Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ปัญหาสุขภาพที่พบบ่อยในผู้สูงอายุและการพยาบาลแบบองค์รวม - Coggle Diagram
ปัญหาสุขภาพที่พบบ่อยในผู้สูงอายุและการพยาบาลแบบองค์รวม
ความผิดปกติของระบบทางเดินอาหาร
โรคท้องร่วง(Diarrhea)
ผู้ป่วยมีอาการถ่ายเป็นน้ำ ถ่ายเหลว ถ่ายมูก หรือมูกปนเลือด ท้องร่วงเป็นอาการที่พบได้บ่อยและมีสาเหตุได้หลายประการ ส่วนใหญ่อาการไม่รุนแรงและมักจะหายได้เอง ส่วนน้อยอาจมีอาการรุนแรงทำให้มีภาวะขาดน้ำและเกลือแร่เป็นอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้โดยเฉพาะกับเด็กเล็กและผู้สูงอายุนอกจากนี้อาการถ่ายเป็นน้ำถ่ายเหลวหรือถ่ายมีมูกเลือดปนแล้ว อาจมีอาการไข้ ปวดท้อง อาเจียนร่วมด้วย ขึ้นอยู่กับสาเหตุที่ทำให้เป็นโรค
สาเหตุ
ท้องร่วงชนิดเฉียบพลันเกิดจาก
3.สารเคมี เช่น สารตะวัน สารหนูไนเตรท ยาฆ่าแมลง ทำให้อาเจียน ปวดท้องรุนแรง และชักร่วมด้วย
4.ยา เช่น ยาถ่าย ยาระบาย ยาปฏิชีวนะ
2.อาหารเป็นพิษ โดยการปะปนของเชื้อโรคที่อยู่ในอาหาร
5.พืชพิษ เช่น เห็ดพิษ กลอย
1.การติดเชื้อ ซึ่งพบได้บ่อยกว่าสาเหตุอื่นๆ อาจเกิดจากเชื้อไวรัสบิดไทฟอยด์ อหิวาต์ มาลาเรีย พยาธิบางชนิด เช่น ไทอาร์เดีย พยาธิแส้ม้า
ท้องร่วงเรื้อรัง
3.โรคเรื้อรัง เช่น เบาหวาน คอพอกเป็นพิษ
4.ขาดน้ำย่อยสำหรับย่อยน้ำตาลที่อยู่ในนมจึงทำให้เกิดอาการท้องเสียหลังดื่มนม
2.การติดเชื้อ เช่น บิด อะมีบา วัณโรคลำไส้ และพยาธิสภาพ
5.ความผิดปกติของการดูดซึมอาหารที่ลำไส้
1.อารมณ์ความเครียด
6.เนื้องอก มะเร็งลำไส้ หรือมะเร็งตับอ่อน
7.ยา เช่น รับประทานยาถ่าย หรือยาลดกรดเป็นประจำ
8.สาเหตุอื่นๆ เช่น ผ่าตัดกระเพาะอาหาร ทำให้การย่อยอาหารผิดปกติ การฝังแร่อาจทำให้เกิดอาการท้องเดินเรื้อรังได้
อาการและอาการแสดง
ถ่ายบ่อยกว่าปกติของแต่ละคน หรือถ่ายเป็นมูกปนเลือด 1 ครั้งหรือมากกว่านั้นภายใน 24 ชั่วโมง
ในบางรายอาจมีอาการอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น ปวดท้อง ท้องอืด คลื่นไส้ อ่อนเพลีย รู้สึกครั่นเนื้อครั่นตัว และมีไข้
อาการของโรคที่พบได้บ่อย จะมีการถ่ายอุจจาระเหลวถ่ายเป็นน้ำมากกว่า 3 ครั้งขึ้นไป
ภาวะแทรกซ้อน
ภาวะย่อยน้ำตาลเเล็กโทสบกพร่อง
กลุ่มอาการเม็ดเลือดแดงแตกยูรีเมีย หากท้องเสียจากการติดเชื้อบางชนิด
โรคลำไส้แปรปรวน
ร่างกายส่วนอื่นตอบสนองต่อการติดเชื้อในทางเดินอาหารจนเกิดการอักเสบตามไปด้วย
ภาวะขาดน้ำและเกลือแร่
การติดเชื้อลุกลามไปยังอวัยวะส่วนอื่นๆในร่างกาย
แนวทางการดูแลและป้องกัน
เลือกรับประทานอาหารอย่างระมัดระวัง เช่น รับประทานของร้อน อาหารที่สะอาด สดใหม่ หลีกเลี่ยงผักผลไม้สดที่ล้างไม่สะอาด เนื้อสัตว์ดิบ และผลิตภัณฑ์ประเภทนม เป็นต้น
ไม่ควรวางอาหารทิ้งไว้ในอุณหภูมิห้องนานๆควรเก็บเข้าตู้เย็นเพื่อป้องกันการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย
ในกรณีที่ไม่สามารถล้างมือได้ควรใช้เจลล้างมือที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์เพื่อช่วยฆ่าเชื้อโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ควรทำความสะอาดบริเวณที่มีการเตรียมอาหารให้ถูกสุขลักษณะ รวมถึงการล้างมือให้สะอาด ขณะเตรียมอาหาร
ล้างมือให้สะอาดก่อนรับประทานอาหารหรือสัมผัสกับอาหาร หลังการเข้าห้องน้ำ หรือจับสิ่งปรกอื่นๆเพื่อป้องกันแพร่กระจายของเชื้อโรค
เลือกดื่มน้ำที่สะอาด ถูกสุขลักษณะ
ความผิดปกติของระบบทางเดินอาหาร
ภาวะท้องผูก
อาการถ่ายอุจจาระลำบาก ต้องเบ่งและใช้เวลานาน อุจจาระมีลักษณะแข็งมาก หลังจากถ่ายเสร็จแล้วยังปวดท้องและมีความรู้สึกว่าถ่ายไม่หมด รวมถึงการถ่ายอุจจาระน้อยกว่า 3 ครั้งต่อสัปดาห์
สาเหตุ
ปัญหาเรื่องฟันและช่องปาก หากไม่ได้รับการดูแลรักษาอาจสร้างปัญหาการเคี้ยวอาหารได้ไม่ละเอียด ส่งผลให้ท้องอืดเฟ้อหลังอาหาร จนทำให้ไม่อยากรับประทานอาหารเพื่อเลี่ยงปัญหาดังกล่าว
ขาดการออกกำลังกาย การเคลื่อนไหวร่างกายในผู้สูงอายุเป็นเรื่องยาก อาจเนื่องด้วยกลัวการพลัดตกหกล้ม หรือบางกรณีที่มีอาการป่วยจากโรคเรื้อรัง รวมถึงไม่เห็นความสำคัญของการออกกำลังกาย
ดื่มน้ำน้อย ผู้สูงอายุกับปัญหาปัสสาวะเล็ดหรือกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ เป็นของคู่กัน หลายท่านจึงเลือกที่จะดื่มน้ำน้อยหรือไม่ดื่มระหว่างวันเลย อาการท้องผูกจึงเป็นปัญหาที่ตามมา
อาการป่วยเรื้อรัง และได้รับยาบางชนิด ส่งผลให้มีอาการท้องผูก
มีความเครียด หรือมีนิสัยกลั้นอุจจาระ
รับประทานอาหารที่มีใยอาหารไม่เพียงพอ เนื่องจากกากใยอาหารมักเคี้ยวยาก มีความเหนียว ยากต่อการเคี้ยวบด ผู้สูงอายุจึงมักเลือกรับประทานอาหารนิ่มที่ขาดใยอาหาร
อาการและอาการแสดง
เนื่องจากกระบวนการย่อยอาหารตั้งแต่ต้นจนถึงการถ่ายอุจจาระ ใช้เวลาประมาณ 1–3 วัน ขึ้นอยู่กับชนิดของอาหาร การดื่มน้ำ ออกกำลังกาย
อุจจาระมีลักษณะแข็งมาก รวมถึงหลังจากถ่ายเสร็จแล้วยังปวดท้องและมีความรู้สึกว่าถ่ายไม่หมด
ร่างกายของแต่ละคน ส่วนใหญ่ใช้เวลาประมาณ 1 วัน ถ้าไม่ถ่าย อุจจาระจะถูกเก็บไว้ในลำไส้ใหญ่ เมื่อสะสมมากขึ้น ทำให้อุจจาระแข็งและถ่ายด้วยความลำบาก
ถ่ายอุจจาระน้อยกว่า 3 ครั้งต่อสัปดาห์ ก็ถือว่ามีอาการท้องผูกเช่นกัน
แนวทางการดูแลและป้องกัน
ออกกำลังกายเบาๆ เหมาะสมกับสภาพร่างกาย เช่น เดินเล่นหลังรับประทานอาหาร หรือแกว่งแขนยามเช้า จะช่วยให้ลำไส้มีการเคลื่อนไหว ช่วยในเรื่องการขับถ่ายได้ดีขึ้น
ทำจิตใจให้แจ่มใส ฝึกขับถ่ายเป็นเวลาทุกวัน และไม่ควรใช้ยาระบายในผู้สูงวัยนานจนติดเป็นนิสัยทำให้ไม่สามารถขับถ่ายด้วยตัวเอง
รับประทานอาหารที่มีใยอาหารสูง เพื่อเพิ่มกากใยให้อุจจาระคล่องขึ้น
ดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 8-10 แก้ว โดยแบ่งดื่มทั้งวัน
ปรึกษาแพทย์เพื่อปรับเปลี่ยนยาที่อาจมีผลทำให้ท้องผูก
หากมีปัญหาช่องปากและฟัน ผู้สูงอายุควรได้รับการรักษาเพื่อช่วยให้การเคี้ยวอาหารง่ายขึ้น และช่วยให้การรับประทานอาหารมีรสชาติมากขึ้น
ภาวะแทรกซ้อน
3.มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน
4.ทานอาหารได้น้อย
2.อาจทำให้เกิดภาวะลำไส้อุดตัน เกิดโรคริดสีดวงทวารได้
5.อาหารไม่ย่อยเกิน มีอาเจียนในผู้สูงอายุที่ให้อาหารทางสายยาง
1.ท้องผูกอาจเป็นสาเหตุทำให้เกิดความไม่สุขสบายในกระเพาะอาหาร ทวารหนัก