Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การบำบัดหัตถการ, unnamed, ฝีฝักบัว-pobpad, maxresdefault, CPR 072204 body,…
การบำบัดหัตถการ
การดูแลดามกระดูก
กระดูกปลายแขนหัก
ใช้ไม้แผ่นแบนๆหรือหนังสือพิมพ์พับหนาๆให้มีความยาว ตั้งแต่ปลายนิ้วถึงข้อศอกใช้เป็นเผือกแล้วพันด้วยเชือกหรือผ้ายืดให้ กระชับใช้ผ้าคล้องคอห้อยแขนข้างที่หักไว
กระดูกแขนและไหปลาร้าหัก
ใช้ผ้าคล้องแขนแล้วผูกกับคอใช้ผ้าอีกผืนพันรัดแขนข้างที่ หักให้ติดกับลำตัว กระดูกแขนหักบริเวณข้อศอกอาจจะหักตอน ปลายของกระดูกต้นแขนหรือส่วนบนของกระดูกปลายแขนอย่า พยายามงอแขน เพื่อคล้องแขนให้ดามแขนในลักษณะตรง
กระดูกขาท่อนล่างหัก
ควรดามโดยใช้เผือก 2 อันยาวตั้งแต่ส้นเท้าถึงเหนือเข่าและใช้ผ้าผูก ติดกันเป็นเปลาะๆ ใช้ผ้าหนาๆสอดระหว่างขาทั้ง 2 ข้างแล้วผูกติดกันเป็นเปลาะๆ ข้อควรระวังควรให้ปลายเท้าตั้งฉากเสมอและคอยตรวจดูว่าผ้าที่มัดไว้แน่นเกินไป จนเลือดไหลไม่สะดวกหรือไม่และพยายามอย่าเคลื่อนไหวส่วนที่รัด
กระดูกต้นขาหัก
ใช้เผือก 2 ชิ้นโดยชิ้นหนึ่งยาวตั้งแต่ส้นเท้าถึงใต้รักแร้อีกชิ้น ยาวตั้งแต่ส้นเท้าถึงโคนขาแล้วใช้ผ้าผูกเผือกทั้ง 2 ให้ติดกับขาข้างที่หัก ถ้าไม่มีเผือกให้ผูกขาทั้ง 2 ข้างติดกันถ้ามีบาดแผลหรือกระดูกโผล่อย่า พยายามล้างทำความสะอาดถ้ามีเลือดออกใช้ผ้าปิดแผลห้ามเลือดก่อน
กระดูกเชิงกรานหัก
ใช้วิธีผูกขาทั้ง 2 ข้างติดกันโดยสอดผ้าสามเหลี่ยมพับกว้างๆ 2 ข้างไว้ ใต้ตะโพกและเชิงกรานผูกปมตรงกลางลำตัววางผ้านุ่มๆระหว่างขาทั้ง 2 ข้าง บริเวณเข่าและข้อเท้าแล้วผูกติดกันด้วยผ้าสามเหลี่ยมพับผูกเป็นเลข 8 และผูกผ้า รอบเข่าทั้ง 2 ข้าง
กระดูกสันหลังหัก
จะมีอันตรายร้ายแรงกว่ากระดูกสันหลังส่วนล่างหักดังนั้น การเคลื่อนย้ายต้องทำด้วยความระมัดระวังเป็นพิเศษเพราะส่วนที่หัก อาจจะไปกดหรือบาดไขสันหลังให้ขาดได้ซึ่งก่อให้เกิดอันตรายถึงชีวิต หรือไม่ก็เป็นอัมพาตไม่ แนะนำให้ทำการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยเองควร แจ้งขอความช่วยเหลือจากหน่วยแพทย์
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-