Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ความผิดปกติของระบบทางเดินอาหาร "ท้องผูก" - Coggle Diagram
ความผิดปกติของระบบทางเดินอาหาร "ท้องผูก"
ปัญหา
ในช่วงวัยสูงอายุนั้น มักมีปัญหาในการขับถ่าย หากผู้สูงอายุ เริ่มถ่ายน้อยกว่า 3 ครั้งต่อสัปดาห์ ปวดท้องอยากถ่าย แต่ถ่ายไม่ออก ใช้เวลาในการเบ่งถ่ายนาน อุจจาระแข็ง นั่นเป็นสัญญาณที่แสดงว่าผู้สูงอายุเริ่มมีอาการท้องผูก ในบางรายที่อาการท้องผูกรุนแรง อาจเป็นสาเหตุของการเกิดมะเร็งลำไส้ ลำไส้อักเสบ หรือลำไส้อุดตันได้
ความหมาย
อาการท้องผูก หมายถึง อาการที่มีความยากลำบากในการถ่ายอุจจาระ ต้องใช้เวลาในการถ่ายมาก มีการเบ่งถ่ายอุจจาระ ลักษณะอุจจาระแข็งมาก ถ่ายแล้วแต่ยังมีความรู้สึกว่าถ่ายยังไม่หมด หรือถ่ายยังไม่สุด หรือยังปวดท้องอยากถ่าย หรือเบ่งอยู่ตลอดเวลา ถ้าพิจารณาจากความถี่ของการถ่ายอุจจาระจะถือว่า ถ้าถ่ายอุจจาระน้อยกว่า 3 ครั้งต่อสัปดาห์ เรียกว่า มีอาการท้องผูก
อาการ
อุจจาระเป็นก้อนแข็ง
รู้สึกถ่ายอุจจาระไม่สุด
ต้องเบ่งมากกว่าปกติ
มีความรู้สึกว่าถ่ายอุจจาระไม่ออกเนื่องจากมีสิ่งอุดกั้นบริเวณทวารหนัก
ถ่ายอุจจาระน้อยกว่า 3 ครั้งต่อสัปดาห์
สาเหตุ
การรับประทานอาหารที่มีกากใยน้อย
ดื่มน้ำน้อยเนื่องจากกลัวปวดปัสสาวะบ่อยและกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ แต่เมื่อร่ายกายขาดน้ำจะมีกลไกดูดน้ำกลับจากอุจจาระ ทำให้อุจจาระแข็งและถ่ายยาก
ขาดการออกกำลังกาย ลำไส้ไม่เคลื่อนไหว การบีบตัวของลำไส้ลดลง กล้ามเนื้อหน้าท้องอ่อนแรงจึงไม่มีแรงเบ่งอุจจาระ
ความเครียด ทำให้ร่างกายลดการหลั่งน้ำย่อยในกระเพาะอาหารทำให้ย่อยอาหารไม่ดี
ผลข้างเคียงจากยาบางชนิดทำให้ผู้สูงอายุมีอาการท้องผูกได้ เช่น เช่น ยารักษาอาการซึมเศร้า ยาลดการบีบเกร็งของลำไส้ ยารักษาโรค Parkinson ยากันชัก ยาลดความดันโลหิตและยาแก้ปวดบางชนิด ยาที่มีธาตุเหล็ก เป็นต้น
โรคทางกาย เช่น เบาหวาน ต่อมไทรอยด์ทำงานน้อยกว่าปกติ ภาวะแคลเซียมในเลือดต่ำหรือโรคทางระบบประสาท เช่น การได้รับบาดเจ็บที่สมองหรือไขสันหลัง
การอุดกั้นของทางเดินอาหาร เช่น มะเร็งลำไส้ใหญ่ ลำไส้ตีบ ลำไส้บิดพันกันความผิดปกติของทวารหนัก โรคที่มีการลดน้อยลงของปมประสาทของล าไส้ใหญ่ส่วนปลายที่เป็นมาแต่กำเนิด (Hirschsprung’s disease)
ภาวะแทรกซ้อน
ท้องผูกอาจเป็นสาเหตุทำให้เกิดความไม่สุขสบายในกระเพาะอาหาร ทวารหนัก
อาจทำให้เกิดภาวะลำไส้อุดตัน เกิดโรคริดสีดวงทวารได้
มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน
ทานอาหารได้น้อย
อาหารไม่ย่อยเกิน มีอาเจียนในผู้สูงอายุที่ให้อาหารทางสายยาง
แนวทางการดูแล
ดื่มน้ำอย่างเพียงพอ 6-8 แก้วต่อวัน ทำให้อุจจาระในลำไส้มีการเคลื่อนไหวได้ดี
รับประทานอาหารที่มีกากใย เช่น ผักผลไม้ เนื่องจากกากใยของอาหารเหล่านี้มีผลทำให้ลำไส้สามารถเคลื่อนไหวได้มากขึ้น
ฝึกสุขนิสัยขับถ่ายให้เป็นเวลาเช่น ขับถ่ายช่วงเวลาเช้าทุกวัน ตลอดจนจัดสิ่งแวดล้อมให้มีความเป็นส่วนตัว ในการเข้าห้องน้ำหรือการขับถ่าย
ออกกำลังกายเป็นประจำ
กรณีที่ผู้สูงอายุไม่มีข้อจำกัดในการเคลื่อนไหวออกกำลังกายได้ตามความเหมาะสม
หากกรณีที่ผู้สูงอายุไม่สามารถขับถ่ายได้เองผู้ดูแลต้องช่วยเหลือในการขับถ่ายบนเตียง เช่น การใช้หม้อนอน ควรออกกำลังกายบนเตียงตามความเหมาะสมโดยคำนึงถึงความเป็นส่วนตัวของผู้สูงอายุ
ใช้ยาระบายที่เป็นยาสามัญประจำบ้าน เช่น ยาระบายที่จะช่วยให้สามารถขับถ่ายอุจจาระได้ดีขึ้น ช่วยทำให้อุจจาระอ่อนตัว ยาระบายอื่น ๆเช่น ยาเม็ดมะขามแขก ฯลฯ ควรใช้อย่างระมัดระวังภายใต้คำแนะนำของแพทย์ เพราะมีผลข้างเคียงต่อการเคลื่อนไหวของลำไส้ หากได้รับยานี้อย่างต่อเนื่อง
สวนอุจจาระและการใช้ยาเหน็บในกรณีที่มีภาวะท้องผูกและมีอาการแน่น อึดอัดท้องอย่างมาก ซึ่งการใช้อุปกรณ์สอดใส่ต่าง ๆ ต้องระมัดระวังการระคายเคือง หรือเกิดแผลบริเวณทวารหนักได้
สมุนไพรที่รักษาอาการท้องผูก
มะขามแขก เรานำส่วนของฝัก และใบมะขามแขก มาใช้เป็นยาระบายโดยใช้ใบแห้ง 1-2 หยิบมือ หรือใช้ฝัก 4-5 ฝัก หักเป็นชิ้นเล็ก ๆ ต้มกับน้ำ 1 ถ้วย นาน 15 นาที ดื่มก่อนนอน
เมล็ดแมงลัก จัดเป็นยาระบายที่ดี คือ ที่ช่วยเพิ่มกากอาหารท าให้มีปริมาณอุจจาระมากขึ้น โดยเมือกจะช่วยหล่อลื่น
และช่วยให้อุจจาระอ่อนตัว วิธีท าน าเมล็ดแมงลัก 1 ช้อนชา แช่น้ า 1 แก้ว ทิ้งให้พองเต็มที่ รับประทานก่อนนอน
ขี้เหล็ก สมุนไพรพื้นบ้านที่มีฤทธิ์กระตุ้นการบีบตัวของลำไส้ใหญ่ ช่วยให้การขับถ่ายดีขึ้นเหมาะสำหรับผู้สูงอายุซึ่งมักจะนอนไม่หลับ รับประทานอาหารไม่ได้ และมีอาการท้องผูก วิธีใช้ นำใบอ่อนหรือดอกตูมประกอบอาหารรับประทาน หรือนำใบขี้เหล็ก 4-5 ก ามือ ต้มกับน้ำพอท่วมใช้ดื่มก่อนนอน
กล้วยน้ำว้า กล้วยน้ำว้าสุกใช้แก้อาการท้องผูกได้ดี เพราะในกล้วยน้ำว้าสุกมีสารเพ็กตินสูงช่วยเพิ่มกากอาหาร
นอกจากนี้ ยังมีเมือกลื่นช่วยในการขับถ่ายได้สะดวก วิธีรับประทานกล้วยน้ำว้าสุกวันละ 2-4 ผล จะช่วยให้มีการขับถ่ายที่ดีทุกวัน
อาหารที่ช่วยรักษาอาการท้องผูก
มะขามเปรี้ยว นำมะขามเปรี้ยวประมาณ 5-10 ฝักมาต้มจนนุ่ม กรองน้ำแล้วผสมเกลือเล็กน้อย ดื่มก่อนนอน เนื้อในของมะขามจะมีรสเปรี้ยว ใช้เป็นยาระบาย ขับเสมหะได้เป็นอย่างดีและยังช่วยลดความร้อนในร่างกายด้วย
น้ำลูกพรุน เป็นยาระบายอ่อนๆ เปี่ยมด้วยวิตามิน ดื่มประมาณ 1/2 ถ้วยก่อนนอน
เมล็ดแมงลัก เมล็ดแมงลัก 2 ช้อนชา ผสมกับน้ำอุ่นประมาณ 1 แก้ว พักไว้ประมาณ 30 นาทีจนพองเต็มที่ ผสมน้ำเพิ่มแล้วดื่ม หรือจะดื่มกับน้ำหวานก็ได้ เมล็ดแมงลักมีเมือกขาวทำให้อุจจาระไม่เกาะลำไส้ ถ่ายสะดวกและช่วยเพิ่มปริมาณอุจจาระ ซึ่งจะไปกระตุ้นประสาทที่อยู่รอบๆลำไส้ใหญ่ส่วนปลาย ทำให้เกิดอาการปวดท้องหนัก
รำข้าว ชงรำข้าว 1-2 ช้อนโต๊ะ กับน้ำร้อน ดื่มพร้อมอาหารเย็น (ควรดื่มน้ำมากขึ้น) จะช่วยเพิ่มปริมาณอุจจาระ ทำให้อุจจาระนุ่มและถ่ายคล่องขึ้น และยังมีวิตามินบีและอีด้วย
อ้างอิง
ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุแสนสิริ โฮมแคร์.(2560).ปัญหาท้องผูกในผู้สูงอายุ.สืบค้นเมื่อ 29 เมษายน 2563,จาก
https://www.sansirihomecare.com/%E0%B8%9B%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%97%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%9C%E0%B8%B9%E0%B8%81%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%9C%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%AA%E0%B8%B9%E0%B8%87%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%B8-50860.page
รศ.ดร. จิราพร เกศพิชญวัฒนาและคณะ.(2561).คู่มือ เรียนรู้เข้าใจวัยสูงอาย.สืบค้นเมื่อ 29 เมษายน 2563,จาก
https://www.nurs.chula.ac.th/images/2019/announcement/%E0%B8%84%E0%B8%A1%E0%B8%AD%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B8%B2%E0%B9%83%E0%B8%88%E0%B8%A7%E0%B8%A2%E0%B8%AA%E0%B8%87%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%A2.pdf
สำนักเกษตรจังหวัดนราธิวาส.(2557).แก้ท้องผูกตามธรรมชาติ.สืบค้นเมื่อ 29 เมษายน 2563,จาก
http://www.narathiwat.doae.go.th/province/songserm_news/2557/036_2557.pdf
คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.(2553).คู่มือการดูแลผู้สูงอายุสำหรับผู้ดูแล.สืบค้นเมื่อ 29 เมษายน 2563,จาก
http://portal.nurse.cmu.ac.th/cein/SiteAssets/Lists/List/NewForm/%E0%B8%9C%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%AA%E0%B8%B9%E0%B8%87%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%B8%204%20%E0%B8%AA%E0%B8%B5.pdf?Mobile=1&Source=%2Fcein%2F%5Flayouts%2Fmobile%2Fview%2Easpx%3FList%3D3f701497%252D857f%252D4b7f%252Da6f5%252D34882e3df917%26View%3D4d8489fe%252Dfdb0%252D44b2%252D8cf2%252Deb7dcbba4761%26RootFolder%3D%252Fcein%252FSiteAssets%252FLists%252FList%252FNewForm%26FolderCTID%3D0x01200087D75595D84F9641A17A569E141200DA%26CurrentPage%3D1
นายแพทย์เอกวีร์ ศรีปริวุฒิ.(2558).ท้องผูก.สืบค้นเมื่อ 29 เมษายน 2563,จาก
http://www.อิงรัก.com/knowledges/book5.pdf