Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 3 การเตรียมและการการช่วยเหลือมารดาและทารกที่ได้รับการตรวจด้วยเครื่อง…
บทที่ 3 การเตรียมและการการช่วยเหลือมารดาและทารกที่ได้รับการตรวจด้วยเครื่องมือพิเศษ
Biochemical Assessment
การตรวจหา alpha-fetoprotien (maternal serum alpha-fetoprotiemn: MSAFP)
AFP เป็นค่าโปรตีนที่สร้างมาจากรก ใช้ค่านี้ในการตรวจสอบความผิดปกติของรก และเนื้อเยื่อที่เกี่ยวข้องกับรก
ค่าปกติ AFP 2.0 – 2.5 MOM (Multiple of median)
ระยะเวลาที่เหมาะสมในการตรวจ คือ อายุครรภ์ 16 – 18 สัปดาห์
ค่า AFP สูงขึ้นหลังจากสัปดาห์ที่ 15 ของการตั้งครรภ์ แสดงว่าทารกมีความผิดปกติของ open neural tube
การเก็บเนื้อรกส่งตรวจ (Chorionic Villi Sampling: CVS)
ช่วงระยะเวลาที่เหมาะสมในการทำ คือ ไตรมาสแรก ระหว่างอายุครรภ์
8 – 11 สัปดาห์
ข้อบ่งชี้ในการทำ
การตรวจวินิจฉัยโรคธาลัสซีเมีย
การตรวจดูความผิดปกติของฮีโมโกลบินในทารกก่อนคลอด
มารดาตั้งครรภ์ที่มีอายุมาก
บทบาทของการพยาบาลหญิงตั้งครรภ์ที่ได้รับการเก็บเนื้อรก
2.การตรวจวิธีนี้ แพทย์จะนิยมให้ปัสสาวะเหลืออยู่บ้างในกระเพาะปัสสาวะจึงไม่จำเป็นต้องทำให้กระเพาะปัสสาวะว่าง
3.ดูแลให้หญิงตั้งครรภ์อยู่ในท่านอนขึ้นขาหยั่ง (lithotomy) กรณีจะตรวจโดย transcervical route
1.อธิบายให้ทราบถึงวัตถุประสงค์ วิธีการทำ และการปฏิบัติตนภายหลังทำ
4.วัดสัญญาณชีพ
5.จัดเตรียมอุปกรณ์ให้สะอาดปราศจากเชื้อ น้ำยาเพาะเลี้ยงเซลล์ (culture media)
6.ให้กำลังใจและอยู่เป็นเพื่อนหญิงตั้งครรภ์ขณะแพทย์ทำการตรวจ
7.จัดเตรียมภาชนะใส่พร้อมฉลากที่เขียนชื่อ สกุล HN วัน เวลาที่เจาะและช่วยแพทย์เก็บเนื้อรก โดยเนื้อรกที่เก็บไม่ควรต่ำกว่า 10 – 30 มิลลิกรัม เพื่อเพียงพอสำหรับการตรวจหาโครโมโซม DNA และ Enzyme
8.ภายหลังตรวจเสร็จ ดูแลให้หญิงตั้งครรภ์นอนพัก วัดสัญญาณชีพ
9.แนะนำให้งดทำงานหนักอย่างน้อย 1 วัน และงดการมีเพศสัมพันธ์ ภายใน 1- 2 สัปดาห์
10.ถ้ามีอาการผิดปกติภายหลังการทำ เช่น ปวดท้องรุนแรง มีเลือดออก ให้รีบมาโรงพยาบาลทันที
การตรวจหาระดับ estriol
1.การตรวจหาระดับ estriol ในปัสสาวะ
ข้อบ่งชี้ในการตรวจ
สตรีที่เป็นความดันโลหิตสูง
อายุครรภ์เกินกำหนด
สตรีที่มีเบาหวานขณะตั้งครรภ์
มีประวัติทางสูติกรรมไม่ดี
การแปลผล
ค่า unconjugated estriol ใน plasma ตํา
พบในสตรีตังครรภ์ทีทารกมีต่อมหมวกไตฝอ หรือ ancephaly
ค่า unconjugated estriol ใน plasma สูง
อาจพบในสตรีตังครรภ์ทีเปน เบาหวาน ครรภ์แฝด
2.การตรวจหาระดับ estriol ใน plasma
การแปลผล
ค่า unconjugated estriol ใน plasma ที่ต่ำ พบในสตรีตั้งครรภ์ที่ทารกในครรภ์มีต่อมหมวกไตฝ่อ หรือ anencephaly
ค่า unconjugated estriol ใน plasma ที่สูง อาจพบได้ในสตรีตั้งครรภ์ที่เป็นเบาหวาน ครรภ์แฝด
การเจาะเลือดจากสายสะดือทารก (Cordocentesis หรือ Fetal blood sampling: FBS)
ข้อบ่งชี้ในการตรวจ
1.การวินิจฉัยโรคทารกก่อนคลอด
มารดาอายุมากที่มาฝากครรภ์ช้า
ความผิดปกติที่พบจากการตรวจด้วยคลื่นความถี่สูงที่สงสัยความผิดปกติทางโครโมโซม
ตรวจดูความผิดปกติของระบบเลือด เช่น ภาวะเลือดออกผิดปกติ โรคธาลัสซีเมีย
2.การประเมินทารกในครรภ์
การติดเชื้อในครรภ์ เช่น โรคหัดเยอรมัน
Immune thrombocytopenic purpura
ภาวะทารกบวมน้ำ
ครรภ์แฝดน้ำ
Red cell isoimmunization
ทารกในครรภ์มีภาวะต่อมไทรอยด์ผิดปกติ
ความผิดปกติทางโครโมโซมในทารก
บทบาทการพยาบาลหญิงตั้งครรภ์ที่ได้รับการเจาะเลือดจากสายสะดือทารก
3.การเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น
4.ตรวจสอบการดิ้นของทารก
2.การฟังเสียงการเต้นของหัวใจทารก
5.ประเมินสภาพทารกในครรภ์โดยใช้เครื่อง Electronic monitoring
1.การประเมินภาวะเลือดออกจากสายสะดือจากการตรวจด้วยคลื่นความถี่สูง และ fetal monitoring 30 – 60 นาที ภายหลังการตรวจ
การเจาะน้ำคร่ำส่งตรวจ (Amniocentesis)
การเจาะน้ำคร่ำสามารถทำได้ 2 ช่วง คือ เมื่ออายุครรภ์ 9-14 สัปดาห์ และช่วงอายุครรภ์ 16 -18 สัปดาห์
ข้อบ่งชี้
การค้นหาโรคที่ถ่ายทอดพันธุกรรม เช่น โรคโลหิตจางธาลัสซีเมีย
การนำน้ำคร่ำมาวิเคราะห์ DNA
การตรวจหาความผิดปกติทางโครโมโซม เช่น Down’s syndrome
ตรวจหาความสมบูรณ์ของปอด
การพยาบาล
ก่อนการเจาะน้ำคร่ำส่งตรวจ
4.ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการตรวจและการแก้ปัญหา ในกรณีที่มีความผิดปกติ
5.ให้ลงนามในใบอนุญาตการยอมรับการตรวจ
3.นัดตรวจล่วงหน้า เพื่อหาระยะเวลาที่เหมาะสมในการตรวจคืออายุครรภ์ 16-18 สัปดาห์
6.ก่อนทำการตรวจ เตรียมผู้รับบริการถ่ายปัสสาวะก่อนตรวจเพื่อให้กระเพาะปัสสาวะว่าง จัดให้นอนในท่านอนราบบนเตียง คลุมผ้าบริเวณหน้าท้องและทาเจลบริเวณที่หน้าท้องในตำแหน่งที่แพทย์จะใช้คลื่นความถี่สูงหาตำแหน่งของถุงน้ำคร่ำ
2.ให้ผู้รับบริการตัดสินใจว่าจะรับการตรวจโดยการเจาะน้ำคร่ำหรือไม่
7.ทำวามสะอาดหน้าท้องโดยใช้น้ำยาฆ่าเชื้อโรค
1.ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับปัญหาทางพันธุกรรมที่มีข้อบ่งชี้ตามแนวทางการให้คำปรึกษาทางพันธุกรรม
ขณะเจาะน้ำคร่ำส่งตรวจ
อยู่กับผู้รับบริการขณะแพทย์ทำหัตถการ
สังเกตอาการผิดปกติที่อาจจะพบได้ เช่น supine hypotension syndrome เนื่องจากนอนหงายเป็นเวลานาน
ภายหลังการเจาะน้ำคร่ำส่งตรวจ
ถ้าปวดแผลบริเวณที่เจาะสามารถรับประทานยาแก้ปวดเพื่อบรรเทาอาการปวดแผลได้
ไม่จำเป็นต้องทำความสะอาดแผลบริเวณที่เจาะ สามารถเปิดแผลได้ในวันถัดไปและอาบน้ำได้ตามปกติ
ฟังเสียงหัวใจทารกในครรภ์ทุก 15 นาที จนครบ 1 ชั่วโมง
หลีกเลี่ยงการกระทบกระเทือนหน้าท้อง 1 - 3 วันหลังเจาะ เช่น ยกของหนัก ออกกำลังกาย การเดินทางไกล
ดูแลให้ผู้รับบริการพักผ่อนประมาณ 30 นาที –1 ชั่วโมง เพื่อเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อนที่อาจจะเกิดขึ้นทันที เช่น หน้ามืด เป็นลม หรือ ปวดท้อง
งดมีเพศสัมพันธ์ภายหลังการเจาะ 7 วัน
ภายหลังการตรวจให้ผู้รับบริการนอนหงาย กดแผลหลังจากแพทย์เอาเข็มออกด้วยก๊อซนานประมาณ 1 นาที และปิดแผลด้วยพลาสเตอร์ เพื่อป้องกันไม่ให้มีการรั่วซึมของน้ำบริเวณที่แทงเข็ม
แนะนำให้หญิงตั้งครรภ์สังเกตอาการแทรกซ้อน เช่น ถุงน้ำคร่ำแตกรั่ว มีเลือดออกทางช่องคลอด ปวดท้องเป็นพักๆ และมีไข้ หากมีการอาการเหล่านี้ให้รีบมาโรงพยาบาลทันที
การเจาะน้ำคร่ำเพื่อดูความสมบูรณ์ของปอด
2.การตรวจหาค่า L/S ratio (Lecithin Sphingomyelin Ratio)
ค่าปกติของ L/S ratio
อายุครรภ์ 34 – 36 สัปดาห์ ค่า L จะเพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็วแต่ S จะมีปริมาณลดลงเล็กน้อย ทำให้ ratio สูงขึ้น เปลี่ยนเป็น 2 : 1
ค่า L/S ratio เป็นค่าที่มีความสัมพันธ์กับการเกิด RDS ถ้า L/S ratio > 2 แสดงว่าปอดของทารกสมบูรณ์เต็มที่ โอกาสเกิดภาวะ RDS ต่ำ ถ้า L/S ratio ต่ำกว่า 1.5 จะมีโอกาสเกิดภาวะ RDS สูงถึงร้อยละ 73 และถ้าค่า L/S ratio อยู่ระหว่าง 1.5 – 2.0 มีโอกาสเกิด RDS ร้อยละ 40
อายุครรภ์ 26 – 34 สัปดาห์ ค่า L/S = 1 : 1
ใน 26 สัปดาห์แรกของการตั้งครรภ์ ค่า S > L
Shake Test
การแปลผล
ถ้าพบว่ามีฟองอากาศเกิดขึ้น 2 หลอดแรก แสดงว่า ได้ผล intermediate ปอดทารกยังเจริญไม่เต็มที่
ถ้าพบว่ามีฟองอากาศเกิดขึ้นเพียงหลอดเดียวหรือไม่พบเลย แสดงว่า การทดสอบได้ผลลบ ปอดทารกยังเจริญไม่เต็มที่
ถ้าพบว่ามีฟองอากาศเกิดขึ้น 3 หลอดแรก แสดงว่า ได้ผลบวก ปอดของทารกเจริญเต็มที่
1.จากการดูสีของน้ำคร่ำ มีเลือดปนใสหรือขุ่น มีสีของขี้เทาปนหรือไม่
Biophysical Assessment
Biophysical profile (BPP)
ระยะเวลาที่เหมาะสมในการทำ
อายุครรภ์ 28-30 สัปดาห์ขึ้นไป ทำ สัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง
ข้อบ่งชี้ในตรวจ
ความดันโลหิตสูงในขณะตั้งครรภ์ เบาหวาน ทารกโตช้าในครรภ์ เจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด หรือครรภ์เกินกำหนด เป็นต้น
การแปลผลการตรวจด้วยวิธีนี้ ทำได้โดยนำคะแนนที่ได้จากค่า Parameters ทั้ง 5 มาคิดคะแนน เรียกว่า Biophysical profile scoring โดยคะแนนเต็ม 10 คะแนน
คะแนน 4 – 6 คะแนน แปลผล ผิดปกติ ควรเฝ้าติดตามอาการเปลี่ยนแปลงอย่างใกล้ชิด
คะแนน 0 - 2 คะแนน แปลผล ผิดปกติ ควรยุติการตั้งครรภ์
คะแนน 8 – 10 คะแนน แปลผล ปกติ
ข้อดีของการทำ BPP
หญิงตั้งครรภ์ไม่ต้องพักรักษาตัวในโรงพยาบาล ค่าใช้จ่ายไม่สูงและไม่มีความเจ็บปวดขณะตรวจ
การแปลผลผิดพลาดน้อย
ข้อจำกัดของการทำ BPP
ใช้ระยะเวลานานในการตรวจ การตรวจต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญในการตรวจและแปลผล และแม้จะทราบผลการตรวจก็ไม่สามารถทำนายสภาวะทารกในอนาคตได้ และยังไม่มีรายงานวิจัยที่สนับสนุนเพียงพอในกรณีที่คะแนนต่ำกับพัฒนาการของทารกในระยะยาว ปัจจุบันมักจะทำในรายที่มีภาวะเสี่ยง โดยทำการตรวจสัปดาห์ละ 1 ครั้ง และทำสัปดาห์ละ 2 ครั้งในครรภ์เสี่ยงสูง เช่น เบาหวานหรือตั้งครรภ์เกินกำหนด
Radiography
Spalding’s sign
เกิดจากการซ้อนกันของกระดูกกะโหลกของทารก
จะพบหลังทารกเสียชีวิตประมาณ 1 สัปดาห์ พบได้ในอายุครรภ์ 6 – 8 เดือน
Deuel’s sign
เกิดจากการคั่งของของเหลวระหว่างชั้นไขมันของหนังศีรษะและกะโหลกในทารกที่ตายแล้ว
จะพบหลังทารกเสียชีวิตประมาณ 3 วัน
ข้อจำกัดของในการฉายรังสีเอ๊กซ์
ทารกในครรภ์ต้องมีอายุ 20 สัปดาห์ขึ้นไป และถ้าทารกยังไม่ตายก็จะได้รับรังสีได้ ซึ่งอาจทำให้เกิดความพิการต่อทารกในครรภ์ได้
Amniotic fluid volume measurement
วิธีที่ 1 วัดแอ่งลึกที่สุดของน้ำคร่ำ (Single deepest pocket, SDP หรือ maximum vertical pocket, MVP)
ค่าปกติ คือ 2.1 – 8 ซม. ค่าที่อยู่ระหว่าง 0 – 2 ซม. ถือว่า มีภาวะน้ำคร่ำน้อย (Oligohydramnios) ถ้าที่มากกว่า 8 ซม. ถือว่า มีภาวะน้ำคร่ำมากกว่าปกติ (Polyhydramnios หรือ Hydramnios )
วิธีที่ 2 วัดดัชนีปริมาณน้ำคร่ำ (Amniotic fluid index: AFI)
ค่าปกติ คือ 5 – 24 ซม. บางการศึกษาใช้ค่าปกติ คือ 5 – 25 ซม. ถ้าน้อยกว่า 5 ซม.ถือว่า มีภาวะน้ำคร่ำน้อย (Oligohydramnios) และถ้ามากกว่า 25 ซม. ถือว่า มีภาวะน้ำคร่ำมากกว่าปกติ (Polyhydramnios)
Fetal movement count: FMC
The Cardiff “Count-to-ten chart” ของ Pearson
เป็นการนับจำนวนทารกเคลื่อนไหวตั้งแต่ 09.00 น. จนครบ 10 ครั้ง ซึ่งไม่ควรเกิน 12 ชั่วโมง (ถึง 21.00 น.) เริ่มทำตั้งแต่อายุครรภ์ 32 สัปดาห์
วิธีของ Liston
เทคนิคการนับเหมือนวิธีของ Pearson แต่เริ่มทำตั้งแต่อายุครรภ์ 28 สัปดาห์ ถ้าเด็กดิ้นน้อยกว่า 10 ครั้งใน 12 ชั่วโมง แสดงว่าเกิดภาวะ DFM
Daily Fetal Movement Record (DFMR) ของ Sadovaski, Yaffe, Wood และคณะ
เป็นวิธีการนับและบันทึกการเคลื่อนไหวของทารกใน 1 วัน ใช้สำหรับติดตามการตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงต่อการทำงานของรกลดลง โดยการนับผลรวมของการดิ้นในช่วงเวลา 12 ชั่วโมง (08.00 – 20.00 น.)
Ultrasound
ระยะเวลาที่เหมาะสมในการ Ultrasound
ควรตรวจเมื่ออายุครรภ์ 7-10 สัปดาห์ผิดพลาดไม่เกิน 5 วัน หากตรวจในระยะที่ 2 ของการตั้งครรภ์ (15-28 สัปดาห์) จะมีความคลาดเคลื่อนจากที่ประเมินไป 1 สัปดาห์
บทบาทพยาบาลในการช่วยตรวจ Ultrasound
4.เตรียมอุปกรณ์และสถานที่ตรวจ โดยกั้นม่านให้เรียบร้อย จัดให้นอนหงายหัวสูงเล็กน้อย มีหมอนรองใต้เข่าและหลัง ควรนอนตะแคงซ้ายเล็กน้อยเพื่อป้องกันภาวะ Supine hypotension
5.เปิดผ้าคลุมเฉพาะหน้าท้อง อธิบายให้หญิงตั้งครรภ์ทราบถึงระยะเวลาในการตรวจจะใช้เวลา
10 - 30 นาที
3.ถ้าหญิงตั้งครรภ์อยู่ในไตรมาสที่ 1 ดูแลให้มี bladder full ในรายที่ต้องตรวจทางหน้าท้อง เพื่อใช้เป็น Land mask ในการบอกตำแหน่งของมดลูกส่วนล่าง ทำให้มองเห็นส่วนที่ต้องการตรวจได้ชัดเจน พยาบาลต้องดูแลให้หญิงตั้งครรภ์ดื่มน้ำ 1 - 2 แก้ว ก่อนตรวจอย่างน้อย 1 ชั่วโมง และกลั้นปัสสาวะไว้จนกว่าจะตรวจให้เสร็จเรียบร้อย
6.ทำความสะอาดหน้าท้องหลังตรวจ
1.ให้คำปรึกษา
7.บันทึกผล
2.งดน้ำงดอาหารในบางกรณี เช่น ครรภ์นอกมดลูก, รกเกาะต่ำที่ต้องผ่าตัด
Electronic Fetal Monitoring
ชนิดการตรวจ Electronic fetal heart rate monitoring
2.External monitoring เป็นการตรวจอัตราการเต้นของหัวใจทารกด้วยเครื่องมือ Doppler ที่วางไว้ผนังหน้าท้อง
1.Internal or direct monitoring เป็นการตรวจจับคลื่นไฟฟ้าที่เกิดจาการเต้นของหัวใจทารกโดยตรง
การตรวจ Electronic fetal heart rate monitoringในระยะก่อนคลอด
Non Stress test (NST)
การแปลผล
Non-reactive
การเพิ่มขึ้นของ FHR ไม่เป็นไปตามเกณฑ์หรือไม่มีการเพิ่มขึ้นของ FHR เลยในการตรวจนาน 40 นาที
Uninterpretable
คุณภาพการทดสอบไม่สามารถแปลผลได้ ควรทำภายใน 24 ชั่วโมง
Reactive
อัตราการเต้นของหัวใจ 110-160 ครั้ง/นาที
อัตราการเต้นของหัวใจทารกเพิ่มจาก baseline เท่ากับหรือมากกว่า 15 ครั้ง/นาที และคงอยู่นานเท่ากับหรือมากกว่า 15 วินาทีขึ้นไปในแต่ละครั้งของการดิ้น จำนวน 2 ครั้งหรือมากกว่า ภายใน 20 นาที (ถ้าอายุครรภ์น้อยกว่า 32 สัปดาห์ ให้ลดเกณฑ์ลง ให้มีการเพิ่มขึ้นของ FHR อย่างน้อย 10 bpm และนานกว่า 10 วินาที ก็ถือว่า reactive) ขณะที่มี acceleration อาจจะมีหรือไม่มีการดิ้นของทารกในครรภ์ร่วมด้วยก็ได้
Suspicious
การเพิ่มของอัตราการเต้นของหัวใจน้อยกว่า 2 ครั้ง หรืออัตราเพิ่มน้อยกว่า 15 ครั้ง/ นาที หรืออยู่สั้นกว่า 15 วินาที เมื่อทารกดิ้น
บทบาทพยาบาล
4.ดูแลให้ tocodynamometer ของ external monitor คาดหน้าท้องหญิงตั้งครรภ์เพื่อบันทึก การหดรัดตัวของมดลูกที่เกิดขึ้นเองหรือการดิ้นของทารก ระวังไม่ให้สายยืดที่คาดบริเวณหน้าท้องหลุดหรือเคลื่อนผิดตำแหน่ง และทา Conductivity jel ที่ tocodynamometer ก่อนใช้สายยืดพัน
5.บันทึกFHR ไปเรื่อยๆตลอดการทดสอบ
3.วัดความดันโลหิต
6.แนะนำให้หญิงตั้งครรภ์กด marker เพื่อบันทึกเมื่อรู้สึกว่าเด็กดิ้น
2.จัดท่านอนในลักษณะ Semi-fowler หรือนอนตะแคง
7.ขณะตรวจควรสังเกตอาการและอาการแสดงของ Supine hypotension
1.อธิบายให้หญิงตั้งครรภ์ทราบถึงขั้นตอนและวิธีการตรวจ
8.เมื่อตรวจเสร็จควรเช็ดเจลออกจากหน้าท้องและควรดูแลหญิงตั้งครรภ์ให้ลุกช้าๆ ติดตามการตรวจและให้คำแนะนำที่เหมาะสม
9.ถ้าผล reactive ให้ตรวจติดตามสุขภาพทารกตามความเสี่ยงเดิม แต่ถ้าผล nonreactive ให้ตรวจยืนยันด้วยวีธีอื่นเพิ่มเติม เช่น contraction stress test (CST) หรือ biophysical profile (BPP) หรือ Doppler ultrasound เป็นต้น ร่วมกับการตรวจ ultrasound ประเมินความผิดปกติของทารกในครรภ์ ปริมาณน้ำคร่ำร่วมด้วย แต่ถ้าผล Suspicious ควรทำซ้ำใน 24 – 48 ชั่วโมง
Contraction stress test (CST) หรือ Oxytocin challenge test (OCT)
การแปลผล
Suspicious
base line variability อาจปกติหรือลดลง
ถ้าไม่มีการเพิ่มของอัตราการเต้นของหัวใจเมื่อทารกดิ้น ควรทำซ้ำใน 24 ชั่วโมง
มี late deceleration เป็นครั้งคราว
Hyperstimulation
มดลูกมีการหดรัดตัวมากกว่าปกติ หรือหดรัดตัวแรงมาก ในกรณีนี้ถ้ามี late deceleration เกิดขึ้นจะแปลผลไม่ได้
Positive
base line variability มักจะลดลงกว่าปกติ
อัตราการเต้นของหัวใจไม่เพิ่ม เมื่อทารกดิ้นหรือมดลูกหดรัดตัว
มี late deceleration ทุกครั้งในระยะช่วงท้ายของการหดรัดตัวของมดลูก
Unsatisfactory
ไม่สามารถแปลผลเนื่องจากกราฟที่บันทึกไม่สามารถอ่านได้ หรือมีการหดรัดตัวของมดลูกน้อยกว่า 3 ครั้งในเวลา 10 นาที
Negative
base line variability ปกติ
อัตราการเต้นของหัวใจเพิ่มขึ้นหลังทารกดิ้นหรือมดลูกหดรัดตัว
ไม่มี late deceleration
ข้อห้ามของการทำ CST
รกเกาะต่ำ
การตั้งครรภ์ที่เกรงว่าจะเกิดการเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด เช่น ครรภ์แฝด, ปากมดลูกไม่แข็งแรง, ถุงน้ำแตกก่อนกำหนด
เคยผ่าตัดคลอดชนิด Classical cesarean section
ข้อบ่งชี้ในการทำ NST หรือ CST
น้ำคร่ำน้อยหรือครรภ์แฝด
ประวัติทารกตายในครรภ์โดยไม่ทราบสาเหตุ
ครรภ์เกินกำหนด
การไม่เข้ากันของเลือดมารดาและทารก
สงสัยว่าทารกมีการเจริญเติบโตช้าในครรภ์
มารดาติดยาเสพติด
ทารกเคลื่อนไหวลดลง
น้ำคร่ำปนขี้เทา
ความดันโลหิตสูงระหว่างตั้งครรภ์
มารดามี Hemoglobin ผิดปกติ
แนวทางการดูแลรักษา
3.Reactive NST และ Suspicious CST ให้ตรวจซ้ำภายใน 24 ชั่วโมง
4.Non reactive และ Suspicious CST ควรทำซ้ำภายใน 24 ชั่วโมง และหาสาเหตุของ Non reactive
2.Non reactive NST และ Negative CST ให้ตรวจซ้ำ 24 ชั่วโมงและหาสาเหตุของ Non reactive
5.Reactive NST และ Positive CST พิจารณาให้คลอดทางช่องคลอดและต้องทำ internal fetal heart rate
1.Reactive NST และ Negative CST ให้ตรวจซ้ำทุกสัปดาห์
6.Non reactive และ Positive CST
32 สัปดาห์ ควรทำ C/S
< 32 สัปดาห์ และ long term variability ปกติดูแลเช่นเดียวกับ Reactive NST และ Positive CST แต่ไม่มี long term variability ควรตรวจ fetal biophysical profile