Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การส่งเสริมสัมพันธภาพมารดาและทารกหลังคลอด, นางสาว กานต์ชนก ชมศรีหาราช…
การส่งเสริมสัมพันธภาพมารดาและทารกหลังคลอด
Attachment (สัมพันธภาพ)
ความรู้สึกรักใครผูกพันธ์ระหว่างทารกกับพ่อแม่ หรือผู้เลี้ยงดู เกิดจากการมีปฏิสัมพันธ์ระะหว่างบุคคลเป็นพิเศษและคงอยู่ถาวร จะเกิดขึ้นทีละเล็กละน้อยจากความใกล้ชิดห่วงใย อาทรเพิ่มขึ้น จนกลายเป็นความผูกพันทางใจ จะใช้เวลาในการพัฒนาอย่างต่อเนื่องยาวนาน
Bonding (ความผูกพัน)
กระบวนการผูกพันทางอารมณ์ที่พ่อแม่หรือผู้เลี้ยงดู มีต่อทารกฝ่ายเดียว เกิดขึ้นตั้งแต่วางแผนตั้งครรภ์ ทราบว่าตั้งครรภ์หรือเกิดขึ้นชัดเจนเหมือนรับรู้ว่า ลูกดิน และเพิ่มสูงสุดเมื่อทารกคลอดออกมา
พฤติกรรมปฏิสัมพันธ์ระหว่างมารดาและทารก ในระยะแรกเกิด
1.การสัมผัส (Touch, Tactile sense) พฤติกรรมสำคัญที่จะผูกพันธ์มารดาและบุตร คือ ความสนใจของมารดาในการสัมผัสบุตร โดยจะเริ่ม สัมผัสบุตรด้วยการใช้นิ้ว สัมผัสแขน ขา จากนั้นจะบีบนวดสัมผัสตามลำตัว ทารกจะมีการจับมือและดึงผมมารดาเป็นการตอบสนอง
2.การประสานสายตา (Eye to eye contact) เป็นสื่อที่สำคัญต่อการเริ่ม ต้นพัฒนาการด้าน ความเชื่อมั่นความไว้วางใจ และความสัมพันธ์กับบุคคลอื่นมารดาจะรู้สึกผูกพันใกล้ชิดมากขึ้นเมือทารกลืมตาและสบตาตนเอง มารดาส่วนใหญ่จึงพยายามมองอย่างเผชิญหน้า (Face to face position)
3การใช้เสียง (Voice)การตอบสนองเริ่ม ทันทีที่ทารกเกิดมารดาจะรอฟังเสียงทารกร้องครั้งแรกเพื่อยืนยันว่าภาวะสุขภาพของทารก และทารกแรกเกิดจะตอบสนองต่อระดับเสียง สูง (High pitch voice) ได้ดีกว่าเสียงต่ำ(Deep loud voice)
การเคลื่อนไหวเป็นจังหวะตามเสียงพูด (Entrainment) ทารกจะเคลื่อนไหวส่วนต่างๆ
ของร่างกายเป็นจังหวะสัมพันธ์กับเสียงพูดสูงต่ำของมารดา เช่น ขยับแขน ขา หัวเราะเป็นต้น
จังหวะชีวภาพ (Biorhythmcity) หลังคลอดทารกจะต้องปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมภายนอกที่แตกต่างจากในครรภ์ของมารดา มารดาจะช่วยทารกให้สร้างจังหวะชีวภาพได้ โดยขณะที่ทารกร้องไห้ มารดาอุ้มทารกไว้แนบอกทารกจะรับรู้เสียงการเต้นของหัวใจมารดาซึ้งทารกจะคุ้นเคยตั้งแต่ในครรภ์ทำให้ทารกมีความรู้สึกมั่นคงยิ่งขึ้น
การรับกลิ่น(Odor)มารดาจำกลิ่น กายของทารกได้ตั้ง แต่แรกคลอด และแยกกลิ่น ทารกออกจากทารกอื่นได้ภายใน 3-4วันหลังคลอดส่วนทารกสามารถแยกกลิ่นมารดาและหันเข้าหากลิ่น น้ำนมมารดาได้ภายในเวลา 6-10วันหลังคลอด
การให้ความอบอุ่น(Body warmth หรือ Heat) มีการศึกษาพบว่าหลังทารก คลอดทันทีได้รับการเช็ดตัวให้แห้งห่อตัวทารกและนำทารกให้มารดาโอบกอดทันที ทารกจะไม่เกิดการสูญเสียความร้อน และทารกจะเกิดความผ่อนคลาย
การให้ภูมิคุ้มกันทางน้ำนม (T and B lymphocyte) ทารกจะได้รับภูมิคุ้มกันในนมแม่ ได้แก่ T lymphocyte, B lymphocyte และ Immunoglobulin A ช่วยป้องกันและทำลายเชื้อโรคโรคในระบบทางเดินอาหารได้รับความอบอุ่นจากมารดา
9.การให้ภูมิคุ้มกันทางเดินหายใจ (Bacteria nasal flora) ขณะที่มารดาอุ้มโอบ กอดทารกจะมีการถ่ายทอดเชื้อโรคในระบบทางเดินหายใจ (normal flora) ของ มารดาสู่ทารกเกิดภูมิคุ้มกันช่วยป้องกันทารกติดเชื่อจากสิ่งแวดล้อมภายนอก
บทบาทของพยาบาลผดุงครรภ์ในการส่งเสริมสัมพันธภาพระหว่างมารดากับทารก
กระทําต่อเนื่องตั้งแต่ระยะตั้งครรภ์ ระยะคลอดและต่อเนื่องไปจนถึงระยะหลังคลอด
1 ระยะตั้งครรภ์
2ระยะคลอด
3ระยะหลังคลอด
การประเมินสัมพันธภาพระหว่างมารดากับทารก
ใช้การสังเกต สอบถาม ซึ่งมีแนวทางการประเมินสัมพันธภาพ
ความสนใจในการดูแลตนเองของตนเองและทารก
พฤติกรรมปฏิสัมพันธ์ระหว่างมารดาและทารก
ความสามารถในการปฏิบัติบทบาทการเป็นมารดา
ความสามารถในการตอบสนองความต้องการของทารก
พฤติกรรมของมารดาและทารกทีแสดงถึงการขาดสัมพันธภาพ (Lack of attachment)
ไม่สนใจมองบุตร สีหน้าเมินเฉยหรือหัน หน้าหนี
ไม่ตอบสนองต่อบุตร เช่นไม่สัมผัส ไม่ยิ้ม ไม่อุ้มกอดทารก เป็นต้น
พูดถึงบุตรในทางลบ
แสดงท่าทางหรือ คำพูดที่ไม่พึงพอใจขณะดูแลบุตร
ขาดความสนใจในการซักถามเกี่ยวกับพฤติกรรมของบุตรและการเลี้ยงดูบุตร
นางสาว กานต์ชนก ชมศรีหาราช เลขที่32ห้องA