Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
โรคจิตเภท (Schizophrenia) - Coggle Diagram
โรคจิตเภท (Schizophrenia)
ความหมาย
กลุ่มอาการของโรคที่มีความผิดปกติของความคิดและการรับรู้ไม่ตรงกับความเป็นจริง ส่งผลเสียต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน
พยาธิสรีรวิทยาและกลไกการเกิดโรค
Dopaminergic hypothesis
ระดับของ DA ที่ Mesolimbic tract
สูง ส่งผลให้เกิดอาการด้านบวกของโรค
ต่ำ สัมพันธ์กับ 5 - HT สูงขึ้น ส่งผลให้เกิดอาการด้านลบและพุทธิปัญญาบกพร่อง
การทำงานของ DA ใน 3 Pathway คือ Nitrostriatal, Mesocortical และ Tuberoinfundibular tract มีความสัมพันธ์กับระดับของ Serotonin (5 - HT)
ระดับ 5 - HT สูงมีผลกระตุ้นตัวรับ 5 - HT ที่ Dopaminergic neuron มีผลหลั่ง DA ลดลงใน 3 Pathway
Glutamatergic hypothesis
ความสัมพันธ์ระหว่าง Glutamate กับการเกิดโรคจิตเภท
ความบกพร่องของตัวรับของ Glutamate ชนิด NMDA receptor hypofunction ส่งผลให้เกิดโรคจิตเภททั้งอาการด้านบวกและลบ
อาการและอาการแสดง
Positive symptoms
Hallucination (ประสาทหลอน)
Delusion (หลงผิด)
Abnormal thought form (ความผิดปกติของรูปแบบความคิด)
Bizarre behavior (พฤติกรรมแปลกประหลาด)
Negative symptoms
Poverty of speech (พูดคลุมเครือ พูดซ้ำไปมา ไม่ตรงประเด็น)
Affective flattening (อารมณ์ราบเรียบเฉยเมย)
Lack of pleasure (ไม่รู้สึกเพลิดเพลิน)
Attention impairment (สมาธิและความสนใจเสียไป)
Poor motivation (ขาดแรงจูงใจ)
Asocial behavior (ไม่เข้าสังคม)
Lack of energy (ขาดพลังงาน)
ปัจจัยการเกิด
ด้านพันธุกรรม (Genetic factors)
ด้านชีววิทยา (Biological factors)
สัมพันธ์กับ Dopamine ที่มากในสมอง Post synaptic receptor มากเกินปกติ
ด้านจิตใจ (Psychological factors)
ความผิดปกติพัฒนาการในขวบปีแรกที่มีผลต่อการปรับตัว การควบคุมพฤติกรรม และการมีความสัมพันธ์กับผู้อื่น
การรับรู้และไวต่อความเครียดมากกว่าปกติ แต่การตอบสนองต่อความเครียดไม่ดี เกิดความขัดแย้งในจิตใจ
ด้านสังคมและวัฒนธรรม (Socio cultural factor)
ด้านเศรษฐกิจ ความยากจนมากขึ้นเผชิญกับปัญหาและความเครียดได้ไม่ดี
การดำเนินโรค
ระยะเริ่มมีอาการ (Prodromal phase)
อาการค่อยเป็นค่อยไป มักมีปัญหาด้านหน้าที่ ความรับผิดชอบ หรือสัมพันธภาพ การทำงานลดลง เก็บตัว ไม่สนใจสุขอนามัย เริ่มมีพฤติกรรมแปลก ๆ
อาจนานเป็นเดือน ๆ ถึงเป็นปี
ระยะอาการกำเริบ (Active phase)
ความผิดปกติจะมีมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด เช่น อาการหลงผิด ประสาทหลอน มีอาการด้านความคิด พฤติกรรม และอาการด้านลบ
บางคนมีระยะเริ่มต้นไม่ถึงเดือน อาการก็เป็นมากขึ้นเรื่อย ๆ จนถึงขั้นอาการกำเริบ ในขณะที่บางคนระยะแรกอาจนานเป็นปี
ระยะอาการหลงเหลือ (Residual phase)
เมื่อรักษาอาการก็จะทุเลาลง มักพบมีอาการหลงเหลืออยู่บ้าง เช่น มีความคิดแปลก ๆ เชื่อในเรื่องไสยศาสตร์หรือโชคลาง อาการด้านลบมักพบบ่อยในระยะนี้
อาจมีอาการกำเริบเป็นครั้งคราว อาการส่วนใหญ่กำเริบเมื่อมีความกดดันด้านจิตใจ
การวินิจฉัยโรคตาม DSM - IV
ต้องมีอาการเด่นอย่างน้อย 2 อาการขึ้นไป และชัดเจนเป็นเวลา 1 เดือน
หลงผิด
ประสาทหลอน
พูดคนเดียว เนื้อหาไม่สัมพันธ์กัน ไม่ต่อเนื่อง สร้างคำ มีพฤติกรรมแปลก ๆ
ปฏิเสธ อารมณ์เฉยเมย ราบเรียบ ไม่พูด
สังคมและการงานเสีย ขาดความรับผิดชอบ แยกตัว ไม่สนใจสุขนามัย
มีอาการต่อเนื่องอย่างน้อย 6 เดือน
อาการที่เกิดไม่ใช่ภาวะผิดปกติทางอารมณ์
อาการที่เกิดไม่ใช่เกิดจากสารเคมี หรือได้รับยา
อาการมีความสัมพันธ์กับประวัติความผิดปกติด้านพัฒนาการในวัยเด็ก
ชนิดของโรคจิตเภท ตามหลัก ICD
Paranoid
Hebephrenic
Residual
Catatonic
Undifferentiated
Post schizophrenic depression
Withdrawal
Unspecified
การรักษา
ยารักษาโรคจิต (Antipsychotic drugs)
การรักษาด้วยไฟฟ้า
การดูแลรักษาด้านจิตใจและสังคม
การฟื้นฟูสภาพจิตใจ
การทำจิตบำบัด และกลุ่มบำบัด
สิ่งแวดล้อมบำบัด
ครอบครัวบำบัด