Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การใช้กระบวนการพยาบาลในการดูแลมารดาที่มีปัญหาสุขภาพในระยะหลังคลอด, น.ส…
การใช้กระบวนการพยาบาลในการดูแลมารดาที่มีปัญหาสุขภาพในระยะหลังคลอด
มารดาที่มีการติดเชื้อหลังคลอด
การอักเสบเป็นหนองในอุ้งเชิงกราน คือ เชื้อเข้าทางช่องคลอดผ่านปากมดลูก เข้ามดลูก ปีกมดลูกกระจายเข้าสู่เยื่อบุช่องท้อง ติดเชื้อจากหลอดเลือดดำลามเข้าอุ้งเชิงกราน ขณะประเมินจะพบอาการ มีไข้สูงลอย หรือขึ้นๆลงๆ เบื่ออาหาร อาเจียน บางครั้งมีอุจจาระเหลว หนาวสั่น ชีพจรเบาเร็ว ซีด กดหน้าท้องไม่เจ็บถ้ามดลูกเข้าอู่แล้ว อาจมี Endotoxic shock อาจพบสัญญาณอันตราย เรียกว่า Cross of death แสดงว่าผู้ป่วยอยู่ในภาวะวิกฤต
การพยาบาล
การพยาบาลเมื่อมีอาการ
-จัดผู้ป่วยให้อยู่ในส่วนที่พักผ่อนได้ไม่แพร่เชื้อให้ผู้อื่น ดูแลรักษาแผล ให้ยาปฏิชีวนะ ดูแลแก้ไขอาการไม่สบายต่างๆ เช่น อาการปวด การลดไข้ การส่งเสริมให้น้ำคาวปลาไหลดี มดลูกเข้าอู่ปกติ จัดหาอาหารที่เหมาะสม ให้คำอธิบายในการดูแลตนเอง การดูแลเมื่อมีนมคัด การเสริมสร้างสัมพันธภาพมารดามารกและครอบครัว
การพยาบาลขณะมีอาการรุนแรง
-จัดสถานที่ให้เหมาะสม ไม่แพร่เชื้อ ดูแลให้สารน้ำและอาหารทางหลอดเลือดดำ เตรียมอุปกรณ์กู้ชีวิต แก้อาการท้องอืดโดยการใส่สายให้อาหารทางปาก ให้การพยาบาลตามอาการ ส่งเสริมให้กำลังใจทุกครั้ง แนะนำการปฏิบัติตน การดูแลตนเองเมื่อพ้นภาวะวิกฤต
การพยาบาลเพื่อป้องกันการติดเชื้อหลังคลอด
-การให้คำแนะนำในการรักษาสุขภาพ สุขวิทยาส่วนบุคคล การทำคลอดที่ถูกวิธีและเทคนิค
การประเมินบริเวณที่มีการติดเชื้อ ได้แก่ ประเมินฝีเย็บ การอักเสบของปากมดลูก เยื่อบุมดลูกอักเสบ ผนังมดลูกอักเสบ การติดเชื้อกระจายออกนอกมดลูก
ประเภทของการติดเชื้อ
1.การติดเชื้อเฉพาะที่ บริเวณบาดแผลที่อวัยวะสืบพันธุ์ภายนอก เช่น ฝีเย็บช่องคลอด
2.การติดเชื้อแพร่กระจาย การติดเชื้อลุกลามไปนอกมดลูก เมื่อมีการติดเชื้อที่อวัยวะสืบพันธุ์ภายนอกแล้วมีการแพร่กระจายไปยังบริเวณใกล้เคียง ทำให้อักเสบลุกลาม
คือ การติดเชื้อของระบบสืบพันธุ์สตรี ในระยะ ๖ สัปดาห์แรกหลัง คลอด หรือภายใน ๒๘ วันหลังแท้ง โดยมีอาการไข้ แหล่งที่มาของเชื้อส่วนมากเป็นการติดเชื้อแบคทีเรีย ปัจจัยส่งเสริมให้เกิดการติดเชื้อ ได้แก่ ภาวะโลหิตจาง ภาวะทุพโภชนาการ การได้รับการตรวจทางช่องคลอดบ่อยๆ เนื้อเยื่อทางช่องคลอดถูกระทบกระเทือน มีการบวมเลือด ตกเลือด มีรกค้าง
Mastitis
การวินิจฉัยจากอาการและอาการแสดง ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ โดยการเพาะเชื้อจากน้ำนมหรือของเหลวที่ออกจากหัวนม หากมีการอักเสบควรเพราะเชื้อจากหนองด้วย
การป้องกัน
1.รักษาความสะอาดของเต้านม มือ เสื้อผ้า ทำความสะอาดเต้านมก่อนและหลังให้นม
2.ล้างมือก่อนและหลังให้นม
3.ดูแลให้เต้านมว่าง กระตุ้นให้มารกดูดนมบ่อย ๆหรือบีบน้ำนมออกเก็บไว้ทุก 2-3 ชั่วโมง
4.ดื่มน้ำมาก ๆอย่างน้อย 3 ลิตรต่อวัน เพื่อช่วยการไหลเวียนและผลิตน้ำนม
5.สวมยกทรงที่พอดีกับเต้านม ไม่คับจนกดรัดเต้านมจนเกิดไป
อาการ ได้แก่ ไข้สูง ชีพจรเร็ว หนาวสั่น ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย เจ็บปวดบริเวณเต้านม ผิวหนังบริเวณเต้านมมีลักษณะแดง ตึง แข็ง เจ็บ อาจมีหนองหรือไม่มีก็ได้ ต่อมน้ำเหลืองรักแร้อาจโตและเจ็บ
แนวทางการรักษา
1.การให้ยาปฏิชีวนะ ถ้ายารักษาถูกต้อง อาการจะดีขึ้นอย่างรวดเร็ว
2.ในรายที่มีอาการอักเสบ แพทย์อาจผ่าเพื่อระบายหนองออก
3.ให้ยาแก้ปวดเพื่อบรรเทาอาการ
สาเหตุ ได้แก่ หัวนมแตก ถลอกหรือมีรอยแตก จากการบีบนวด
เต้านมมาก ๆ เต้านมคัดมาก ท่อนำนมอุดตัน จากการดูดนมของทารกที่มีเชื้อในจมูกและคอ
การพยาบาล
1.ตรวจลักษณะการอักเสบ แผล สิ่งคัดหลั่งต่างๆ
2.งดให้ทารกดูดนมข้างที่อักเสบ
3.ดูแลให้ได้รับยาปฏิชีวนะและยาแก้ปวดตามแผนการรักษา
4.ดูแลให้มารดาได้รับน้ำและอาหารอย่างเพียงพอ
5.ประคบอุ่นก่อนให้บุตรดูดนม หลังจากบุตรดูดนมแล้วอาจประคบด้วยน้ำแข็ง
6.ใสยกทรงพยุงเต้านมไว้
การติดเชื้อมักเกิดบริเวณเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน รอบ ๆเนื้อเยื่อต่อมน้ำนม การติดเชื้อมักเกิดภายนอกท่อน้ำนม ดังนั้นน้ำนมจึงไม่มีเชื้อปนเปื้อน การติดเชื้อมักเกิดในช่วง 2-3 สัปดาห์หลังคลอด ภาวะแทรกซ้อนของเต้านมอักเสบคือเต้านมเป็นฝี(Breast abcess)
Postpartum blue
สาเหตุ
1.จากการคลอด
2.ความเครียดทางกาย ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงมางสรีรวิทยาของร่างกายจากการคลอด การเสียเลือด การเปลี่ยนแปลงระดับฮอร์โมนของต่อมไร้ท่อ
3.ความเครียดทางจิตใจ
4.ความตึงเครียดจากสังคมและสิ่งแวดล้อม
การวินิจฉัย
การมีอารมณ์หงุดหงิด ความรู้สึกว่าตนเองไร้ค่า อารมณ์รุนแรงร้องไห้ง่าย .เหนื่อยล้า สับสน ฟุ้งซ่าน
อาการและอาการแสดง
อาการร้องไห้ง่ายไม่มีเหตุผล มีอารมณ์เศร้า หว้าเหว่ สับสนเดี๋ยวสุขเดี๋ยวทุกข์ จับต้นชนปลายไม่ถูก รู้แต่ว่าอยากร้องไห้ เมื่อร้องแล้วจะสบายขึ้น มีความรู้สึกกลัว เงียบขรึม อ่อนเพลีย นอนไม่หลับ ไม่อยากรับประทานอาหาร ลืมง่าย
ลักษณะของสตรีหลังคลอดที่มีแนวโน้ม ในการเกิดอารมณ์เศร้าหลัง คลอด
1.สตรีมีความระมัดระวังมาก ต้องการทำอะไรทุกอย่างที่สำเร็จงดงามสมบูรณ์แบบ เมื่อทำไม่ได้ จะรู้สึกผิดหวัง
2.สตรีมีความวิตกกังวลสูง มีความเครียดสูง
3.สตรีที่มีวุฒิภาวะไม่สมบูรณ์ ต้องพึ่งพามารดา มีอุปนิสัยเป็นเด็กทั้งๆที่อายุเป็นผู้ใหญ่แล้ว
เป็นการปรับตัวทางจิตใจและอารมณ์ที่ผิดปกติชนิดไม่รุนแรงในระยะหลังคลอด เนื่องจากในระยะหลังคลอดมารดาจะมีอารมณ์แปรปรวนง่าย เพรามีความรู้สึกกดดันต่าง ๆ ซึ่งทำให้เกิดความสับสน ไม่รู้จะทำตัวอย่างไร ถ้าไม่สามารถเผชิญได้อาการจะเป็นอยู่เวลานาน และพัฒนาไปขั้นที่รุนแรงขึ้น
แนวทางการพยาบาล
ไม่มีวิธีการแน่นอน เนื่องจากเป็นอาการที่หายเองได้ สิ่งที่สำคัญ คือ การประคับประคองทางอารมณ์และจิตใจ ให้สามารถปรับตัวได้อย่างรวดเร็ว โดยการอธิบายกลไกการเกิดอาการ การช่วยเหลือตนเอง การช่วยเหลือจากสมาชิกในครอบครัว โดยเฉพาะคนที่มารดารักและยึดเป็นที่พึ่ง จะช่วยให้มารดาคลายเครียดและสามารถปรับตัวๆได้อย่างมีประสิทธิภาพ
Postpartum depression
ประเภทของสตรีที่มีแนวโน้ม
1.มารดาที่เคยมีภาวะซึมเศร้าในระยะตั้งครรภ์
2.มารดาที่มีประสบการณ์สูญเสีย ในช่วงเวลาสองปีก่อนคลอด
3.มีประสบการณ์การเปลี่ยนแปลงในชีวิต ที่เกี่ยวกับการสูญเสีย เช่น การเสียหน้าที่ ตำแหน่งในการทำงาน
สาเหตุ
1.ความเครียดทางกาย การเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาจากการคลอด การมีเลือดออก มีน้ำคาวปลา เจ็บปวดเต้านม การเปลี่ยนแปลงทางฮอร์โมน ประสบการณ์การคลอดลำบาก การบาดเจ็บจากการคลอด
2.ความเครียดทางจิตใจ เช่น มีปัญหายุ่งยากในชีวิตคู่สมรส การตั้งครรภ์ที่ไม่ปรารถนา ขาดคนพึ่งพา วิตกกังวล มีความเจ็บป่วยทางจิต
3.ความตึงเครียดทางสังคมและสิ่งแวดล้อม การมีปัญหาเศรษฐกิจ ความยากจน สามีตกงาน มีความกังวลในการหาเงินเลี้ยงดูบุตร
อาการ
จะเริ่มจากอาการนำ คือ นอนไม่หลับ ร้องไห้โดยไม่มีเหตุผล อาการซึมเศร้าแบ่งได้ 3 ระดับ ดังนี้
ระยะ 1 เกิดในช่วงหลังคลอด วันที่ 3-10 ซึมเศร้า ฝันร้าย รู้สึกเสียใจ สูญเสีย เกิดจากความตื่นเต้นในการคลอด
ระยะ 2 เกิดในช่วง 1-3 เดือนหลังคลอด การมีบทบาทหน้าที่เพิ่มขึ้น มารดามีอาการอ่อนเพลีย อดนอน
ระยะ 3 เกิดในระยะเวลา 1 ปี หลังคลอดมารดารู้สึกอยกาทำหน้าที่ให้ดีที่สุด แต่ก็อ่อนล้าเหลือที่จะทนได้ ทำให้เกิดอารมณ์แปรปรวนไม่คงที่
การพยาบาล
1.ดูแลให้มารดาได้รับการพักผ่อนอย่างเพียงพอ
2.ดูแลให้มารดาได้รับความสุขสบายด้านร่างกาย บรรเทาอาการเจ็บปวด
3.ให้ความสนใจ สร้างสัมพันธภาพที่ดีแก่มารดา พูดคุยให้การเอาใจใส่
4.ให้คำแนะนำในการปฏิบัติตน การเลี้ยงดูบุตร ควรใช้คำพูดง่ายๆ เข้าใจง่าย
5.ให้กำลังใจมารดาสม่ำเสมอ ด้วยการชมเชย
6.ให้การช่วยเหลือมารดาในการดูแลทารกทันทีที่พบว่ามารดา เริ่มมีความยุ่งยากในการดูแลบุตร
7.ในรายที่มีอาการรุนแรง พยาบาลควรเพิ่มความสังเกต ดูแลอย่างใกล้ชิดเพื่อป้องกันการฆ่าตัวตาย
8.จัดให้มารดาได้เข้ากลุ่มทำกิจกรรมร่วมกับมารดารายอื่นๆ
ภาวะซึมเศร้าหลังคลอด เป็นภาวะที่จิตใจหม่นหมอง หดหู่ เศร้าสร้อย ร่วมกับรู้สึกท้อแท้ หมดหวัง ความรุนแรงของภาวะนี้ เริ่มตั้งแต่เหนื่อยง่าย ท้อแท้ไปจนรู้สึกหมดหวัง ต้องการหนีความลำบากด้วยการฆ่าตัวตาย ภาวะซึมเศร้าจะรุนแรงกว่าอารมณ์
Subinvolution
อาการและอาการแสดง
น้ำคาวปลาออกมากกว่าปกติ มีสีแดงตลอด มีกลิ่นเหม็น มดลูกนุ่มและใหญ่กว่าปกติ ระดับยอดมดลูกไม่ลดลง กดเจ็บหรือมีอาการปวดมดลูก มีไข้ อาจเกิดการตกเลือดระยะหลัง
การป้องกัน
1.ตรวจรกว่ารกคลอดครบหรือไม่
2.ส่งเสริมให้น้ำคาวปลาไหลได้สะดวก เช่น กระตุ้นให้ลุกจากเตียง โดยเร็ว นอนคว่ำ หลีกเลี่ยงภาวะท้องผูก
3.ส่งเสริมการเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดา
สาเหตุ
1.ภาวะที่ทำให้มดลูกหดรัดตัวไม่ดี ได้แก่ มีเศษรกค้าง มีก้อนเนื้องอกในมดลูก หญิงหลังคลอดครรภ์หลังที่มีการตึงตัวของกล้ามเนื้อมดลูกไม่ดี กระเพาะปัสสาวะเต็ม ผนังมดลูกถูกยืดขยายมากจากครรภ์แฝด
2.การผ่าตัดคลอด
3.ทารกไม่ได้ดูดนมมารดา
4.มีการติดเชื้อภายในมดลูก
5.มดลูกคว่ำหน้าหรือคว่ำหลังมาก
การพยาบาล
1.มารดาหลังคลอดอาจต้องนอนโรงพยาบาล เพื่อให้ยาปฏิชีวนะ หากพบว่ามีการติดเชื้อร่วมด้วย
2.ถ้าไม่มีการติดเชื้อร่วมด้วย แพทย์อาจให้ยากระตุ้นการหดรัดตัวของมดลูก จึงต้องประเมินระดับยอดมดลูกทุกวัน
3.ในกรณีที่เกิดจากมีรกค้าง แพทย์จะทำการขูดมดลูกเพื่อเอาเศษรกออก
4.แนะนำให้มารดาพักผ่อนอย่างเพียงพอ การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ การส่งเสริมให้น้ำคาวปลาไหลได้สะดวก การรักษาความสะอาดของอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอก
คือ ภาวะมดลูกไม่เข้าอู่ เป็นภาวะที่ขบวนการกลับคืนสู่สภาพเดิมของมดลูกใช้เวลานานหรือขบวนการนั้นหยุดไปก่อนที่มดลูกจะกลับคงอยู่สภาพเดิมอย่างสมบูรณ์
Hematoma
อาการและอาการแสดง:ถ้ามีการบวมเลือดบริเวณช่องทางคลอด มารดาจะรู้สึกเจ็บปวดบริเวณฝีเย็บหรือทวารหนักมากหลังคลอด แต่ถ้าเกิดการบวมเลือดบริเวณอื่นๆ มารดาก็มีอาการปวดบริเวณนั้นตามแรงกดของก้อนเลือด หากก้อนเลือดมีขนาดใหญ่ก็จะทำให้มารดาเกิดภาวะตกเลือดตามมาได้
สาเหตุ
1.เกิดจากการบาดเจ็บจากการคลอดในรายที่คลอดเองหรือทำสูติหัตถการ
2.การเย็บซ่อมแซมแผลฝีเย็บหรือแผลฉีกขาดที่ฝีเย็บไม่ดี
3.การบีบคลึงมดลูกรุนแรง ทำให้เลือดคลั่งใต้เยื่อบุช่องท้องและใน broad ligament
การบวมเลือดหรือก้อนเลือดคั่ง บริเวณปากช่องคลอดและช่องคลอดอาจเกิดจากการคลอด แต่ถ้าไม่เกี่ยวข้องกับการคลอด มักเกิดจากการกะทบกระแทกบริเวณนี้ เช่น การขี่จักรยาน การตกลงมาจากที่สูง หรือก้อนเลือดคั่งนี้อาจเกิดจากการแตกของเส้นเลือดขอดดำ บริเวณนี้ โดยเฉพาะช่วงตั้งครรภ์แก่หรือหลังคลอด
การพยาบาล
1.ป้องกันการบวมเลือดในรายที่มีความเสี่ยง โดยวางกระเป๋าน้ำแข็งที่ฝีเย็บชั่วโมงแรกหลังคลอด
2.ถ้าเกิดก้อนเลือดบวม พยาบาลต้องประเมินขนาดของก้อนเลือด
3.ก้อนเลือดขนาดเล็ก ให้ประคบเย็นเพื่อลดอาการบวม แต่ถ้าก้อนเลือดขนาดใหญ่อาจต้องผ่าตัด
4.ให้การดูแลตามอาการ เช่น บรรเทาอาการปวด
Postpartum psychosis
อาการ
อาการมักพบได้เร็ว มีอาการรุนแรงทันที อาการนำ ได้แก่ นอนไม่หลับ กระสับกระส่าย หงุดหงิดง่าย อารมณ์ไม่แน่นอน วิตกกังวลอย่างมาก อาการต่อมา คือ สับสน จำเวลา สถานที่ บุคคลไม่ได้ สมาธิเสีย พูดเพ้อเจ้อ เบื่ออาหาร มีท่าทางแปลกๆ ร้องไห้คร่ำครวญ หลงผิด
ถ้าอาการผ่านไปไม่ได้รับการรักษา จะเริ่มมีอาการโรคจิต ประเภทใดประเภทหนึ่ง ได้แก่ จิตเภท โรคจิตซึมเศร้า โรคจิตเนื่องจากสมองพิการ
การรักษา
1.การรักษาทางกาย ได้แก่ การใช้ยา การช็อคไฟฟ้า
2.การรักษาทางจิตโดยใช้จิตบำบัด
3.การรักษาโดยการแก้ไขสิ่งแวดล้อม ได้แก่ การให้สามีเข้าใจความผิดปกติทางจิตของภรรยา อธิบายให้ทราบแนวทางการรักษา ให้เอาใจใส่ให้กำลังใจ ขณะเดียวกันญาติช่วยเหลือเลี้ยงดูบุตร ทำงานบ้านชั่วคราวเพื่อแบ่งเบาภาระ ให้มารดาได้มีเวลาพักผ่อนบ้าง ถ้าเป็นไปได้ไม่ควรแยกบุตรจากมารดา
โรคจิตหลังคลอด เป็นปัญหาทางจิตที่เกิดขึ้นได้ในระยะหลังคลอด โดยมากพัฒนามาจากภาวะอารมณ์ซึมเศร้าและภาวะซึมเศร้าหลังคลอด สาเหตุคล้ายกับการเกิดภาวะซึมเศร้าหลังคลอด แต่มีสาเหตุสำคัญอีกประการหนึ่ง คือ ลักษณะเฉพาะตัวของมารดาเอง เช่น มารดาที่มีแนวโน้มจะป่วยทางจิตอยู่แล้ว หรือมีประวัติญาติป่วยเป็นโรคจิตและมารดาที่มีบุคลิกภาพแปรปรวนอยู่ก่อน
การพยาบาล
1.ดูแลให้มารดาได้รับความสุขสบายและมีสุขอนามัยที่ดี
2.ให้มารดา สามีและญาติเข้าใจการวินิจฉัยและแผนการรักษา
3.ดูแลให้มารดาได้รับการรักษาที่เหมาะสม
4.ส่งเสริมความสามารถในการดำรงบทบาทการเป็นมารดา และสัมพันธภาพที่ดีในครอบครัว เช่น ดูแลสุขอนามัย ความสะอาด จัดอาหารที่เหมาะสม ให้สมาชิกในครอบครัวได้พูดคุยกัน ให้ความใกล้ชิด เป็นกันเอง แนะนำการคุมกำเนิดให้มารดาและสามีเลือกใช้ ส่งต่อผู้ป่วยให้หน่วยบริการรอนามัยชุมชนดูแลต่อไป แนะนำการตรวจสุขภาพตามนัด
น.ส.วรินรัตน์ สว่างศรี เลขที่ 85(603101086)