Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การใช้กระบวนการพยาบาลในการดูแลมารดาที่มีปัญหาสุขภาพในระยะหลังคลอด - Coggle…
การใช้กระบวนการพยาบาลในการดูแลมารดาที่มีปัญหาสุขภาพในระยะหลังคลอด
การพยาบาลมารดาที่มีการติดเชื้อหลังคลอด
หมายถึง การติดเชื้อของระบบสืบพันธุ์สตรีระยะ 6 สัปดาห์แรกหลัง คลอด หรือภายใน 28 วันหลังแท้ง
ประเภทของการติดเชื้อ
การติดเชื้อเฉพาะที่ เป็นการติดเชื้อที่บริเวณบาดแผลที่อวัยวะสืบพันธุ์ภายนอก
การติดเชื้อแพร่กระจายการติดเชื้อลุกลามไปนอกมดลูก
อาการ
มีไข้หลังคลอด ลักษณะของอุณหภูมิ จะสูง 38 องศาเซลเซียส ติดต่อกัน 2 วัน ในช่วง 10 วันแรกไม่นับ 24 ชม. แรกคลอดและต้องแยกออกจากการติดเชื้อนอกระบบสืบพันธุ์ เช่น กระเพาะปัสสาวะอักเสบ การติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบน
แหล่งที่มาของเชื้อ
แบคทีเรียที่พบตามปกติที่ช่องคลอดส่วนล่าง ปกติไม่ก่อให้เกิดพยาธิสภาพ ยกเว้นเมื่อร่างกายอ่อนแอและเนื้อเยื่อได้รับการชอกช้้ามาก
แบคทีเรียจากทางเดินหายใจ มือของเจ้าหน้าที่ ฝุ่นละออง เทคนิคการท้าคลอดและเครื่องมือไม่สะอาดปราศจากเชื้อ
ปัจจัยส่งเสริมให้เกิดการติดเชื้อหลังคลอด
เนื้อเยื่อช่องทางคลอดถูกกระทบกระเทือน ไม่ว่าจะมีบาดแผลหรือไม่ก็ตาม
มีการบวมเลือด (Hematoma)
การได้รับการตรวจทางช่องคลอดบ่อยๆ ไม่ระวังเทคนิคปราศจากเชื้อ
ตกเลือดมากกว่า 1,000 มล.
ภาวะโลหิตจาง ภาวะทุพโภชนา ขาดอาหาร เศรษฐกิจไม่ดี สุขวิทยาส่วนบุคคลไม่ดี มีถุงน้้าแตกนานกว่า 12 ชม. หรือน้้าเดินก่อนก้าหนดนานเกิน 24 ชม. การคลอดยาวนาน ติดขัด ต้องใช้สูติศาสตร์หัตถการ
มีรกค้าง
ประเมินบริเวณที่มีการติดเชื้อ
ฝีเย็บ พบบ่อยมากถ้ามีการบวมเลือด
การอักเสบของปากมดลูก
เยื่อบุมดลูกอักเสบ สังเกตจากน้ำคาวปลา
ผนังมดลูกอักเสบ จากการท้าลายเชื้อโรคของเม็ดเลือดขาวจึงเกิดการอักเสบแต่จ้ากัดอยู่ภายในมดลูก
การติดเชื้อกระจายออกนอกมดลูก
หลักการพยาบาลผู้ป่วยที่ติดเชื้อหลังคลอด
ให้ ATB
ระบายออก
ลดสาเหตุที่ทำให้เกิด
อักเสบเป็นหนองในอุ้งเชิงกราน (Parametritis)
สาเหตุ
การฉีกขาดของปากมดลูกแผ่เข้าไปถึง Connective tissue ของ Board ligament ท้าให้ติดเชื้อโดยตรงจากช่องคลอด
เป็นผลตามมาของ Pelvic thrombopheibitis จากการอักเสบทะลุผ่านผนังหลอดเลือดด้าออกมาและเชื้อกระจายเข้าสู่ Connective tissue
ติดเชื้อจากการฉีกขาดของปากมดลูก หรือแผลบริเวณมดลูกจากC/S เชื้อที่เป็นสาเหตุจะผ่านทางต่อมน้้าเหลืองสู่อวัยวะในอุ้งเชิงกรานท้าให้เกิดการอักเสบ
อาการ
ไข้สูงลอย หรือขึ้นๆลงๆ T 38.9 – 39.4 องศาเซลเซียส
เบื่ออาหาร อาเจียน บางครั้งถ่ายเหลว
หนาวสั่น ชีพจรเบาเร็ว
ซีด
กดหน้าท้องไม่เจ็บถ้ามดลูกเข้าอู่แล้ว น้ำคาวปลาอาจไม่มาก อาจเจ็บหน้าท้อง
อาจมี endotoxic shock
Cross of death เป็นสัญญาณอันตราย T ต่ำกว่า 36 องศาเซลเซียส ชีพจรเร็วมากกว่า 100 ครั้ง/นาที
กรณีติดเชื้อของเยื่อบุช่องท้อง
อาเจียนบ่อย ลักษณะอาเจียนพุ่ง
ถ้าอาการเลวลงจะมีการถ่ายเหลวร่วมด้วย หน้าท้องตึงแข็ง กดเจ็บทั่วไป กระสับกระส่าย ตัวเย็น เหงื่อออกปัสสาวะน้อย ถ้ารับการรักษาไม่ทันอาจช็อคตายได้
ปวดท้องรุนแรง ไข้สูง 40.5 องศา ชีพจรเร็ว 140 ครั้ง/นาที หนาว
สั่น อ่อนเพลีย หายใจเร็วขึ้น
เต้านมอักเสบ (Mastitis)
สาเหตุ
การบีบนวดเต้านมมากๆ เช่น ในรายที่นมคัด
เต้านมคัดมาก ท่อน้้านมอุดตัน ทำให้น้ำนมไหลออกมาไม่ได้
หัวนมแตก ถลอกหรือมีรอยแตก ซึ่งส่วนมากจะเกิดจากการที่ทารกดูดนมนานเกินไป หรือดูดไม่ถูกวิธี เชื้อจะเข้าไปตามหลอดน้้าเหลืองของท่อน้ำนม
การดูดนมของทารกที่มีเชื้อในจมูก และคอ โดยเชื้อเข้าสู่ท่อนม
โดยตรง
อาการ
ไข้สูง 38.5-40 c ชีพจรเร็ว อาการหนาวสั่น ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย
เจ็บปวดบริเวณเต้านม
ผิวหนังบริเวณเต้านมมีลักษณะ แดง ตึง แข็ง เจ็บ ปวด (Infeanation) ผิวหนังจะนุ่ม เป็ฯมัน
ต่อมน้ำเหลืองที่รักแร้อาจโตและเจ็บ
การพยาบาล
รักษาความสะอาดของเต้านม มือ เสื้อผ้า
ทำความสะอาดเต้านมก่อนและหลังให้นมทารก
ถ้ามีหัวนมแตกต้องรีบแก้ไขไม่ปล่อยทิ้งไว้
ให้ยาปฏิชีวนะ พวก Penicillin ควรให้อย่างน้อย 10 วัน
ประคบด้วยน้ำแข็งถ้าปวดมาก เพื่อบรรเทาอาการปวด
ให้ยาแก้ปวด ใส่ยกทรงพยุงไว้
ถ้ามีหนองเกิดขึ้น จะต้องทำ I / D เพื่อเอาหนองออก
ให้นมบุตรได้ตามปกติ แต่มักจะมีปัญหาลูกไม่ค่อยดูดนมข้างที่มีการอักเสบ เนื่องจากเต้านมจะคัดและแข็งท าให้ดูดยากกว่าปกติ
ควรประคบอุ่นบริเวณเต้านมก่อนให้นม และแนะนำให้ดูดข้างที่ปกติก่อน เมื่อน้ำนมไหลดีแล้ว จึงค่อยให้ดูดนมข้างที่อักเสบ
หากน้ำนมยังค้างอยู่ให้บีบออกจนเกลี้ยงเต้า
การบวมเลือดหรือก้อนเลือดคั่ง (hematoma)
สาเหตุของการเกิดในหญิงหลังคลอด
การเย็บซ่อมแซมแผลฝีเย็บหรือแผลฉีกขาดที่ฝีเย็บไม่ดี
การบีบคลึงมดลูกรุนแรง ท้าให้เลือดคั่งใต้เยื่อบุช่องท้องและใน broad ligament
เกิดจากการบาดเจ็บจากการคลอดในรายที่คลอดเองหรือทำสูติศาสตร์หัตถการ
อาการและอาการแสดง
เจ็บปวดบริเวณฝีเย็บหรือทวารหนักมากหลังคลอด
หากก้อนเลือดมีขนาดใหญ่ก็จะท้าให้มารดาเกิดภาวะตกเลือดตามมาได้ โดยอาการตกเลือดอาจไม่สัมพันธ์กับจ้านวนเลือดที่ออกทางช่องคลอด
ถ้าเกิดการบวมเลือดบริเวณอื่นๆมารดาก็มีอาการปวดบริเวณนั้นตามแรงกดของก้อนเลือด
การพยาบาล
ป้องกันการบวมเลือดโดยวางกระเป๋าน้้าแข็งที่ฝีเย็บในชั่วโมงแรกหลัง คลอด
พยาบาลต้องประเมินขนาดของก้อนเลือดตั้งแต่แรกเพื่อใช้เปรียบเทียบอาการ
ตามขนาดก้อนเลือด ประคบเย็น ผ่าตัดอระบายไว้
ให้การดูแลตามอาการ
ภาวะมดลูกไม่เข้าอู่ (Subinvolution)
เป็นภาวะที่ขบวนการกลับคืนสู่สภาพเดิมของมดลูกใช้เวลานานหรือขบวนการนั้นหยุดไปก่อนที่มดลูกจะกลับคนสู่สภาพเดิมอย่างสมบูรณ์
สาเหตุ
การผ่าตัดคลอด
ทารกไม่ได้ดูดนมมารดา
ภาวะที่ท้าให้มดลูกหดรัดตัวไม่ดี
มีการติดเชื้อภายในมดลูก
มดลูกคว่ำหน้าหรือคว่ำหลังมาก
อาการและอาการแสดง
มดลูกนุ่มและใหญ่กว่าปกติ ระดับยอดมดลูกไม่ลดลง กดเจ็บ หรือมีอาการปวดมดลูก
มีไข้
น้้าคาวปลาออกมากกว่าปกติ มีสีแดงตลอด มีกลิ่นเหม็น
อาจเกิดการตกเลือดระยะหลัง (Late PPH)
การป้องกันภาวะมดลูกไม่เข้าอู่
ส่งเสริมให้น้ำคาวปลาไหลได้สะดวก กระตุ้นให้ลุกจากเตียงโดยเร็ว นอนคว่ำ หลีกเลี่ยงกระเพาะปัสสาวะเต็ม หลีกเลี่ยงภาวะท้องผูก
ส่งเสริมการเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดา
ตรวจรกว่ารกคลอดครบหรือไม่ ถ้าสงสัยว่ารกคลอดไม่ครบต้องรายงานอาจต้องขูดมดลูกหากพบว่ามีรกค้างจริง
การพยาบาล
ถ้าไม่มีการติดเชื้อร่วมแพทย์อาจให้ยากระตุ้นการหดรัดตัวของมดลูก จึงต้องประเมินระดับยอดมดลูกทุกวัน
กรณีที่เกิดจากมีรกค้าง แพทย์จะทำการขูดมดลูกเพื่อเอาเศษรกออก พยาบาลจึงต้องเตรียมมารดาสำหรับการขูดมดลูก
ให้ยาปฏิบัติชีวนะเมื่อมีการติดเชื้อร่วมด้วย แนะนำการดูแลรักษาและการปฏิบัติตัว
แนะนำให้พักผ่อน การรับประทานอาหาร การส่งเสริมให้น้ำคาวปลาไหลได้สะดวก การรักษาความสะอาด
ภาวะจิตแปรปรวนหลังคลอด
จำแนกตามความรุนแรงได้ 3 ลักษณะ
อารมณ์เศร้าหลังคลอด (Postpartum blue)
โรคประสาทหรือภาวะซึมเศร้าหลังคลอด (Postpartum depression)
โรคจิตหลังคลอด (Postpartum psychosis)
อารมณ์เศร้าหลังคลอด (Postpartum blue)
เป็นการปรับตัวทางจิตใจและอารมณ์ที่ผิดปกติชนิดไม่รุนแรงหลังคลอด เพราะมีความรู้สึกกดดันต่างๆ ผ่านเข้ามาอย่างรวดเร็ว เกิดความสับสน ไม่รู้จะทำตัวอย่างไร แต่ถ้าไม่สามารถเผชิญ (Coping) ได้ อาการจะอยู่เป็นเวลานานและพัฒนาไปขั้นที่รุนแรงขึ้น
พบได้ร้อยละ 50-60 มักเกิดในวันที่ 3-4 หลังคลอด
ภาวะซึมเศร้าหลังคลอด (Postpartum depression)
เป็นภาวะที่จิตใจหม่นหมอง หดหู่ ท้อแท้ หมดหวัง มองโลกในแง่ร้าย
ความรุนแรงของภาวะนี้ เริ่มตั้งแต่ความเหนื่อยหน่าย รู้สึกหมดหวัง
หมดอาลัยในชีวิต ต้องการหนีความล้าบากด้วยการฆ่าตัวตาย
ภาวะซึมเศร้า จะมีความรู้สึกรุนแรงกว่าอารมณ์เศร้า จะแสดงให้เห็นว่าพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปจากเดิม
พบได้ร้อยละ 10-24 มักเกิดหลายๆวันหรือเป็นสัปดาห์หลังคลอด
โรคจิตหลังคลอด (Postpartum psychosis)
เป็นปัญหาทางจิตที่เกิดขึ้นได้ในระยะหลังคลอด โดยมากพัฒนามาจากภาวะอารมณ์เศร้า และภาวะซึมเศร้าหลังคลอด ถ้าได้รับการดูแลเอาใจใส่ไม่ดีพอ หรือให้การรักษาพยาบาลล่าช้าเกินไป
พบได้ร้อยละ 0.1-0.2 มักเกิดในวันที่ 2-4 วัน หลังคลอด