Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 6 การบริหารการพยาบาล (นายธนภัทร คบหมู่ 603101031) - Coggle Diagram
บทที่ 6 การบริหารการพยาบาล
(นายธนภัทร คบหมู่ 603101031)
โครงสร้างการบริหารสุขภาพ
1.1 ระดับปฐมภูมิ (Primary care level) เป็นบริการที่อยู่ใกล้ชิดประชาชนและชุมชนมากที่สุด มีการรักษาดูแลในภาวะที่ไม่ซับซ้อนจึงเน้นที่ความครอบคลุมมีการบริการผสมผสาน
1.2 ระดับทุติยภูมิ (Secondary care level) เป็นบริการที่ใช้เทคโนโลยีทางการแพทย์ในระดับที่สูงขึ้นเน้นการบริการรักษาพยาบาลโรคที่ยากซับซ้อนมาก
1.3 ระดับตติยภูมิ (Tertiary care level) และศูนย์การแพทย์เฉพาะทาง (Tertiary Care and Excellent Center) เป็นการบริการที่ใช้เทคโนโลยีทางการแพทย์ขั้นสูงมีความสลับซับซ้อนมากมีบุคลากรทางการแพทย์ในสาขาเฉพาะทางสังกัดกระทรวงสาธารณสุขที่เป็นโรงพยาบาลศูนย์
1.4 ผู้บริหารการพยาบาล (Nurse Administration) หมายถึง พยาบาลที่ปฏิบัติงานในตำแหน่งผู้บริการ มีหน้าที่กำหนดนโยบายงานในองค์การพยาบาล เพื่อให้บุคลากรพยาบาลที่เกี่ยวข้องนำไปดำเนินการให้บรรลุเป้าหมาย ตำแหน่ง “ผู้บริหารการพยาบาล” นิยมใช้ในองค์การพยาบาลรัฐบาล
1.5 ผู้จัดการพยาบาล (Nurse Manager) หมายถึง พยาบาลที่ปฏิบัติงานในตำแหน่งบริหาร มีหน้าที่นำนโยบายขององค์การพยาบาลไปดำเนินการให้บรรลุเป้าหมาย ตำแหน่ง “ผู้จัดการพยาบาล” นิยมใช้ในองค์การพยาบาลเอกชน
การบริหารการพยาบาลในหน่วยบริการระดับปฐมภูมิ
2.1 การวางแผน (Planning)
การวางแผนในงานพยาบาลชุมชน จะครอบคลุมงานบริการสุขภาพให้ประชาชนทั้งในด้านการรักษาพยาบาล การส่งเสริมสุขภาพ การควบคุมและการป้องกันโรค การฟื้นฟูสภาพ และงานบริหารงานในสำนักงาน
2.2 การจัดองค์กรการพยาบาลในชุมชน การจัดองค์กรพยาบาลในชุมชน เป็นกลุ่มคนในด้านการให้บริการสุขภาพแก่ประชาชนในชุมชนมารวมกันไม่ได้มีแต่เพียงพยาบาลเท่านั้น
2.3 การนำหรืออำนวยการ (Directing)การดำเนินการในองค์การจะประสบความสำเร็จหรือไม่ การนำหรือการอำนวยการนับว่ามีบทบาทมาก
การควบคุมกำกับงาน (Controlling)และการประเมินผลการปฏิบัติงาน การควบคุมกำกับงานพยาบาลชุมชน
การบริหารการพยาบาลในหน่วยบริการทุติยภูมิและตติยภูมิ
3.1 ตำแหน่งผู้บริหารการพยาบาล
3.1.1 ผู้บริหารระดับสูง (Top level administration) ได้แก่ ผู้อำนวยการพยาบาล หรือหัวหน้าฝ่ายการพยาบาล หรือหัวหน้ากลุ่มการพยาบาล
3.1.2 ผู้บริหารระดับกลาง (Middle level administration) ได้แก่ ผู้ช่วยหัวหน้าฝ่ายการพยาบาล (Sub-director of nursing or Associate director of nursing) และหัวหน้าแผนกการพยาบาล (Head department)
3.1.3 ผู้บริหารระดับต้น (First level administration) ได้แก่ ผู้ตรวจการพยาบาล (Supervisor nurse) และหัวหน้าหอผู้ป่วย (Head nurse หรือ Nurse manager)
3.2 บทบาทหน้าที่รับผิดชอบของหัวหน้าฝ่ายการพยาบาล / หัวหน้ากลุ่มการพยาบาล
3.2.1 รับนโยบายจากผู้อำนวยการ
3.2.2 กำหนดปรัชญา นโยบาย วิสัยทัศน์พันธกิจและเป้าหมายทางการพยาบาล
3.2.3 เป็นผู้นำในการจัดทำแผนกลยุทธ์แผนงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงาน แผนปฏิบัติการของกลุ่มการพยาบาล
3.2.4 กำหนดมาตรฐานบริการพยาบาลในภาพรวม
3.2.5 กำหนดเกณฑ์ในการสรรหา/คัดเลือกบุคลากร
3.3 ทีมการพยาบาล หมายถึง พยาบาลวิชาชีพ/ พยาบาลเทคนิค/ พนักงานช่วยเหลือคนไข้ ที่ขึ้นปฏิบัติงานตามตารางการปฏิบัติงาน (ตารางเวร) ที่จัดไว้แต่ละหอผู้ป่วย
3.3.1 หัวหน้าทีม (Nurse Leader) หัวหน้าทีมการพยาบาล หมายถึง พยาบาลวิชาชีพที่ขึ้นปฏิบัติงานตามตารางการปฏิบัติงานและได้รับมอบหมายจากหัวหน้าหอผู้ป่วยให้ปฏิบัติหน้าที่หัวหน้าทีมการพยาบาล
3.3.2 หัวหน้าเวร (Nurse In charge)
3.3.3 สมาชิกทีม (Member)
หลักการจัดหอผู้ป่วย
4.1 ความเป็นสัดส่วน (Privacy) จัดบริเวณและสิ่งแวดล้อมรอบเตียงให้มีพื้นที่ในการให้การพยาบาลได้สะดวกไม่เปิดเผยผู้ป่วย และญาติสามารถเยี่ยมได้ใกล้ชิด
4.2 ความปลอดภัย (safety) ต้องป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ มีไม้กั้นเตียง พื้นห้องน้ำไม่ลื่น มีราวจับแสงสว่างเพียงพอ
4.3 การป้องกันและควบคุมการแพร่กระจายเชื้อ (Infection control) ให้ถูกต้องตามหลักการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ 10
4.4 ควบคุมเสียง (noise control) ไม่ให้มีเสียงดังรบกวนการพักผ่อนของผู้ป่วยหัวหน้าหอผู้ป่วยจะต้องจัดเตียงสำหรับผู้ป่วย
ระบบการดูแลผู้ป่วย
5.1 ระบบการดูแลเป็นรายบุคคล (case method or total patient care) มีหลักการดูแลคือพยาบาล ๑คนจะให้การดูแลทุกอย่างสำหรับผู้ป่วยรายนั้น ๆ
5.2 ระบบการทำงานเป็นหน้าที่ (functional nursing) การมอบหมายงานจะเน้นที่หน้าที่และกิจกรรมเป็นสำคัญโดยบุคลากรแต่ละคนจะได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบหน้าที่๑-๒อย่างเช่นพยาบาลวิชาชีพมีหน้าที่ให้ยาทางหลอดเลือดดำ
5.3 ระบบการพยาบาลเป็นทีม (team nursing) ระบบนี้ต้องการสร้างความพึงพอใจให้กับผู้ป่วยและบุคลากรปรับปรุงคุณภาพการบริหารพยาบาลให้ดีขึ้นโดยนำพยาบาลวิชาชีพที่มีจำนวนจำกัดทำงานร่วมกับบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการให้การพยาบาลหลายระดับระบบนี้จะมีประสิทธิภาพ
5.4 ระบบการพยาบาลแบบเจ้าของไข้ (primary nursing) โดยที่พยาบาลวิชาชีพ ๑คนจะทำหน้าที่เป็นตัวจักรสำคัญในการดูแลผู้ป่วยตลอดระยะเวลาที่อยู่ในโรงพยาบาลตั้งแต่แรกรับเข้าไว้ในโรงพยาบาลจนกระทั่งจำหน่ายออกจากโรงพยาบาล
5.5 ระบบการจัดการด้านผู้ป่วย (Case Management) เป็นระบบที่มุ่งเน้นการดูแลที่มีคุณภาพสูงสุดและค่าใช้จ่ายที่ประหยัดคุ้มค่าซึ่งสอดคล้องกับคำกล่าวของ Florence Nightingale
การนิเทศ (Supervision) หมายถึงกระบวนการสั่งการและตรวจตรางานที่บุคคลกระทำ (Websters Dictionary)
6.1 องค์ประกอบของผู้นิเทศ
6.1.1 ความสามารถด้านเทคนิค หมายถึง ความสามารถในการใช้ความรู้ต่างๆ เทคนิคการปฏิบัติการพยาบาลการใช้เครื่องมือที่เกี่ยวข้องกับการรักษาพยาบาลอย่างคล่องตัวเพื่อสามารถแนะนำให้ผู้ใต้บังคับบัญชาได้
6.2.2 ความสามารถด้านบริหารงาน ได้แก่ ความสามารถในการวางแผน จัดการและสั่งการให้ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาทำงานให้บรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมายของหน่วยงาน
6.2.3 ความสามารถด้านการสอน แนะนำและให้คำปรึกษา เป็นการช่วยเหลือผู้ที่รับการนิเทศได้เกิดความรู้ความเข้าใจงานที่ปฏิบัติ สามารถพัฒนางานที่ได้รับการนิเทศแล้วให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพสูงขึ้น
6.2.4 ความสามารถด้านมนุษย์ คือ ความสามารถในการเข้าใจคน รู้ว่าจะทำงานร่วมกับคนอื่นอย่างไร และเข้าใจหลักการหรือทฤษฎีเกี่ยวกับพฤติกรรมต่างๆของมนุษย์
6.2.5 ความสามารถด้านวิชาการ ผู้นิเทศการพยาบาลต้องมีความรู้ความเข้าใจผิดหลักการและทฤษฎีต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการพยาบาลด้วยการเป็นผู้มีความพร้อมด้านความรู้
การมอบหมายงาน (Assignment )
7.1 การมอบหมายงานเฉพาะหน้าที่ (Functional Method) เป็นวิธีมอบหมายงานที่แบ่งการพยาบาลออกเป็นกิจกรรม และมอบหมายให้พยาบาลแต่ละคนรับผิดชอบเฉพาะ ๑–๒ กิจกรรม
7.2 การมอบหมายงานเป็นทีม (Tem Method) เป็นการมอบหมายงานให้บุคลากรทำเป็นกลุ่มเล็ก โดยมีพยาบาลวิชาชีพทำหน้าที่เป็นหัวหน้ากลุ่ม แบ่งความรับผิดชอบจากหัวหน้าตึกและกระจายความรับผิดชอบไปยังบุคลากรอื่นที่ร่วมกลุ่มปฏิบัติงาน
7.3 การมอบหมายงานเฉพาะรายผู้ป่วย (Case Method) เป็นการมอบหมายให้พยาบาลดูแลให้การพยาบาล โดยทั้งหมดแก่ผู้ป่วย ๑ราย หรือมากกว่า ซึ่งเป็นการ พยาบาลเบ็ดเสร็จอย่างสมบูรณ์แบบ (Complete Care)
7.4 การมอบหมายงานแบบพยาบาลเจ้าของไข้ (Primary Methods) เป็นการมอบหมายให้พยาบาลดูแลผู้ป่วยตั้งแต่รับไว้รักษาในโรงพยาบาลจนกระทั่งกลับบ้าน โดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงผู้ป่วย
7.5 การมอบหมายงานแบบผสมผสาน (Multiple Method) เป็นการมอบหมายงานที่ไม่ได้ใช้วิธีใดวิธีหนึ่งโดยเฉพาะ แต่เป็นการผสมผสานกัน เช่น แบบทีมรวมกับแบบตามหน้าที่
7.6 การมอบหมายแบบผู้จัดการกรณีหรือผู้จัดการการดูแลผู้ป่วย (Case management)เป็นรูปแบบการจัดการดูแลผู้ป่วยใหม่ล่าสุดที่มีเป้าหมายให้การดูแลเป็นไปตามความต้องการของผู้ป่วย
กระบวนการจัดอัตรากำลังทางการพยาบาล (Staffing Process)
8.1 การวางแผนอัตรากำลัง (Staffing planning)
8.1.1 ขั้นตอนในการจัดอัตรากำลัง คือการคาดคะเนความต้องการ
การพยาบาลของผู้ป่วย (The Nursing Care Needs of Patients)
ความต้องการการพยาบาลของผู้ป่วย จะทำให้สามารถคำนวณหาจำนวนบุคลากรที่ต้องการหรือที่เรียกว่าอัตรากำลัง
จำนวนวันที่ผู้ป่วยนอนโรงพยาบาลในโรงพยาบาล
หรือจำนวนวันนอน (Patient Days)
จำนวนเฉลี่ยผู้ป่วยต่อวัน (ADC : Average daily census)
จำนวนผู้ป่วยในแต่ละวันโดยเฉลี่ย ซึ่งมีค่าเท่ากับจำนวนวันผู้ป่วยนอนในโรงพยาบาล (Patient Days) รวมกันในช่วงเวลาหนึ่ง หารด้วยจำนวนวันในช่วงเวลานั้น
การแบ่งประเภทผู้ป่วย (Patient Classification Systems)
การแบ่งประเภทผู้ป่วยนี้จะนําไปสู่การคํานวณหาปริมาณ
การพยาบาลที่ผู้ป่วยต้องการ เพื่อคํานวณต่อไปว่าใน
ปริมาณงานทั้งหมดนั้น ต้องใช้พยาบาลหรือบุคลากรอื่นจํานวนเท่าใด
วิธีจัดประเภทผู้ป่วย
ประเภทที่ 1 ผู้ป่วยที่ช่วยเหลือตนเองได้
ต้องการดูแลเล็กน้อย (Minimal Care)
ประเภทที่ 2 ผู้ป่วยที่ต้องพึ่งพาคนอื่นเพียงบางส่วน ต้องการดูแลระดับปานกลาง (Partial Care)
ประเภทที่ 3 ผู้ป่วยที่ต้องพึ่งพาคนอื่นโดยสมบูรณ์ ต้องการการดูแลที่ซับซ้อน (Complex Care)
8.1.2 การแบ่งประเภทผู้ป่วย
ตามวิธีของวาสเลอร์(Warstler)
ผู้ป่วยประเภท 1 : ผู้ป่วยที่ช่วยเหลือตนเองได้ (Self care = พักฟื้น)
ผู้ป่วยประเภท 2 : ผู้ป่วยที่ต้องการการดูแลเพียงเล็กน้อย (Minimal care = เล็กน้อย)
ผู้ป่วยประเภท 3 : ผู้ป่วยที่ต้องเฝ้าระวังและให้การดูแลเป็นระยะๆ (Intermediate care= กึ่งหนัก)
ผู้ป่วยประเภท 4 : ผู้ป่วยหนักที่ต้องดูแลต่อเนื่องตลอดเวลา (Modified intensive care= หนัก)
ผู้ป่วยประเภท 5 : ผู้ป่วยที่อยู่ในภาวะวิกฤติ เสี่ยงต่อการเสียชีวิต (Intensive care = วิกฤติ)
8.1.3 การประเมินตามความก้าวหน้าของการดูแลผู้ป่วย (Progressive Patient Care Evaluation Method)
การดูแลผู้ป่วยหนักในระยะวิกฤต (Intensive Care)
การดูแลผู้ป่วยหนักที่มีอาการคงที่ (Constant care)
การดูแลผู้ป่วยในระดับกลาง (Moderate or Intermediate Care)
การดูแลผู้ป่วยเรื้อรัง (Extended long term care)
การดูแลผู้ป่วยที่สามารถช่วยตนเองได้ (Self care)
การดูแลผู้ป่วยที่บ้าน (Home care)
การดูแลผู้ป่วยนอกหรือประชาชนทั่วไป (Outpatient Service)
การดูแลผู้ป่วยฉุกเฉิน (Emergency care)
8.2 การจัดตารางการปฏิบัติงาน (Scheduling)
8.2.1 การจัดแบบแยกการ (Decentralized Scheduling) วิธีนี้ส่วนใหญ่จะเป็นการจัดโดยหัวหน้าหอผู้ป่วย ซึ่งเป็นผู้ที่รู้จักบุคลกรทุกคนดีทั้งด้านความต้องการส่วนตัว และความสามารถในการปฏิบัติงาน
8.2.2 การจัดแบบรวมการ (Centralized Scheduling)จัดโดยผู้ช่วยหัวหน้าพยาบาลฝ่ายบุคลากร หรือผู้ตรวจการในสำนักงานบริการพยาบาล จัดตารางเวรรวมกันทุกแผนกการพยาบาล ทำให้สามารถกระจายกำลังให้ทุกหอผู้ป่วยอย่างทั่วถึงและสมดุลกัน
8.3 การกระจายอัตรากำลัง (Staffing allocation) เพื่อให้มีการกระจายกำลังคนตามปริมาณงาน ในแต่ละช่วงเวลา และมีการจัดสัดส่วนการผสมผสานทักษะปฏิบัติของบุคลากรแต่ละประเภทให้เหมาะสม