Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Eating disorders (ผู้ป่วยที่มีความผิดปกติด้านการกิน) - Coggle Diagram
Eating disorders
(ผู้ป่วยที่มีความผิดปกติด้านการกิน)
เป็นโรคเกี่ยวกับพฤติกรรมที่มีความผิดปกติด้านการรับประทานอาหารทำให้มีน้ำหนักมาก หรือน้อยกว่าปกติอย่างชัดเจน ซึ่งมีผลกระทบต่อสุขภาพจนอาจทำให้เสียชีวิตได้ โดยเป็นโรคที่มีอัตราการเสียชีวิตสูงที่สุด
ของโรคทางจิต
Bulimia
การวินิจฉัยโรค
มีการกลับมาซ้ำๆ ของอาการกินไม่หยุด ไม่หิวก็กินมาก (binge eating) ซึ่งอาการกินไม่หยุดมีลักษณะดังนี้
1.1 การกินในช่วงเวลาที่แยกกันโดยสิ้นเชิง (เช่นภายใน ช่วงเวลา 2 ชั่วโมง) จำนวนของอาหารที่มีมากกว่าคนทั่วไป จะกินในช่วงเวลาที่คล้าย ๆ กัน ภายใต้สถานการณ์ที่คล้ายกัน
1.2 ความรู้สึกของการขาดการควบคุมด้านการกิน (เช่น ความรู้สึกว่าไม่สามารถหยดุการกิน หรือควบคุมจำนวนอาหารที่คน ๆ หนึ่งจะกิน)
การกลับมาของพฤติกรรมการชดเชยที่ไม่เหมาะสมต่อการป้องกันการเพิ่มของน้ำหนักตัว เช่น การกระตุ้น
ตนเองให้อาเจียน การใช้ยาระบายไม่ถูกต้องการใช้ยาขับปัสสาวะ หรือยาชนิดอื่น การอดอาหาร หรือการออกกำลังมากเกินไป
Binge eating และ พฤติกรรมการ ชดเชยที่ไม่เหมาะสม เกิดขึ้นด้วยกัน โดยเฉลี่ยเกิดขึ้นอย่างน้อยสัปดาห์ละ1 ครั้ง นาน 3 เดือน
การประเมินตนเองที่มีอิทธิพลมากเกินไปจาก รูปร่างและน้ำหนัก
5.อาการต่างๆ เหล่านี้ไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะใน ระหว่างช่วง Anorexia nervosa
การปฏิบัติการพยาบาล
ประเมินกระบวนการของครอบครัวและอ้างอิงบิดามารดาของวัยรุ่นที่มีภาวะผิดปกติด้านการรับประทานอาหาร ต่อ ผู้เชี่ยวชาญให้คำปรึกษาของครอบครัว
2.ให้ผ้ปู่วยประเมินแหล่งความกลัวผู้ป่วย
3.อภิปรายถึงสถานการณ์กับผู้ป่วยและช่วยจำแนกกระหว่างความจริงกับจินตนาการที่คุกคามต่อสุขภาวะที่ดี
สังเกตอุปสรรคที่มีประสิทธิภาพต่อการรับประทานอาหาร เช่น ความเต็มใจ ความสามารถ และความอยากรับประทานอาหาร
สังเกตอาการของการขาดสารอาหารในผ้ปู่วย เช่น ตัวเตี้ยแขน ขาเล็ก ผิวหนังและผมมีสุขภาพไม่ดีการผอมจนเห็นกระดูกสันหลัง และซี่โครง หน้าตอบ ร่างกายเชื่องช้า
กระตุ้น ผู้ป่วยได้ระบายความเชื่อ ความคิด และความคาดหวัง เกี่ยวกับอาการเจ็บป่วยของตนเอง
ประเมินความแข็งแรงที่มีและความสามารถในการเผชิญปัญหา รวมทั้งให้โอกาสในการแสดงออก
กระต้นุการส่งเสริมและคงไว้ของสัมพันธภาพด้านบวกกับเพื่อน สำหรับผู้ป่วยวัยรุ่น
ความหมาย
เป็นภาวะการกินที่ผิดปกติของบคุคล โดยเป็นการเกิดขึ้นซ้ำๆ ของการกินไม่หยุด ถึงแม้จะไม่หิวก็กินมาก (Binge eating) หลังจากนั้นผู้ป่วยจะล้วงคอตนเอง เพื่อทำให้อาเจียนอาหารที่กินเข้าไปออกมา หรือใช้ยาระบาย ยาขับ ปัสสาวะ ยาสวนทวารหนักหรือ ใช้วิธีอดอาหาร หรือออกกำลังกายอย่างหักโหมมาก อาการมักเริ่มในวัยรุ่นตอนปลาย จนถึงวัยผู้ใหญ่
ตัวอย่างข้อวินิจฉัยการพยาบาลผู้ที่มีภาวะ Bulimia Nervosa
ภาพลักษณ์ถูกรบกวน เนื่องจากการรับรู้ผิดเกี่ยวกับน้ำหนักที่แท้จริงของร่างกาย
2.การเผชิญปัญหาของครอบครัวอย่างประนีประนอมเนื่องจากความรู้สึกที่ยังเป็นปัญหาต่อเนื่องด้านการสำนึกผิดความโกรธและความมุ่งร้าย
กลวิธีการเผชิญปัญหา เนื่องจากความผิดปกติด้านการรับประทานอาหาร
4.กลัว เนื่องจากการรับประทานอาหารและน้ำหนัก และน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้น
สารอาหารไม่สมดุล : น้อยกว่าความต้องการของร่างกาย เนื่องจาการกระตุ้นให้เกิดการอาเจียนการออกกำลังกายมากเกินความ จำเป็น การใช้ยาระบายในทางที่ผิด
Anorexia Nervosa
ระดับความรุนแรงของอาการ
ระดับเล็กน้อย (Mild) : BMI > 17 Kg/ m2
ระดับปานกลาง (Moderate) : BMI = 16-16.99 Kg/ m2
ระดับรุนแรง (Severe) : BMI = 15-15.99 Kg/ m2
ระดับรุนแรงอย่างมาก (Extreme) : BMI < 15 Kg/ m2
การรักษา
การรักษาด้านความสมดุลของภาวะโภชนาการ น้ำและเกลือแร่
การรักษาด้วยยา ได้แก่
: Amitriptyline (Elavil) และ Antihistamine ชื่อ Cyproheptadine (Periactin) ใช้ในกรณีเพิ่มน้ำหนักตัว
: Olanzapine (Zyprexa) ใช้รักษาภาวะทางจิตเวช
: Fluoxetine (Prozac) ใช้ป้องกันการเกิดซ้ำของโรค
จิตบำบัด (Psycho therapy)
: จิตบำบัดครอบครัว (Family therapy) ใช้ได้ผลในผู้ป่วยอายุน้อยกว่า 18 ปี โดยให้สมาชิกในครอบครัวมีส่วนร่วมในการรักษาผู้ป่วย
: จิตบำบัดส่วนบุคคล (Individual therapy) ได้แก่ การรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง การ ยอมรับตนเอง การปรับตัวกับปัญหาความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล และการกล้าแสดงออก
การวินิจฉัยโรค
มีการจำกัดการนำเข้าของพลังงานที่ร่างกายต้องการทำให้มีน้ำหนักตัวน้อยกว่าเกณฑ์ของอายุ เพศ ระดับพัฒนาการ
และสุขภาพของร่างกาย (น้ำหนักตัวน้อย หมายถึงน้ำหนักตัวที่น้อยกว่าค่าน้ำหนักตัวที่น้อยที่สุดของค่าปกติ)
กลัวอย่างมากที่น้ำหนักตัวเพิ่ม หรืออ้วนขึ้น หรือมีพฤติกรรมอย่างต่อเนื่องในการเข้าไปแทรกแซงการเพิ่มของน้ำหนัก
ถึงแม้จะมีน้ำหนักตัวน้อยอยู่แล้ว
ขาดการตระหนักอย่างต่อเนื่องเกี่ยวกับความรุนแรงของน้ำหนักตัวที่น้อยในปัจจุบัน
ความหมาย
: เป็นภาวะการกินผิดปกติที่มีผลคุกคามต่อชีวิต
: เป็นการปฏิเสธอาหารเพื่อดำรงไว้ซึ่งน้ำหนักที่เหมาะสมตามเกณฑ์ของอายุ
: ผู้ป่วยจะมีน้ำหนักลดลงอย่างรุนแรง
: มีความกลัวอย่างมากต่อการมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น และอ้วนขึ้น
: อาการมักเริ่มในช่วงวัยรุ่นตอนต้น
: ผู้ป่วย Anorexia Nervosa จะมีอัตราการเสียชีวิต สูงสุดในกลุ่มผู้ป่วยจิตเวชที่เป็นวัยรุ่นเพศหญิง
ตัวอย่างข้อวินิจฉัยการพยาบาล ผู้ที่มีภาวะ Anorexia Nervosa
ไม่อดทนต่อการทำกิจกรรม เนื่องจากอ่อนเพลีย และไม่แข็งแรง
รูปลักษณ์ร่างกายถูกรบกวน เนื่องจากความเข้าใจผิดของรูปร่างหน้าตาที่เป็นจริง
ท้องผูก เนื่องจากรับประทานอาหารที่มีกากใย และน้ำไม่พอเพียง
การเผชิญปัญหา เนื่องจากมีความบกพร่องด้านจิต รูปแบบการรับประทานผิดปกติ
การเผชิญปัญหาด้านครอบครัวหย่อนความสามารถ เนื่องจากสัมพันธภาพ ในครอบครัวเป็นแบบครึ่ง ๆ กลาง ๆ
การปฏิบัติการพยาบาล
สังเกตอาการแสดง เช่น คลื่นไส้ ซีด งุนงง การมองเห็นแสงหรี่ ความพร่องด้านความ รู้สึกตัว การเปลี่ยนแปลงของ vital signs และความดันโลหิตในท่านอน
สอนผู้ป่วยให้หยุดกิจกรรมที่กำลังทำทันที และรายงานผู้ให้การดูแลด้านสุขภาพทราบในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการต่อไปนี้ การเพิ่มขึ้นของอาการรู้สึกไม่สุขสบาย รู้สึกแน่นบริเวณ หน้าอก
3.ให้การสนับสนุนด้านอารมณ์ และส่งเสริมให้ผู้ป่ วยมีการเพิ่มการทำกิจกรรมอย่างช้า ๆ
4.ประเมินความเป็นไปได้ของอาการที่เกี่ยวข้องกับการปรับตัวเพื่อการป้องกันอาการซึมเศร้าการให้ความสนใจตนเองมากเกินไป มองโลกแง่ลบ และการวิตกกังวล
5.ประเมินหน้าที่ด้านจิตสังคม เช่น ความวิตกกังวล ความกลัว ความซึมเศร้า และความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองในระดับต่ำ