Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ความผิดปกติของระบบทางเดินอาหาร giardia-ไกอาเดีย-pobpad, นส.จุฑาภรณ์…
ความผิดปกติของระบบทางเดินอาหาร
ภาวะท้องเสียในผู้สูงอายุ
ความหมาย
เป็นอาการถ่ายอุจจาระเหลวหรือเป็นน้ำมากกว่าปกติ หรือในบางครั้งถ่ายเป็นมูกปนเลือด มักเกิดจากการติดเชื้อหรือภาวะอาหารเป็นพิษ หลังจากการรับประทานอาหารที่ปนเปื้อนเชื้อโรคเข้าไป โดยอาการจะเกิดขึ้นในระยะเวลาเพียงไม่กี่วัน แต่ในบางรายอาจอาการเรื้อรังเป็นเวลานาน ซึ่งอาจเกิดจากโรคอื่น ๆ ได้ เช่น โรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง (Inflammatory Bowel Disease: IBD) หรือโรคลำไส้แปรปรวน (Irritable Bowel Syndrome: IBS)
อาการ
-
-
ในบางรายอาจมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น ปวดท้อง ท้องอืด คลื่นไส้ อ่อนเพลีย รู้สึกครั่นเนื้อครั่นตัว และมีไข้
ท้องเสียที่ถ่ายเหลวหรือเป็นน้ำ สีเหลืองหรือเขียวอ่อน ในรายที่เป็นรุนแรงอาจเป็นน้ำขุ่นขาวคล้ายน้ำซาวข้าว
สาเหตุ
ท้องเสียแบบเฉียบพลัน
การติดเชื้อแบคทีเรีย เชื้อแบคทีเรียที่มักปนเปื้อนในน้ำหรืออาหาร และก่อให้เกิดอาการท้องเสียตามมา ได้แก่ เชื้อแคมไพโลแบคเตอร์ เชื้อซาลโมเนลลา เชื้อชิเกลลา และเชื้ออีโคไล
อาการท้องเสียที่เกิดขึ้นอย่างเฉียบพลันอาจเกิดจากปัจจัยอื่น เช่น อาการวิตกกังวล การดื่มแอลกอฮอล์ปริมาณมากเกินไป การแพ้อาหารบางชนิด ไส้ติ่งอักเสบ หรือเยื่อบุลำไส้เสียหายจากการฉายรังสี เป็นต้น
การได้รับเชื้อปรสิต เชื้อปรสิตสามารถเข้าสู่ร่างกายผ่านอาหารและน้ำที่ปนเปื้อน และอาศัยอยู่ในระบบย่อยอาหารของคนเรา เชื้อปรสิตที่มักพบ คือ เชื้อไกอาเดีย
-
-
เเนวทางการดูเเล
ในผู้สูงอายุ หากมีท้องเสีย 1-2 ครั้ง แนะนำให้ดื่มสารละลายเกลือแร่ (Oral rehydration salts, ORS) เพื่อป้องกันอาการขาดน้ำและเกลือแร่ที่เสียไปจากการท้องเสีย
-
วิธีทำเกลือเเร่
ไม่จำเป็นต้องทานยาหยุดถ่าย ควรปล่อยให้ถ่ายไป เพราะร่างกายต้องขับของเสียออกมาจนหมดจึงจะหยุดถ่ายไปเองตามธรรมชาติ แต่หากอยู่ในระหว่างการเดินทาง หรือต้องนั่งรถหลายชั่วโมง ก็สามารถทานยาหยุดถ่ายได้ แต่ควรทานเพียง 1 เม็ดเท่านั้น และไม่ควรทานทันทีเมื่อท้องเสีย ควรทานในกรณีที่ท้องเสียติดต่อกันหลายครั้ง และยังไม่หยุดจริงๆ และเมื่อยาหมดฤทธิ์ ร่างกายจะขับของเสียออกมาจนหมดต่อเองตามธรรมชาติ
เมื่อหายท้องเสียใหม่ๆ ระบบย่อยอาหารในผู้สูงอายุมักไม่ค่อยดี อาจมีอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ และย่อยอาหารบางอย่างไม่ได้ ดังนั้น หลังจากท้องเสีย 1 สัปดาห์ ควรงดอาหารรสจัด มีแก๊สเยอะ ถั่ว ผลิตภัณฑ์จากนม แต่ควรทานอาหารอ่อนๆ ย่อยง่ายแทน
-
หากผู้สูงอายุท้องเสียมากๆ จะเกิดอาการแสบก้นหรือก้นเปื่อย ให้ใช้ปิโตรเลียมเจลทาบริเวณดังกล่าว เพื่อช่วยลดอาการแสบ
ดื่มน้ำทดแทนการสูญเสียอย่างน้อยวันละ 2-3 ลิตร ถ้ายังอาเจียนหรือถ่ายเหลวมากควรพบแพทย์เพื่อพิจารณาให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ สังเกตภาวะขาดน้ำและเกลือแร่ เช่น กระหายน้ำมาก ผิวขาดความตึงตัว ใจสั่น ปวดท้อง เป็นตะคริว ซึม สับสน เป็นต้น
ปัญหา
โรคท้องร่วงกับผู้สูงอายุ” โดยเฉพาะในช่วงหน้าร้อนมักพบได้บ่อย สำหรับคนหนุ่มสาวเกิดภาวะท้องเดิน 7-8 ครั้ง อาจไม่อันตรายเท่ากับคุณตาคุณยายถ่ายหนักเกิน 2 ครั้ง เพราะอาจทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรงและบางรายอาจถึงขั้นชีวิตได้จากการสูญเสียน้ำและเกลือแร่ หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที
ภาวะท้องผูกในผู้สูงอายุ
ความหมาย
อาการที่มีความยากลำบากในการถ่ายอุจจาระ ต้องใช้เวลาในการถ่ายมาก มีการเบ่งถ่ายอุจจาระ ลักษณะอุจจาระแข็งมาก ถ่ายแล้วแต่ยังมีความรู้สึกว่าถ่ายยังไม่หมด หรือถ่ายยังไม่สุด หรือยังปวดท้องอยากถ่าย หรือเบ่งอยู่ตลอดเวลา ถ้าพิจารณาจากความถี่ของการถ่ายอุจจาระจะถือว่า ถ้าถ่ายอุจจาระน้อยกว่า 3 ครั้งต่อสัปดาห์ เรียกว่า มีอาการท้องผูก
-
เเนวทางในการดูเเล
-
-
ปรับเปลี่ยนลักษณะการรับประทานอาหาร ควรมีการปรับแต่งอาหารของผู้สูงอายุให้ประกอบด้วยผัก และผลไม้มากขึ้น ถ้าผู้สูงอายุมีปัญหาเรื่องฟัน ควรเลือกผักที่นิ่ม
-
-
-
-
-
สาเหตุ
-
-
ไม่ได้ฝึกการขับถ่ายให้เป็นเวลา หรือกลั้นอุจจาระบ่อย ๆ อยู่ในที่ที่ไม่มีห้องน้ำที่สะอาดพอ ทำให้ต้องกลั้นเอาไว้ ทำให้ท้องผูกได้
การรับประทานยาบางชนิดอาจทำให้เกิดอาการท้องผูกได้ เช่น ยาแก้ไอและยาแก้ปวด ที่มีส่วนประกอบของอนุพันธ์จากฝิ่น ยาขับปัสสาวะ ยาลดกรดที่มีส่วนประกอบของอลูมิเนียม และแคลเซียม ยาบำรุงเลือดที่มีส่วนประกอบของธาตุเหล็ก ยาต้านความเศร้า เป็นต้น
-
-
-
-
-
-
-