Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การเปลี่ยนแปลงในระยะหลังคลอด, อ้างอิง, นางสาวชลิตา วงษ์จันทร์ เลขที่ 53…
การเปลี่ยนแปลงในระยะหลังคลอด
การเปลี่ยนแปลงด้านสรีรวิทยาของมารดาในระยะหลังคลอด
การเปลี่ยนแปลงของระบบสืบพันธุ์
มดลูก
1. Involution of uterus
การหดรัดตัวของใยกล้ามเนื้อมดลูก
Estrogen and Progesterone ลดลงภายหลังคลอด การหลั่งฮอร์โมน oxytocin กล้ามเนื้อมดลูกมีการหดรัดตัวมากขึ้น หลอดเลือดบริเวณรกเกาะตีบลง การไหลเวียนเลือดที่มดลูกลดลง ท าให้กล้ามเนื้อมดลูกขาดเลือดไปเลี้ยง เกิดการเหี่ยวฝ่อ สลายตัวเนื้อเยื่อในโพรงมดลูก
กระบวนการย่อยสลายโมเลกุล
Estrogen and Progesterone ลดลงภายหลังคลอด มีผลทำให้คอลลาจีเนส (collagenase) ในมดลูก เพิ่มการหลั่ง proteolysis enzymes เพิ่มการหลั่งน้ำย่อยโปรตีน (proteolysis enzymes) เกิดการแตกตัวของใยกล้ามเนื้อมดลูกเข้าสู่โพรงมดลูก เพื่อย่อยสลายโปรตีนในเยื่อบุโพรงมดลูก และในกล้ามเนื้อมดลูกเอง มี lysosome ช่วยในการย่อยสลาย + กระบวนการ phagocytosis ร่วมกำจัดของเสียในหลอดเลือดด้วย ทำลายสิ่งแปลกปลอมโปรตีนในผนัง มดลูกเกิดการย่อยสลายเป็นของเสีย
ขนาดและน้้ำหนักของมดลูก
ทันทีหลังรกคลอดมดลูกมีขนาดลดลง = 16 wks. Pregnancy
ภายหลังคลอด หนักประมาณ 1,000 กรัม ยาวประมาณ 15 เซนติเมตร
กว้างประมาณ 12 เซนติเมตร และหนาประมาณ 8 - 10 เซนติเมตร
1 สัปดาห์ หนัก 500 กรัม
2 สัปดาห์ หนัก 300 กรัม
6 สัปดาห์ หนักประมาณ 60 – 80 กรัม
การลดระดับของมดลูก
บ่งบอกของการเกิดภาวะ involution of uterus
ทันทีหลังรกคลอด ความสูงของยอดมดลูกจะลดลงอยู่ระดับกึ่งกลางระหว่างสะดือกับกระดูกหัวเหน่าหรือสูงกว่าเล็กน้อย
1 – 2 เซนติเมตร หลังคลอดคลำมดลูกได้ที่ระดับสะดือ ลักษณะกลมแข็ง หดรัดตัวดีอาจเอียงไปด้านขวาของหน้าท้องมารดา วัดได้ประมาณ 1 นิ้วมือ (finger-breadth: FB)ต่ำกว่าสะดือ
ภายใน 12 – 24 ชั่วโมง แรกหลังคลอด ยอดมดลูกจะอยู่ที่ระดับสะดือ และจะลดระดับลงอย่างต่อเนื่อง
เฉลี่ยประมาณ 1 เซนติเมตร หรือ 0.5 ถึง 1 นิ้วฟุต หรือ 1 FB/วัน
เกิดการหดรัดตัวของกล้ามเนื้อมดลูกและหลอดเลือดแดง ทำให้ยอดมดลูกสูงขึ้นอยู่ที่ระดับสะดือ
ปัจจัยที่ทำให้เกิด “sub involution of uterus” การคลอดยาวนาน การคลอดยาก ทารกตัวโต การตั้งครรภ์และการคลอดหลายครั้ง ภาวะน้ำคร่ำมาก การใช้ยาแก้ปวดหรือยาระงับความรู้สึกในระยะคลอด เศษรกค้างในโพรงมดลูก การติดเชื้อ กระเพาะปัสสาวะเต็ม
เยื่อบุโพรงมดลูก
ทันทีหลังรกคลอด บริเวณตำแหน่งที่รกเกาะจะเกิดแผล ผลจากการเกิด uterine contraction& arterial vasoconstriction เพื่อป้องกันการเกิด PPH ทำให้เกิดการหายของแผล คือ 1.มีการลอกหลุดของเนื้อเยื่อที่ตายแล้ว (exfoliation) บริเวณที่รกเกาะ ทำให้เนื้อเยื่อบริเวณนี้ มีขนาดลดลงอย่างรวดเร็วกลายเป็นเนื้อเรียบหายสนิทไม่มีแผลเป็น 2.ถ้าหากมีการตั้งครรภ์ครั้งใหม่ ไข่ที่ผสมแล้วจะสามารถฝังตัวในบริเวณนี้ได
ชั้นนอก (spongy layer)
คือ ส่วนที่อยู่ติดกับโพรงมดลูกจะมีเนื้อตายสลายตัวหลุดออกมาปนกับสิ่งที่ขับออกจาก โพรงมดลูกเป็นน้้าคาวปลา (lochia) การหดรัดตัวของมดลูกในระยะนี้ เป็นกลไกธรรมชาติที่ช่วยในการห้ามเลือด และขณะที่มีการตีบตันของหลอดเลือด ท าให้เกิดการตายของเยื่อบุโพรงมดลูก (endometrial necrosis) หากมดลูกหดรัดตัวไม่ดี จะท าให้หลอดเลือดเหล่านี้ปิดไม่สนิทเกิดภาวะตกเลือด หลังคลอดได้
ชั้นใน (basal layer)
คือ ส่วนที่อยู่ติดกับผนังมดลูก มีต่อมและเนื้อเยื่อ connective ทeหน้าที่สร้าง เนื้อเยื่อบุโพรงมดลูกขึ้นมาใหม่ (regeneration of uterine epithelium) วันที่ 7 – 10 วันหลังคลอด เยื่อบุโพรงมดลูกส่วนอื่นๆ จะมี epithelial cell ปกคลุม ทั้งหมดและกลับคืนสู่สภาวะปกติภายในสัปดาห์ที่ 3 หลังคลอด
ยกเว้น บริเวณที่รกเกาะ เยื่อบุโพรงมดลูกจะกลับคืนสู่สภาวะปกติ ประมาณ 6 สัปดาห์หลังคลอด การเจริญของเยื่อบุโพรงมดลูกบริเวณที่เกาะนี้ ถ้าไม่มีเยื่อบุโพรงมดลูกงอกออกมาทดแทน จะเกิด แผลเป็นและอาจเกิดอันตรายในการตั้งครรภ์ครั้งใหม่ได้
น้ำคาวปลา (lochia)
คือ สิ่งที่ถูกขับออกมาจากแผลในโพรงมดลูกบริเวณตำแหน่งที่เกาะของรก ลักษณะเลือดปนน้ำเหลือง มีฤทธิ์เป็นด่าง เฉลี่ยมีปริมาณ 250 มิลลิลิตร ในสัปดาห์แรก หมดภายในสัปดาห์ที่ 3 หรือ สัปดาห์ที่ 4
Lochia rubra
1-3วัน หลังคลอด สีแดงสด มีปริมาณมาก อาจมีก้อนเลือดเล็กๆปน ประกอบด้วยเลือด decidua และ trophoblast ที่ถูกทำลาย เซลล์เยื่อบุผิว เม็ดเลือดแดง และเม็ดเลือดขาว อาจมี ไข ขนอ่อนและขี้เทาของทารกที่ค้างอยู่ในโพรงมดลูกปนออกมาด้วย
Lochia serosa
4-9 วัน หลังคลอด สีชมพูจนถึงสีน้ำตาลค่อนข้างเหลือง มีปริมาณลดลง เนื่องจากเส้นเลือดเริ่มมีการอุดตัน แผลเรียบและเริ่มหายเป็นส่วน ใหญ่ มีการเปลี่ยนแปลงที่บริเวณแผลโดยมีชั้นของเม็ดเลือดขาวปกคลุม และมี exudates มากขึ้น ประกอบด้วย serous exudates, decidua ที่ถูกทำลาย erythrocytes, leukocytes, cervical mucous และ bacteria
Lochia alba
10-21 วันหลังคลอด สีเหลืองข้นหรือครีมขาว มีปริมาณลดลงมาก leukocytes, decidua cell, epithelial cell fat, cervical mucus cholesterol crystals และ bacteria
อาการปวด
เกิดจากการหดรัดตัว และการคลายตัวของ มดลูกสลับกัน ขณะให้บุตรดูดนม อาจมีการปวดมดลูกเพิ่มขึ้นจาก oxytocin มดลูกยืดขยายมาก ปวด มาก เช่น ในรายที่มีการคลอดล่าช้า น้ำคร่ำมาก ครรภ์แฝด มีเศษรกหรือ เยื่อหุ้มเด็กค้างในโพรงมดลูก
กระบวนการที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงปากมดลูก
ไม่เคยผ่านการคลอด
ภายหลังคลอด ปากมดลูก บวม บาง ช้ า มี รอยถลอกหรือรอบฉีกขาดเล็กน้อยและขยายกว้าง
เคยผ่านการคลอด
บริเวณ external os ฉีกขาดไปทางด้านข้าง อย่างถาวร มีรูปร่างเป็นวงรี มีรอยฉีกขาด ด้านข้าง ขนาดกว้างกว่าปากมดลูกของสตรีที่ ไม่เคยผ่านการคลอด
สิ้นสุดสัปดาห์ที่ 1 cervixแคบลงมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 1 ซม.
กระบวนการที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงช่องคลอด
ภายในสัปดาห์ที่ 3 – 4 หลังคลอด ผนังช่องคลอดจะค่อยๆ ฟื้นตัวช้าๆ
ภายใน 6 – 10 สัปดาห์ ผนังช่องคลอดฟื้นตัวกลับสู่ภาวะปกติ หากมีเพศสัมพันธ์ก่อนอาจจะเกิดความเจ็บปวดได้(dyspareunia)
กระบวนการที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงฝีเย็บ
กรณีตัดฝีเย็บหรือมีการฉีก ขาดแผลฝีเย็บจะเริ่มหาย ภายใน 2 – 3 สัปดาห์
แผลฝีเย็บหายเหมือน ก่อนการตั้งครรภ์ ประมาณ 4-6 เดือน
หลังคลอด บริเวณ ฝีเย็บจะ ร้อนแดง erythematous เกิดจากการคั่งและบวมช้ า
บางรายมีความไม่สุขสบาย ปวดแผลฝีเย็บ อาจนาน 6 เดือนหลังคลอด
กระบวนการที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงหัวนมและเต้านมหลังคลอด
หลังคลอด ฮอร์โมน estrogen และ progesterone ลดลงอย่างรวดเร็ว มีการไหลเวียน เพิ่มที่เต้านม
ต่อมใต้สมองผลิตฮอร์โมน prolactin เพิ่มขึ้น ทำให้มีการสร้างน้ำนม
ระยะนี้เกิดกลไกการผลิตน้ำนม (production of milk) หลั่งน้ำนม (let – down reflex)
Breastfeeding กับการตกไข่ และการกลับมามีประจำเดือนใหม่จะล่าช้าแตกต่างกันในแต่ ละบุคคล ขึ้นอยู่กับการเพิ่มขึ้นของระดบั Prolactin
กระบวนการที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงต่อมไร้ท่อ
Hamanplacental lactogen (HPL)
มีระดับลดลงและตรวจไม่พบในระยะหลงัคลอด24 ชั่วโมง
Haman chorionic gonadotropin (HCG
) มีระดับต่ำลงอย่างรวดเร็ว และจะมีระดับต่ำลงจนกระทั่งมีการตกไข่ (ovulation) หรือ อยู่นานประมาณ 3-4 เดือน
Estrogen
ลดลงร้อยละ 10ภายใน 3ชั่วโมงหลังคลอด เมื่อเปรียบเทียบกบัขณะตั้งครรภ์ และ ลดลงต่ำสดุในวันที่ 7หลังคลอด จะเพิ่มระดับเท่ากับระยะfollicular phase ซึ่งเป็นระยะของการมีประจำเดือน (จะเพิ่มขึ้นช้าในสตรีที่เลี้ยงบุตรด้วยนมมารดา)
Progesterone
วันที่ 3 หลังคลอด ใน plasma จะลดลงต่ำกว่าในระยะ luteal phase ซึ่งเป็น ระยะที่ corpus luteum พัฒนาเยื่อบุโพรงมดลูกให้รองรับไข่ต่อไป ประมาณ 1 สัปดาห์ จะตรวจไม่พบ progesterone serum และจะผลิตอีกครั้งเมื่อตก ไข่รอบใหม่
Prolactin
มีระดับสูงขึ้นเรื่อยๆ ตั้งแต่ในขณะตั้งครรภ์จนกระทั่งหลังคลอด มารดาที่ไม่ได้ BF นั้น Prolactinจะลดลงเท่ากับก่อนตั้งครรภ์ใน 2สัปดาห์ หลังคลอด มารดาที่ BF จะมีระดับ Prolactinคงอยู่ในระดับสูงนาน 6 –12 เดือน แต่แตกต่างกันออกไปตามความถี่ของการให้นมบุตรในแต่ละวัน ระดับ Prolactin ปกติ หากมารดาให้นมบุตร 1-3 ครั้ง/ วัน และจะคงระดับ ได้นานกว่า 1 ปี หากให้นมบุตรสม่ำเสมอมากกว่า 6 ครั้ง/ วัน การตกไข่และการมีประจำเดือนแรกแตกต่างกันในมารดาหลังคลอดแต่ละราย มารดาหลังคลอดจะไม่มีการตกไข่และการมีประจำเดือนอยู่ช่วงระยะหนึ่ง
Follicle-stimulating hormone (FSH)
เนื่องจากระดับ Estrogenและ Progesterone ในเลือดลดลงอย่างรวดเร็ว ร่วมกับระดับ Prolactin เพิ่มขึ้นกดการทำงานของรังไข่ (Inhibit follicular development) ทำให้กดการหลั่ง FSH & LH ซึ่งทำให้ไม่มีการตกไข่และไม่มีประจำเดือน
Luteinizing hormone (LH)
มารดาที่ไม่ได้ BF จะกลับมามีประเดือนอีกครั้ง ภายใน 7-9 สัปดาห์ พบว่าร้อยละ 50ของประจำเดือนครั้งแรกจะไม่มีการตกไข่ เนื่องจาก corpus luteum ยังทำงานได้ไม่เต็มที่ มีระดับ LH และ Progesterone ในเลือดต่ำ การตกไข่จะเกิดขึ้นเร็วสุดอีกครั้ง ประมาณวันที่ 25 หลังคลอด
กระบวนการที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงระบบทางเดินปัสสาวะ
ไต
การทำงานของไตลดลง อาจเนื่องจากระดับของ steroid hormone ท่อไตและกรวยไตที่ขยายในระยะตั้งครรภ์ จะกลับคืนสู่สภาพปกติเหมือนก่อนการตั้งครรภ์ ภายใน 4-6สัปดาห์หลังคลอด
ส่วนประกอบของน้ำปัสสาวะ
ระยะแรกหลังคลอดพบ lactosuria ระดับblood urea nitrogen สูงในมารดา BF เนื่องจากการเกิด involution of uterus อาจพบ mild proteinuria (+1) ซึ่งเกิดจากกระบวนการย่อยสลายโมเลกุล (catabolism) อาจพบ ketonuriaได้ในผู้คลอดที่คลอดยาวนานร่วมกับมีภาวะ dehydration
การขับออกทางเหงื่อและปัสสาวะในระยะหลังคลอด
2-3 วันแรกหลังคลอดมารดาจะรู้สึกไม่สุขสบายจากการมีเหงื่อออกมากโดยเฉพาะในเวลา กลางคืนและปัสสาวะออกมา ประมาณ 2,000-3,000 ml. เนื่องจากมีการลดลงของ estrogen, blood volume, adrenal aldosterone และ venous pressure ที่ขา
กระบวนการที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงหัวใจและหลอดเลือด
ปริมาณเลือด Blood volume
การสูญเสียเลือดในระยะคลอด
ทำให้ปริมาณเลือดในร่างกายลดลง ประมาณ 1-2 สัปดาห์ ปริมาณเลือดจะใกล้เคียง เหมือนก่อนการตั้งครรภ์ จากปัจจัย ดังนี้ 1.สิ้นสุดการไหลเวียนเลือดระหว่างมารดาและทารก 2. ฮอร์โมนจากรกลดลง เนื่องจากสูญเสียการทำหน้าที่ 3. น้ำนอกเซลล์กลับเข้าสู่หลอดเลือด 4. การขับออกของรก สูญเสียเลือดประมาณ 300-500 ml. (C/S สูญเสียเลือดประมาณ 1,000 ml.)
ปริมาณเลือดที่ออกจากหัวใจ
2-3 ชั่วโมงแรก จะสูงขึ้นชั่วคราว เนื่องจากมดลูกมีขนาดเล็กลงและแรงกด ที่บริเวณมดลูกลดลงและน้ำนอกหลอดเลือดกลับเข้าสู่หลอดเลือด โดยปกติ Cardiac output จะสูงประมาณ 48 ชั่วโมงหลังคลอด จะลดลงภายใน 2 สัปดาห์ ลดลงร้อยละ 30 6-12 สัปดาห์ จะกลับเข้าสู่สภาวะปกติ
Plasma volume
หลังคลอด Plasma volume ลดลงจากการที่ร่างกายขับ Plasma ออกทาง diaphoresis และ diuresis
สัญญาณชีพ
ชีพจร
เกิด bradycardia ประมาณ 50 -60/ min เนื่องจาก Cardiac output เพิ่มขึ้น และ stroke volume 8-10 สัปดาห์หลังคลอดจะกลับสู่ระดับปกติ PR จาก PPH, infection, pain, anxiety
การหายใจ
RR ลดลงจากการลดลงของมดลูก กระบังลมเคลื่อนต่ำลง มีผลต่อ cardiac axis เข้าสู่ระดับปกติในสัปดาห์ที่ 6-8 หลังคลอด Systolic murmur ที่เกิดขึ้นในระยะตั้งครรภ์ หายไปในวันที่ 8 หลังคลอดหรือคงอยู่นานถึง 4 เดือนหลังคลอด
ความดันโลหิต
ภายใน 48 ชั่วโมงหลังคลอด BP อาจสูงขึ้น หรือลดลงได้เล็กน้อย กลับคืนสู่ระดับปกติ ประมาณ วันที่ 4 หลังคลอด เกิด orthostatic hypotension จากการที่ความดันในช่องท้องลดลงอย่างรวดเร็ว ทำให้หลอดเลือดที่มีเลี้ยงอวัยวะต่างๆในช่อง ท้อง เกิดการขยายตัวและคั่ง ทำให้ BP ลดลง อย่างรวดเร็ว BP ต่ำได้จากสูญเสียเลือดมากจากการคลอด หรือได้รับยาบางชนิด
อุณหภูมิร่างกาย
24 ชั่วโมงแรกหลังคลอด อุณหภูมิอาจสูงขึ้นเล็กน้อย ภาวะนี้ เรียกว่า Reactionary fever เป็นผลจากการสูญเสียน้ำเลือด และพลังงานจากการคลอด แต่หาก BT เกิน 38 องศาเซลเซียส เกิน 24 ชั่วโมง แสดงว่าอาจติดเชื้อเกิดขึ้น 2-3 วันแรกอาจมีไข้ต่ำๆ จากการคัดตึงเต้านม “milk fever” เกิดจาก vascular และ lymphatic engorgement ถือเป็นภาวะปกติ
ส่วนประกอบของเลือด
ความเข้มข้นของเลือด
3 วันแรกหลังคลอด Hct และ Hb สูงขึ้นเล็กน้อย เนื่องจากร่างการสูญเสีย plasma มากกว่า RBCสัปดาห์ที่ 4 – 5 หลังคลอด ค่า Hct และ Hb จะลดลงเข้าสู่ระดับปกติเหมือนก่อนการตั้งครรภ์
WBC
สูงกว่าก่อนตั้งครรภ์ จากกระบวนการอักเสบ ป้องกันการติดเชื้อ ความปวด ความเครียด 10-12 วันหลังคลอด อาจพบ WBC สูงถึง 20,000-25,000 เซลล์ต่อลูกบาศก์มิลลิเมตร
ปัจจัยการแข็งตัวของ เลือด (clotting factor I, II, VII, IX และ X)
24 ชั่วโมงแรกหลังคลอด clotting factor และ fibrinogen ยังมีระดับสูงอยู่ เหมือนในช่วงตั้งครรภ์ 2-3 วันหลังคลอด ปัจจัยการแข็งตัวของเลือด จะลดลงเท่ากับระยะก่อนตั้งครรภ์ ในสัปดาห์แรกยังพบว่า fibrinogen ยังคงมีระดับสูงอยู่ อาจเกิด hypercoagulationได้ มารดาหลังคลอดที่มีการเคลื่อนไหวน้อยลง จึงเสี่ยงต่อการเกิด thromboembolism ได้ง่าย
กระบวนการที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงระบบทางเดินอาหาร
ความอยากอาหาร
มีความอยากเพิ่มขึ้นจากการสูญเสียพลังงานในการคลอด, NPO , รับยาบรรเทาความปวด รวมทั้งการสูญเสียน้ำเลือดในระยะคลอด และหลังคลอดออกทางปัสสาวะ เหงื่อ และน้ำคาวปลา
ท้องผูก
พบได้บ่อย 2-3 วันหลังคลอด เนื่องจาก progesterone ทำให้ลำไส้เคลื่อนไหวช้าลง ความตึงตัวของทางเดินอาหารและความดันในช่องท้องลดลง สวนอุจจาระก่อนคลอด เจ็บบริเวณฝีเย็บและริดสีดวงทวาร ทำให้มารดาไม่อยากถ่ายอุจจาระเพราะกลัวเจ็บแผล การสูญเสียน้ำในร่างกาย และ NPO กลับคืนสู่สภาพเดิมประมาณ 8-14 วัน
น้ำหนัก
ลดลงทันทีหลังคลอด ประมาณ 4.5 -5.5 กก. จากการคลอดทารกรกและการสูญเสียเลือด สัปดาห์แรกหลังคลอด ลดลงอีก 2.3 -3.6 กก. จากการขับออกทางเหงื่อ ปัสสาวะ และกระบวนการ involution of uterus สัปดาห์ที่ 6 – 8 มารดาที่มี BMI ปกติก่อนการตั้งครรภ์ และมีน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นระหว่างตั้งครรภ์ที่ปกติ จะมีน้ำหนักลดลงใกล้เคียงกับระยะก่อนการตั้งครรภ์ สตรีที่เลี้ยงบุตรด้วยนมมารดาจะมีน้ำหนักลดลงเร็วกว่าสตรีที่ไม่เลี้ยงบุตรด้วยนมมารดา เนื่องจากการให้นมบุตรจะสลายไขมันตามร่างกายที่สะสมไว้ นำมาใช้สร้างน้ำนมในช่วง 6 เดือนแรกหลังคลอด โดยสตรีที่ให้นมบุตรสม่ำเสมอ จะเผาผลาญพลังงานต่อวัน ประมาณ 500 แคลอรี่ต่อวัน
กระบวนการที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงระบบผิวหนัง
Linea nigra, Facial chloasma สีผิวที่เข้มขึ้นบริเวณ ลานนมจะจางลง และหายไป
Striae gravidarum บริเวณหน้าท้อง เต้านม และต้นขา จะค่อยๆจางเป็นสีเงิน และจะไปหายสมบูรณ์
หลอดเลือดที่ผิดปกติ เช่น spider angiomus, plamar erythema และ epulis โดยปกติจะลดลง
กระบวนการที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงระบบกล้ามเนื้อและโครงสร้าง
กล้ามเนื้อและข้อต่อ
1-2 วันหลังคลอดมารดามักมีอาการล้าและปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ เป็นผลมาจากการเบ่งคลอด การลดลงของระดับ relaxin ช้าๆ ประมาณ 6-8 สัปดาห์หลังคลอดข้อต่อจะกลับคืนสู่สภาพเหมือนเดิมก่อนตั้งครรภ์
กล้ามเนื้อหน้าท้อง
ผนังกล้ามเนื้อมีการยืดขยายจากการคลอด ความตึงตัวของกล้ามเนื้อลดลงโดยเฉพาะสตรีที่ผ่านการคลอดหลายครั้ง พบ diastasis recti เกิดจาก rectus abdomenis ออกเป็น 2 ส่วน ทำให้ไม่มีกล้ามเนื้อตรงกลางหน้าท้อง
การเปลี่ยนแปลงด้านจิตสังคมของมารดาหลังคลอดและครอบครัว
ระยะหลังคลอดเป็นช่วงเวลาการเปลี่ยนผ่านบทบาท (transitional role)
พันธกิจในระยะหลังคลอด
1.การยอมรับบุตร
การปรับตัวในการดูแลบุตร
การตอบสนองของบุตรต่อการดูแล
ความคิดเห็นจากบคุคลใกล้ชิดและบุคลากรทางสุขภาพ
การกำหนดตำแหน่งสมาชิกในครอบครัวใหญ่บุตรคนใหม่
รูบิน (Rubin) แบ่งการปรับตัวมารดาหลังคลอด เป็น 3 ระยะ ดังนี้
ระยะพึ่งพา (dependent phase)
เป็นระยะที่ต้องการพึ่งพา ผู้อื่นทั้งด้านร่างกายและ จิตใจ เกิดใน 1-2 วันแรก หลังคลอด การพยาบาล ควรส่งเสริมให้มารดาได้รับ การพักผ่อนอย่างเพียงพอ ดูแลให้มารดามีความสุข สบาย เปิดโอกาสให้มารดา ระบายความรู้สึก
ระยะกิ่งพึ่งพา (dependent-independent phase)
เป็นระยะที่เริ่มเป็นตัวของตัวเองมากขึ้น เกิดขึ้นในช่วง 3-10 วันหลังคลอดมารดาเริ่มสนใจที่จะเรียนรู้และฝึกทักษะการดูแลบุตรการพยาบาลควรให้คำแนะนำในการดูแลบุตร กระตุ้นให้มารดาฝึกบทบาทในการดูแลบุตร เพื่อลดความ กังวลและสร้างความมั่นใจ
ระยะพึ่งตนเอง (independent phase)
เป็นระยะที่มารดามีความเป็นตัวเองมากขึ้น เกิดขึ้น ประมาณ 2 สัปดาห์หลังคลอด ปรับตัวต่อบทบาทการเป็นมารดาและภรรยา ควรส่งเสริมให้มารดามีการตอบสนองความต้องการของทารกที่เหมาะสม
การดำรงบทบาทการเป็นมารดานี้เกิดขึ้นตั้งแต่ในช่วง ตั้งครรภ์จนถึงปีแรกหลังคลอด แบ่งได้เป็น 4 ระยะ
ระยะคาดหวังบทบาท
ระยะการกระทำบทบาทตามรูปแบบ
ระยะการกระทำบทบาทของตนเองที่ไม่เป็นตามรูปแบบเฉพาะ
ระยะการกระทำบทบาทตามเอกลักษณ์ของตนเอง (1-4 เดือนหลังคลอด)
1. อารมณ์เศร้าหลังคลอด (postpartum blues)
เกิดระยะแรกหลังคลอดและต่อเนื่องจนถึง 3-4วัน หลังคลอด อาการแสดง ได้แก่ มีอารมณ์หงุดหงิด ร้องไห้ วิตกกังวล รบกวนการนอนหลับและความอยากอาหาร การให้คำจำกัดความ ของอารมณ์เศร้าหลังคลอด คือ อารมณ์ที่มีระยะเวลาการเกิดอาการสั้น อาการไม่รุนแรง ไม่ต้องรักษาใดๆ และอาการจะ กลับคืนสู่สภาวะเดิม
2. ภาวะซึมเศร้าภายหลังคลอด (Postpartum Depression)
ภาวะซึมเศร้าหลังคล้ายกับโรคซึมเศร้าทั่วไป ลักษณะ อาการของภาวะซึมเศร้าหลังคลอด พบว่ามีการเปลี่ยนแปลงในกิจกรรมการนอนหลับ ความอยากอาหาร มีอารมณ์เศร้า หงุดหงิด มีความวิตกกังวล จัดการปัญหาไม่ได้ มีความคิดเชิงลบ กลัวเมื่อต้องอยู่คนเดียว สับสน สูญเสียการรับรู้ รู้สึกผิด สูญเสียความมั่นใจ และมีความคิดอยากทำร้ายตัวเองหรืออยากทำร้ายบุตร ลักษณะดังกล่าวแตกต่างจากอารมณ์เศร้าหลัง คลอด (Postpartum blue) คือมีอาการรุนแรงมากกว่าจนถึงขั้นรบกวนความเป็นอยู่ การเลี้ยงดูทารก และอาการอยู่นาน เกิน 2 สัปดาห์
3. โรคจิตหลังคลอด (postpartum psychosis)
เป็นอาการที่มีความรุนแรงมาก รูปแบบของโรคจิตหลังคลอดเป็น รูปแบบที่รุนแรงมาก และมีความผิดปกติ ของอารมณ์มากที่สุด อาการเริ่มต้นใน 48-72 ชั่วโมง ภายหลังคลอด และมี การพัฒนาอาการภายใน 2สัปดาห์ ซึ่งมักจะแสดงอารมณ์เศร้าหรือมีอารมณ์สุข แต่อาการจะเปลี่ยนอย่างรวดเร็ว มี อาการหลงผิดและเห็นภาพหลอนร่วมด้วย
อ้างอิง
วิไลวรรณ สวัสดิ์พานิชย์. (2551). การพยาบาลมารดาหลังดลอด (พิมพ์ครั้งที่ 5). ชลบุรี: ศรีศิลปการพิมพ์.
เพ็ชรัตน์เตชาวีวรรณ. 2560. การพยาบาลมารดาทารและการผดุงครรภ์จาก:
http://www.elnurse.ssru.ac.th/petcharat_te/
pluginfile.php / 58 / block_html / content/PP% 2827122556% 29. pdf.ค้นเมื่อ 29 พฤษภาคม 2563
นางสาวชลิตา วงษ์จันทร์ เลขที่ 53 ห้อง A