Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
กลากน้ำนม (Pityriasis Alba), กลากน้ำนม, กลาก2 - Coggle Diagram
กลากน้ำนม (Pityriasis Alba)
สาเหตุ
ไม่ทราบแน่ชัดว่าผื่นกลากน้ำนมเกิดขึ้นได้อย่างไร มีสมมติฐานว่าเกิดจากภาวะผิวหนังอักเสบเรื้อรังจนทำให้เซลล์สร้างเม็ดสี (melanocyte) ที่อยู่บริเวณชั้นล่างสุดของหนังกำพร้า (epidermis) ได้รับบาดเจ็บ เซลล์ดังกล่าวจึงสร้างเม็ดสี (melanin pigment) ได้ลดลง ผิวหนังบริเวณที่เกิดการอักเสบจึงมีขาวกว่าตำแหน่งปกติ
การเปลี่ยนแปลงทางภูมิอากาศ การแพ้ลม แพ้แดด การขาดอาหาร หรือมีติดเชื้อแบคทีเรีย
กลากน้ำนมไม่ได้เกิดจากการกินนม ที่เรียกว่ากลากน้ำนม เพราะว่ามักจะพบในระยะ ที่เด็กกินนม และลักษณะเหมือนน้ำนมแห้งติดอยู่ที่แก้ม
การรักษา
ทาครีมบำรุงผิวหรือใช้ยากลุ่มสเตียรอยด์ ที่มีฤทธิ์อ่อนๆ เช่น ครีมไตรแอมซิโนโลน อะเซโทไนด์ 0.02% (TA / Triamcinolone acetonide 0.02% cream), ครีมไฮโดรคอร์ติโซน 1-2% (Hydrocortisone 1-2% cream) โดยให้ทาวันละ 1-2 ครั้ง ในระยะเวลาที่จำกัดภายใต้การดูแลของแพทย์ เพื่อป้องกันผลข้างเคียงจากการใช้ยาสเตียรอยด์เป็นเวลานาน เช่น ผิวหนังส่วนที่ทายาบางลง อักเสบ แตกเป็นแผลได้ง่าย เกิดขนขึ้นมากผิดปกติทำให้ขาดความสวยงามไป หรือยาอาจถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดเข้าไปกดการทำงานของต่อมหมวกไต เป็นต้น
หลีกเลี่ยงแสงแดด กลากน้ำนมนี้จะเป็นๆหายๆ มักเป็นเรื้อรัง บางรายอาจมีอาการเป็นปี แต่ไม่เป็นอันตราย บางคนจะหายได้เอง และไม่ติดต่อไปยังผู้อื่น
หลังอาบน้ำแล้วซับตัวเพียงหมาดๆ ไม่ใช้ผ้าเช็ดหรือขัดผิว
ควรใช้สบู่อ่อนๆ เช่น สบู่เด็ก สบู่น้ำ ในการล้างทำความสะอาดบริเวณที่เป็น
รักษาผิวให้ชุ่มชื้นอยู่เสมอด้วยการใช้ครีมบำรุงผิวหลังการอาบน้ำทุกครั้ง และควรระวังอย่าให้เกิดภาวะผิวแห้ง
อาการและอาการแสดง
พบได้บ่อยบริเวณใบหน้าเช่น บริเวณหน้าผาก ขอบตา แก้ม ปาก และอาจพบที่ลำคอ ไหล่และแขน
เป็นรอยแดง อ่อนๆ มีขนาด 0.5เซนติเมตร – 4 เซนติเมตร มีขอบเขตไม่จำกัด ต่อมามีลักษณะเป็นวงขาวเป็นดวงๆ หรือเห็นสีผิวดูจางกว่าบริเวณใกล้เคียงและมีขุยละเอียด
Hypopigmentation จะเห็นได้ชัดเจนมากขึ้นในฤดูร้อนโดยเฉพาะในเด็กผิวดำ และเมื่อตากแดด ตากลม
สามารถพบร่วมกับโรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง โดยมากไม่ค่อยมีอาการ
การวินิจฉัยโรค
แพทย์จะสอบถามประวัติผู้ป่วยในเบื้องต้น ตรวจดูสภาพผิวและตำแหน่งรอยด่างที่เกิดตามร่างกาย แต่ในบางรายอาจต้องตรวจด้านอื่นเพิ่มเติม เพื่อช่วยยืนยันผลการวินิจฉัย เนื่องจากโรคกลากน้ำนมมีอาการคล้ายคลึงกับโรคที่มีภาวะไฮเปอร์พิกเมนเทชั่น (Hypopigmentation) อื่น ๆ เช่น โรคกลาก โรคเกลื้อน ซึ่งทำให้สีผิวซีดจางกว่าสีผิวปกติข้างเคียงเช่นเดียวกับโรคกลากน้ำนม
การตรวจด้วยแสงอัลตราไวโอเลต (Wood Lamp Examination) เป็นการใช้ไฟส่องไปยังบริเวณผิวหนังที่เป็นรอยด่างด้วยเครื่องมือพิเศษ หากพบว่าเป็นโรค จะทำให้มองเห็นผิวบริเวณนั้นเรืองแสง
การขูดตัวอย่างผิวหนังส่งตรวจ (Skin Scraping) โดยแพทย์จะขูดเอาตัวอย่างผิวบริเวณที่เป็นรอยด่างส่งไปตรวจที่ห้องปฏิบัติการ เพื่อใช้กล้องจุลทรรศน์ส่องดูชนิดของเชื้อรา
การตัดชิ้นเนื้อ (Skin Biopsy) โดยตัดชิ้นผิวหนังที่เป็นรอยด่างบางส่วนออกมาตรวจวิเคราะห์ ซึ่งช่วยให้ทราบว่าเกิดการติดเชื้อที่ผิวหนังและจำนวนเม็ดสีที่ลดลง แต่มักไม่ต้องตรวจถึงขั้นนี้