Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
วิเคราะห์วิจารณ์วรรณคดีและวรรณกรรม - Coggle Diagram
วิเคราะห์วิจารณ์วรรณคดีและวรรณกรรม
บทนำ
การอ่านวรรณคดี เป็นการทำความเข้าใจบทประพันธ์ให้โปร่งและใช้จินตภาพสร้างอารมณ์เพื่อจะได้เข้าถึงสารที่กวีต้องการสื่อ
การวิจักษ์วรรณคดี
เกิดความเข้าใจแจ่มแจ้งตระหนักในคุณค่าด้านวรรณศิลป์และคุณค่าด้านสังคม
เกิดความหวงแหนและต้องการธำรงรักษาให้เป็นสมบัติของชาติต่อไป
ความสำคัญของวรรณคดี
เป็นมรดกที่ตกทอดมาจากบรรพบุรุษ
เป็นเสมือนกระจกเงาสะท้อนภาพของสังคมในอดีต
มีคติธรรมอันเป็นแนวทางในการพัฒนา
ความคิดจิตใจและโลกทัศน์ของผู้อ่าน
มีคุณค่าด้านเนื้อหาคุณค่าด้านวรรณศิลป์และคุณค่าด้านสังคม
เป็นการส่งเสริมให้ผู้อ่านมีสุนทรียภาพทางอารมณ์
แนวทางในการอ่านวรรณคดี
เลือกอ่านวรรณคดี
บทร้อยกรองหรือคำประพันธ์หรือกวีนิพนธ์มีหลายชั้น
เลือกอ่านวรรณคดีเรื่องที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นวรรณคดีชั้นเยี่ยม
วรรณคดีที่ได้รับการยกย่องจะมีความเป็นอมตะ
มีข้อคิดที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับชีวิตได้
ควรอ่านวรรณคดีให้ตลอดทั้งเรื่อง
ทำความเข้าใจกับเนื้อเรื่องที่อ่าน
ให้รู้องค์ประกอบของเรื่องและเข้าใจสารที่กวีต้องการสื่อมายังผู้อ่าน
รู้หลักการพิจารณาคุณค่าของวรรณคดี
นำหลักนั้นมาพิจารณาวรรณคดีที่อ่าน
แสดงความเห็น วิจารณ์หรือประเมินคุณค่าวรรณคดี
เมื่ออ่านวรรณคดีจบ่ ผู้อ่านควรวิจักษ์วรรณคดีเรื่องนั้นได้เพื่อให้เห็นข้อดีและข้อบกพร่องของวรรณคดี
การวิจักษ์วรรณคดี
วรรณคดี
หนังสือที่ได้รับการยกย่องว่าแต่งดี มีคุณค่า
เป็นบทประพันธ์ที่ปลูกมโนคติ
ทำให้เกิดความเพลิดเพลิน และเกิดอารมณ์สะเทือนใจ
คล้อยตามไปกับบทประพันธ์
วิจักษ์วรรณคดี
การพิจารณาว่าหนังสือนั้นๆแต่งดีอย่างไร
ใช้ถ้อยคำไพเราะลึกซึ้งกินใจอย่างไร
มีคุณค่า ข้อคิด ให้ความรู้ คติสอนใจ
ชี้ให้เห็นความเชื่อของคนในสังคมอย่างไร
หลักการวิจักษ์วรรณคดี
อ่านอย่างพินิจพิจารณา
วิเคราะห์ตั้งแต่ชื่อเรื่อง ประวัติผู้แต่ง คำนำ คำนิยม
สารบัญ ไปจนถึงเนื้อเรื่องย่อ และบรรณานุกรม
ทำให้เราเข้าใจเนื้อหามูลเหตุของการแต่ง
แรงบันดาลใจในการแต่ง
ค้นหาความหมายพื้นฐานของบทประพันธ์
ค้นหาความหมายตามตัวหนังสือ
ค้นหาความหมายแฝง
ค้นหาข้อคิดอันเป็นประโยชน์
รับรู้อารมณ์ของบทประพันธ์
พยายามพิจารณาเมื่อรับรู้ความรู้สึก
และอารมณ์ที่กวีสอดแทรกในบทประพันธ์
พิจารณาการใช้กลวิธีในการแต่งคำประพันธ์
กลวิธีในการแต่งคำประพันธ์
เป็นวิธีสร้างความรู้สึกนึกคิดของกวี
ช่วยให้ผู้อ่านเข้าใจทัศนคติและในสรุปของกวี
ปมปัญหาของเสภา
เรื่องขุนช้างขุนแผน
ปมความขัดแย้งเรื่องความรักระหว่างชายสองหญิงหนึ่ง
นำไปสู่การคลี่คลายปมปัญหาด้วยการประหารชีวิตนางวันทอง
เป็นคนวิธีที่ทำให้เรื่องนี้อยู่ในใจผู้อ่านมายาวนาน
เพราะกวีสร้างความรู้สึกค้างคาใจ
ความงามความไพเราะของภาษา
พิจารณาการสรรคำและการเรียบเรียงคำให้เป็นตามลำดับอย่างไพเราะเหมาะสม และการใช้โวหารก่อให้เกิดจินตภาพ อารมณ์ และความรู้สึก
การพิจารณาคุณค่าวรรณคดี
คุณค่าด้านเนื้อหา
รูปแบบ
ร้อยแก้ว
คำประพันธ์ที่ไม่จำกัดถ้อยคำและประโยค ไม่มีกฎเกณฑ์ทางฉันทลักษณ์
การพิจารณาความหมายขึ้นอยู่กับ
จุดประสงค์และเนื้อหาของเรื่อง
มีจุดมุ่งหมายที่จะบันทึกเรื่องราวเหตุการณ์ให้ความรู้ทั่วๆ ไป
มีเนื้อหาลุ่มลึก แสดงความลึกซึ้งแยบคาย เรื่องที่เกิดจากจินตนาการ
ร้อยกรอง
คำประพันธ์ที่นำคำมาประกอบกันขึ้น ให้มีลักษณะ
รูปแบบตามที่กำหนดและมีกฎเกณฑ์ข้อบังคับต่างๆ
เป็นคำรวมเรียกโคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน และร่าย
เน้นจังหวะของเสียงซึ่งเกิดจากการกำหนดจำนวนพยางค์หรือคำ
เป็นวรรค บาท และบท การผูกคำสัมผัสคล้องจองอย่างมีแบบแผน
ลักษณะการบังคับตำแหน่งวรรณยุกต์
การเพิ่มสัมผัสคล้องจองในวรรคขึ้นอยู่กับลีลาชั้นเชิงของกวีแต่ละคน
องค์ประกอบของเรื่อง
สาระ
พิจารณาว่าสาระที่ผู้แต่งต้องการสื่อมายังผู้อ่านเป็นเรื่องอะไร
ควรจับสาระสำคัญหรือแก่นของเรื่องให้ได้ว่าผู้แต่งต้องการสื่ออะไร
โครงเรื่อง
วิธีการเรียงลำดับความคิดหรือเหตุการณ์ในเรื่องว่าเปิดเรื่องอย่างไร
กวีมีวิธีวางโครงเรื่องได้ดีหรือไม่ การลำดับความไปตามลำดับ
ขั้นตอนหรือไม่ มีวิธีการวางลำดับเหตุการณ์น่าสนใจอย่างไร
มีการสร้างปมขัดแย้งอะไรที่นำไปสู่จุดสูงสุดของเรื่อง
ฉากและบรรยากาศ
กวีต้องให้รายละเอียดเกี่ยวกับสถานที่และสภาพแวดล้อม
เพื่อให้ผู้อ่านเกิดความรู้สึกคล้อยตาม
ตัวละคร
ลักษณะนิสัยของตัวละครเป็นส่วนสำคัญของเรื่อง
ต้องพิจารณาว่ามีบุคลิกภาพอย่างไรและมีบทบาทอย่างไร
พฤติกรรมที่แสดงออกมาดีหรือไม่
กลวิธีการแต่ง
พิจารณาวิธีการเลือกใช้ถ้อยคำ การนำเสนอของกวี
พิจารณาวิธีการว่า ชวนให้น่าสนใจ ติดตาม และประทับใจได้อย่างไร
คุณค่าด้านวรรณศิลป์
การใช้โวหาร
เทศนาโวหาร
ใช้โวหารในการกล่าวสั่งสอน
สาธกโวหาร
ยกตัวอย่างเรื่องราวมาประกอบ
พรรณนาโวหาร
อธิบายความโดยการสอดแทรกอารมณ์ ความรู้สึก
อุปมาโวหาร
กล่าวเปรียบเทียบสิ่งหนึ่งกับอีกสิ่งหนึ่ง
บรรยายโวหาร
อธิบายเล่าเรื่องราว
การใช้ภาพพจน์
การใช้ภาพพจน์อุปลักษณ์
เปรียบสิ่งหนึ่งเป็นอีกสิ่งหนึ่ง ใช้คำว่า คือ เป็น
การใช้ภาพพจน์บุคคลวัต
สมมติสิ่งไม่มีชีวิตหรือสัตว์ให้มีกิริยาอาการความรู้สึกเหมือนมนุษย์
การใช้ภาพพจน์อุปมา
เปรียบเทียบว่าสิ่งหนึ่งเหมือนกับอีกสิ่งหนึ่ง
ใช้คำว่า เสมือน ดุจ ดั่ง ราว เพียง ประหนึ่ง
การสรรคำ
การเลือกใช้คำได้ถูกต้องตรงตามความหมายที่ต้องการ
การเลือกใช้คำที่เหมาะแก่เนื้อเรื่องและฐานะของบุคคลในเรื่อง
การเลือกใช้คำได้เหมาะแก่ลักษณะของคำประพันธ์
การเลือกคำโดย
คำนึงถึงเสียง
คำที่เล่นเสียงวรรณยุกต์
คำที่เลียนเสียงธรรมชาติ
คำที่เล่นเสียงสัมผัส
การเล่นคำพ้องเสียงและซ้ำคำ
ลีลาการประพันธ์
นารีปราโมทย์
การเกี้ยวพาราสี
พิโรธวาทัง
แสดงความโกรธแค้น
เสาวรจนี
ใช้แต่งความงามจะเป็นความงามของมนุษย์ สถานที่ หรือธรรมชาติก็ได้
สัลลาปังคพิสัย
การคร่ำครวญหวนไห้ เศร้าโศก
คุณค่าด้านสังคม
ผู้แต่งมีจุดประสงค์ในการจรรโลงสังคมอย่างไร
พิจารณาจากแนวคิด การให้คติเตือนใจ การสะท้อนให้เห็นชีวิตความเป็นอยู่ ค่านิยม วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี และจริยธรรมของคนในสังคมที่วรรณคดีได้จำลองภาพ
กวีได้สอดแทรกไว้ในบทประพันธ์อย่างแนบเนียน