Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
กลุ่มบำบัดหัตถการ - Coggle Diagram
กลุ่มบำบัดหัตถการ
การเย็บแผลและการได้รับยาชาเฉพาะที่
วัตถุประสงค์อของการเย็บแผล
เพื่อการห้ามเลือด
ลดอาการปวดและการติดเชื้อ
ลดรอยแผลเป็นที่อาจเกิดจากบาดแผลนั้นๆ
ซ่อมแซมส่วนที่บาดเจ็บ
เพิ่มการหายของแผล
ลักษณะการเย็บแผล
เย็บแผลโดยใช้ไหมผูกเป็นปมแยกเป็นอันๆ (Interupted)
เย็บแผลโดยใช้ไหมต่อเนื่อง (Continuous interuped)
อุปกรณ์การเย็บแผล
ถาดสแตนเลสมีหลุม
สำลีก้อนเล็ก
ผ้าก๊อส
ผ้าสี่เหลี่ยมเจาะกลาง
ผ้าสี่เหลี่ยมผืนเล็ก
tooth forceps
Non tooth forceps
Needle holder
วัสดุเย็บหรือด้าย
กรรไกรตัดไหม
น้ำยาฆ่าเชื้อ ได้แก่ Betadine หรือ Chlorhexidine
วัสดุเย็บที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน
วัสดุที่ละลายได้เอง (Absorbable sutures) ทำมาจาก collagen ใน submucosa ของลำไส้แกะหรือวัว เริ่มยุ่ยและแตกภายใน 4-5 วัน และจะหมดไปภายใน 2 สัปดาห์ เช่น Catgut Vcryl Monocryl PDS และ Maxon
วัสดุที่ไม่ละลายเอง (Non-Absorbable sutures) ประกอบด้วยเส้นใยธรรมชาติ เช่น ไหมดำ(Silk) ราคาถูก ผูกปมง่ายและไม่คลาย เช่น Silk Nylon Prolene Novafil
ขั้นตอนการเย็บแผล
ยึดหลักปราศจากเชื้อ โดยเฉพาะการใส่ถุงมือ
เลือดเข็มให้เหมาะกัเแผลที่จะเย็บ
การจับเข็ม ถ้าเป็นเข็มเย็บผ้าหรือเข็มตรงใช้มือจับเย็บ แต่ถ้าเป็นเข็มโค้ง ต้องใช้ตีมจับเข็มที่ประมาณ 1/3 ค่อนมาทางโคนเข็ม สนด้ายที่จะใช้เย็บเข้าที่รูเข็ม ตัดด้ายให้เหลือความยาวประมาณ 1 คีบ
การใช้คีมจับเข็ม(Needle Holder) ควรจับให้ด้ามอยู่ในอุ้งมือ นิ้วชี้วางใกล้กับข้อต่อ
เวลาตักควรปักเข็มลงไปตรงๆให้ตั้งฉากกับผิวหนัง หรือเนื้อที่จะเย็บ และการปักเข็มควรปักให้ห่างจากขอบแผลพอสมควร
หมุนเข็มให้ปลายเข็มเสยขึ้น โดยใช้ข้อมือ อย่าดันไปตรงๆ ให้ปล่อยคีบจากโคนเข็มมาจับปลายที่โผล่พ้นผิวหนังอีกด้านหนึ่งของแผลขึ้นมา แล้วค่อยๆหมุนเข็มตามความโค้งของเข็ม จนกระทั่งโดนเข็มหลุดจากผิวหนัง
ใช้มือซ้ายจับโคนเชือกไว้ มือขวาถือคีมจับเข็มรูดออกไปจนเข็มหลุดจากเชือกแล้ววา่งคีมมาจับปลายเชือกอีกด้านหนึ่ง พร้อมกับดึงขอบแผลให้มาติดกันแล้วผูกเงื่อนตาย
ใช้กรรไกรตัดไหม ตัดด้ายโดยให้เหลือโคนไว้ ยาวประมาณครึ่งเซนติเมตร
การตัดไหม
ระยะเวลาที่จะทิ้ง sutures ไว้ที่แผล
skin sutures ที่ใบหน้าและลำคอ 3-5 วัน
skin sutures ที่อื่นๆ 7 วัน
skin sutures ในพื้นที่อื่นๆที่มีการเคลื่อนไหวมากๆ เช่น ข้อ 2 สัปดาห์
วิธีการตัดไหม
ทำความสะอาดบาดแผล โดยใช้แอลกอฮอล์เช็ดรอบแผลและอาจใช้ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซต์เช็ดคราบที่ไหมเย็บออก
การตัดไหมที่เย็บแผลโดยใช้ไหมผูกเป็นปมแยกเป็นอันๆ โดยใช้ปากคีมไม่มีเขี้ยวจับชายไหมส่วนที่อยู่เหนือปมที่ผูกไว้ ดึงขึ้นพอดึงมือจะเห็นใต้ปมโผล่พ้นผิวหนังขึ้นมา 2 เส้น และใช้สอดปลายกรรไกรสำหรับตัดไหมในแนวราบขนานกับผิวหนัง เล็มตัดไหมส่วนที่อยู่ชิดผิวหนังซึ่งอยู่ใต้ปมที่ผูกแล้วดึงไหมออก
การตัดไหมที่เย็บแผลโดยใช้ไหมผูกเป็นปมเป็นอันๆ ชนิดสองชั้น ให้ตัดไหมส่วนที่มองเห็ฯแล้วอยู่ชิดผิวหนังมากที่สุด ซึ่งอยู่่ด้านตรงกันข้ามกับปมไหมให้ตัดไหมด้วยวิธีเดียวกับการเย็บธรรมดา
การตัดไหมที่เย็บแผลแบบต่อเนื่อง ให้ตัดไหมส่วนที่อยู่ชิดผิวหนังด้านตรงกันข้ามกับปมที่ผูกอันแรกและอันถัดไปด้านเดิม
การให้ภูมิคุ้มกันบาดทะยัก
ซํกประวัติการได้รับวัคซีนป้องกันบาดทะยัก
ไม่เคยได้/ได้รับมาเกิน 10 ปี ฉีด 3 ครั้ง ครั้งละ 0.5 ซีซี เดือนที่ 0 ,1 ,6
เคยได้รับครบ 3 ครั้ง ไม่เกิน 10 ปี ไม่ต้องฉีด
ได้รับครบ 3 ครั้ง เกิน 10 ปี กระตุ้น 1 ครั้ง
เด็ก 13 ปีขึ้นไป ให้เช่นเดียวกันกับผู้ที่ไม่เคยได้มาก่อน
Local Anesthesia
การระงับความรู้สึกหรือชาเฉพาะที่โดยการใช้ยาชาเฉพาะที่ จะใช้เวลาประมาณ 2-3 นาที ในการออกฤทธิ์ และผู้ใช้จะกลับมารู้สึกได้ปกติหลังจากเวลาผ่านไปประมาณ 2-3 ชั่วโมงเมื่อยาหมดฤทธิ์
ยาชาชนิดต่างๆที่นิยมใช้
N์ovocaine ฤทธิ์ 1/2-1 ชั่วโมง
Lisocaine หรือ Xylocaine ออกฤทธิ์เร็ว มีผลต่อร่างกาย 120 นาที
Pontocaine Hydrochlorine ใช้สำหรับลูกตา จมูก ปากและคอ
การแก้ไขการแพ้ยาชา
ดูแลทางเดินหายใจให้โล่ง และรายงานแพทย์
ให้นอนพักศีรษะสุูง ให้O2 inhalation
วัดสัญญาณชีพ บันทึกอาการ สังเกตอาการเปลี่ยนแปลง
ถ้าวัดความดันโลหิตแล้วต่ำ มีแนวโน้มช็อค ให้5% D/NSS 1000cc IV drip ให้เร็วระหว่างรอแพทย์
ถ้าชักให้ Valium 10 mg IV ช้าๆ
ถ้าหัวใจหยุดเต้นอาจต้องใช้ Adrenaline 1:1000 IV ,Epinephine 0.1-0.5 cc เจือจาง 1: 1000 IV
ช่วยหายใจ เตรียมอุปกรณ์เครื่องใช้สำหรับใส่ท่อช่วยหายใจ
หลักทั่วไปในการฉีดยาชา
พูดคุยกับผู้ป่วยให้คลายกังวล ให้นอนในท่าที่ไม่เกร็ง
ใช้เข็มฉีดยาขนาดเล็ก ตรวจสอบดูว่าเข็มไม่ตัน กระบอกฉีดยากับเข็มสวมกันได้สนิท
ควรฉีดยาเข้าในผิวหนัง เว้นแต่บริเวณฝ่ามือ ฝ่าเท้า หรือที่หนังศีรษะเพื่อไม่ให้ผู้เป่วยเจ็บเวลาเลื่อนเข็ม โดยปักเข็มเพียงพ้นผิวหนังแล้วฉีดยาเข้าไปเล็กน้อย เข็มอยู่บนผิวหนังจะมีรอยนูนขึ้นทันที แต่ถ้าเข็มเข้าไปชั้นใต้ผิวหนังจะไม่มีรอยนูน
ค่อยๆ ปักเข็มเข้าไปในเนื้อใต้ผิวหนัง ดูดดูว่าปลายเข็มไปในหลอดเลือดหรือไม่ แล้วเดินยาเพียง 1-2 cc รอดูประมาณ 1-2 นาที ถ้าไม่มีปฏิกิริยาใดให้ฉีดต่อไปจนได้ปริมาณยาที่ต้องการ
ไม่ควรฉีดแรงและเร็ว กรณีที่ฉีดเป็ฯแนวหรือบริเวณกว้าง ควรแทงเข็มลงไปหรือถอนเข็มออกมาช้าๆ ในขณะฉีด
ไม่ควรแทงเข็มให้สุดเพราะหาเข็มหักจะเอาออกยาก
กาจะฉีดบริเวณกว้าง ควรแทงเข็มผ่านผิวหนังเพียงครั้่งเดียว เมื่อเปลี่ยนตำแหน่งที่ฉีดควรถอนเข็มออกมาจนสุด แล้วจึงเปลี่ยนทิศทางของเข็มโดยไม่ต้องถอนเข็มออกจากผิวหนัง
ไม่ควรแทงเข็มแรงๆลงไปบนกระดูก เพราะจะทำให้เจ็และอาจทำให้ปลายเข็มงอ และขูดบาดเนื้อเยื่อเวลาดึงออกหรือแทงเข้า
ทดสอบการชา โดยใช้ tooth forceps จับที่ผิวหนังตำแหน่งที่ต้องการให้ชา ถ้าผู้ป่วยไม่เจ็บแสดงว่ามีการชาแล้วสามารถทำหัตถการได้
Cardiopulmonary resusitation (CPR)
ความหมาย
การปฎิบัติเพื่อช่วยฟื้นการทำงานของระบบไหลเวียนเลือดที่หยุดทำงานอย่างกระทันหัน เพื่อให้หัวใจกลับมาเต้นเองได้ตามปกติโดยไม่เกิดความพิการของสมอง
ข้อบ่งชี้
หมดสติ เรียไม่ตอบสนอง เกิดขึ้นหลังจากหัวใจหยุดทำงาน 3-6 วินาที
ไม่หายใจหรือหายใจกระตุกนานๆครั้ง
คลำชีพจรที่คอหรือที่ขาหนีบไม่ได้ และฟังเสียงหายใจไม่ได้
ผิวหนังซีด เขียวคล้ำ
ม่านตาขยาย (หลังหัวใจหยุดเต้น 45 วินาที)
ระดับของการช่วยชีวิต
การช่วยชีวิตขั้นสูง (Advanced Cardiovascular Life Support : ACLS)
การช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน (Basic Life Support : BLS)
เกณฑ์การประเมิน ABCDE
A(Airway) : ประเมินทางเดินหายใจโล่งหรือไม่ มีข้อบ่งชี้ในการใส่ท่อช่วยหายใจหรือไม่ ท่อหายใจอยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้องหรือไม่ ตรวจสอบท่อหายใจได้รับการผูกหรือยึดตรึงและอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสมบ่อยๆ
B(Breathing) : การช่วยการหายใจและการให้ออกซิเจนเพียงพอหรือไม่ มีการประเมิน SpO2 &Quantitative waveform coronagraph อย่างต่อเนื่องหรือไม่
C(Circulation) : การขยายของหน้าอกมีประสิทธิภาพหรือไม่ จังหวะของคลื่นไฟฟ้าหัวใจเป็นอย่างไร เปิดหลอดเลือดคาแล้วหรือไม่ มีข้อบ่งชี้ในการช็อตไฟฟ้าหรือไม่ มีการใช้ยาเพื่อควบคุมจังหวะการเต้นของหัวใจหรือความดันโลหิตหรือไม่ ผู้ป่วยต้องการสารน้ำมากน้อยเพียงใด
D(Disability) : มีการตรวจสอบและประเมินการทำงานของระบประสาทอย่างไร Neuro sign
E(Expose) : มีการตรวจสอบรอยโรคหรือการบาดเจ็บที่เห็นได้ทั่วร่างกายอย่างไร
หลักการช่วยเหลือฟื้นคืนชีพ (BLS)
องค์ประกอบ
C : Circulation = Chest compression
A : Airway = Head till , Chin lift , Jaw thrust
B : Breathing = Mouth to mouth ventilation , Pocket face mask , bag-valve mask
ตามลำดับขั้นตอนเป็น C-A-B (Chest compression - Airway-Breathing) เนื่องจากการกดหน้าอกก่อนจะทำห้มีเลือดไปเลีืยงอวัยวะสำคัญ เช่น หัวใจและสมอง วิธีการปฏิบัติ คือ
C : Chest compression คือการกดหน้าอก หากไม่แน่ใจว่าตำแหน่งกระดูกซี่โครงอยู่ตรงไหน ง่ายที่สุดคือ ให้วางสันมือ(ข้างที่ไม่ถนัด) ตรงกลางหน้าอก ระหว่างหัวนมทั้งสองข้าง
A : Airway หมายถึง การเปิดทางเดินหายใจให้โล่ง
ผู้ป่วยไม่มีการบาดเจ็บที่ศีรษะหรือคอ จะใช้วิธีการแหงนหน้าและเชยคาง (Head till-Chin lift)
ผู้ป่วยมีอาการเจ็บของไขสันหลัง ให้ใช้วิธี Manual Spinal Motion Resusition
ผุ้ป่วยมีอาการบาดเจ็บที่กระดูกสันหลังบริเวณคอให้เปิดทางเดินหายใจด้วยวิธียกขากรรไกร (Jaw thrust)
B : Breathing หมายถึง การช่วยหายใจ ใช้อัตราการกดหน้าอก 30 ครั้งต่อการช่วยหายใจ 2 ครั้ง (30:2)
ข้อควรระวังในการทำ CPR
ต้องวางมือให้อยู่ตรงกลางหน้าอก ไม่ต้องค่อนไปทางซ้ายหรือใกล้หัวใจ เพราะอาจทำให้กระดูกซี่โครงหักได้
ต้องกดหน้าอกให้เร็วและแรงแต่อย่ากระแทก ด้วยอัตราเร็วอย่างน้อย 100 ครั้งต่อนาที
กดลึกอย่างน้อย 2 นิ้วหรือ 5 เซนติเมตร สำหรับผู้ใหญ่
หลังการกดแต่ละครั้งต้องปล่อยให้อกคืนตัวจนสูด เพื่อให้หัวใจรับเลือดสำหรับสูบฉีดครั้งต่อไป หากไม่ปล่อยให้หน้าอกคืนตัวจนสุดจะทำให้เลือดที่ไปเลี่ยงอวัยวะต่างๆของร่างกายลดลง
กดหน้าอกให้ต่อเนื่องให้ได้มากที่สุด โดยสามารถหยุดการกดหน้าอกได้ไม่เกิน 10 วินาที ในกรณีคลำชีพจร , มีการช็อตหัวใจ , ต้องการหยุดเพื่อใส่อุปกรณ์เปิดทางเดินหายใจขั้นสูง(่ในกรณีที่ใส่ในขณะกดหน้าอกไม่ได้)
ไม่ควรใช้วิธีช่วยหายใจมากเกินไป การเปิดทางเดินหายใจไม่เต็มที่ เป่าลมมากเกินไป ทำให้ลมเข้ากระเพาะอาหาร เกิดท้องอืด อาเจียน ลมเข้าปอดไม่สะดวก ปลอดขยายตัวไม่เต็มที่
ถ้ามีอาการอาเจียนเกิดขึ้นก่อนหรือระหว่างทำ CPR ต้องล้วงเอาเศษอาหารออกก่อน มิฉะนั้นจะเป็นเหตุของการอุดตันของทางเดินหายใจ การช่วยหายใจไม่ได้ผล เกิดการขาดออกซิเจน
การช่วยเหลือผู้ป่วยที่จมน้ำ
การจมน้ำ(Drowning)
ความหมาย
การที่จมลงใต้น้ำแล้วหายใจเอาน้ำเข้าไปในปอด มีผลต่อร่างกาย ซึ่งอาจทำให้เสียชีวิตได้ มักเกิดกับคนที่ว่ายน้ำไม่เป็นหรืออยู่ในภาวะซึ่งช่วยเหลือตนเองไม่ได้ การจมน้ำในน้ำจืดจะใช้เวลาประมาณ 3-4 นาที และในน้ำเค็มจะใช้เวลาประมาณ 7-8 นาที
อาการและอาการแสดง
มีฟองน้ำลายรอบบริเวณริมฝีปากและรูจมูก หายใจช้าลง ชีพจรเบาคลำไม่ชัดเจน ซีด หมดสติ
ลักษณะอาการของคนที่กำลังจมน้ำ
ระยะที่ 1 เกิดอาการตกตะลึงเริ่มรู้ตัวว่าจะไม่รอดชีวิตถ้าไม่ได้รับการช่วยเหลือ
ระยะที่ 2 ตะเกียกตะกาย พยายามดิ้นรน
ระยะที่ 3 ว่ายน้ำได้เองโดยอัตโนมัติ แต่ทำได้ในระยะเวลาสั้น แล้วจะเริ่มจมน้ำ
ระยะที่ 4 เริ่มมีอาการหยุดหายใจเกิดขึ้น เนื่องจากได้พยายามกลั้นหายใจไว้ตั้งแต่ระยะที่ 1-3 แล้ว
ระยะที่ 5 ขณะสูดหายใจอีกครั้งหนึ่งจะเริ่มสำลักและกลื่นน้ำเข้าไป
ระยะที่ 6 เกิดอาการไอ และอาเจียน
ระยะที่ 7 พยายามกระเสือกกระสนถีบตนเองให้จมูกพ้นน้ำ แล้วสูดหายใจเข้าไป ซึ่งอาจเป็นเฮือกสุดท้าย
ระยะที่ 8 สำลักน้ำเข้าปอด
ระยะที่ 9 พ่นน้ำลายออกมาเป็นฟอง และมีเลือดปนออกมา
ระยะที่ 10 ชัก ไม่รู้สติ
ระยะที่ 11 เสียชีวิต แล้วจมน้ำลงไป
วิธีการช่วยเหลือ
ตะโกน เมื่อพบเห็นคนจมน้ำให้ตะโกนเพื่อขอความช่วยเหลือ
โยน หาสิ่งของที่สามารถลอยน้ำได้ โยนให้กับคนที่กำลังจมน้ำ เช่น ถังแกลลอน ห่วงชูชีพ
ยื่น หาอุปกรณ์ยื่นให้คนที่กำลังจมน้ำจับ เช่น ไม้ เชือก เสื้อ กางเกง
สาวไม้ หลังจากคนที่กำลังจมน้ำจับอุปกรณ์แล้วให้ดึงคนจมน้ำดึงเข้าหาฝั่ง
การปฐมพยาบาล
โทรศัพท์แจ้งหมายเลข 1669 หรือหน่วยพยาบาลใกล้เคียงโดยเร็วที่สุด
ห้ามจับผู้ประสบภัยอุ้มพาดบ่า กระโดดหรือวิ่งรอบสนาม เพื่อเอาน้ำออก
จับคนจมน้ำนอนบนพื้นราบ แห้งและแข็ง
ตรวจดูวา่ารู้สึกตัวหรือไม่ โดยใช้มือทั้งสองข้างจับไหล่ เขย่าพร้อมเรียกดังๆ
กรณีรู้สึกตัว เช็ดตัวให้แห้ง เปลี่ยนเสื้อผ้าและห่มผ้า และนำส่งโรงพยาบาลทุกราย
กรณีไม่รู้สึกตัว ไม่ตอบสนอง ช่วยหายใจ โดยเปิดทางเดินหายใจ โดยการกดหน้าผาก เชยคางและเป่าปากโดยวางปากครอบปากผู้ป่วย บีบจมูก เป่าลมเข้า ให้หน้าอกผู้ป่วยยกขึ้น (เป่าปาก 2 ครั้ง)
7.กดนวดหัวใจ วางสันมือกึ่งกลางหัวนมทั้ง 2 ข้าง ต่อมากดหน้าอกให้ยุบไปประมาณ 1 ใน 3 ของความหนาของหน้าอก ความเร็ว 100ครั้ง/นาที นวดหัวใจ 30 ครั้ง สลับการกับเป่าปาก 2 ครั้ง ทำไปจนจะรู้สึกตัว และหายใจได้เอง
8.จับผู้ป่วยนอนตะแคงข้าง ศีรษะหงายไปข้างหลัง เพื่อให้น้ำไหลออกจากปาก ใช้ผ้าห่มคลุมผู้ป่วยเพื่อให้เกิดความอบอุ่น งดน้ำและอาหาร และนำส่งโรงพยาบาลทุกราย
การช่วยเหลือผู้ป่วยที่อุดกั้นทางเดินหายใจ
สาเหตุ
ความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ขาดความรู้
การขาดความระมัดระวัง เช่น รับประทานอาหารอย่างรวดเร็ว ทำให้ติดคอ
เหตุสุดวิสัย ทางเดินหายใจอุดตันได้ เนื่องจากการที่แมลงเข้าไปในจมูกหรือในรูหู
ระดับความรุนแรง
การอุดกั้นไม่รุนแรง
อาการและอาการแสดง
สามารถาหายใจได้ มีการแลกเปลี่ยนก๊าซ
ไอแรงๆได้
อาจได้ยินเสียงหายใจ Wheeze ระหว่างการไอ
การช่วยเหลือ
กระตุ้นให้ผู้ป่วยไอและพยายามหายใจด้วยตนเอง
สังเกต เฝ้าติดตามอาการผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด
หากยังคงมีการอุดกั้นต่อเนื่องหรืออาการอุดกั้นมีความรุนแรงมากขึ้น ให้ขอความช่วยเหลือจากระบบการแพทย์ฉุกเฉินหรือโทร 1669
การอุดกั้นรุนแรง
อาการและอาการแสดง
ใช้มือกุมบริเวณลำคอ
พูดหรือร้องไม่มีเสียง
หายใจลำบาก ไม่มีการแลกเปลี่ยนก๊าซ
ไอเบาๆหรือไม่สามารถไอได้
มีเสียงลมหายใจเข้าเพียงเล็กน้อยหรือไม่มีเสียง
หน้าเขียว ปากเขียว
การช่วยเหลือ
วิธีที่ 1 การรัดกระตุกหน้าท้องในผู้ป่วยที่ยังรู้สติ ในท่ายืนหรือนั่้ง ในเด็กโตหรือผู้ใหญ่
วิธีที่ 2 ขั้นตอนการช่วยเหลือกรณีผู้ป่วยหมดสติ ในเด็กโตหรือผู้ใหญ่
ตะโกนขอความช่วยเหลือ
จัดให้ผู้ป่วยอยู่ในท่านอนหงายบนพื้นราบ
เริ่มทำการกดหน้าอกนวดหัวใจทันที ต่อเนื่อง 30 ครั้ง
ทำการช่วยหายใจ โดยการจัดท่าเปิดปากผู้ป่วย มองหาสิ่งแปลกปลอมก่อนทำการช่วยหายใจ หากมองเห็นสิ่งแปลกปลอมในปากผู้ป่วยให้ใช้นิ้วกวาดสิ่งแปลกปลอมออกมา ทำต่อเนื่องเป็นรอบในอัตรา กดหน้าอก 30 ครั้ง ช่วยหายใจ 2 ครั้ง ทำซ้ำประมาณ 5 รอบ หรือ 2 นาที จนกว่าความช่วยเหลือทางการแพทย์จะมาถึงหรือจนกว่าจะขจัดสิ่งแปลกปลอมออกมาได้
วิธีที่ 3 ขั้นตอนการช่วยเหลือกรณีเด็กทารกอายุน้อยกว่า 1 ปี ที่ยังรู้สติ แต่ไม่สามารถไอได้ ร้องไม่มีเสียง เรียกว่า การตบหลัง 5 ครั้งและการกดหน้าอก 5 ครั้ง
ผู้่ช่วยเหลือนั่งบนเก้าอี้หรือนั่งคุกเข่า วางเด็กบนตักของผู้ช่วยเหลือ
ใช้มือข้างหนึ่งประคองศีรษะและกรามเด็กให้มั่นคงในท่าคว่ำหน้า วางตัวเด็กบนท่อนแขน ลักษณะศีรษะต่ำกว่าลำตัว
ใช้ส้นมืออีกข้างตบกึ่งกลางระหว่างสะบักทั้งสองข้างในแนวเฉียงลง
ด้วยแรงที่มากเพียงพอให้สิ่งแปลกปลอมหลุดออกได้ ทำซ็ำ 5 ครั้ง
พลิกตัวเด็กทารกกลับมาในท่านอนหงาย ใช้มือและแขนทั้งสองข้างประคองตัวเด็ก วางบนแขนของมืออีกข้าง ประคองศีรษะให้มั่นคงลักษณะศีระษาต่ำว่าลำตัว
กดหน้าอก 5 ครั้ง บริเวรกึ่งกลางหน้าอกบนกระดูกหน้าอกส่วนล่าง ใต้ต่อเส้นราวนมเล็กน้อย
ตรวจดูสิ่งแปลกปลอมภายในปากเด็ก หากมีให้ใช้นิ้วกวาดสิ่งแปลกปลอมออกมา
หากเด็กหมดสติให้ขอความช่วยเหลือจากระบบทางการแพทย์ฉุกเฉิน และทำการกดหน้าอกทันที
วิธีที่ 4 ขั้นตอนการช่วยเหลือกรณีเด็กทารกอายุน้อยกว่า 1 ปี ที่หมดสติ
ตะโกนขอความช่วยเหลือและจัดให้ผู้ป่วยอยู่ในท่านอนหงายบนพื้นราบ
เริ่มทำการกดหน้าอกนวดหัวใจทันทีต่อเนื่อง 30 ครั้ง
ทำการช่วยหายใจ โดยการจัดท่าเปิดปากผู้ป่วย มองหาสิ่งแปลกปลอมก่อนทำการช่วยหายใจ
ทำการกดหน้าอกนวดหัวใจและช่วยหายใจต่อเนื่อง เป็นรอบในอัตรา กดหน้าอก 30 ครั้ง ช่วยหายใจ 2 ครั้ง ทำซ้ำประมาณ 5 รอบ หรือ 2 นาที จนกว่าความช่วยเหลือทางการแพทย์จะมาถึงหรือจนกว่าจะขจัดสิ่งแปลกปลอมออกมาได้สำเร็จ