Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Biophysical Assessment - Coggle Diagram
Biophysical Assessment
การตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง (Ultrasound) :no_entry:
ข้อบ่งใช้
อายุครรภ์ 7-10 สัปดาห์ ใช้ตัววัดคือ CRL
อายุครรภ์ 10-14 สัปดาห์ ใช้ตัววัดคือ CRL, BPD , FL และ HL
อายุครรภ์ 15-28 สัปดาห์ ใช้ตัววัดคือ BPD, FL, HL, HCและ Binucular distance
อายุครรภ์ 29 สัปดาห์ขึ้นไป ใช้ตัววัดคือ HC, Binucular distance, BPD, FL, HL
ระยะเวลาที่เหมาะสม
ควรตรวจเมื่ออายุครรภ์ 7-10 สัปดาห์ผิดพลาดไม่เกิน 5 วัน หากตรวจในระยะที่ 2 ของการตั้งครรภ์ (15-28 สัปดาห์) จะมีความคลาดเคลื่อนจากที่ประเมินไป 1 สัปดาห์
บทบาทพยาบาล
ให้คำปรึกษา
งดน้ำงดอาหารในบางกรณี เช่น ครรภ์นอกมดลูก, รกเกาะต่ำที่ต้องผ่าตัด
ถ้าหญิงตั้งครรภ์ให้มี bladder full ดื่มน้ำ 1 - 2 แก้ว ก่อนตรวจอย่างน้อย 1 ชั่วโมง
เตรียมอุปกรณ์และสถานที่ตรวจ โดยกั้นม่านให้เรียบร้อย จัดให้นอนหงายหัวสูงเล็กน้อย
ทำความสะอาดหน้าท้องหลังตรวจ
บันทึกผล
Amniotic fluid volume measurement :recycle:
วัดแอ่งลึกที่สุดของน้ำคร่ำ
ค่าปกติ คือ 2.1 – 8 ซม.
อยู่ระหว่าง 0 – 2 ซม. ถือว่า มีภาวะน้ำคร่ำน้อย (Oligohydramnios)
มากกว่า 8 ซม. ถือว่า มีภาวะน้ำคร่ำมากกว่าปกติ (Polyhydramnios หรือ Hydramnios )
วัดดัชนีปริมาณน้ำคร่ำ
ค่าปกติ คือ 5 – 24 ซม.
ถ้าน้อยกว่า 5 ซม.ถือว่า มีภาวะน้ำคร่ำน้อย (Oligohydramnios)
ถ้ามากกว่า 25 ซม. ถือว่า มีภาวะน้ำคร่ำมากกว่าปกติ (Polyhydramnios)
การตรวจ Biophysical profile (BPP) :green_cross:
อายุครรภ์ 28-30 สัปดาห์ขึ้นไป ทำ สัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง หรือทำทุกวันขึ้นกับข้อบ่งชี้หรือความเสี่ยงในแต่ละราย
ข้อบ่งชี้ในตรวจ
หญิงตั้งครรภ์ที่มีความเสี่ยงสูง
ความดันโลหิตสูงในขณะตั้งครรภ์ เบาหวาน ทารกโตช้าในครรภ์ เจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด หรือครรภ์เกินกำหนด
การแปลผลการตรวจ
คะแนน 8 – 10 คะแนน แปลผล ปกติ
คะแนน 4 – 6 คะแนน แปลผล ผิดปกติ ควรเฝ้าติดตามอาการเปลี่ยนแปลงอย่างใกล้ชิด
คะแนน 0 - 2 คะแนน แปลผล ผิดปกติ ควรยุติการตั้งครรภ์
บทบาทของพยาบาล
การขอความร่วมมือในการตรวจและผ่อนคลายความวิตกกังวลและความกลัวต่าง ๆ
ติดตามผลการตรวจเพื่อจะช่วยให้สามารถนำมาวางแผนการให้การพยาบาลอย่างเหมาะสมกับปัญหาของหญิงตั้งครรภ์
การฉายรังสีเอ๊กซเรย์ :<3:
ทำได้เมื่ออายุครรภ์ 20 สัปดาห์ขึ้นไป เพื่อดู fetal skeletal
บทบาทของพยาบาล
รังสี ควรอธิบายให้ทราบถึงความจำเป็นและการปฏิบัติตัวระหว่างการตรวจ
เตรียมวางแผนการพยาบาลอย่างเหมาะสมกับหญิงตั้งครรภ์แต่ละราย
ควรให้การพยาบาลเหมือนการพยาบาลมารดาที่สูญเสียทารก
วินิจฉัยภาวะทารกตายในครรภ์
Spalding’s sign เกิดจากการซ้อนกันของกระดูกกะโหลกของทารก ในทารกที่ตายแล้า
Deuel’s sign เกิดจากการคั่งของของเหลวระหว่างชั้นไขมันของหนังศีรษะและกะโหลกในทารกที่ตายแล้ว
การนับจำนวนการดิ้นของทารกในครรภ์ :star:
Sadovaski, Yaffe, Wood และคณะ
ในช่วงเวลา 12 ชั่วโมง (08.00 – 20.00 น.)
วันละ 3 ช่วง ได้แก่ 1 ชั่วโมงตอนเช้า 1 ชั่วโมงตอนเที่ยง และ 1 ชั่วโมงตอนเย็น
ในแต่ละช่วงเวลานั้นถ้าทารกดิ้นน้อยกว่า 3 ครั้ง ควรต่อเวลาในการนับไปอีก 1 ชั่วโมง
ถ้าน้อยกว่า 10 ครั้งใน 12 ชั่วโมงใน 2 วัน ติดกันถือว่าเป็นสัญญาณอันตราย
Pearson
ตั้งแต่ 09.00 น. จนครบ 10 ครั้ง ซึ่งไม่ควรเกิน 12 ชั่วโมง (ถึง 21.00 น.)
ตั้งแต่อายุครรภ์ 32 สัปดาห์
ดิ้นน้อยกว่า 10 ครั้งใน 12 ชั่วโมง แสดงว่าเกิดภาวะ decrease of fetal movement
Liston
เหมือนวิธีของ Pearson
ตั้งแต่อายุครรภ์ 28 สัปดาห์
ดิ้นน้อยกว่า 10 ครั้งใน 12 ชั่วโมง แสดงว่าเกิดภาวะ DFM