Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลเด็กที่ไม่รู้สึกตัว - Coggle Diagram
การพยาบาลเด็กที่ไม่รู้สึกตัว
การทำทางเดินหายใจให้โล่ง
กิจกรรมการพยาบาล
จัดท่านอนของเด็กให้เหมาะสม โดยให้นอนตะแคงข้าง เพื่อป้องกันการสำลัก
ดูแลไม่ให้มีอาหาร หรือเศษอาหารอยู่ในช่องปาก เพราะเด็กอาจสำลักได้
ดูดเสมหะให้เด็กเป็นระยะๆ
เตรียมอุปกรณ์ช่วยเหลือให้พร้อมหากมีปัญหาเกี่ยวกับการอุดกั้นทางเดินหายใจ จะได้ให้การช่วยเหลือได้ทันที
แรงดันภายในสมองไม่เพิ่มขึ้น
กิจกรรมการพยาบาล
จัดให้เด็กนอนศีรษะสูง ประมาณ 15 – 30 องศา
หลีกเลี่ยงท่านอนหรือกิจกรรม ที่จะทำให้แรงดันภายใน
สมองเพิ่ม เช่น การกดหลอดเลือดที่คอ (neck vein)
จัดท่านอนให้ข้อสะโพกงอไม่เกิน 90 องศา
ป้องกันไม่ให้ท้องผูก
เด็กแสดงอาการเจ็บปวด เช่น มีอาการกระสับกระส่าย หัวใจเต้นเร็ว อัตราการหายใจเพิ่มขึ้น แรงดันโลหิตเพิ่มขึ้น และความอิ่มตัวของออกซิเจนลดลง ดูแลให้ยาแก้ปวดตามแผนการรักษา
ให้มีการรบกวนเด็กให้น้อยที่สุด
ติดตามอาการแสดงที่บ่งชี้ว่าเด็กมีการเปลี่ยนแปลงของแรงดันภายในสมอง วัดรอบศีรษะทุกวัน , สังเกต-บันทึกพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงของเด็ก
ไม่มีภาวะแทรกซ้อนจากการเคลื่อนไหวไม่ได้
กิจกรรมการพยาบาล
ภาวะแทรกซ้อนระบบหายใจ
หมั่นพลิกตะแคงตัวเด็กทุก 2 ชั่วโมง ยกเว้นเด็กที่มีปัญหาความดันในสมองสูง เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนเกี่ยวกับปอด เช่น ปอดอักเสบ เป็นต้น
ดูแลไม่ให้ผู้ที่มีอาการติดเชื้อทางระบบหายใจ เข้าไปใกล้ชิดเด็ก
ก่อนและหลังสัมผัสเด็ก ควรล้างมือให้สะอาดทุกครั้ง
ภาวะแทรกซ้อนเกี่ยวกับตา
สังเกตและประเมินอาการที่บ่งชี้ว่า จะมีการระคายเคืองหรือการอักเสบของตา
อาจต้องใช้ผ้าปิดตา (eye pad) เพื่อไม่ให้ตาแห้ง
ถ้าตาแห้ง อาจต้องใช้น้ำตาเทียม (artificial tears) หยอด
ภาวะแทรกซ้อนทางผิวหนัง
ประเมินสภาพผิวหนังเป็นระยะๆ
หมั่นเปลี่ยนท่านอน หรือพลิกตะแคงตัวบ่อยๆ เพื่อป้องกันการเกิดแผลกดทับ
ดูแลผิวหนังให้สะอาดและชุ่มชื่นอยู่ตลอดเวลา โดยเฉพาะจุดที่เสี่ยงต่อการเกิดแผลกดทับ
ควรทาครีมบำรุงผิวหนัง (lotion) และนวดผิวหนังทุกวันเพื่อกระตุ้นการไหลเวียนของเลือด
ดูแลบริเวณอวัยวะเพศภายนอก ฝีเย็บ (perineum) และทวารหนักให้สะอาดโดยเฉพาะหลังการขับถ่ายทุกครั้ง
ครอบครัวผู้ป่วยเด็กได้รับความรู้ คำแนะนำเกี่ยวกับความเจ็บป่วย
กิจกรรมการพยาบาล
ประเมินความต้องการข้อมูลของครอบครัว
รับฟังปัญหาของครอบครัวอย่างตั้งใจ และอดทน
ตอบคำถามที่ครอบครัวต้องการทราบอย่างชัดเจน
ให้ข้อมูลเกี่ยวกับแหล่งความช่วยเหลือที่ครอบครัวต้องการ
ให้กำลังใจและประคับประคองด้านจิตใจแก่ครอบครัว
ได้รับการดูแลขั้นพื้นฐานอย่างมีคุณภาพ
กิจกรรมการพยาบาล
ด้านอาหาร
ดูแลให้เด็กได้รับสารอาหารอย่างครบถ้วน ตามภาวะสุขภาพของแต่ละบุคคล
ดูแลให้เด็กได้รับอาหารทางหลอดเลือดดำ ตามแผนการรักษา
บันทึกปริมาณน้ำาดื่ม และปัสสาวะทุกวัน
ควรชั่งน้ำหนักทุกวันหรือตามแผนการรักษา
ด้านการขับถ่าย
ทำความสะอาดผิวหนังทุกครั้งหลังการขับถ่ายทั้งปัสสาวะและอุจจาระ
เปลี่ยนผ้าอ้อมหรือกางเกงทุกครั้งที่เด็กขับถ่าย
ถ้าเด็กมีสายสวนปัสสาวะ พยาบาลควรดูแลความสะอาดให้เพียงพอ
ประเมินบริเวณหน้าท้อง เพื่อตรวจสอบว่ากระเพาะปัสสาวะตึง หรือไม่
ดูแลให้เด็กได้รับน้ำอย่างเพียงพอและสอดคล้องกับแผนการรักษา
ดูแลให้ยาระบาย เพื่อป้องกันอาการท้องผูกตามแผนการรักษา
ด้านความสะอาด
เปลี่ยนเสื้อผ้าให้เด็ก เพื่อความสะอาดและความรู้สึกสบาย
สระผมให้เด็กบ่อยๆ เพื่อให้ผมสะอาด
อาบน้ำให้เด็กทุกวัน
ดูแลความสะอาดของปาก ฟัน ผิวหนัง และเล็บอย่างสม่ำเสมอ