Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Orem’s Self-Care Deficit Theory - Coggle Diagram
Orem’s Self-Care Deficit Theory
กระบวนทัศน์หลัก 4 ประการของทฤษฎีโอเร็ม
สิ่งแวดล้อม สิ่งแวดลอมในแนวคิดของโอเรม หมายถึง สิ่งที่ไม่สามารถแยกจากบุคคลได้ สิ่งแวดล้อมจะมีปฏิสัมพันธกับบุคคลตลอดเวลา สิ่งแวดล้อมอาจมีผกระทบทั้งทางบวกและทางลบต่อชีวิต สุขภาพ ความผาสุก ของบุคคล ครอบครัว ชุมชน
สุขภาพ โอเรม กล่าวว่า สุขภาพ เป็นภาวะที่มีความสมบูรณของโครงสร้างการทําหน้าที่ของกายและจิต นอกจากนี้ โอเรม ยังกล่าวถึงความผาสุก (Well being) ซึ่งต่างจากสุขภาพว่า ความผาสุกเปนการรับรู้ถึงภาวะของตนเอง มีลักษณะของความสุขทางจิตวิญญาณ โดยสามารถคงสภาพความเปนบุคคลไวได้
บุคคล โอเร็มเชื่อว่าบุคคลเป็นผู้ที่มีความรับผิดชอบต่อตนเองอย่างจงใจ Deliberateaction มีความสามารถในการเรียนรู้และวางแผนในการดูแลตนเองและบุคคลมีลักษณะเป็นองค์รวม ทำหน้าที่ทั้งด้านชีวภาพ สังคม และเป็นระบบเปิดทำให้บุคคลมีความเป็นพลวัตร คือ เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ
สุขภาพ โอเรม กล่าวว่า สุขภาพ เป็นภาวะที่มีความสมบูรณของโครงสร้างการทําหน้าที่ของกายและจิต นอกจากนี้ โอเรม ยังกล่าวถึงความผาสุก (Well being) ซึ่งต่างจากสุขภาพว่า ความผาสุกเปนการรับรู้ถึงภาวะของตนเอง มีลักษณะของความสุขทางจิตวิญญาณ โดยสามารถคงสภาพความเปนบุคคลไวได้
ภาพรวมทฤษฎีโอเร็ม
1.ทฤษฎีการดูแลตนเอง (The Theory of Self-Care )
ทฤษฎีนี้จะอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างเงื่อนไขต่างๆทางด้านพัฒนาการและการปฏบัติหน้าที่ของบุคคลกับการดูแลตนเองโดยอธิบายมโนทัศน์หลัก4มโนทัศน์
1.การดูแลตนเอง(Self-Care:SC) การปฏิบัติกิจกรรมที่บุคคลริเริ่มและกระทำด้วยตนเองเพื่อดำรงไว้ซึ่งชีวิต สุขภาพ และความผาสุก เพื่อตอบสนองความจำเป็นในการดูแลตนเอง(Self-Care Requisites: SCR)
2.ความสามารถในการดูแลตนเอง(Self-Care Agency : SCA) คุณสมบัติที่ซับซ้อนหรือพลังงานความสามารถของบุคคลที่เอื้อต่อการกระทำกิจกรรมการดูแลตนเองอย่างจงใจแต่ถ้าเป็นความสามารถในการดูแลบุคคลอื่นที่อยู่ในความรับผิดชอบ เรียกว่า Depender-Care Agency : DCA
3.ความต้องการการดูแลตนเองทั้งหมด (Therapeutic Self-Care Demand : TSCD)
การปฏิบัติกิจกรรม(Action Demand) การดูแลตนเองทั้งหมดที่จำเป็นต้องกระทำในช่วงเวลาหนึ่ง เพื่อตอบสนองต่อความจำเป็นในการดูแลตนเอง (Self-Care Requisites : SCR)
2.ทฤษฏีความพร่องในการดูแลตนเอง The theory of self-care deficit
แนวคิดหลักของทฤษฏีโอเร็ม แสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างความสามารถในการดูแลตนเองและความต้องการในการดูแลตนเองทั้งหมดในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง มีได้ 3 แบบดังนี้
ความต้องการที่สมดุล (Demand is equal to abilities: TSCD = SCA )
ความต้องการน้อยกว่าความสามารถ (Demand is less than abilities: TSCD<SCA)
ความต้องการมากกว่าความสามารถ ( Demand is greater than abilities : TSCD> SCA )
3.ทฤษฎีระบบการพยาบาล (Theory of nursing system)
เป็นทฤษฎีที่นำไปสู่การสร้างรูปแบบการพยาบาลและความสัมพันธ์ระหว่างผู้ป่วยและลักษณะของการพยาบาล แนวคิดหลักของทฤษฎีนี้คือ การกระทำทั้งหมดที่ประกอบเป็นระบบการพยาบาล เกิดขึ้นเพื่อให้บริการแก่ผู้ป่วย ครอบครัว และกลุ่มบุคคลที่มีข้อจำกัดในการดูแลตนเองหรือดูแลบุคคลที่อยู่ภายใต้ความรับผิดชอบ โดยใช้ความสามารถทางการพยาบาล
จุดเน้นกรอบแนวคิด
เน้นที่บุคคล คือ ความสามารถของบุคคลที่จะต้องสนองต่อความต้องการในการดูแลตนเอง
มโนมติหลักของทฤษฎี (Major concept)
ความตองการการดูแลตนเองทั้งหมด (therapeutic self-care demand)
ความสามารถในการดูแลตนเอง (self-care agency)
ความพรองในการดูแลตนเอง (self-care deficit)
ความสามารถในการดูแลบุคคลที่ตองพึ่งพา (Dependent care agency)
ความสามารถทางการพยาบาล
ระบบการพยาบาล (nursing system)
การดูแลตนเอง (self-care)
ปจจัยพื้นฐาน (Basic conditioning factors)
การประยุกต์โอเร็มกับกระบวนการพยาบาล
ทฤษฎีการพยาบาลของโอเร็มสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการดูแลผู้ป่วยได้โดยการประยุกต์ใช้ตามแนวคิดกระบวนการพยาบาลที่สามารถใช้ได้ตั้งแต่ขั้นประเมินสภาพเป็นต้นไป ตามแนวคิดของโอเร็มประกอบด้วย 3 ขั้นตอนดังนี้
ขั้นตอนที่2 วางแผน (Design and plan)
เป็นขั้นตอนที่ต่อเนื่องเมื่อทราบถึงความพร่องในการดูแลตนเองแล้วทำการเลือกระบบการพยาบาลให้เหมาะสม แล้วนำมาวางแผนโดยมีการกำหนดเป้าหมายหรือผลลัพธ์ทางการพยาบาล(Expected Outcome) และกำหนดกิจกรรมการพยาบาล
ขั้นตอนที่3 ปฏิบัติการพยาบาลและควบคุม
(Regulate and Control) เป็นขั้นตอนที่พยาบาลนำกิจกรรมไปลงมือปฏิบัติตามแผนการพยาบาล โดยมีจุดมุ่งหมาย คือการบรรลุความต้องการการดูแลตนเองทั้งหมด (TSCD) ยังรวมถึงการประเมินผลลัพธ์ทางการพยาบาลว่ามีประสิทธิภาพหรือไม่และปกป้องหรือพัฒนาความสามารถหรือไม่ และนำข้อมูลย้อนกลับเข้าสู่การประเมินสภาวะอีกครั้ง
ขั้นตอนที่1 ขั้นวินิจฉัยและพรรณน(Diagnosis and Prescription)
ขั้นตอนที่2 ขั้นวางแผน(Design and plan)
ขั้นตอนที่3 ขั้นปฏิบัติการพยาบาลและควบคุม(Regulate and Control
ขั้นตอนที่1 วินิจฉัยและพรรณนา
(Diagnosis and Prescription) เป็นขั้นตอนที่ระบุถึงความพร่องในการดูแลตนเองโดยมีขั้นตอนของการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับความสามารถในการดูแลตนเอง ความต้องการในการดูแลตนเอง ทั้ง3 ด้าน รวมทั้งปัจจัยพื้นฐานที่เกี่ยวข้องพิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างความสามารถกับความต้องการการดูแลตนเองเพื่อบ่งชี้ถึงภาวะพร่องในการดูแลตนเองและเขียนข้อวินิจฉัย