Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การส่งเสริมสัมพันธภาพ มารดาและทารกหลังคลอด, นางสาวณัฐกานต์ สวนียานันท์…
การส่งเสริมสัมพันธภาพ
มารดาและทารกหลังคลอด
Bonding (ความผูกพัน)
กระบวนการผูกพันทางอารมณ์ที่พ่อแม่หรือผู้เลี้ยงดูมีต่อทารกฝ่ายเดียวเกิดขึ้นตั้งแต่วางแผนตั้งครรภ์ทราบว่าตั้งครรภ์หรือเกิดขึ้นชัดเจนเมื่อรับรู้ว่าลูกดิ้นและเพิ่มสูงสุดเมื่อทารกคลอดออกมา
Attachment (สัมพันธภาพ)
ความรู้สึกรักใคร่ผูกพันระหว่างทารกกับพ่อแม่หรือผู้เลี้ยงดูเกิดจากการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลเป็นพิเศษและคงอยู่ถาวรจะเกิดขึ้นทีละเล็กละน้อยจากความใกล้ชิดห่วงใยอาทรเพิ่มขึ้นจนกลายเป็นความผูกพันทางใจจะใช้เวลาในการพัฒนาอย่างต่อเนื่องยาวนาน
การพัฒนาสัมพันธภาพในระยะหลังคลอด
ในระยะแรกหลังคลอดทันทีมารดาจะแสดงความรักความผูกพันกับลูกตั้งแต่นาทีแรกหลังคลอดจนกระทั่งถึง 1 ชั่วโมงแรกหลังคลอดเป็นช่วงเวลาที่มารดามีความรู้สึกไวที่สุด (Sensitive period)
ทารกมีความตื่นตัวจึงเป็นช่วงเวลาสำคัญที่ก่อให้เกิดความรักใคร่ผูกพันระหว่างมารดาทารก
เป็นช่วงเวลาสำคัญที่เหมาะสมต่อการสร้างสัมพันธภาพระหว่างมารดาและทารก
กระบวนการพัฒนาสัมพันธภาพระหว่างมารดากับทารก
มีพัฒนาการตามลำดับ 9 ขั้นตอนดังนี้
ระยะก่อนการตั้งครรภ์
ขั้นที่ 1 การวางแผนการตั้งครรภ์
ระยะตั้งครรภ์
ขั้นที่ 3 การยอมรับการตั้งครรภ์
ขั้นที่ 2 การยืนยันการตั้งครรภ์
ขั้นที่ 4 การรับรู้การเคลื่อนไหวของทารกในครรภ์
ขั้นที่ 5 การยอมรับว่าทารกในครรภ์เป็นบุคคลคนหนึ่ง
ระยะคลอดและระยะหลังคลอด
ขั้นที่ 6 การสนใจดูแลสุขภาพตนเองและทารกในครรภ์และการแสวงหาการคลอดที่ปลอดภัย
ขั้นที่ 7 การมองดูทารก
ขั้นที่ 8 การสัมผัสทารก
ขั้นที่ 9 การดูแลทารกและให้ทารกดูดนม
พฤติกรรมปฏิสัมพันธ์ระหว่างมารดาและทารกในระยะแรกเกิดมีดังนี้
จังหวะชีวภาพ (Biorhythmcity)
หลังคลอดทารกจะต้องปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมภายนอกที่แตกต่างจากในครรภ์ของมารดามารดาจะช่วยทารกให้สร้างจังหวะชีวภาพได้โดยขณะที่ทารกร้องไห้มารดาอุ้มทารกไว้แนบอกทารกจะรับรู้เสียงการเต้นของหัวใจมารดาซึ่งทารกจะคุ้นเคยตั้งแต่ในครรภ์ทำให้ทารกมีความรู้สึกมั่นคงยิ่งขึ้น
การรับกลิ่น (Odor)
มารดาจำกลิ่นกายของทารกได้ตั้งแต่แรกคลอดและแยกกลิ่นทารกออกจากทารกอื่นได้ภายใน 3-4 วันหลังคลอดส่วนทารกสามารถแยกกลิ่นมารคาและหันเข้าหากลิ่นน้ำนมมารดาได้ภายในเวลา 6-10 วันหลังคลอด
การการเคลื่อนไหวเป็นจังหวะตามเสียงพูด (Entrainment)
ทารกจะเคลื่อนไหวส่วนต่างๆของร่างกายเป็นจังหวะสัมพันธ์กับเสียงพูดสูงต่ำของมารดาเช่นขยับแขนขายิ้มหัวเราะเป็นต้น
การให้ความอบอุ่น (Body warmth หรือ Fleat)
มีการศึกษาพบว่าหลังทารกคลอดทันทีได้รับการเช็ดตัวให้แห้งห่อตัวทารกและนำทารกให้มารดาโอบกอดทันทีทารกจะไม่เกิดการสูญเสียความร้อนและทารกจะเกิดความผ่อนคลายเมื่อได้รับความอบอุ่นจากมารดา
การใช้เสียง (Voice)
การตอบสนองเริ่มทันทีเกิดครั้งแรกเพื่อยืนยันภาวะสุขภาพของทารกและแรกเกิดสูง (High pitch voice) ได้ดีกว่าเสียง Deep voice)
การให้ภูมิคุ้มกันทางน้ำนม (T and B lymphocyte)
ทารกจะได้รับภูมิคุ้มกันในนมแม่ ได้แก่ T lymphocyte, B lymphocyte และ Immunoglobulin A ช่วยป้องกันและทำลายเชื้อโรคในระบบทางเดินอาหาร
การประสานสายตา (Eye to eye contact)
เป็นสำคัญความเชื่อมั่นความไว้วางใจและความสัมพันธ์บุคคลอื่นมากขึ้นเมื่อทารกลืมตาและสบตาตนเองมารดาใหญ่จึง Face to face position) เพื่อให้ประสานสายตาได้ดีมองเห็นมารดาได้ชัดเจนคือ 8-12 นิ้ว
การสัมผัส (Touch, Tactile sense)
พฤติกรรมสำคัญที่จะความสนใจของมารดาในการสัมผัสบุตรโดยจะเริ่มสัมผัสขาจากนั้นจะบีบนวดสัมผัสตามลำตัวทารกจะมีการจับมือตอบสนอง
การให้ภูมิคุ้มกันทางเดินหายใจ (Bacteria nasal flora)
ขณะที่มารดาอุ้มโอบกอดทารกจะมีการถ่ายทอดเชื้อโรคในระบบทางเดินหายใจ (normal flora) ของมารคาสู่ทารกเกิดภูมิคุ้มกันช่วยป้องกันทารกติดเชื้อจากสิ่งแวดล้อมภายนอก
พฤติกรรมของมารดาและทารกที่แสดงถึงการขาดสัมพันธภาพ (Lack of attachment)
พูดถึงบุตรในทางลบ
แสดงท่าทางหรือคำพูดที่ไม่พึงพอใจขณะดูแลบุตร
ไม่ตอบสนองต่อบุตรเช่นไม่สัมผัสไม่ยิ้มไม่อุ้มกอดทารกเป็นต้น
ขาดความสนใจในการชักถามเกี่ยวกับพฤติกรรมของบุตรและการเลี้ยงดูบุตร
ไม่สนใจมองบุตรสีหน้าเมินเฉยหรือหันหน้าหนี
บทบาทของพยาบาลผดุงครรภ์ในการส่งเสริมสัมพันธภาพระหว่างมารดากับทารก
กระทำต่อเนื่องตั้งแต่ระยะตั้งครรภ์ระยะคลอดและต่อเนื่องไปจนถึงระยะหลังคลอด
ระยะคลอด
ลดความวิตกกังวลของผู้คลอด
ให้ข้อมูลเป็นสื่อกลางระหว่างผู้คลอดและครอบครัว
สร้างบรรยากาศให้เกิดความไว้วางใจ
ส่งเสริมให้การคลอดผ่านไปอย่างปลอดภัย
ระยะหลังคลอด
ให้คำแนะนำในการดูแลบุตร
ตอบสนองความต้องการของมารดา
Rooming in โดยเร็วที่สุด
กระตุ้นให้มีปฏิสัมพันธ์กับทารก
ส่งเสริมให้มารดาสัมผัสโอบกอดทารกทันทีหลังคลอดใน ระยะ sensitive period
เป็นตัวแบบในการสร้างสัมพันธภาพกับทารก
ให้มารดาทารกบิดาได้อยู่ด้วยกันตามลำพัง
ระยะตั้งครรภ์
ครอบครัวคอยให้กำลังใจ
การปรับบทบาทการเป็นบิดามารดา
ยอมรับการตั้งครรภ์
ยอมรับความเป็นบุคคลของทารกในครรภ์
การกระตุ้นพัฒนาการทารกในครรภ์
การประเมินสัมพันธภาพระหว่างมารดากับทารก
ใช้การสังเกตสอบถามซึ่งมีแนวทางการประเมินสัมพันธภาพดังนี้
พฤติกรรมปฏิสัมพันธ์ระหว่างมารดาและทารก
ความสามารถในการปฏิบัติบทบาทการเป็นมารดา
ความสนใจในการดูแลตนเองของตนเองและทารก
ความสามารถในการตอบสนองความต้องการของทารก
นางสาวณัฐกานต์ สวนียานันท์ เลขที่4 ห้องA