Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ความผิดปกติของระบบทางเดินอาหาร "ภาวะท้องเสีย", นางสาวพรนภัส…
ความผิดปกติของระบบทางเดินอาหาร "ภาวะท้องเสีย"
ปัญหา
“โรคท้องเสียกับผู้สูงอายุ” โดยเฉพาะในช่วงหน้าร้อนมักพบได้บ่อย สำหรับคนหนุ่มสาวเกิดภาวะท้องเดิน 7-8 ครั้ง อาจไม่อันตรายเท่ากับคุณตาคุณยายถ่ายหนักเกิน 2 ครั้ง เพราะอาจทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรงและบางรายอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้จากการสูญเสียน้ำและเกลือแร่ หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที
ความหมาย
ท้องเสีย หมายถึง ภาวะที่ผู้ป่วยถ่ายเป็นน้ำหรือถ่ายเหลวมากกว่าวันละ 3 ครั้ง หรือถ่ายเป็นมูกหรือมูกปนเลือดเพียงครั้งเดียว อย่างไรก็ตามความหมายของท้องเสียที่ระบุโดยจำนวนครั้งของการถ่ายอาจแตกต่างไปจากนี้ในผู้ป่วยบางราย โดยขึ้นอยู่กับลักษณะตละความถี่ของการขับถ่ายในสภาวะปกติของแต่ละคน
อาการ
ถ่ายอุจจาระเหลว ถ่ายเป็นน้ำมากกว่า 3 ครั้งขึ้นไปหรือถ่ายเป็นมูกปนเลือด 1 ครั้งหรือมากกว่านั้นภายใน 24 ชั่วโมง
อ่อนเพลีย มีไข้
ปวดเกร็งท้อง
ปวดท้อง บางครั้งอาจปวดน้อยลงหลังจากถ่ายอุจจาระ
ปวดอุจจาระบ่อยๆ
ถ่ายเหลว ถ่ายเป็นน้ำบ่อยๆ
คลื่นไส้และอาเจียน
สาเหตุ
ท้องเสียแบบเฉียบพลัน
การติดเชื้อไวรัส มีไวรัสหลายชนิดที่ก่อให้เกิดอาการท้องเสีย เช่น โรต้าไวรัส โนโรไวรัส ไซโตเมกาโลไวรัส เฮอร์พีส์ซิมเพล็กซ์ไวรัส ไวรัสตับอักเสบ เป็นต้น
การได้รับเชื้อปรสิต เชื้อปรสิตสามารถเข้าสู่ร่างกายผ่านอาหารและน้ำที่ปนเปื้อน และอาศัยอยู่ในระบบย่อยอาหารของคนเรา เชื้อปรสิตที่มักพบ คือ เชื้อไกอาเดีย เชื้อแอนตามีบาฮิสโตลิติกาหรือเชื้อบิดอะมีบา และเชื้อคริปโตสปอริเดียม
การติดเชื้อแบคทีเรีย เชื้อแบคทีเรียที่มักปนเปื้อนในน้ำหรืออาหาร และก่อให้เกิดอาการท้องเสียตามมา ได้แก่ เชื้อแคมไพโลแบคเตอร์ เชื้อซาลโมเนลลา เชื้อชิเกลลา และเชื้ออีโคไล
ท้องเสียแบบเรื้อรัง(ติดต่อกันอย่างน้อย 2 สัปดาห์ขึ้นไป)
โรคในระบบทางเดินอาหารและโรคลำไส้ผิดปกติ เช่น โรคโครห์น โรคลำไส้อักเสบ โรคเซลิแอคหรือแพ้กลูเตน โรคลำไส้แปรปรวน โรคถุงผนังลำไส้อักเสบ โรคตับอ่อนอักเสบเรื้อรัง หรือมะเร็งลำไส้ใหญ่ เป็นต้น
อาหาร บางคนอาจมีปัญหาในการย่อยสารอาหารบางประเภท อย่างการขาดน้ำย่อยสำหรับย่อยน้ำตาลแล็กโทส ซึ่งเป็นน้ำตาลที่พบมากในนมหรือผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับนม
การตอบสนองต่อยาบางประเภท ยาปฏิชีวนะ ยารักษาโรคมะเร็ง รวมถึงยาลดกรดที่มีแมกนีเซียม สามารถทำให้เกิดอาการท้องเสียได้
การผ่าตัด อาการท้องเสียอาจเกิดขึ้นหลังจากเข้ารับการผ่าตัดบางชนิด อย่างการผ่าตัดลำไส้ หรือการผ่าตัดนำถุงน้ำดีออกไป
ภาวะแทรกซ้อน
ภาวะขาดน้ำและเกลือแร่
โรคลำไส้แปรปรวน
ภาวะย่อยน้ำตาลแล็กโทสบกพร่อง
กลุ่มอาการเม็ดเลือดแดงแตกยูรีเมีย หากท้องเสียจากการติดเชื้อบางชนิด
ร่างกายส่วนอื่นตอบสนองต่อการติดเชื้อในทางเดินอาหารจนเกิดการอักเสบตามไปด้วย
การติดเชื้อลุกลามไปยังอวัยวะส่วนอื่น ๆ ในร่างกาย
แนวทางการดูแล
ในผู้สูงอายุ หากมีท้องเสีย 1-2 ครั้ง ควรเริ่มทานผลเกลือแร่สำเร็จรูปได้แล้ว โดยดื่มแทนน้ำเปล่า เป็นการดูแลอาการเบื้องต้นที่ช่วยบรรเทาอาการได้เป็นอย่างดีแต่หากผู้สูงอายุมีอุจจาระมีเลือดปนควรรีบพบแพทย์
เมื่อหายท้องเสียใหม่ๆ ระบบย่อยอาหารในผู้สูงอายุมักไม่ค่อยดี อาจมีอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ และย่อยอาหารบางอย่างไม่ได้ ดังนั้น หลังจากท้องเสีย 1 สัปดาห์ ควรงดอาหารรสจัด มีแก๊สเยอะ ถั่ว ผลิตภัณฑ์จากนม แต่ควรทานอาหารอ่อนๆ ย่อยง่ายแทน
ไม่จำเป็นต้องทานยาหยุดถ่าย ควรปล่อยให้ถ่ายไป เพราะร่างกายต้องขับของเสียออกมาจนหมดจึงจะหยุดถ่ายไปเองตามธรรมชาติ แต่หากอยู่ในระหว่างการเดินทาง หรือต้องนั่งรถหลายชั่วโมง ก็สามารถทานยาหยุดถ่ายได้ แต่ควรทานเพียง 1 เม็ดเท่านั้น และไม่ควรทานทันทีเมื่อท้องเสีย ควรทานในกรณีที่ท้องเสียติดต่อกันหลายครั้ง และยังไม่หยุดจริงๆ และเมื่อยาหมดฤทธิ์ ร่างกายจะขับของเสียออกมาจนหมดต่อเองตามธรรมชาติ
ไม่จำเป็นต้องทานผงคาร์บอนหรือผงถ่าน เพราะไม่ช่วยให้ดีขึ้น
หากผู้สูงอายุท้องเสียมากๆ จะเกิดอาการแสบก้นหรือก้นเปื่อย ให้ใช้ปิโตรเลียมเจลทาบริเวณดังกล่าว เพื่อช่วยลดอาการแสบ
หลังท้องเสีย 1 สัปดาห์ ควรระวังเรื่องอาหารการกินมากขึ้น เพราะอาจจะท้องเสียซ้ำอีกได้ หากทานอาหารที่ไม่สะอาด หรือรสจัด
อ้างอิง
วัชรีย์ อยู่เจริญ.(2561).อาการท้องเสีย.สืบค้นเมื่อ 29 เมษายน 2563,จาก
http://www.stdaffairs.ru.ac.th/images/document/ht_cpr11.pdf
Chomnapas Wangein.(2561).หน้าร้อน พึงระวังผู้สูงอายุท้องร่วง.สืบค้นเมื่อ 29 เมษายน 2563,จาก
https://www.thaihealth.or.th/Content/41258-%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%99%20%E0%B8%9E%E0%B8%B6%E0%B8%87%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%9C%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%AA%E0%B8%B9%E0%B8%87%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%B8%E0%B8%97%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%A3%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%87.html
เพจสาระสุขภาพยาน่ารู้โดยเภสัชกรอุทัย.(2561).ทำอย่างไร เมื่อผู้สูงอายุท้องเสีย.สืบค้นเมื่อ 29 เมษายน 2563,จาก
https://www.facebook.com/216848761792023/posts/1357431521067069/
นางสาวพรนภัส พลวงค์ษา เลขที่ 44 ชั้นปีที่ 2 ห้อง B