Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ทฤษฎีการปรับตัวของรอย Roy Adaptation Theory, นางสาว ศิลป์ศุภา ประถม…
ทฤษฎีการปรับตัวของรอย Roy Adaptation Theory
กระบวนทัศน์หลักเกี่ยวกับทฤษฎี
บุคคล หมายถึง คนหรือมนุษย์ที่เป็นผู้รับบริการที่ประกอบด้วย ชีวะ จิต สังคม และมีระบบการปรับตัวเป็นองค์รวม มีลักษณะเป็นระบบเปิด
ภาวะสุขภาพ หมายถึง สภาวะและกระบวนการที่ทำให้บุคคลมีความมั่นคงสมบูรณ์
สิ่งแวดล้อม หมายถึง ทุกสิ่งที่อยู่รอบตัวบุคคลทั้งภายในและภายนอก ซึ่งรอยได้เรียกสิ่งแวดล้อมว่าเป็นสิ่งเร้า
สิ่งเร้าร่วม
สิ่งเร้าแฝง
สิ่งเร้าตรง
การพยาบาล การช่วยเหลือให้กับบุคคล กลุ่มบุคคล ครอบครัว ชุมชน และการพยาบาลมีเป้าหมายส่งเสริมให้มีการปรับตัวที่เหมาะสมของบุคคลและสิ่งแวดล้อมที่เป็นสาเหตุ เพื่อบรรลุซึ่งการมีสภวะสุขภาพและคุณภาพชีวิต
ทฤษฎีการปรับตัวของรอยกับกระบวนการทางพยาบาล
ขั้นตอนที่ 2 การวินิจฉัยการพยาบาล
จะกระทำหลังการประเมินสภาวะ โดยการระบุปัญหาที่ประเมินได้ และระบุสิ่งเร้าที่เป็นสาเหตุของปัญหา
ขั้นตอนที่ 3 การวางแผนการพยาบาล
กำหนดเป้าหมายการพยาบาลหลังจากที่ได้ระบุปัญหาและสาเหตุ จุดมุ่งหมายของการพยาบาลคือการปรับพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมไปสู่พฤติกรรมที่เหมาะสม
ขั้นตอนที่ 1 การประเมินสภาวะ
ประเมินพฤติกรรม ปฏิกริยาตอบสนองของผู้ป่วยต่อการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมหรือสิ่งเร้า
ประเมินองค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อการปรับตัว ประเมินหรือค้นหาสาเหตุที่ทำให้ผู้ป่วยมีปัญหาการปรับตัว
ขั้นตอนที่ 4 การปฏิบัติการพยาบาล
ขั้นตอนการปฏิบัติการพยาบาลเป็นขั้นตอนที่ 5 ตามแนวคิดของรอย โดยเน้นจัดการกับสิ่งเร้า หรือสิ่งที่เป็นสาเหตุของการเกิดปัญหาการปรับตัว โดยทั่วไปมักจะมุ่งปรับสิ่งเร้าตรงก่อนเนื่องจากเป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดปัญหา ขั้นต่อไปจึงพิจารณาปรับสิ่งเร้าร่วมหรือสิ่งเร้าแฝง และส่งเสริมการปรับตัวให้เหมาะสม
ขั้นตอนที่ 5 การประเมิน
การประเมินผลการพยาบาล โดยดูว่าการพยาบาลที่ให้บรรลุเป้าหมายที่ต้องการหรือไม่
มโนทัศน์หลักในทฤษฎีการปรับตัวของรอย
บุคคลเป็นระบบการปรับตัว (Human as Adaptive system)
สิ่งนำออกหรือผลรับ
เป็นผลของการปรับตัวของบุคคลที่จะสังเกตได้จากพฤติกรรมการปรับตัวทั้ง 4 ด้าน
สิ่งนำเข้า
สิ่งเร้าจากสิ่งแวดล้อมหรือจากตัวบุคคลและระดับการปรับตัวของบุคคล
กระบวนการ
การรับรู้
การตัดสินใจ
การแก้ปัญหา
การเรียนรู้
พฤติกรรมการปรับตัว (Adaptive Mode)
ด้านร่างกาย
วิธีการตอบสนองด้านร่างกายต่อสิ่งเร้าโดยสะท้อนให้เห็นการทำงานระดับเซลล์และเนื้อเยื่อต่างๆ
น้ำและอิเลคโตรลัยท์
การทำงานของระบบประสาท
การรับความรู้สึก
การทำงานของระบบต่อมไร้ท่อ
ด้านอัตมโนทัศน์
อัตมโนทัศน์ด้านร่างกาย
ด้านรับรู้ความรู้สึกด้านร่างกาย
เป็นความรู้สึกเกี่ยวกับสภาวะเเละสมรรถภาพของร่างกายเช่น ความรู้สึกเหนื่อยอ่อนเพลีย
ด้านภาพลักษณ์ของตนเอง
เป็นความรู้สึกที่มีต่อขนาดรูปร่าง หน้าตา ท่าทางของตนเองเช่น คิดว่าเป็นคนสวย เป็นคนผิวดี รูปร่างสมส่วน
อัตมโนทัศน์ส่วนบุคคล
ด้านความมั่นคงในตนเอง
เป็นการรับรู้ต่อตนเองตามความรู้สึก เกียวกับความพยายามในการดำรงไว้ ซึ่งความมั่นคง หรือความปลอดภัย ถ้าหากมีการปรับตัวไม่ได้ บุคคลจะเเสดงออกในพฤติกรรม เช่น ควาวิตกกังวล ไม่สบายใจ เจ็บปวดทางด้านจิตใจ
ด้านศีลธรรมจรรยา
เป็นควารู้สึกนึกคิดที่มีต่อตนเองเกี่ยวกับศีลธรรมจรรยา กฎเกณฑ์ ค่านิยมทางสังคม ขนบธรรมเนียมประเพณี
ด้านความคาดหวัง
เป็นการรับรู้ตนเอง ในเรื่องเกี่ยวกับความนึกคิด เเละความคาดหวังของบุคคลที่ปรารถนา จะเป็นตนเอง จะเป็นอะไร หรือทำอย่างไร ตลอดจนความคาดหวังของบุคคลอื่นที่มีต่อตนเอง
ด้านบทบาทหน้าที่
บทบาทปฐมภูมิ
( Primary role ) ป็นบทบาทที่มีติดตัว เกิดจากพัฒนาการช่วงชีวิตช่วยในการคาดคะเนว่าแต่ละบุคคลควรมีพฤติกรรมอย่างไร
บทบาททุติยภูมิ
( Secondary role)เกิดจากพัฒนาการทางด้านสังคมการเรียนรู้ ขึ้นอยู่กับงานที่ทำ
บทบาทตติยภูมิ
(Tertiary role) เป็นบทบาทชั่วคราวที่บุคคลนั้นได้รับ เช่น บทบาทสมาชิกสมาคม และบทบาทผู้ป่วย
ด้านการพึ่งพาระหว่างกัน
สัมพันธภาพกับบุคคลใกล้ชิด
บุคคลมีความสำคัญต่อตนเองมากที่สุดเช่น บิดามารดา สามี
สัมพันธภาพกับระบบสนับสนุน
บุคคลอื่นๆที่เกี่ยวข้องและพึ่งพาซึ่งกันและกันเช่น ญาติพี่น้อง
สิ่งเร้า
สิ่งเร้าตรง
สิ่งเร้าที่บุคคลเผชิญโดยตรงและมีความสำคัญมากที่สุดที่ทำให้บุคคลต้องปรับตัว เช่น ได้รับการผ่าตัดหรือการฉายรังสี เป็นต้น
สิ่งเร้าร่วม
สิ่งเร้าอื่น ๆ ที่มีอยู่ในสิ่งแวดล้อม และมีความเกี่ยวข้องกับการปรับตัวของบุคคลนั้นเช่น คุณลักษณะทางพันธุกรรม เพศ ระยะพัฒนาการของบุคคล ยา สุรา บุหรี่ อัตมโนทัศน์ การพึ่งพาระหว่างกัน
สิ่งเร้าแฝง
สิ่งเร้าที่เป็นผลมาจากประสบการณ์ในอดีตซึ่งเกี่ยวกับทัศนคติ อุปนิสัยและบุคลิกภาพเดิม สิ่งเร้าในกลุ่มนี้บางครั้งตัดสินยาก ว่ามีผลต่อการปรับตัวหรือไม่
สรุป ทฤษฎีการปรับตัวของรอย
ทฤษฏีการปรับตัวของรอย ช่วยให้เห็นลักษณะของวิชาชีพพยาบาล และทิศทางของการปฏิบัติการพยาบาล จุดมุ่งหมายและกิจกรรมการพยาบาลที่เหมาะสม และท้ายที่สุดทฤษฎีการปรับตัวของรอย ยังได้เน้นให้เห็นถึงคุณค่าของผู้ป่วย ซึ่งเป็นผู้รับบริการที่พยาบาลควรให้ความสำคัญการส่งเสริมศักยภาพของผู้ป่วยนับว่าเป็นบริการจากพยาบาลที่มีคุณประโยชน์ต่อบุคคลในสังคม
นางสาว ศิลป์ศุภา ประถม ห้อง2B เลขที่ 75 รหัส 613601183