Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ทฤษฎีการพยาบาลของคิง (King’s Nursing theory) - Coggle Diagram
ทฤษฎีการพยาบาลของคิง
(King’s Nursing theory)
ความหมาย
การดูแลผู้รับบริการต้องผ่านกระบวนการสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างพยาบาลกับผู้ใช้บริการ/ผู้รับบริการเพื่อความเข้าใจที่ตรงกัน ซึ่งการสร้างปฏิสัมพันธ์นี้จะทำให้สะท้อนภาพลักษณ์ของพยาบาลและบทบาทของการให้คำปรึกษา (Counseling) ชี้แนะ (Guiding) สอน (Teaching) แก่ผู้ใช้บริการ/ผู้รับบริการในการหาความหมายของภาวะสุขภาพหรือการเจ็บป่วย
มโนทัศน์หลักทางการพยาบาล
บุคคล
เป็นองค์รวมที่มีความต้องการด้านชีวะ จิต และสังคม
มนุษย์ต้องมีปฏิสัมพันธ์กับบุคคล สิ่งแวดล้อม และมีบทบาทหน้าที่ในสังคม
การรับรู้ของบุคคลทั้งภายในและภายนอกมีผลต่อกระบวนการปฏิสัมพันธ์
สิ่งแวดล้อม
บุคคลที่มีสิ่งแวดล้อมทั้งภายในและสิ่งแวดล้อมภายนอก เป็นบุคคลที่มีความสามารถในการนำพลังงานมาช่วยในการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมภายนอกได้อย่างต่อเนื่อง
สุขภาพ
มีการปรับตัวต่อความเครียด สิ่งแวดล้อม ทั้งภายในและภายนอก
เพื่อบรรลุเป้าหมายสูงลุด
สุขภาพเป็นองค์ประกอบของชีวจิต จิตวิทยาและสังคมวิทยา
การพยาบาล
เป็นกระบวนการปฏิบัติ การตอบสนอง การมีปฏิสัมพันธ์ และการสื่อสาร
ช่วยเหลือบุคคลให้ได้รับความต้องการขั้นพื้นฐาน และสามารถเผชิญกับความเจ็บ
กรอบแนวคิด
บุคคล (Person)
การรับรู้ (Perception)
เป็นระบบการจัดการและแปลความของข้อมูลที่ได้จากประสาทสัมผัสและความจำ
ทำให้เกิดความเข้าใจเหตุการณ์และสิ่งแวดล้อมรอบตัว
อัตตาตัวตน (Self)
เป็นผลที่เกิดจากบุคคลมีปฏิสมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมและจัดระเบียบตัวตนขึ้น
ภาพลักษณ์ (Body image)
เป็นการรับรู้ของบุคคลเกี่ยวกับการของตนเอง
การเจริญเติบโตและพัฒนาการ (Growth and development)
เป็นการเปลี่ยนแปลงของมนุษย์
ปัจจัยที่มีผลต่อการเจริญเติบโต
พันธุกรรม
ประสบการณ์ในชีวิต
สิ่งแวดล้อม
เวลา (Time)
เป็นส่วนหนึ่งของการควบคุมการดำเนินชีวิตและมีอิทธิพลระหว่างสมพันธภาพระหว่างบุคคล
ระหว่างเหตุการณ์หนึ่งไปอีกเหตุการณ์
อาณาบริเวณ (Space)
เป็นขอบเขตที่อยู่รอบตัวบุคคล
ระหว่างบุคคล
การมีปฏิสัมพันธ์ (Interaction)
ตั้งแต่บุคคล2คนขึ้นไปแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน
การติดต่อสื่อสาร (Communication)
เป็นการสื่อสารกันระหว่างผู้ให้และผู้รับสาร มีทั้งการใช้วาจาและไม่ใช้วาจา
การบรรลุเป้าหมายของการปฏิสัมพันธ์ (Transaction)
เป็นกระบวนการที่ปฏิสัมพันธ์ระหว่าง
บุคคลติดต่อสื่อสารเพื่อบรรลุเปูาหมายที่ตั้งไว้
บทบาท (Role)
เป็นพฤติกรรมตำแหน่งหรืออาชีพที่กระทำตามความหวังกับที่เป็นจริงสอดคล้องกัน
ความเครียด (Stress)
เป็นภาวะที่เป็นพลวัตรของการปฏิสัมพันธ์ของมนุษย์กับสิ่งแวดล้อมที่รักษาสมดุลสำหรับการเจริญเติบโต พัฒนาการและการประกอบภารกิจต่าง ๆ
สังคม
เป็นทั้งระบบสังคมทั่วไปและระบบบริการสุขภาพที่มีความสำคัญต่อกระบวนการปฏิสัมพันธ์ระหว่างพยาบาลกับผู้รับบริการ
มโนทัศน์หลัก 10 ประการ
การรับรู้ (Perception)
เป็นกระบวนการปฏิสัมพันธ์อย่างมีจุดหมายของบุคคลกับสิ่งแวดล้อม
เป็นกระบวนการรวบรวม จัดระบบ แปลความหมาย
การปรับเปลี่ยนข้อมูลที่ได้รับจากภายนอก
โดยทางประสาทสัมผัสและความจำ
อัตตา (Self)
การที่บุคคลปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม
เกิดจากผลของข้อมูลย้อนกลับจาการปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น
ส่งผลให้แต่ละคนมีแบบแผนในการสร้างสัมพันธภาพเฉพาะตัว
การปฏิสัมพันธ์ (Interaction)
กระบวนการที่บุคคลตั้งแต่สองคนมาติดต่อกัน
ใช้คำพูดหรือไม่ใช้คำพูด
แต่ละฝ่ายได้นำความรู้ ความต้องการ จุดมุ่งหมาย ความคาดหวัง การรับรู้และประสบการณ์ในอดีตมาเกี่ยวข้อง
การสื่อสาร (Communication)
เป็นการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างบุคคล
มีการสื่อสารที่มีการใช้วาจาและไม่ใช้วาจา
การติดต่อสื่อสาจะเกิดประสิทธิภาพสูงสุดจะต้องยอมรับซึ่งกันและกัน
การปฏิสัมพันธ์อย่างมีเป้าหมาย (Transaction)
เป็นขั้นตอนสุดท้ายของกระบวนการปฏิสัมพันธ์
ที่เกิดจากการที่บุคคลติดต่อสื่อสารกับสิ่งแวดล้อม
บทบาท (Role)
เป็นกลุ่มของพฤติกรรมที่ถูกคาดหวังว่าจะเกิดขึ้นในบุคคล
การเจริญเติบโตและพัฒนาการ (Growth and Development)
เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นในชีวิต
เป็นการเปลี่ยนแปลงภายใต้ตัวบุคคลอย่างต่อเนื่องทั้งในระดับเซลล์ โมเลกุลและระดับพฤติกรรมการแสดงออก
กาละ (Time)
เวลาแสดงถึงระยะระหว่างเหตุการณ์หนึ่งกับอีกเหตุการณ์หนึ่ง
มีส่วนในการควบคุมการดำเนินชีวิตประจำวันของแต่ละบุคคล และมีอิทธิพลต่อสัมพันธภาพระหว่างบุคคล
อาณาบริเวณ (Space)
เป็นขอบเขตที่อยู่รอบตัวบุคคล
โดยทั่วไประยะของอาณาบริเวณรอบตัวของบุคคลมี 4 ระยะ
ระยะใกล้ชิด (Intimate distance) ประมาณ 6-8 นิ้ว
ระยะส่วนบุคคล (Personal distance) ประมาณ 1.5- 4 ฟุต
ระยะทางสังคม (Social distance) ประมาณ 4-12 ฟุต
ระยะทางสาธารณชน (Public distance) ประมาณ 12-25 ฟุต
ภาวะเครียด (Stress)
ภาวะที่ไม่หยุดนิ่งของมนุษย์กระทำต่อสิ่งแวดล้อม
เพื่อที่จะคงไว้ซึ่งการเจริญเติบโต พัฒนาการและการทำหน้าที่
องค์ประกอบ
การกระทำ (Action) คือ พฤติกรรมการแสดงออกของผู้รับบริการ
การตอบสนอง (Reaction) คือ ปฏิกิริยาจากผู้รับบริการ
สิ่งรบกวน (Disturbance) คือ ปัญหาหรือสิ่งที่ทำให้ต้องมารับบริการทางสุขภาพ
การตั้งเป้าหมายร่วมกัน (Mutual goal setting) คือ พยาบาลและผู้รับบริการจะร่วมมือกันค้นหา และกำหนดเป้าหมาย
ค้นหาวิธีการเพื่อดำเนินการสู่เป้าหมาย (Explore means to achieve goal)
ตกลงเรื่องวิธีการที่จะใช้ดำเนินการสู่เป้าหมาย (Agree on means to achieve goal)
เกิดความสำเร็จตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ (Transaction)
การประยุกต์ใช้ทฤษฎี
การประเมินสภาพ (Assessment) คือ ขั้นตอนของการสร้างสัมพันธภาพ การติดต่อสื่อสาร มีการแลกเปลี่ยนการรับรู้ระหว่างพยาบาลกับผู้รับบริการ
การวางแผนการพยาบาล (Planning) คือ ขั้นตอนการร่วมกันกำหนดเป้าหมาย แสวงหาวิธีปฏิบัติ ตกลงยอมรับวิธีปฏิบัติร่วมกัน
การปฏิบัติการพยาบาล (Implementation) คือ ผู้รับบริการปฏิบัติกิจกรรมตามวิธีที่ตกลงร่วมกัน เพื่อการบรรเป้าหมายที่วางร่วมกัน
การประเมินผลการพยาบาล (Evaluation) คือ การที่พยาบาลและผู้รับบริการร่วมกันประเมินผลการปฏิบัติว่าสำเร็จตามเป้าหมายที่กำหนดร่วมกัน