Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
กรณีศึกษาที่ 2 ผู้คลอดที่ช่วยคลอดด้วยเครื่องดูดสุญญากาศ, ดาวน์โหลด, caput…
กรณีศึกษาที่ 2
ผู้คลอดที่ช่วยคลอดด้วยเครื่องดูดสุญญากาศ
ข้อบ่งชี้ในการช่วยคลอด
ด้วยเครื่องดูดสุญญากาศ
ด้านมารดา
การคลอดระยะที่ 2 ยาวนานหรือหยุดชะงัก หรือการหดรัดตัวของมดลูกน้อย จะใช้เครื่องดูดสุญญากาศร่วมกับให้ออกซิโตซินทางหลอดเลือดดำ ซึ่งศีรษะทารกต้องมี engagement แล้ว คือ station ตั้งแต่ระดับ 0 ลงมา
มารดามีโรคที่ไม่ควรออกแรงเบ่งคลอดมาก หรือมีภาวะแทรกซ้อนของการตั้งครรภ์บางอย่าง ได้แก่ myasthenia gravis รกลอกตัวก่อนกำหนด ความดันโลหิตสูง โรคปอด และโรคหัวใจ
การหดรัดตัวของมดลูกไม่ดีหรือไม่มีแรงเบ่ง
ด้านทารก
ศีรษะทารกไม่หมุนตามกลไกการคลอดปกติ เช่น ท้ายทอยอยู่ด้านหลัง (OPP) หรือแนวขวางเชิงกราน (OT)
มีภาวะ fetal distress
คลอดทารกแฝดคนที่ 2 (ลดระยะเวลาการคลอด)
ภาวะแทรกซ้อน
ภาวะแทรกซ้อนต่อมารดา
การฉีกขาดของหนทางการคลอดอ่อน เช่น ช่องคลอด แผลฝีเย็บ คอมดลูก
การตกเลือดหลังคลอด มักเกิดขึ้นได้กรณีมีการฉีกขาดของปากมดลูกและช่องทางคลอด
การติดเชื้อ
อันตรายจากการแพ้ยาระงับความรู้สึก
ภาวะแทรกซ้อนต่อทารก
มีก้อนเลือดใต้ชั้นเยื่อหุ้มกระดูกกระโหลกศีรษะ (cephalhematoma) ซึ่งภาวะเลือดออกนี้ไม่ข้ามรอยต่อกะโหลกศีรษะอาจพบหลังคลอด 12 ชั่วโมงก่อนจะค่อยๆใหญ่ขึ้นและคงอยู่ภายหลังคลอดนานสัปดาห์ขอบเขตค่อนข้างชัดเจน กลมไม่บุ๋ม ใช้เวลานานเป็นสัปดาห์ หรือเป็นเดือนกว่าจะหายไป
การบวมของหนังศีรษะบริเวณที่ cup จับกับศีรษะทารก (caput succedaneum) พบในทารกทุกราย เกิดเนื่องจากน้ำเหลืองไหลซึมจากหลอดเลือดเข้ามาขังเหนือเยื่อหุ้มกระดูกกะโหลก พบทันทีหลังคลอดก่อนจะข้ามรอยต่อกะโหลก ศีรษะนุ่ม กดบุ๋ม ขอบเขตไม่ค่อยชัดเคลื่อนไหวได้ จะค่อยๆเล็กลงยุบหายไปภายใน 2-3 วันหลังคลอด
มีรอยถลอกและเขียวช้ำบริเวณหนังศีรษะ (ulceration and echymosis) อาจพบบริเวณหนังศีรษะจากขอบ cup ใช้เวลาหลายวันกว่าแผลจะหาย
ก้อนเลือดใต้หนังศีรษะ (Subgaleal hematoma หรือ subaponeurotic hemorrhage) มีเลือดออกใต้ subaponeurotic ซึ่งอยู่ระหว่างชั้น aponeurosis และเยื่อหุ้มกะโหลกศีรษะคลำได้แข็ง และเป็นก้อนที่เคลื่อนไหวได้ พบได้ทันทีหลังคลอด จะหายไปเองภายใน 2-3 วันหรือมากกว่า 2-3 สัปดาห์ ถ้าออกมากจะเซาะเข้าสู่ชั้น subgaleal ถ้าเป็นรุนแรงอาจทำให้ทารกตายได้
ภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ เช่น เลือดออกในสมอง (intracranial hemorrhage) อาจทำให้เสียชีวิตได้
การพยาบาล
การพยาบาลก่อนทำ
การเตรียมมารดาด้านร่างกายเหมือนการคลอดปกติ ได้แก่ การโกนขนและทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ ดูแลกระเพาะปัสสาวะให้ว่าง
การเตรียมมารดาด้านจิตใจ บอกเหตุผล วัตถุประสงค์ และขั้นตอนในการใช้เครื่องดูดสุญญากาศช่วยคลอด พร้อมแนะนำวิธีปฏิบัติตนขณะใช้เครื่องดูดสุญญากาศช่วยคลอด
การเตรียมเครื่องมือเครื่องใช้และอุปกรณ์ต่างๆ โดยเติมชุด Vacuum ทำคลอดพร้อมกับเตรียมเครื่องปั้มสุญญากาศให้พร้อม
ในรายที่ไม่มั่นใจในความปลอดภัยของทารกในครรภ์ ควรรายงานกุมารแพทย์ และเตรียมเครื่องช่วยชีวิตทารกแรกเกิดให้พร้อม เพื่อความปลอดภัยของทารก
การพยาบาลขณะทำ
การพยาบาลทางด้านจิตใจ พยาบาลควรอยู่เป็นเพื่อนมารดาตลอดเวลา ให้กำลังใจ บอกให้มารดารู้ตัวว่าแพทย์จะทำอะไรให้ เช่น การให้ยาระงับความรู้สึก พร้อมกับแนะนำเกี่ยวกับการปฏิบัติตัวของมารดาในขณะที่แพทย์ช่วยคลอด เช่น การเบ่งที่ถูกวิธี และเบ่งพร้อมกับการหดรัดตัวของมดลูก ให้การชมเชยเมื่อมารดาสามารถปฏิบัติตัวได้ถูกต้อง รวมทั้งให้ความมั่นใจว่าทั้งมารดาและบุตรจะได้รับความช่วยเหลืออย่างดีจากแพทย์และพยาบาล เพื่อลดความวิตกกังวลลง
ฟังและบันทึกเสียงหัวใจทารกเป็นระยะๆ ถ้าผิดปกติต้องรีบรายงานแพทย์
เมื่อแพทย์ใส่ถ้วยสุญญากาศในตำแหน่งที่เหมาะสมแล้ว พยาบาลจะเป็นผู้ช่วยลดความดันสุญญากาศแบบช้า คือ ประมาณ 0.2 กก./ตร.ซม. ทุก 2 นาที หรือ 0.1 กก./ตร.ซม. ทุก 1 นาที เพื่อให้เกิดก้อนโน จนได้ระดับ 0.6-0.8 กก./ตร.ซม. จึงหยุดหรือลดแบบเร็ว คือลดความดันลงและคงไว้ตามความดันที่ต้องการตามแผนการรักษาของแพทย์
เมื่อแพทย์จะเริ่มดึง พยาบาลควรตรวจดูการหดรัดตัวของมดลูกและรายงานให้แพทย์ทราบเป็นระยะๆ เพื่อแพทย์จะได้เริ่มดึงพร้อมกับการหดรัดตัวของมดลูก
เตรียมความพร้อมเสมอเมื่อใช้เครื่องดูดสุญญากาศไม่สำเร็จ
เมื่อศีรษะทารกคลอดผ่านช่องคลอดสำเร็จ พยาบาลควรปรับลดความดันให้เป็น 0 จนถ้วยหลุดจากศีรษะทารก
เมื่อทารกคลอดพยาบาลจะช่วยคลอดและดูแลตรวจร่างกายทารก
การพยาบาลหลังทำ
ตรวจประเมินการหดรัดตัวของมดลูกทุก 15-30 นาที หากมดลูกหดรัดตัวไม่ดี อาจทำให้ตกเลือดหลังคลอดได้
ประเมินเลือดที่ออกจากช่องคลอด โดยใส่ผ้าซับเลือดเพราะอาจเกิดการฉีกขาดช่องทางคลอดได้
ประเมินแผลฝีเย็บเพราะอาจเกิด hematoma จากการใช้เครื่องมือและมีการฉีกขาดของช่องทางคลอด
ประเมินการขับถ่ายปัสสาวะภายหลังคลอด 4-6 ชั่วโมงเพราะผู้คลอดอาจมีปัญหาปัสสาวะลำบาก
ประเมินสัญญาณชีพทุก 15 – 30 นาที เพื่อประเมินอาการช็อคของการเสียเลือด หรืออาการแสดงของการติดเชื้อ
ดูแลความสุขสบายแก่มารดาทั่วไป เช่น เช็ดตัว เปลี่ยนเสื้อผ้า ห่มผ้าให้ เพื่อให้มารดาอบอุ่น ดูแลให้ได้รับการพักผ่อนนอนหลับอย่างเต็มที่
นางสาวธัญญามาศ สร้อยระย้า เลขที่ 34 (603101034)