Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
กระบวนการพยาบาลในการดูแลมารดาที่มีปัญหาสุขภาพในระยะหลังคลอด,…
กระบวนการพยาบาลในการดูแลมารดาที่มีปัญหาสุขภาพในระยะหลังคลอด
การอักเสบเป็นหนองในอุ้งเชิงกราน (Parametritis)
อาการ
มีไข้สูงลอย หรือขึ้นๆลงๆ เบื่ออาหาร อาเจียน บางครั้งมีอุจจาระเหลว มีอาการหนาวสั่น ชีพจรเบาเร็ว ซีด อาจมี Endotoxic shock กดหน้าท้องไม่เจ็บถ้ามดลูกเข้าอู่แล้ว น้ำคาวปลาอาจไม่มากอาจคลำได้ก้อนทางหน้าท้อง ทวานหนัก หรือในช่องคลอด อาจเจ็บข้างเดียวหรือ 2 ข้าง อาจพบสัญญาณอันตราย เรียกว่า Cross of death
การวินิจฉัยการพยาบาล
ขาดความรู้ในการดูแลตนเอง
มีความวิตกกังวลเกี่ยวกับอาการป่วย
มีอาการปวดท้องรุนแรง
มีภาวะเสี่ยงต่อการหมดสติจากพยาธิสภาพของโรค
ไม่มามารถเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดาได้
การวางแผนการพยาบาล
มารดาไม่สามารถปฏิบัติตนเพื่อลดความเจ็บปวดได้
ผู้ป่วยและครอบครัวสามารถเผชิญปัญหาหรือปรับตัวต่อภาวะการเจ็บป่วยได้
มารดาสามารถเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดาได้
กิจกรรมการพยาบาล
การะยาบาลเพื่อการติดเชื้อ
การให้คำแนะนำในการรักษาสุขภาพ สุขวิยาส่วนบุคคล
การทำคลอดที่ถูกวิธีและเทคนิค
การพยาบาลเมื่อมีอาการ
จัดสิ่งแวดล้อม ให้ผู้ป่วยได้พักผ่อนและลดการแพร่กระจายเชื้อ
ทำแผล ระบายหนอง
ช่วยให้ได้พักผ่อน อำนวยความสะดวก
ดูแลแก้ไขความไม่สุขสบาย
จัดอาหารที่เหมาะสมและมีประโยชน์
ให้คำอธิบายในการดูแลตนเอง
การพยาบาลขณะมีอาการรุนแรง
จัดสิ่งแวดล้อมให้สะดวกและลดการแพร่กระจายเชื้อ
ดูแลให้ได้รับสารน้ำและอาหารทางหลอดเลือด
เตรียมอุปกรณ์กู้ชีวิต
แก้ไขอาการท้องอืด โดยใส่ NG Tube เพื่อดูดก๊าซ
ให้การพยาบาลตามอาการ
แนะนำการปฏิบัติตนหลังพ้นภาวะวิกฤต
เต้านมอักเสบ (Mastitis)
การติดเชื้อมักเกิดขึ้นจากเนื้อเยื่อเกี่ยวพันรอบๆเนื้อเยื่อต่อมน้ำนม การติดเชื้อมักเกิดภายนอกท่อน้ำนมดังนั้นน้ำนมจึงไม่มีเชื้อปนเปื้อน แต่ถ้าอาการรุนแรงขึ้นมีการแตกของ่อน้ำนม จะทำให้มีเชื้อปนเปื้อนในน้ำนมได้
สาเหตุ
หัวนมแตกหรือถลอก การบีบนวดเต้านมมากๆ เต้านมคัดตึงมาก ท่อน้ำนมอุดตัน การดูดนมของทารกที่มีเชื้อในจมูกและคอ
อาการ
ไข้สูง 38.5-40 องศาเซลเซียส ชีพจรเร็ว หนาวสั่น ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย เจ็บปวดบริเวณเต้านม รู้สึกเต้านมหนักๆ ผิวหนังบริเวณเต้านมมีลักษณะ แดง ตึง แข็ง เจ็บ ปวด ผิวหนังนุ่ม เป็นมันอาจมีหนองหรือไม่มีหนองไหล ต่อมน้ำเหลืองที่รักแร้อาจโตและเจ็บ
การวินิจฉัย
อาการและอาการแสดง
ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ โดยการเพาะเชื้อจากน้ำนม
แนวทางรักษา
ระบายหนองและอัดแผลด้วยผ้าก๊อซ
ให้ยาแก้ปวด
การให้ยาปฏิชีวนะ
การป้องกัน
รักษาความสะอาดของเต้านม มือ เสื้อผ้า
ล้างมือก่อน-หลังให้นม
ดูแลให้เต้านมว่าง
ดื่มน้ำมากๆอย่างน้อย 3 ลิตร
สวมเสื้อยกทรงที่พอดีกับเต้านม
การพยาบาล
ตรวจลักษณะการอักเสบ แผล สิ่งคัดหลั่งต่างๆ
งดให้นมบุตรข้างที่อักเสบ
ดูแลให้ได้รับยาปฏิชีวนะและยาแก้ปวด
ดูแลให้มารดาได้รับน้ำและอาหารอย่างเพียงพอ
ประคบร้อนก่อนให้นมบุตรดูดนม
ใส่ยกทรงพยุงเต้านมไว้
การบวมเลือดหรือก้อนเลือดคั่ง (Hematoma)
บริเวณปากช่องคลอดและช่องคลอดอาจเกิดจากการคลอด แต่ถ้าไม่เกิดจากการคลอด มักเกิดจากการกระทบกระแทกบริเวณนั้น
สาเหตุ
เกิดจากการบาดเจ็บบริเวณนั้น การเย็บซ่อมแซม แผลฉีกขาด การบีบคลึงมดลูกรุนแรง
อาการและอาการแสดง
รู้สึกเจ็บปวดบริเวณฝีเย็บหรือทวารหนัก หากมีก้อนเลือดใหญ่จะมีการตกเลือดตามมา
การพยาบาล
ป้องกันโดยการวางกระเป๋าน้ำแข็งที่ฝีเย็บในชาวโมงแรกหลังคลอด
ประเมินขนาดก้อนเลือดตั้งแต่แรกเพื่อใช้เปรียบเทียบอาการ
ก้อนเลือดขนาดเล็กให้ประคบเย็น เพื่อลดอาการบวมและติดตามประเมินขนาดก้อนเลือด
ให้การดูแลตามอาการ
ภาวะมดลูกไม่เข้าอู่ (Subinvolution)
กระบวนการกลับคืนสู่สภาพเดิมของมดลูกใช้เวลานานหรือขบวนการนั้นหยุด
สาเหตุ
ภาวะที่มดลูกไม่หดรัดตัว การผ่าตัดคลอด ทารกไม่ได้ดูดนมมารดา มีการติดเชื้อภายในมดลูก มดลูกคว่ำหน้าหรือคว่ำหลังมาก
อาการและอาการแสดง
น้ำคาวปลาออกมากกว่าปกติ มีสีแดงตลอด มีกลิ่นเหม็น
มดลูกนุ่มและใหญ่กว่าปกติ
มีไข้
อาจเกิดการตกเลือดระยะหลัง
การป้องกัน
ตรวจว่ารกคลอดครบหรือไม่
ส่งเสริมให้น้ำคาวปลาไหลได้สะดวก
ส่งเสริมการเลี้ยงดูบุตรด้วยนมมารดา
การพยาบาล
ต้องให้นอน รพ. เพื่อให้ยาปฏิชีวนะ
ถ้าไม่มีการติดเชื้อร่วมด้วย แพทย์อาจให้ยากระตุ้นการหดรัดตัวของมดลูก
ถ้ารกค้าง แพทยืจะทำการขูดมดลูกเพื่อเอาเศษรกออก
แนะนำให้พักผ่อนอย่างเพียงพอ
การพยาบาลมารดารที่มีภาวะจิตแปรปรวนหลังคลอด
อารมณ์เศร้าหลังคลอด (Postpartum blue)
เป็นการปรับตัวทางจิตใจและอารมณ์ที่ผิดปกติชนิดไม่รุนแรงในระยะหลังคลอด
อาการและอาหารแสดง
ร้องไห้ง่ายไม่มีเหตุผล ไม่มีสาเหตุ มีอารมณ์เศร้า เหงา หว้าเหว่ สับสนเดี๋ยวทุกข์เดี๋ยวเศร้า จับต้นชนปลายไม่ถูก กลัว เงียบขรึม อ่อนเพลีย นอนไม่หลับ กระสับกระส่าย ไม่อยากรับประทานอาหาร ลืมง่าย ไม่มีสมาธิหายเองได้ใน 2-3 สัปดาห์
สาเหตุ
1.จากการคลอด ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงมากมายทั้งทางกายและจิตสังคมหลายประการเกินกว่าที่มารดาจะรับได้ในเวลารวดเร็ว
2.ความเครียดทางกาย (Biological stress)
2.2 การเปลี่ยนแปลงระยะหลังคลอดฮอร์โมนของต่อมไร้ท่อ (Endocrine change) จากการมีโปรเจสเตอโรนสูงในระยะตั้งครรภ์ หลังคลอดมีการลดลงอย่างรวดเร็ว คาดว่าเป็นสาเหตุหนึ่งของอารมณ์เศร้าหลังคลอด ร่วมกับการมีระดับของ Estradiol และ Prolactin ที่เพิ่มขึ้นด้วย
2.1 การเปลี่ยนแปลงทางสรีรของร่างกายจากการคลอด การเสียเลือด เนื้อเยื่อได้รับความบอบช้ำ การคลอดลำบากใช้เวลานาน ตวามเจ็บปวดมาก ทำให้ Vital organs ทำงานมากกว่าปกติ เกิดภาวะ Physical exhaustion และการนอนไม่พอในระยะหลังคลอด
3.ความเครียดทางจิตใจ (Psychological stress) ได้แก่ภาวะวิกฤตในระยะหลังคลอด (Crisis) การเปลี่ยนแปลงในบทบาทการเป็นภรรยา (Role behavior) และการเป็นมารดา (Matherliness) ความขัดแย้งในการดำรงชีวิตประจำวัน (Conflict) การรู้สึกสูญเสีย (Loss) เป็นต้น
4.ความตึงเครียดจากสังคมและสิ่งแวดล้อม (Social and environment stress) โดยมากมักเกิดกับทางกายจาการการตระหนักกับความรู้สึกของคนอื่น เช่น สามี ญาติผู้ใหญ่ความผิดหวังในเพศของบุตร ความเสียใจ ความไม่พอจากญาติ ความรู้สึกเป็นปมด้อย การต้องรับภาวะต่างๆ ก่อนวัยอันควร เช่นมารดาวัยรุ่น เป็นต้น
การวินิจฉัย
อารมณ์หงุดหงิด เดี๋ยวดีเดี๋ยวร้าย
รู้สึกว่าตนเองไร้ค่า วิตกกังวล
อารมณ์รุนแรง
ร้องไห้ง่าย
เหนื่อยล้า
สับสน ฟุ้งซ่าน
แนวโน้ม
สตรีมีความระวัดระวังมากต้องการทำอะไรทุกอย่างให้สำเร็จงดงามสมบูรณ์แบบ (Perfectionist)
สตรีที่มีความวิตกกังวลสูง (The anxious)
สตรีที่มีวุฒิภาวะไม่สมบูรณ์ (Immaturity)
การพยาบาล
ไม่มีวิธีการที่แน่นอน เนื่องจากเป็นอาการที่หายได้เอง สิ่งสำคัญคือ การประคับประคองด้านร่างกายและจิตใจ
ภาวะซึมเศร้าหลังคลอด (Postpartum Depression)
เป็นภาวะที่จิตใจหม่นหมอง หดหู่ เศร้าสร้อย ร่วมกับรู้สึกท้อแท้ หมดหวัง มองโลกในแง่ร้าย ความรุนแรงเริ่มตั้งแต่ รู้สึกเบื่อหน่าย ท้อแท้ไปจนถึงความรู้สึกหมดหวัง หมดอาลัยชีวิต ต้องการหนีความลำบากด้วยการฆ่าตัวตาย
อาการ
มีอาการท้อแท้ สิ้นหวัง มองโลกในแง่ร้าย ไม่สบอารมณ์ไปทั้งหมด ทั้งคนและสิ่งแวดล้อม
มีท่าทางเหนื่อยอ่อน หมดแรง ถ้ารุนแรงจะคิดช้า พูดช้า ทำงานช้า ขาดความคิดสร้างสรรค์
มีความรู้สึกว่าตนไร้ค่าไม่มีความหมาย
จิตใจหดหู่หม่นหมอง ไม่มีความสุข
มีอาการจุกแน่นในอก และคอ
นอนไม่หลับ หรือนอนทั้งวัน ฝันร้าย
รับประทานอาหารได้น้อย เบื่ออาหาร น้ำหนักอาจเพิ่มหรือลด
ย้ำคิด กังวล กลัวถูกทำร้าย ควบคุมอารมณ์ไม่ได้ เมื่อบึชุตรร้องไม่หยุด หรือไม่ยอมดูดนม ร้องไห้คร่ำครวญว่าเป็นแม่ที่ไม่ดี
หลงลืม ไม่มีสิทธิ ไม่มีความรู้สึกทางเพศ ไม่สนใจตนเอง
ระยะ
ระยะที่ 2 เกิดในช่วง 1-3 เดือนหลังคลอด จากการที่มารดาพยายามรวมทารกเข้าป็นสมาชิกในครอบครัว พยาบามสนองความต้องการของบุตร ขณะเดียวกันมารดาต้องปรับตัวต่อการเป็นมารดา
ระยะที่ 3 อาจเกิดได้ในระยะเวลา 1 ปี หลังคลอด จากการที่พยายามอย่างท่สุดในการปรับตัว แต่ก็ยังรู้สึกสองฝักสองฝ่าย ต่อการเป็นมารดา ความรู้สึกอยากทำหน้าที่ให้ดีที่สุด แต่ก็อ่อนล้ากว่าที่จะทำได้
ระยะที่ 1 เกิดในระยะแรกหลังคลอด วันที่ 3-10 มีอาการซึมเศร้า ฝันร้าย รู้สึกเสียใจ สูญเสีย เกิดจากความตื่นเต้นในการคลอด
สาเหตุ
1.ความเครียดทางกาย (Biological stress)
1.1 การเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยา จากการคลอด การมีเลือดออก การมีน้ำคาวปลา น้ำนมไหล เจ้บปวดเต้านม ความเหนื่อยล้าจากการคลอดลำบาก การเจ็บป่วยหลังคลอด
1.2 การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน ได้แก่ การลดลงของ Progesterone และ Estrogen
1.3 ประสบการณ์การคลอดลำบาก
2.ความเครียดทางจิตใจ (Psychological stress)
2.1 มีปัญหาความยุ่งยากในชีวิตสมรส เป็นหม้าย
2.2 การตั้งครรภ์ที่ไม่ปราถนา
2.3 ขาดความช่วยเหลือพึ่งพา
2.4 วิตกกังวล กลัวบุตรพิการ
2.5 กลังวลเกี่ยวกับบทบาทการเป็นมารดา
2.6 มีความเจ็บป่วยทางจิต
3.ความตึงเครียดทางสังคมและสิ่งแวดล้อม (Social stress)
ปัญหาเศรษฐกิจ ความยากจน
แนวโน้ม
มารดาที่เคยมีภาวะซึมเศร้าในระยะตั้งครรภ์
มารดาที่มีประสบการณ์การสูญเสีย
มีประสบการณ์การเปลี่ยนแปลงในชีวิต
การพยาบาล
1.การรประเมินข้อมูล (Assessment) อาการและอาการแสดง ตลอดจนประวัติและบุคลิกภาพที่ผู้ป่วยแสดงออก
2.การกำหนดการวินิจฉัยการพยาบาล (Nursing diagnosis)
2.1 มีภาวะเสี่ยงต่อการเกิดภาวะซึมเศร้าหลังคลอด เนื่องจากไม่ได้รับความสุขสบายทางกายและนอนไม่พอ เนื่องจากมีแผลจากการคลอดและบุตรร้องกวนเกือบตลอดเวลา
2.2 มีภาวะเสี่ยงต่อการเกิดภาวะซึมเศร้าหลังคลอดเนื่องจากการขาดการดูแลเอาใจใส่จากสามีและญาติ
2.3 มีภาวะเสี่ยงต่อการเกิดภาวะซึมเศร้าหลังคลอดรุนแรงเนื่องจากไม่สามารถปรับตัวในการเป็นมารดาได้
3.การวางแผนการพยาบาล (Planning)
3.1 ให้มารดาได้รับความสุขสบายทางกาย และได้รับการนอนหลับพักผ่อนได้อย่างเพียงพอ
3.2 ส่งเสริมให้มารดาได้รับการประคับประคอง ดูแลเอาใจใส่ จากสามีและญาติ
3.3 ส่งเสริมให้กำลังใจในการแสดงบทบาทการเป็นมารดา
3.4 อำนวยความสะดวกให้มารดาได้รับการดูแล รักษาบำบัดภาวะซึมเศร้าอย่างเหมาะสม
4.แนวทางในการกำหนfกิจกรรมการพยาบาล (Implementation)
4.1 ให้ความสนใจ สร้างสัมพันธภาพที่ดี แก่มารดา พูดคุยให้การดูแลเอาใจใส่สม่ำเสมอด้วยท่าทีเป็นมิตร เพื่อสร้างสัมพันธภาพให้เกิดความไว้วางใจ
4.2 ดูแลช่วยเหลือมารดาในการดูแลทารก โดยให้มารดามีส่วนร่วม เพื่อสร้างความพร้อมในการเป็นมารดา
4.3 ดูแลให้มารดาหลังคลอดได้รับการพักผ่อนที่เพียงพอ โดยนำบุตรไปเลี้ยงให้ในเวลากลางคืน ให้มารดาดูแลในเวลากลางวัน เพื่อให้มารดาได้มีโอกาสนอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอ
4.4 แนะนำการปฏิบัติตน และการเลี้ยงดูบุตรแก่มารดา ด้วยการใช้คำพูดง่ายๆ เข้าใจง่าย เพื่อให้มารดาไม่เกิดความสับสน
4.5 ให้กำลังใจมารดาสม่ำเสมอ ด้วยการชมเชย เมื่อมารดาสามารถปฏิบัติหรือดูแลทารกได้ถูกต้อง เพื่อเสริมสร้างความมั่นใจ
4.6 จัดให้มารดาเข้ากลุ่มทำกิจกรรมร่วมกับมารดารายอื่นๆ ที่มีปัญหาคล้ายกัน ให้ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เพื่อให้เกิดความรู้สึกอบอุ่นไม่ว้าเหว่
4.7 ดูแลให้มารดาได้รับความสุขสบายทางด้านร่างกาย
4.8 ในรายที่มีอการรุนแรง พยาบาลควรเพิ่มการสังเกต ดูแลอย่างใกล้ชิด
โรคจิตหลังคลอด (Postpartum psychosis)
มักพัฒนามาจากภาวะอารมณ์เศร้าและภาวะซึมเศร้าหลังคลอด
สาเหตุ
คล้ายกับการเกิดภาวะซึมเศร้าหลังคลอด
อาการ
อาการมักพบได้เร็ว มีอาการรุนรงทันที อาการนำได้ อาการนอนไม่หลับ กระสับกระส่าย หงุดหงิด อารมณ์ไม่แน่นอน วิตกกังวลอย่างมาก อาการต่อมา คือ สับสน จำเวลา บุคคล สถานที่ไม่ได้ ความจำเสื่อม สมาธิเสีย วุ่นวายพูดเพ้อเจ้อ มีท่าทางแปลกๆ ร้องไห้คร่ำครวญ หลงผิด หวาดระแวง ประสาทหลอน หูแว่ว บางรายซึม เบื่ออาหาร มีความคิดว่าบุตรจะถูกแย่ง ถูกขโมย ตำหนิตนเอง ลงดทษว่าตนเองไม่ดี คิดและพยายามฆ่าตัวตาย
การรักษา
การรักษาทางกาย ได้แก่ การใช้ยา และการช็อคไฟฟ้า
การรักษาทางจิตโดยใช้จิตบำบัด
กรรักษาโดยการแก้ไขสิ้ฃ่งแวดล้อม
การพยาบาล
1.การรประเมินข้อมูล (Assessment) การปฏิบัติกิจวัตรประจำวันสัมพันธภาพที่มีต่อกัน โดยเฉพาะระหว่างสามีภรรยา วิธีการแก้ปัญหาในครอบครัว ความสามารถในการช้วยเหลือซึ่งกันและกัน
2.การวินิจฉัยการพยาบาล (Nursing diagnosis) ขึ้นอยู่กับข้อมูลปัญหาที่ประเมินได้
3.การวางแผนการพยาบาล (Planning)
3.2 ให้มารดา สามี และญาติเข้าใจการวินิจฉัยและแผนการรักษา
3.3 ให้มารดาได้รับการรักษาที่เหมาะสม
3.1 ให้มารดาได้รับความสุขสบายและมีสุขอนามัยที่ดี
3.4 ส่งเสริมความสามารถในการดำรงบทบาทการเป็นมารดา และสัมพันธภาพที่ดีในครอบครัว
4.การประเมินผล (Evaluation) มารดาสามารถปฏิบัติกิจวัตรประจำวันด้วยตนเอง มารดา สามี และญาติสัมพันธภาพที่ดีต่อกัน มารดาได้รับความปลอดภัย และได้รับการรักษาที่เหมาะสม
มารดาที่มีการติดเชื้อหลังคลอด
ประเภท
การติดเชื้อเฉพาะที่ เป็นการติดเชื้อที่บริเวณบาดแผลที่อวัยวะสืบพันธุ์ภายนอกหรือภายใน
การติดเชื้อแพร่กระจาย การติดเชื้อลุกลามไปนอกมดลูก
อาการ
ไข้หลังคลอด อุณหภูมิสูงถึง 38 องศาเซลเซียส ติดต่อกัน 2 วัน ในช่วง 10 วันแรก
การพยาบาล
ประเมินข้อมูล (Assessment)
ประเมินบริเวณที่มีการติดเชื้อ
-ฝีเย็บ ตามหลัก REEDA
-การอักเสบของมดลูก
-เยื่อบุมดลูกอักเสบ
-ผนังมดลูกอักเสบ
-การติดเชื้อกระจายออกนอกมดลูก
ปัจจัยส่งเสริมให้เกิดการติดเชื้อหลังคลอด
-ภาวะโลหิตจาง ภาวะทุพโภชนาการ ฐานะไม่ดี สุขวิทยาไม่ดี ถุงน้ำแตกนานกว่า 12 ชม.หรือน้ำเดินก่อนกำหนด 24 ชม. การคลอดยาวนาน
-ตรวจทางช่องคลอดบ่อยๆ ไม่ระวังเทคนิคปราศจากเชื้อ
-เนื้อเยื่อช่องทางคลอดถูกกระทบกระเทือน
-Hematoma
-มีการตกเลือดมากกว่า 1000 cc
-รกค้าง
นางสาวเจนอักณน รังพงษ์ เลขที่ 13 รหัส 603101013