Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ทฤษฎีสัมพันธภาพระหว่างบุคคล (Interpersonal Theory), นางสาวกุลวดี ชอบชื่น…
ทฤษฎีสัมพันธภาพระหว่างบุคคล (Interpersonal Theory)
ริเริ่มโดย
แฮรี สแตค ซัลลิแวน (Harry Stack
Sullivan: 1892-1949) จิตแพทย์ชาวอเมริกัน
นิยาม
คำว่า
บุคลิกภาพว่าเป็นพฤติกรรมที่สามารถสังเกตเห็นได้ในการมีสัมพันธภาพระหว่างบุคคล
ความเชื่อ
:silhouettes: ปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลมีความสำคัญกว่าสิ่งที่อยู่ภายในจิตใจ
:silhouettes: บุคคลที่มีสุขภาพดี จะสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ด้วยการมีสัมพันธภาพกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างมีประสิทธิภาพ
:silhouettes: ความเจ็บป่วยทางจิตเกิดจากการขาดทักษะในการส ร้างสัมพันธภาพระหว่างบุคคล
แนวคิดหลักของทฤษฎี
:checkered_flag:
เป้าหมาย :
เพื่อตอบสนองความต้องการ
ของบุคคลผ่านการมีสัมพันธภาพ และเป็นการลดความวิตกกังวล
:silhouette:
ซัลลิแวน กล่าวว่า :
ความรู้สึกวิตกกังวลเป็นความรู้สึกเจ็บปวดจากความรู้สึกที่ไม่ได้รับความมั่นคง ปลอดภัย และความพึงพอใจทางสรีรวิทยา ซึ่งแสดงออกได้ 3 ลักษณะ
ความวิตกกังวลสามารถอธิบายและสังเกตได้ บุคคลที่อยู่ในภาวะวิตกกังวล สามารถบอกได้ว่าเขารู้สึกอย่างไรและแสดงออกทางพฤติกรรมอย่างไร
บุคคลพยายามที่จะดิ้นรนเพื่อขจัดความวิตกกังวลและเพิ่มความมั่นคงให้กับตนเอง
ความวิตกกังวลที่เริ่มมาจากสัมพันธภาพระหว่างบุคคล เกิดจากความวิตกกังวลของมารดาถ่ายทอดไปสู่บุตร
ลักษณะทฤษฎี
:lock: เป้าหมาย 2 ประการ
:pencil2:
เป้าหมายเพื่อไปสู่ความพึงพอใจ (Satisfaction)
เน้นไปทางความต้องการทางสรีรวิทยา
:red_flag: การพักผ่อน
:red_flag: ความต้องการทางเพศ
:red_flag: ความหิว
:pencil2:
เป้าหมายเพื่อไปสู่ความมั่นคง (Security)
ความต้องการเพื่อความเป็นอยู่อย่างมีความสุข ต้องการการยอมรับในสังคม ซึ่งเกิดจากการมีสัมพันธภาพระหว่างบุคคล
ระบบแห่งตน (Self-System)
ฉันเลว (Bad me)
:red_cross: มองภาพตนเองว่าเป็นคนไม่ดี
ผลมาจากประสบการณ์ที่ไม่ได้รับการยอมรับหรือสนับสนุนจากบุคคลสำคัญในชีวิต
เช่น มารดาปฏิเสธความรัก ถูกทอดทิ้ง
ไม่ใช่ฉัน (Not me)
ผลมาจากปฏิกิริยา
ตอบสนองต่อความวิตกกังวลสูง
ปฏิเสธพฤติกรรมของตนเองเพราะไม่ได้รับการยอมรับจากสังคมหรือยอมรับการกระทำของตนเองไม่ได้ด้วยเป็นกลไกทางจิต
เพราะปฏิสัมพันธ์ของมารดากับทารกเกิดเป็นครั้งคราว ทำให้เด็กเกิดความวิตกกังวลและความเครียด
เช่น เก็บกด การโทษผู้อื่น
:warning: การปฏิเสธตนเอง
ฉันดี (Good me)
:check: มองภาพว่าตัวเองเป็นคนดี
ผลมาจากประสบการณ์ที่ได้รับความพึงพอใจ การยอมรับจากบุคคลสำคัญในชีวิต
เช่น ได้รับการดูแลอย่างอบอุ่น
การประยุกต์ใช้ในการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช
มีปฏิสัมพันธ์กับผู้ป่วยต้องให้ความเคารพนับถือผู้ป่วย ยอมรับอย่างไม่มีเงื่อนไข และ เห็นอกเห็นใจ
พยาบาลต้องทำความเข้าใจปัญหาสัมพันธภาพของผู้ป่วย
การบำบัดผู้ป่วยควรให้ความรู้และช่วยให้ผู้ป่วยเข้าใจตนเองอย่างลึกซึ้ง
เป็นรากฐานของการสร้างสัมพันธภาพทางการพยาบาล
เป็นแนวทางในการสร้างสัมพันธภาพระหว่างพยาบาลและผู้ป่วย เพื่อให้เกิดความไว้วางใจ
นางสาวกุลวดี ชอบชื่น เลขที่ 7 ห้อง B รหัสนักศึกษา 613601115