให้นมบุตรก่อนมีเพศสัมพันธ์ เนื่องจากฮอร์โมนออกซิโทซินจะส่งผลให้มีการหลั่งของน้ำนมได้
การขับถ่ายปัสสาวะและอุจจาระ
ขับถ่ายปัสสาวะ
หลังคลอดความไวต่อความรู้สึกอยากถ่ายปัสสาวะลดลง กระตุ้นให้มารดาหลังคลอด ปัสสาวะเองภายใน 4 ชั่วโมง เพื่อให้กระเพาะปัสสาวะไม่ขัดขวางการหดรัดตัวของมดลกูกขับถ่ายปัสสาวะ
เบื้องต้นช่วยเหลือในการราดน้ำอุ่นบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์ หรือเปิดน้ำ
ถ้า 4-8 ชั่วโมงหลังคลอดยังไม่สามารถปัสสาวะได้เอง และกระเพาะปัสสาวะเต็มหรือถ่ายปัสสาวะเองไม่หมด ต้องสวนปัสสาวะทิ้ง (singer catheter) ถ้าปัสสาวะไม่ออกเกิน 8 ชั่วโมง ต้องสวนปัสสาวะและติดตามความสามารถในการ ขับถ่ายปัสสาวะ
ถ้ามีปริมาณน้ำปัสสาวะค้างมากกว่า 100-150 ml. อาจ พิจารณาคาสายสวนปัสสาวะคาไว้ 12 – 24 ชั่วโมง เพื่อช่วยให้แรงตึงตัวของกล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะทำงานปกติ
ขับถ่ายอุจจาระ
แนะนำให้รับประทานผัก ผลไม้ ดื่มน้ำให้เพียงพอ และขับถ่ายเป็นเวลา
กระตุ้นให้เกิด early ambulation และบริหารร่างกายสม่าเสมอ
หากมีอาการท้องผูก 3-4 วันและมารดารู้สึกท้องอืด ให้ยาระบายอ่อนๆ หรือสวนอุจจาระ
ดูแลบรรเทาอาการริดสีดวงทวารในช่วง 2–3 วันแรกโดยทำ hot sitz bath นอนในท่า sim’s position เพื่อช่วยการไหลเวียนของหลอดเลือดดำบริเวณทวารหนักดีขึ้น
ดูแลให้ยาเหน็บทางทวารหนัก หรือให้ยาที่ทำให้อุจจาระอ่อนตัวตามแผนการรักษา
การกระตุ้นให้มี early ambulation
การกระตุ้นให้มารดาลุกจากเตียงเร็ว ช่วยให้ร่างกายฟื้นฟูสู่สภาวะปกติเร็ว กระตุ้นให้เลือดไหลเวียนดี น้ำคาวปลาไหลสะดวก มดลูกเข้าอู่เร็ว ป้องกันการเกิดหลอดเลือดดำอักเสบและหลอดเลือดดำอุดตัน ลดอาการท้องผูก
ประเมินความพร้อม ของร่างกายและให้การดูแลอย่างใกล้ชิด เพราะมารดาอาจมีอาการหน้ามืด เวียนศีรษะและเป็นลมได้
ส่งเสริมให้มารดาหลังคลอดเริ่มปฏิบัติกิจวัตรประจำวันเบาๆในระยะแรกหลังคลอด
มารดาที่ต้องนอนบนเตียงนานเกิน 8 ชั่วโมง แนะนำให้บริหารเท้าและขา กระดกปลายเท้าขึ้นลงสลับกัน หมุนข้อเท้าเป็นวงกลม งอขาและเหยียดขาสลับกัน
หลีกเลี่ยงการยกของหนัก การทำงานหนัก เพราะจะทำให้ความดันช่องท้องสูงขึ้นกล้ามเนื้อและเอ็นที่ยึดมดลูกยังไม่แข็งแรง อาจทำให้มดลูกเคลื่อนต่ำได้
ควรเริ่มทำงานบ้านเบาๆ ได้ภายหลัง 2 สัปดาห์หลังคลอด ส่วนงานหนักควรเริ่มทำภายหลัง 6 สัปดาห์หลังคลอด
การส่งเสริมการรับประทานอาหารและ
การควบคุมน้ำหนักในมารดาหลังคลอด
• มารดาสูญเสียน้ำ พลังงานในระยะคลอด ควรส่งเสริมใหม้ารดารับประทานอาหารให้ครบ 5หมู่ เพิ่มโปรตีน เกลือแร่และวิตามิน เพื่อช่วยให้ร่างกายแข็งแรงขึ้น ฟื้นฟูสู่สภาวะปกติอย่างรวดเร็ว
• ควรดื่มน้ำอย่างน้อง 6-8แก้วต่อวัน
• ควรได้รับ calcium อย่างน้อย 1200 mg/day เพื่อทดแทนการสญูเสียcalcium ในช่วง 6 เดือนแรก
• ควรได้รับธาตุเหล็กนาน 4 – 6 สัปดาห์หลังคลอด เนื่องจากการดูดซึมธาตุเหล็กน้อยลง
• มารดาหลังคลอดที่เลี้ยงบตุรด้วยนมมารดา ควรได้รับพลังงานจากการบริโภคอาหารประมาณ 2,500-2,700 kcal/day
• อาหารที่ควรงดและหลีกเลี่ยง ได้แก่ ชา กาแฟ ของหมักดอง อาหารรสจัด เครื่องดื่ม อาหารที่มีแอลกอฮอล์ผสม รวมทั้งควรงดอาหารสุกๆ ดิบๆ อาหารที่รับประทานแล้วมีอาการ ปวดท้อง ท้องอืด ท้องเสีย เป็นผื่น เป็นต้น
• งดการดื่มน้ำไพล เนื่องจากไพลมีคุณสมบัตทำให้มดลูกคลายตัวอาจะทำให้เกิด PPH ได้
• สำหรับมารดาที่รับประทานมังสวิรัติอาจได้รับวิตามนิ B 12 ไม่เพียงพอ ดังนั้นอาจจำเป็นให้วิตามนิ B12 ในมารดาที่ทานมังสวิรัติ
• มารดาหลังคลอดไม่ควรลดน้ำหนักก่อน 6 สัปดาห์ และไม่ควรลดน้ำหนัก มากกว่า 2 กก./เดือน เพื่อให้ร่างการฟื้นฟูจากการคลอดและมีการสร้างน้ำนมอย่างเพียงพอ
• การลดน้ำหนักประมาณ 0.5-1 กก./เดือน จะไม่ส่งผลต่อการสร้างน้ำนม ลดลง
• แต่ในขณะควบคุมน้ำหนักควรรับประทานอาหารให้ครบถ้วน ไม่ควรงดอาหารมื้อใดมื้อหนึ่ง เพราะร่างกายอาจได้รับสารอาหารไม่เพียงพอต่อความต้องการ
• ทั งนี้การควบคุมน้ำหนักจะได้ผลดีควรกระทำร่วมกับการออกกำลังกาย
แนวทางในการช่วยกระตุ้นการสร้างและการหลั่งน้ำนมมีหลายวิธี ได้แก่ การประคบเต้านมอุ่นจัดและหรือสมุนไพร การนวดเต้านม และการใช้สารกระตุ้นการสร้างและหลั่งน้ำนมซึ่งมีทั้งยา อาหารและหรือสมุนไพร
การใช้อาหารหรือสมุนไพรเพื่อกระตุ้นการสรา้งและหลั่งน้ำนมแม่นั้นเป็นที่นิยมกันตั้งแต่ในอดีตจนถึงปัจจุบัน แต่ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้สมุนไพรโดยเฉพาะสมุนไพรไทยเพื่อกระตุ้นการผลิตน้ำนมยังมีน้อย และยังไม่มีงานวิจัยที่มีกระบวนการวิจัยที่รัดกุม ไม่มีการสุ่มกลุ่มตัวอย่าง และบางงานวิจัยไม่มีกลุ่มควบคุม จึงไม่สามารถสรุปประสิทธิผลและผลข้างเคียงที่ตามมาได้อย่างชัดเจน
การศึกษาผลของการใช้สมุนไพรไทยที่นิยมและหาง่ายในท้องถิ่น ได้แก่ ปลีกล้วย และขิง ที่มีผลต่อ การไหลและปริมาณน้ำนมแม่ในระยะแรกหลังคลอดยังไม่เป็นที่แพร่หลาย
การบริหารร่างกายองมารดาหลังคลอด
ประโยชน์ของการบริหารร่างกายหลังคลอด ช่วยให้อวัยวะต่างๆกลับคืนสู่สภาพปกติเร็วขึ้น โดยเฉพาะกล้ามเนื้อหน้าท้องและกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน ระบบไหลเวียนโลหิตดีขึ้น ป้องกันหลอดเลือดดำอุดตัน การหลั่งน้ำนมดี ลดความตึงเครียดทางอารมณ์ ช่วยให้รูปร่างดี
มารดาหลังคลอดปกติ ควรเริ่มบริหารร่างกายภายใน 24 ชม.แรกสำหรับมารดา C/S อาจเริ่มช้ากว่านี้
ควรบริหารวันละ 20-30 นาที จนครบ 6 สัปดาห์หลังคลอด
มารดาควรปัสสาวะและให้นมบุตรอิ่มก่อนเริ่มบริหาร
กรณีรู้สึกเหนื่อยมาก ปวดแผลมาก น้ำคาวปลาไหลมาก หรือหน้ามืดให้หยุดพักและลดระยะเวลา ความแรงในการบริหารร่างกายใน ครั้งถัดไป
การเปลี่ยนแปลงทางด้านจิตสังคม
ของมารดาในระยะหลังคลอด
มารดาหลังคลอดจะมีการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ได้ง่าย มีความรู้สึกที่ไวต่อสถานการณ์ต่างๆ มีความกลัวและกังวลในการปรับตัวต่อบทบาทหน้าที่ในการเป็นมารดาซึ่งต้องดูแลบุตร และยังต้องปฏิบัติหน้าที่ในครอบครัวให้เหมือนก่อนการมีบุตรไปพร้อมๆกัน เป็นช่วงเวลาสำคัญที่มารดาต้องปรับตนเองให้เข้ากับสถานการณ์บทบาทใหม่ ซึ่งระยะพัฒนกิจการปรับเปลี่ยนบทบาทการเป็นมารดา รูบิน (Pillitteri, 2003)ได้แบ่งเป็น 3 ระยะดังนี้
ระยะเทคกิ้ง-อิน
(the taking-in phase)
เป็นระยะพึ่งพา มารดาหลังคลอดยังคงเข้ารับการรักษาอยู่ในโรงพยาบาล มารดาจะสนใจแต่ความต้องการของตนเองมากกว่าการคำนึงถึงความต้องการของบุตร โดยมารดาจะมีความต้องการพักผ่อน การรับประทานอาหารหลังคลอด เพื่อชดเชยพลังงานที่สูญเสียไปจากการคลอด ต้องการที่จะได้รับความช่วยเหลือในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน เนื่องจากมารดาไม่สุขสบายด้านร่างกาย รวมทั้งมีความตึงเครียดด้านจิตใจในการปรับเปลี่ยนบทบาทหน้าที่ในการเป็นมารดา
ระยะเทคกิ้ง-โฮลด์
(taking-hold phase)
เป็นระยะกึ่งพึ่งพา มารดาเริ่มพึ่งพาตนเองได้ สามารถควบคุมสมดุลของระบบต่างๆ ในร่างกายได้ เริ่มมีสุขภาพที่แข็งแรงและมีกำลังเพียงพอ มารดาจึงสนใจการทำหน้าที่ของอวัยวะต่างๆของร่างกาย กระตือรือร้นที่จะดูแลตนเอง และตัดสินใจในกิจกรรมต่างๆที่เป็นบทบาทหน้าที่ของมารดาได้
เริ่มสนใจเรียนรู้และฝึกทักษะในการดูแลบุตร รวมทั้งการให้นมบุตร อย่างไรก็ตามระยะนี้มารดายังต้องการการพักผ่อนและการตอบสนองต่อร่างกายของตนเอง ถ้ามารดาไม่ได้รับการตอบสนองดังกล่าว อาจส่งผลให้มารดาไม่มีความอดทน รู้สึกประสบความล้มเหลว และขาดความเชื่อมั่นในการแสดงออกถึงบทบาทหน้าที่ในการเป็นมารดา ถ้ามารดาได้รับการช่วยเหลือตอบสนองตามความต้องการจะสามารถผ่านระยะนี้ไปได้
ระยะเลตติ้ง-โก
(letting-go phase)
ระยะ 2 สัปดาห์หลังคลอด เป็นระยะพึ่งพาตนเอง ซึ่งมีการปรับเปลี่ยนบทบาทหน้าที่การเป็นมารดา สามารถที่จะดูแลตนเองและบุตรได้มากขึ้น เป็นระยะที่มารดารู้สึกเศร้าลึกๆ ต่อการสูญเสียสิ่งที่เคยเป็นส่วนหนึ่งของร่างกายคือบุตร และเริ่มยอมรับว่าบุตรเป็นบุคคลหนึ่งที่แยกออกจากตน มีบุคลิกลักษณะแนวทางในการดำเนินชีวิตเฉพาะของตนเอง
มารดามีการปรับตัวในหลายด้าน ได้แก่ การปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงระบบครอบครัวที่ต้องมีสมาชิกเพิ่มขึ้น ปรับตัวในการสร้างสัมพันธภาพของครอบครัว และปรึกษาในการทำกิจกรรมร่วมกันทั้งการดูแลบุตร การทำงานบ้าน และกิจกรรมทางสังคม รวมถึงการคงสัมพันธภาพพื้นฐานของครอบครัว
ดังนั้นการดูแลมารดาด้านจิตสังคมในระยะพึ่งพาตนเอง ควรดูแลมารดาด้วยการแสดงความรัก ความห่วงใย ความเห็นอกเห็นใจ การเอาใจใส่ การให้กำลังใจ ชื่นชม และสนับสนุนให้มารดาสามารถปรับตัวต่อบทบาทการเป็นมารดาในการเลี้ยงดูบุตรและการกระทำบทบาทหน้าที่ของการเป็นภรรยาในการปฏิบัติภารกิจภายในครอบครัว และสังคมอย่างเหมาะสมอาหารหลังคลอด
การเปลี่ยนแปลงทางด้านจิตสังคม
ของมารดาในระยะหลังคลอดและครอบครัว
อารมณ์เศร้าหลังคลอด (postpartum blues) เกิดระยะแรกหลังคลอดและต่อเนื่องจนถึง 3-4วัน หลังคลอด อาการแสดง ได้แก่ มีอารมณ์หงุดหงิด ร้องไห้ วิตกกังวล รบกวนการนอนหลับและความอยากอาหาร การให้คำจำกัดความ ของอารมณ์เศร้าหลังคลอด คือ อารมณ์ที่มีระยะเวลาการเกิดอาการสั้น อาการไม่รุนแรง ไม่ต้องรักษาใดๆ และอาการจะ กลับคืนสู่สภาวะเดิม
ภาวะซึมเศร้าภายหลังคลอด (Postpartum Depression) ภาวะซึมเศร้าหลังคล้ายกับโรคซึมเศร้าทั่วไป ลักษณะ อาการของภาวะซึมเศร้าหลังคลอด พบว่ามีการเปลี่ยนแปลงในกิจกรรมการนอนหลับ ความอยากอาหาร มีอารมณ์เศร้า หงุดหงิด มีความวิตกกังวล จัดการปัญหาไม่ได้ มีความคิดเชิงลบ กลัวเมื่อต้องอยู่คนเดียว สับสน สูญเสียการรับรู้ รู้สึกผิด สูญเสียความมั่นใจ และมีความคิดอยากทำร้ายตัวเองหรืออยากทำร้ายบุตร ลักษณะดังกล่าวแตกต่างจากอารมณ์เศร้าหลังคลอด (Postpartum blue) คือมีอาการรุนแรงมากกว่าจนถึงขั้นรบกวนความเป็นอยู่ การเลี้ยงดูทารก และอาการอยู่นาน เกิน 2 สัปดาห์
โรคจิตหลังคลอด (postpartum psychosis) เป็นอาการที่มีความรุนแรงมาก รูปแบบของโรคจิตหลังคลอดเป็น รูปแบบที่รุนแรงมาก และมีความผิดปกติของอารมณ์มากที่สุด อาการเริ่มต้นใน 48-72 ชั่วโมง ภายหลังคลอด และมีการพัฒนาอาการภายใน 2สัปดาห์ ซึ่งมักจะแสดงอารมณ์เศร้าหรือมีอารมณ์สุข แต่อาการจะเปลี่ยนอย่างรวดเร็วมีอาการหลงผิดและเห็นภาพหลอนร่วมด้วย
นางสาวอมรรัตน์ สะพานแก้ว ชั้นปีที่2 รุ่นที่26 ห้องA เลขที่47 รหัสนักศึกษา 613020110565