Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลมารดาในระยะหลังคลอด, นางสาวจุฑามาศ สงวนนาม เลขที่ 54 ห้อง A …
การพยาบาลมารดาในระยะหลังคลอด
การดำรงบทบาทการเป็นมารดา
ระยะคาดหวังบทบาท
ระยะการกระทาบทบาทตามรูปแบบ
ระยะการกระทำบทบาทของตนเองที่ไม่เป็นตามรูปแบบเฉพาะ
ระยะการกระทำบทบาทตามเอกลักษณ์ของตนเอง (1-4 เดือนหลังคลอด)
การเปลี่ยนแปลงของระบบหัวใจและหลอดเลือด
ปริมาณเลือดที่ออกจากหัวใจ cardiac output
2-3 ชั่วโมงแรก จะสูงขึ้นชั่วคราว เนื่องจากมดลูกมีขนาดเล็กลงและแรงกดที่บริเวณมดลูกลดลงและน้ำนอกหลอดเลือดกลับเข้าสู่หลอดเลือด
โดยปกติ Cardiac outputจะสูงประมาณ 48ชั่วโมงหลังคลอดจะลดลงภายใน 2 สัปดาห์ ลดลงร้อยละ 30
6-12 สัปดาห์ จะกลับเข้าสู่สภาวะปกติ
Plasma volume
หลังคลอด Plasma volume ลดลงจากการที่ร่างกายขับ Plasma ออกทาง diaphoresis และ diuresis
สัญญาณชีพ
ชีพจร
ชีพจร เกิด bradycardia ประมาณ 50 -60/ min เนื่องจากCardiac outputเพิ่มขึ้น และ stroke volume
8-10 สัปดาห์หลังคลอดจะกลับสู่ระดับปกติPR จาก PPH, infection, pain, anxiety
การหายใจ
RR ลดลงจากการลดลงของมดลูก กระบังลมเคลื่อนต่ำลง มี ผลต่อ cardiac axis เข้าสู่ระดับปกติในสัปดาห์ที่ 6-8หลังคลอด
Systolic murmur ที่เกิดขึ้นในระยะตั้งครรภ์ หายไปในวันที่ 8 หลังคลอดหรือคงอยู่นานถึง 4เดือนหลังคลอด
ความดันโลหิต
ภายใน 48 ชั่วโมงหลังคลอด BP อาจสูงขึ้น หรือลดลงได้เล็กน้อย กลับคืนสู่ระดับปกติ ประมาณ วันที่ 4หลังคลอด
เกิด orthostatic hypotension จากการที่ความดันในช่องท้องลดลงอย่างรวดเร็วทาให้หลอดเลือดที่มีเลี้ยงอวัยวะต่างๆในช่องท้อง เกิดการขยายตัวและคั่ง ทำให้ BP ลดลงอย่างรวดเร็ว
BP ต่าได้จาก สูญเสียเลือดมากจากการคลอด หรือได้รับยาบางชนิด
อุณหภูมิร่างกาย
24 ชั่วโมงแรกหลังคลอด อุณหภูมิอาจสูงขึ้นเล็กน้อย ภาวะนี้ เรียกว่า Reactionary feverเป็นผลจากการสูญเสียน้ำ เลือด และพลังงานจากการคลอด
แต่หาก BT เกิน 38องศาเซลเซียส เกิน 24ชั่วโมง แสดงว่าอาจติดเชื้อเกิดขึ้น
2-3 วันแรกอาจมีไข้ต่ำๆ จากการคัดตึงเต้านม “milk fever” เกิดจาก vascular และ lymphatic engorgement ถือเป็นภาวะปกติ
การส่งเสริมสุขภาพในมารดาหลังคลอด
การตรวจสัญญาณชีพ
ใน 24 ชั่วโมงแรกหลังคลอด เมื่อรับย้ายจาก LR ควรประเมินสัญญาณชีพ ทั้ง BT, PR และ BP ทุก 4 ชั่วโมง
ถ้าพบว่ามีไข้ต่าๆ ควรกระตุ้นให้มารดาหลังคลอดดื่มน้ำและพักผ่อนให้เพียงพอ และประเมิน BT อย่างน้อยวันละครั้ง
การประเมินการหดรัดตัวของมดลูกและการกลับสู่สภาพปกติของมดลูก
ทันทีที่รับย้ายจาก LR ควรประเมินการหดรัดตัวของมดลูกทุก 1 ชั่วโมง อย่างน้อย 2 ครั้ง เมื่อมดลูกหดรัดตัวดีแล้วประเมินทุก 8ชั่วโมงในวันแรกหลังคลอด
การบรรเทาอาการปวด
แนะนำให้นอนคว่ำโดยใช้หมอนรองใต้ท้องน้อยทำให้มดลูกถูกกด เป็นการกระตุ้นให้มดลูก หดรัดตัว และน้ำคาวปลาไหลออกได้สะดวก
ห้ามประคบความร้อนบริเวณหน้าท้องในวันแรก เพราะมดลูกจะคลายตัวและทำให้เกิด PPH ตามมา
ดูแลกระเพาะปัสสาวะให้ว่าง กระตุ้นปัสสาวะทุก 3 –4 ชั่วโมง
รับประทานยาแก้ปวดก่อน BF อย่างน้อย 30นาที หากมีอาการปวดมดลูกมาก
อธิบายให้ทราบว่าอาการปวดมดลูกเป็นอาการปกติที่เกิดขึ้นได้ใน 1-2วันแรกหลังคลอด โดยเฉพาะมารดาครรภ์หลังที่มีอาการปวดมากกว่าครรภ์แรก
ส่งปรึกษาแพทย์หากมีอาการปวดมดลูกมากกว่าปกติ และนานมากกว่า 72 ชั่วโมง เนื่องจากอาจมีเศษรก และก้อนเลือดค้างในโพรงมดลูก
การดูแลแผลฝีเย็บและน้ำคาวปลา
การบรรเทาความไม่สุขสบายจากการปวดแผลฝีเย็บ
2.1 ice pack (การวางถุงน้ำแข็ง) ใน 24 ชั่วโมงแรกหลัง คลอด ถ้ามารดาปวดแผลฝีเย็บและมีอาการบวมจากเลือดคั่ง ให้ประคบด้วย ice pack 15-20นาที พักประมาณ 10นาทีและทำซ้ำ เพื่อลดอาการบวมและความเจ็บปวด
2.2 sitzbath (การนั่งแช่ก้น) ใช้บรรเทาความปวดริดสีดวงทวาร ควรทาหลังคลอด 24ชั่วโมง มี 2วิธี คือ
cool sitzbath (การนั่งแช่ก้นในน้ำเย็น)
hot sitzbath (การนั่งแช่ก้นในน้ำอุ่น)
2.3 การใช้ยาแก้ปวด มารดาหลังคลอดที่มีอาการปวดแผลฝีเย็บมาก อาจให้ยาแก้ปวดรับประทานหรือใช้ anesthetic spray หรือ ointment ทำบริเวณแผลเพื่อลดอาการปวดตามแผนการรักษา
2.4 การอบแผลฝีเย็บด้วย intra red light ช่วยลดอาการบวมของแผลฝีเย็บ กระตุ้นการไหลเวียนของโลหิต ช่วยให้แผลแห้งและหายไว ทำให้รู้สึกสุขสบาย วิธีปฏิบัติ วางหลอดไฟให้ห่างจากฝีเย็บประมาณ 1-1 ½ ฟุต อบไฟนาน 3-5นาที ก่อนอบควรชำระอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอกให้แห้ง
การประเมินแผลฝีเย็บและน้ำคาวปลา ควรประเมินอย่างน้อย 2 ครั้งต่อวัน โดยใช้หลักการREEDA
การทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธ์และการเปลี่ยนผ้าอนามัย
ล้างมือให้สะอาดก่อนและหลังทาความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์
ทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอกด้วยสบู่และน้ำสะอาดโดยล้างจากด้านหน้าไปด้านหลังเพื่อป้องกันการปนเปื้อนจากทวารหนัก และซับให้แห้งหลังขับถ่าย
เปลี่ยนผ้าอนามัยเมื่อรู้สึกเปียกชุ่มหรือทุกครั้งหลังขับถ่าย และล้างมือก่อนและหลังจับผ้าอนามัยทุกครั้ง
วิธีจับผ้าอนามัย ควรจับกับด้านที่ไม่สัมผัสกับอวัยวะสืบพันธุ์ ใส่และถอดผ้าอนามัยจากด้านหน้าไปด้านหลัง โดยใส่ให้กระชับไม่เลื่อนไปมา เพราะอาจนำเชื้อโรคจาก ทวารหนักมายังช่องคลอดได้
สังเกตความผิดปกติของน้ำคาวปลาขณะขับถ่ายและเปลี่ยนผ้าอนามัย
ส่งเสริมการนอนหลับพักผ่อน
จัดสิ่งแวดล้อมให้เงียบ สงบ และส่งเสริมการพักผ่อน
ปรับกิจกรรมการพยาบาลอย่างเป็นระบบ รบกวนมารดาน้อยที่สุด เพื่อให้พักผ่อนอย่างเต็มที่
ให้คำแนะนำมารดาในการใช้เทคนิคการผ่อนคลาย
หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน และอาหารที่ทำให้ท้องอืด
แนะนำให้มารดาหลังคลอดปรับเปลี่ยนเวลานอน เช่น ให้นอนหลับพักผ่อนพร้อมบุตรหรือหาบุคคลอื่นช่วยดูแลบุตรเมื่อรู้สึกอ่อนเพลีย
การมีเพศสัมพันธ์หลังคลอด
ควรงดการมีเพศสัมพันธ์ ประมาณ 4 -6 สัปดาห์หลังคลอด คือ จนกระทั่งมารดาตรวจร่างกายแล้ว
การมีเพศสัมพันธ์อาจจำเป็นต้องใช้น้ำมันหล่อลื่น และเลือกใช้ท่าที่เหมาะสม สามารถควบคุมได้ เนื่องจากหลังคลอดช่องคลอดจะค่อนข้างแห้ง
3.มารดาสามารถให้นมบุตรก่อนมีเพศสัมพันธ์ เนื่องจากฮอร์โมนออกซิโทซินจะส่งผลให้มีการหลั่งของน้ำนมได้
การขับถ่ายปัสสาวะ อุจจาระ
ขับถ่ายปัสสาวะ
เบื้องต้นช่วยเหลือในการราดน้ำอุ่นบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์ หรือเปิดน้ำ
ถ้า 4-8 ชั่วโมงหลังคลอด ยังไม่สามารถปัสสาวะได้เอง และกระเพาะปัสสาวะเต็มหรือถ่ายปัสสาวะเองไม่หมด ต้องสวนปัสสาวะทิ้ง (singer catheter) ถ้าปัสสาวะไม่ออกเกิน8 ชั่วโมง ต้องสวนปัสสาวะและติดตามความสามารถในการขับถ่ายปัสสาวะ
ถ้ามีปริมาณน้ำปัสสาวะค้างมากกว่า 100-150ml. อาจพิจารณาคาสายสวนปัสสาวะคาไว้ 12 –24 ชั่วโมง เพื่อช่วยให้แรงตึงตัวของกล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะทางานปกติ
ขับถ่ายอุจจาระ
แนะนำให้รับประทานผัก ผลไม้ ดื่มน้ำให้เพียงพอ และขับถ่ายเป็นเวลา
กระตุ้นให้เกิด early ambulation และบริหารร่างกายสม่ำเสมอ
หากมีอาการท้องผูก 3-4 วัน และมารดารู้สึกท้องอืด ให้ยาระบายอ่อนๆ หรือสวนอุจจาระ
ดูแลบรรเทาอาการริดสีดวงทวารในช่วง 2 –3 วันแรก โดยทำ hot sitzbath นอนในท่า sim’s position เพื่อช่วยการไหลเวียนของหลอดเลือดดำบริเวณทวารหนักดีขึ้น
ดูแลให้ยาเหน็บทางทวารหนัก หรือให้ยาที่ทำให้อุจจาระอ่อนตัวตามแผนการรักษา
กระตุ้นให้มี early ambulation
ประเมินความพร้อม ของร่างกายและให้การดูแลอย่างใกล้ชิดเพราะมารดาอาจมีอาการหน้ามืด เวียนศีรษะและเป็นลมได้
ส่งเสริมให้มารดาหลังคลอดเริ่มปฏิบัติกิจวัตรประจำวันเบาๆ ในระยะแรกหลังคลอด
มารดาที่ต้องนอนบนเตียงนานเกิน 8 ชั่วโมง แนะนำให้บริหารเท้าและขา กระดกปลายเท้าขึ้นลงสลับกัน หมุนข้อเท้าเป็นวงกลม งอขาและเหยียดขาสลับกัน
หลีกเลี่ยงการยกของหนัก การทางานหนัก เพราะจะทำให้ความดันช่องท้องสูงขึ้น กล้ามเนื้อและเอ็นที่ยึดมดลูกยังไม่แข็งแรง อาจทำให้มดลูกเคลื่อนต่ำ
ควรเริ่มทำงานบ้านเบาๆ ได้ภายหลัง 2สัปดาห์หลังคลอด ส่วนงานหนักควรเริ่มทำภายหลัง 6 สัปดาห์หลังคลอด
การเปลี่ยนแปลงของระบบต่อมไร้ท่อ
Prolactin
มีระดับสูงขึ้นเรื่อยๆ ตั้งแต่ในขณะตั้งครรภ์จนกระทั่งหลังคลอด
มารดาที่ไม่ได้ BF นั้น Prolactinจะลดลงเท่ากับก่อนตั้งครรภ์ใน 2สัปดาห์หลังคลอด
มารดาที่ BF จะมีระดับ Prolactinคงอยู่ในระดับสูงนาน 6 –12 เดือน แต่แตกต่างกันออกไปตามความถี่ของการให้นมบุตรในแต่ละวัน
ระดับ Prolactinปกติ หากมารดาให้นมบุตร 1-3 ครั้ง/ วัน และจะคงระดับได้นานกว่า 1 ปี หากให้นมบุตรสม่ำเสมอมากกว่า 6 ครั้ง/ วัน
Follicle-stimulating hormone (FSH)
มารดาหลังคลอดจะไม่มีการตกไข่และการมีประจำเดือนอยู่ช่วงระยะหนึ่ง เนื่องจากระดับ Estrogenและ Progesterone ในเลือดลดลงอย่างรวดเร็ว ร่วมกับระดับ Prolactin เพิ่มขึ้นกดการทางานของรังไข่ (Inhibit follicular development) ทำให้กดการหลั่ง FSH & LHซึ่งทำให้ไม่มีการกดไข่และ ไม่มีประจำเดือน
การตกไข่และการมีประจำเดือนแรกแตกต่างกันในมารดาหลังคลอดแต่ละราย
Luteinizing hormone (LH)
มารดาที่ไม่ได้ BF จะกลับมามีประเดือนอีกครั้ง ภายใน 7-9 สัปดาห์ พบว่า ร้อยละ 50 ของประจำเดือนครั้งแรกจะไม่มีการตกไข่ เนื่องจาก corpus luteum ยังทางานได้ไม่เต็มที่ มีระดับ LH และ Progesteroneในเลือดต่ำ
การตกไข่จะเกิดขึ้นเร็วสุดอีกครั้ง ประมาณวันที่ 25 หลังคลอด
Hamanplacental lactogen(HPL)
มีระดับลดลงและตรวจไม่พบในระยะหลังคลอด24 ชั่วโมง
Haman chorionic gonadotropin(HCG)
มีระดับต่ำลงอย่างรวดเร็ว และจะมีระดับต่ำลงจนกระทั่งมีการตกไข่ (ovulation) หรืออยู่นานประมาณ 3-4 เดือน
Estrogen
ลดลงร้อยละ 10ภายใน 3ชั่วโมงหลังคลอด เมื่อเปรียบเทียบกับขณะตั้งครรภ์ และลดลงต่ำสุดในวันที่ 7 หลังคลอด
จะเพิ่มระดับเท่ากับระยะfollicular phase ซึ่งเป็นระยะของการมีประจำเดือน(จะเพิ่มขึ้นช้าในสตรีที่เลี้ยงบุตรด้วยนมมารดา)
Progesterone
วันที่ 3 หลังคลอด ใน plasma จะลดลงต่ำกว่าในระยะ luteal phase ซึ่งเป็น ระยะที่corpus luteum พัฒนาเยื่อบุโพรงมดลูกให้รองรับไข่ต่อไป
ประมาณ 1 สัปดาห์ จะตรวจไม่พบ progesteroneserum และจะผลิตอีกครั้งเมื่อตกไข่รอบใหม่
การเปลี่ยนแปลงของระบบกล้ามเนื้อและโครงสร้าง
กล้ามเนื้อและข้อต่อ
1 –2 วันหลังคลอดมารดามักมีอาการล้าและปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ เป็นผลมาจากการเบ่งคลอดการลดลงของระดับ relaxinช้าๆ
ประมาณ 6-8 สัปดาห์หลังคลอดข้อต่อจะกลับคืนสู่สภาพเหมือนเดิมก่อนตั้งครรภ์
กล้ามเนื้อหน้าท้อง
ผนังกล้ามเนื้อมีการยืดขยายจากการคลอด ความตึงตัวของกล้ามเนื้อลดลงโดยเฉพาะสตรีที่ผ่านการคลอดหลายครั้ง
พบdiastasis recti เกิดจาก rectus abdomenis ออกเป็น 2 ส่วน ทำให้ไม่มีกล้ามเนื้อตรงกลางหน้าท้อง
การเปลี่ยนแปลงด้านจิตสังคมของมารดาหลังคลอดและครอบครัว
อารมณ์เศร้าหลังคลอด (postpartum blues)
เกิดระยะแรกหลังคลอดและต่อเนื่องจนถึง 3-4วัน หลังคลอด อาการแสดง ได้แก่ มีอารมณ์หงุดหงิด ร้องไห้ วิตกกังวล รบกวนการนอนหลับและความอยากอาหาร การให้คำจำกัดความของอารมณ์เศร้าหลังคลอด คือ อารมณ์ที่มีระยะเวลาการเกิดอาการสั้น อาการไม่รุนแรง ไม่ต้องรักษาใดๆ และอาการจะกลับคืนสู่สภาวะเดิม
ภาวะซึมเศร้าภายหลังคลอด (Postpartum Depression)ภาวะซึมเศร้าหลังคล้ายกับโรคซึมเศร้าทั่วไป ลักษณะอาการของภาวะซึมเศร้าหลังคลอด พบว่ามีการเปลี่ยนแปลงในกิจกรรมการนอนหลับ ความอยากอาหาร มีอารมณ์เศร้า หงุดหงิด มีความวิตกกังวล จัดการปัญหาไม่ได้ มีความคิดเชิงลบ กลัวเมื่อต้องอยู่คนเดียว สับสน สูญเสียการรับรู้ รู้สึกผิด สูญเสียความมั่นใจ และมีความคิดอยากทาร้ายตัวเองหรืออยากทาร้ายบุตร ลักษณะดังกล่าวแตกต่างจากอารมณ์เศร้าหลังคลอด (Postpartum blue) คือมีอาการรุนแรงมากกว่าจนถึงขั้นรบกวนความเป็นอยู่ การเลี้ยงดูทารก และอาการอยู่นานเกิน 2 สัปดาห์
โรคจิตหลังคลอด (postpartum psychosis)เป็นอาการที่มีความรุนแรงมาก รูปแบบของโรคจิตหลังคลอดเป็นรูปแบบที่รุนแรงมาก และมีความผิดปกติ ของอารมณ์มากที่สุด อาการเริ่มต้นใน 48-72 ชั่วโมง ภายหลังคลอด และมีการพัฒนาอาการภายใน 2สัปดาห์ ซึ่งมักจะแสดงอารมณ์เศร้าหรือมีอารมณ์สุข แต่อาการจะเปลี่ยนอย่างรวดเร็ว มีอาการหลงผิดและเห็นภาพหลอนร่วมด้วย
การเปลี่ยนแปลงของระบบผิวหนัง
Linea nigra, Facial chloasma สีผิวที่เข้มขึ้นบริเวณลานนมจะจางลง และหายไป
Striaegravidarum บริเวณหน้าท้อง เต้านม และต้นขา จะค่อยๆจางเป็นสีเงิน และจะไปหายสมบูรณ์
หลอดเลือดที่ผิดปกติ เช่น spider angiomus, plamarerythema และepulisโดยปกติจะลดลง
การส่งเสริมการรับประทานอาหารและการควบคุมน้ำหนักในมารดาหลังคลอด
อาหารสมุนไพรเร่งน้ำนม
เมล็ดของลูกซัด
ปลีกล้วย
เหง้าขิง
การรับประทานอาหาร
ควรส่งเสริมให้มารดารับประทานอาหารให้ครบ 5หมู่ เพิ่มโปรตีน เกลือแร่ และวิตามิน เพื่อช่วยให้ร่างกายแข็งแรงขึ้น ฟื้นฟูสู่สภาวะปกติอย่างรวดเร็ว
ควรดื่มน้ำอย่างน้อง 6-8แก้วต่อวัน
ควรได้รับ calcium อย่างน้อย 1200 mg/day เพื่อทดแทนการสูญเสีย calcium ในช่วง 6 เดือนแรก
ควรได้รับ ธาตุเหล็กนาน 4 –6 สัปดาห์หลังคลอด เนื่องจากการดูดซึมธาตุเหล็กน้อยลง
มารดาหลังคลอดที่เลี้ยงบุตรด้วยนมมารดา ควรได้รับพลังงานจากการบริโภคอาหารประมาณ 2,500-2,700 kcal/day
อาหารที่ควรงดและหลีกเลี่ยง ได้แก่ ชา กาแฟ ของหมักดอง อาหารรสจัด เครื่องดื่ม อาหารที่มีแอลกอฮอล์ผสม รวมทั้งควรงดอาหาร สุกๆ ดิบๆ อาหารที่รับประทานแล้วมีอาการ ปวดท้อง ท้องอืด ท้องเสีย เป็นผื่น เป็นต้น
งดการดื่มน้ำไพล เนื่องจากไพลมีคุณสมบัติท้ำให้มดลูกคลายตัวอาจะท้ำให้เกิด PPH ได้
ส้าหรับมารดาที่รับประทานมังสวิรัติอาจได้รับวิตามิน B 12 ไม่เพียงพอ ดังนั้นอาจจำเป็นให้วิตามิน B12 ในมารดาที่ทานมังสวิรัติ
การควบคุมน้ำหนัก
มารดาหลังคลอดไม่ควรลดน้ำหนักก่อน 6 สัปดาห์ และไม่ควรลดน้ำหนักมากกว่า 2 กก./เดือน เพื่อให้ร่างการฟื้นฟูจากการคลอดและมีการสร้างน้ำนมอย่างเพียงพอ
แต่ในขณะควบคุมน้ำหนักควรรับประทานอาหารให้ครบถ้วน ไม่ควรงดอาหารมื้อใดมื้อหนึ่ง เพราะร่างกายอาจได้รับสารอาหารไม่เพียงพอต่อความต้องการ
การลดน้ำหนักประมาณ 0.5-1 กก./เดือน จะไม่ส่งผลต่อการสร้างน้ำนมลดลง
การควบคุมน้ำหนักจะได้ผลดีควรกระทำร่วมกับการ ออกกำลังกาย
การเปลี่ยนแปลงของระบบสืบพันธ์
กระบวนการที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงมดลูก
ปากมดลูกไม่เคยผ่านการคลอด
ปากมดลูกเคยผ่านการคลอดลักษณะคล้ายปากปลา
กระบวนการที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของฝีเย็บ
กรณีตัดฝีเย็บหรือมีการฉีกขาดแผลฝีเย็บจะเริ่มหายภายใน 2 –3 สัปดาห์
แผลฝีเย็บหายเหมือนก่อนการตั้งครรภ์ประมาณ 4-6 เดือน
หลังคลอด บริเวณ ฝีเย็บจะร้อนแดง erythematous เกิดจากการคั่งและบวมช้ำ
บางรายมีความไม่สุขสบาย ปวดแผลฝีเย็บ อาจนาน 6 เดือนหลังคลอด
กระบวนการที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของช่องคลอด
หลังคลอดช่องคลอดบางตัวลง Rugaeหายไป
Hymen ขาดกะรุ่งกะริ่ง เป็นติ่งเนื้อเล็กๆ เรียกว่า carunculaemyriformesเป็นการเปลี่ยนแปลงถาวร
ภายในสัปดาห์ที่ 3 –4หลังคลอด ผนังช่องคลอดจะค่อยๆ ฟื้นตัวช้าๆ
ภายใน 6 –10 สัปดาห์ ผนังช่องคลอดฟื้นตัวกลับสู่สภาวะปกติ หากมีเพศสัมพันธ์ก่อนอาจจะเกิดความเจ็บปวดได้ (dyspareunia)
การเปลี่ยนแปลงหัวนมและเต้านมหลังคลอด
หลังคลอด ฮอร์โมน estrogen และ progesterone ลดลงอย่างรวดเร็ว มีการไหลเวียนเพิ่มที่เต้านม
ต่อมใต้สมองผลิตฮอร์โมน prolactin เพิ่มขึ้น ทำให้มีการสร้างน้ำนม
ระยะนี้เกิดกลไกการผลิตน้ำนม (production of milk) หลั่งน้ำนม (let –down reflex)
กระบวนการที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงปากมดลูก
ขนาดและน้ำหนักของมดลูก
ภายหลังคลอดประมาณ 1,000 กรัม ยาวประมาณ 15 cm กว้างประมาณ 12 cm และหนาประมาณ 8-10 เซนติเมตร
ทันทีหลังรกคลอดมดลูกมีขนาดลดลงเท่ากับ 16 wks. Pregnancy
1 สัปดาห์หนัก 500 กรัม 2 สัปดาห์หนัก 300 กรัม 6 สัปดาห์หนักประมาณ 60 - 80 กรัม
การลดระดับของมดลูก
ภายใน 12 ถึง 24 ชั่วโมงแรกหลังคลอดยอดมดลูกจะอยู่ที่ระดับสะดือและจะลดระดับลงอย่างต่อเนื่องเฉลี่ยประมาณ 1 เซนติเมตรหรือ 0.5 ถึง 1 นิ้วฟุตหรือ 1 FB/วัน
1-2 cm หลังคลอดมดลูกได้ที่ระดับสะดือลักษณะกลมแข็งหดรัดตัวดีเพียงในด้านขวาของหน้าท้องมารดาได้ประมาณ 1 นิ้วมือต่ำกว่าระดับสะดือ
ทันทีหลังรกคลอดความสูงของยอดมดลูกจะลดลงอยู่ระดับกึ่งกลางระหว่างสะดือกับกระดูกหัวหนาวหรือสูงกว่าเล็กน้อย
บ่งบอกของการเกิดภาวะ involution of uterus
involution of uterus
การหดรัดตัวของใยกล้ามเนื้อมดลูก (contraction of muscle fibers)
กระบวนการย่อยสลายโมเลกุล (catabolism)
น้ำคาวปลา (lochia)
คือสิ่งที่ถูกขับออกมาจากแผลในโพรงมดลูกบริเวณตำแหน่งที่เกาะของรก
Lochia rubra 1-3 วันหลังคลอดมีสีแดงสดมีปริมาณมากอาจมีก้อนเลือดเล็กๆบน
Lochia serosa 49 วันหลังคลอดสีชมพูจนถึงสีน้ำตาลค่อนข้างเหลืองมีปริมาณลดลงเนื่องจากเส้นเลือดเริ่มมีการอุดตัน แผ่นเรียบและเริ่มหายเป็นส่วนใหญ่มีชั้นของเม็ดเลือดขาวปกคลุมและมี exudates มากขึ้น
ลักษณะเลือดปนน้ําเหลือง มีฤทธิ์เป็นด่างเฉลี่ยมีปริมาณ 250 ML ในสัปดาห์แรก หมดภายในสัปดาห์ที่ 3 หรือสัปดาห์ที่ 4
Lochia alba 14-21 วันหลังคลอดสีเหลืองข้นหรือครีมขาวมีปริมาณลดลงมาก
อาการปวดมดลูก (after pain)
เกิดจากการหดรัดตัวและการคลายตัวของมดลูกสลับกัน
ขณะให้บุตรดูดนมอาจมีการปวดมดลูกเพิ่มขึ้นจาก oxytocin มดลูกยืดขยายมากปวดมาก
มารดาครรภ์หลังจะมีอาการปวดมากกว่าคันแรกเพราะความตึงตัวของกล้ามเนื้อมดลูกลดลง
การเปลี่ยนแปลงของระบบย่อยอาหาร
น้ำหนัก
ลดลงทันทีหลังคลอด ประมาณ 4.5-5.5 กก. จากการคลอดทารกรกและการสูญเสียเลือด
สัปดาห์แรกหลังคลอด ลดลงอีก 2.3-3.6 กก. จากการขับออกทางเหงื่อปัสสาวะ และกระบวนการ involution of uterus
สัปดาห์ที่ 6 –8 มารดาที่มี BMI ปกติก่อนการตั้งครรภ์ และมีน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นระหว่างตั้งครรภ์ที่ปกติ จะมีน้ำหนักลดลงใกล้เคียงกับระยะก่อนการตั้งครรภ์
สตรีที่เลี้ยงบุตรด้วยนมมารดาจะมีน้ำหนักลดลงเร็วกว่าสตรีที่ไม่เลี้ยงบุตรด้วยนมมารดา เนื่องจากการให้นมบุตรจะสลายไขมันตามร่างกายที่สะสมไว้ นำมาใช้สร้างน้ำนมในช่วง 6 เดือนแรกหลังคลอด โดยสตรีที่ให้นมบุตรสม่ำเสมอ จะเผาผลาญพลังงานต่อวัน ประมาณ 500 แคลอรี่ต่อวัน
ท้องผูก
พบได้บ่อย 2-3 วันหลังคลอด เนื่องจาก progesterone ทำให้ลำไส้เคลื่อนไหวช้าลง
ความตึงตัวของทางเดินอาหารและความดันในช่องท้องลดลง
สวนอุจจาระก่อนคลอด
เจ็บบริเวณฝีเย็บและริดสีดวงทวาร ทำให้มารดาไม่อยากถ่ายอุจจาระเพราะกลัวเจ็บแผล
การสูญเสียน้ำในร่างกายและ NPOกลับคืนสู่สภาพเดิมประมาณ 8-14 วัน
ความอยากอาหาร
มีความอยากเพิ่มขึ้นจากการสูญเสียพลังงานในการคลอด, NPO , รับยาบรรเทาความปวด รวมทั้งการสูญเสียน้ำ เลือด ในระยะคลอด และหลังคลอดออกทางปัสสาวะ เหงื่อ และน้ำคาวปลา
การเปลี่ยนแปลงของระบบทางเดินปัสสาวะ
ไต
การทำงานของไตลดลงอาจเนื่องจากระดับของ steroid hormone
ท่อไตและกรวยไตที่ขยายในระยะตั้งครรภ์ จะกลับคืนสู่สภาพปกติเหมือนก่อนการตั้งครรภ์ภายใน 4-6สัปดาห์หลังคลอด
ส่วนประกอบของน้ำปัสสาวะ
ระยะแรกหลังคลอดพบ lactosuria
ระดับ blood urea nitrogen สูงในมารดา BF เนื่องจากการเกิด involution of uterus
อาจพบ mild proteinuria ซึ่งเกิดจากกระบวนการย่อยสลายโมเลกุล (catabolism)
อาจพบ ketonuriaได้ในผู้คลอดที่คลอดยาวนานร่วมกับมีภาวะ dehydration
การขับออกทางเหงื่อและปัสสาวะในระยะหลังคลอด
2-3 วันแรกหลังคลอดมารดาจะรู้สึกไม่สุขสบายจากการมีเหงื่อออกมากโดยเฉพาะในเวลากลางคืนและปัสสาวะออกมา ประมาณ 2,000-3,000 ml. เนื่องจากมีการลดลงของ estrogen, blood volume, adrenal aldosterone และ venous pressure ที่ขา
การบริหารร่างกายของมารดาหลังคลอด
มารดาหลังคลอดปกติ ควรเริ่มบริหารร่างกายภายใน 24 ชม.แรกสาหรับมารดา C/Sอาจเริ่มช้ากว่านี้
ควรบริหารวันละ 20-30 นาที จนครบ 6 สัปดาห์หลังคลอด
มารดาควรปัสสาวะและให้นมบุตรอิ่มก่อนเริ่มบริหาร
กรณีรู้สึกเหนื่อยมาก ปวดแผลมาก น้ำคาวปลาไหลมาก หรือ หน้ามืดให้หยุดพัก และลดระยะเวลา ความแรงในการบริหารร่างกายในครั้งถัดไป
นางสาวจุฑามาศ สงวนนาม เลขที่ 54 ห้อง A