Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 7 การบริหารคุณภาพทางการพยาบาล - Coggle Diagram
บทที่ 7
การบริหารคุณภาพทางการพยาบาล
การประกันคุณภาพทางการพยาบาล(Nursing Quality assurance)และมาตรฐานทางการพยาบาล(Nursing standard)
การประกันคุณภาพ หมายถึง การกระทำเพื่อให้การปฏิบัติการพยาบาลสามารถตอบสนองความต้องการของผู้ใช้บริการตามมาตรฐานวิชาชีพได้อย่างสม่ำเสมอ
อย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง มีเครื่องมือในการประเมินอย่างถูกต้อง
เชื่อถือได้และสามารถนำมาใช้ในการพัฒนาคุณภาพต่อไปได้
วัตถุประสงค์ของการประกันคุณภาพ
เพื่อให้การปฏิบัติการพยาบาลเป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนดขึ้น
เพื่อปรับปรุงเปลี่ยนแปลงการบริการพยาบาลให้ดีขึ้น
แนวคิดการประกันคุณภาพการพยาบาล
แนวคิดของการประกันคุณภาพการพยาบาลในช่วง ค.ศ. ๑๙๕๒ – ๑๙๙๒
แนวคิดการประกันคุณภาพการพยาบาลเน้นที่กระบวนการ
รูปแบบการประกันคุณภาพการพยาบาล
การประกันคุณภาพการพยาบาลขององค์การอนามัยโลก (๑๙๙๕)
การประกันคุณภาพการพยาบาลของสมาคมพยาบาลอเมริกัน (American
nurses association : ANA)
การประกันคุณภาพของโรแลนด์
การประกันคุณภาพการพยาบาลของคณะกรรมการร่วมเพื่อการรับรององค์การบริการสุขภาพ(The Joint Commission On Accreditation of Healthcare Organization :JCAHO)
แนวคิดการประกันคุณภาพในยุคเดิม
มีการตรวจสอบรวบรวมข้อมูล โดยผู้บริหารการพยาบาลนิเทศงาน
รายงานผลการตรวจสอบ
พัฒนามาตรฐาน
ระบบการประกันคุณภาพ
การประกันคุณภาพภายใน(Internal quality assurance)
การประกันคุณภาพภายนอก (External quality assurance)
องค์ประกอบของระบบการประกันคุณภาพการพยาบาล
การตรวจสอบคุณภาพการพยาบาล(Nursing Audit)
การพัฒนาคุณภาพหรือการปรับปรุงคุณภาพ(Quality improvement)
การกำหนดมาตรฐานการพยาบาล(Nursing standard)
แนวทางการกำหนดมาตรฐานการพยาบาล
กำหนดให้สอดคล้องกันทั้งปรัชญา มาตรฐานและวัตถุประสงค์ของหน่วยงาน
การกำหนดมาตรฐานการพยาบาลในลักษณะกระบวนการ ผู้กำหนดต้องมีความรู้ ความ
สามารถในการวิเคราะห์ปัญหาผู้ป่วยและความต้องการผู้ป่วยอย่างถูกต้องและเที่ยงตรง
กำหนดขอบเขตและวัตถุประสงค์ของความต้องการ
ที่จะประกันคุณภาพหรือควบคุมการพยาบาลให้ชัดเจนก่อนกำหนดมาตรฐานการพยาบาล
มาตรฐานการพยาบาล(Nursing standard)
มาตรฐานการพยาบาล หมายถึง ข้อความที่อธิบายแนวทางการปฏิบัติหรือวิธีดำเนินการที่ครอบคลุมขอบเขตของการพยาบาลถือเป็นข้อกำหนดให้มีการปฏิบัติเพื่อให้เกิดผลดีต่อการดูแลหรือการให้บริการแก่ผู้รับบริการทั้งในส่วนบุคล ครอบครัวและชุมชนตลอดทั้งข้อความนั้นต้องเที่ยงตรง ชัดแจ้ง สามารถนำไปปฏิบัติได้
มาตรฐานคุณภาพบริการสุขภาพ
มาตรฐานระดับสากล(Normative standards)
มาตรฐานระดับผู้เชี่ยวชาญ(Empirical standards)
ระดับของมาตรฐานการพยาบาลตามสมาคมพยาบาลเมริกา
มาตรฐานการดูแล(Standard of care)หมายถึง มาตรฐานการพยาบาลที่เน้นที่ตัวผู้ใช้บริการ โดยมองผลลัพธ์ที่ผู้ใช้บริการคาดหวังว่าจะได้รับโดยกำหนดมาตรฐานในเรื่องที่เกี่ยวกับการประเมินผู้ป่วย การวินิจฉัยการพยาบาลการกำหนดผลลัพธ์ทางการพยาบาล การวางแผนการพยาบาล การปฏิบัติการพยาบาลและการประเมินผล
มาตรฐานการปฏิบัติตามวิชาชีพ(Standard of professional performance) หมายถึง มาตรฐานที่องค์กรวิชาชีพสร้างขึ้นโดยเน้นที่ผู้ให้บริการโดยกำหนดมาตรฐานเกี่ยวกับคุณภาพการดูแลผู้ป่วย การประเมินผลการปฏิบัติการพยาบาลการพัฒนาและการให้สุขศึกษา มาตรฐานด้านจริยธรรม มาตรฐานด้านการประสานงาน ฯลฯ
มาตรฐานการปฏิบัติการพยาบาล(Standards of nursing practice) หมายถึง มาตรฐานวิชาชีพที่ใช้ในการปฏิบัติการพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยโรคต่าง ๆซึ่งสามารถใช้ความรู้เชิงวิชาชีพมาปฏิบัติได้ถูกต้อง โดยเน้นที่ผู้ให้บริการต้องมีความรู้ก่อนความสามารถในการปฏิบัติในรายกิจกรรมที่เหมาะสมกับโรค
ประเภทของมาตรฐานการพยาบาล
มาตรฐานเชิงกระบวนการ(Process standard)
มาตรฐานเชิงผลลัพธ์(Outcome standard)
มาตรฐานเชิงโครงสร้าง(Structure standard)
แนวคิดและหลักการบริหารคุณภาพทางการพยาบาล
ความหมาย
คุณภาพบริการพยาบาล หมายถึงการบริการด้านการพยาบาลที่มีคุณภาพตามมาตรฐานวิชาชีพและมีคุณภาพสนองความคาดหวังของผู้ใช้บริการ
การควบคุมคุมภาพ(Quality Control :QC) หมายถึงกิจกรรมในการประเมินตรวจสอบการพยาบาลหรือควบคุมดูแลบริการที่ให้แก่ผู้ใช้บริการเพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานการพยาบาลตามต้องการ
คุณภาพ (Quality) หมายถึงลักษณะต่างๆของผลิตภัณฑ์หรือการบริการที่ดีเลิศตรงตามความต้องการของผู้บริโภคหรือผู้รับบริการหรือทำให้ผู้รับบริการมีความพึงพอใจในการเข้ารับบริการ
แนวคิดการพัฒนาคุณภาพที่สำคัญ
การพัฒนาคุณภาพตามแนวคิดของครอสบี (Crosby)
แนวคิดการพัฒนาคุณภาพที่ยั่งยืน (Continuous quality improvement ,CQI)
แนวคิดการพัฒนาคุณภาพของเดมมิ่ง(Deming)
แนวคิดการพัฒนาคุณภาพของจูแรน (Juran)
การกำหนดเป้าหมายคุณภาพ
การควบคุมคุณภาพ
การปรับปรุงคุณภาพ
ระบบการบริหารคุณภาพ
การรับรองคุณภาพโรงพยาบาล(Hospital Accreditation: HA)
การรับรองคุณภาพโรงพยาบาล เป็นสิ่งจำเป็นในการประกันคุณภาพ โดยหน่วยงานภายนอกเพื่อประกันการดำเนินการของผู้ประกอบวิชาชีพในโรงพยาบาลนั้น
Hospital Accreditation (HA) กับการพัฒนาคุณภาพงานบริการพยาบาล
การมีทัศนคติที่ดี และมีความเข้าใจที่ถูกต้องในกระบวนการพัฒนาคุณภาพจะสามารถทำให้โรงพยาบาลมีความก้าวหน้าในการพัฒนาคุณภาพเป็นอย่างมาก
วัตถุประสงค์ของมาตรฐาน HA
การพัฒนากระตุ้น ให้มีการประเมินและพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง
ส่งเสริมให้มีการใช้กระบวนทัศน์ใหม่ใน การบริหารและพัฒนาคุณภาพ
ประเมินหรือวัดคุณภาพ
การบริหารความเสี่ยง(Risk Management: RM)
ความเสี่ยง(Risk) คือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นไม่เป็นไปตามที่คาดหวังมีโอกาสที่จะประสบความสูญเสียหรือสิ่งที่ไม่พึงประสงค์ เช่น การบาดเจ็บ ความเสียหาย เหตุร้าย การเกิดอันตราย สูญเสียทรัพย์สิน สูญเสียชื่อเสียง ภาพลบขององค์กรและบุคลากร เกิดความไม่แน่นอน การไม่พิทักษ์สิทธิหรือศักดิ์ศรีหรือเกิดความสูญเสียจนต้องมีการชดใช้ค่าเสียหาย
การบริหารความเสี่ยง(Risk Management) คือ การบริหารจัดการที่วางแผนสำหรับมองไปข้างหน้าและมีกิจกรรมเพื่อป้องกันความล้มเหลวที่เกิดขึ้น
วัตถุประสงค์ของการบริหารความเสี่ยง
เพื่อให้เกิดการรับรู้ ตระหนัก เข้าใจและหาวิธีการจัดการที่เหมาะสมให้อยู่ในระดับที่ยอมรับได้
เพื่อสร้างกรอบแนวทางในการดำเนินงานเพื่อให้บริหารจัดการความไม่แน่นอนที่จะเกิดขึ้นอย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ
เพื่อเพิ่มคุณค่าให้ผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียกับองค์กร
เพื่อให้มีระบบการติดตามผลการดำเนินการบริหารความเสี่ยงและเฝ้าระวังความเสี่ยงใหม่ที่อาจเกิดขึ้นเพื่อให้การดำเนินงานขององค์กรเป็นไปตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่วางไว้
ประโยชน์ของการบริหารความเสี่ยง
ได้ปรับปรุงกระบวนการปฏิบัติงานทั้งภายในองค์กรและกับภายนอกองค์กร
ได้ปรับปรุงระบบการสื่อสารและการแบ่งปันความรู้ในองค์กร
ได้ปรับปรุงกระบวนการตัดสินใจ
มีระบบรายงานการบริหารความเสี่ยงและการควบคุมทั้งภายในองค์กรและการนำเสนอสู่ภายนอก
มีการจัดสรรทรัพยากรไปบริหารความเสี่ยงในจุดที่ถูกต้อง
กระบวนการบริหารความเสี่ยง
การวิเคราะห์ความเสี่ยง
การจัดลําดับความเสี่ยง(Risk profile)
การประเมินโอกาสและผลกระทบของความเสี่ยง
การติดตามและการประเมินผล(Monitoring & Evaluation)
การค้นหาความเสี่ยง(Risk indentification)
การเชื่อมโยงการใช้ RM, QA , CQI และการวิเคราะห์ก้างปลา(Fish bone)
ผังก้างปลา (Fish Bone Diagram)
ประโยชน์
ช่วยให้วิเคราะห์สาเหตุของปัญหาได้อย่างมีเหตุผล เจาะลึกถึงสาเหตุรากเหง้า (root cause)
ใช้ศึกษาทำความเข้าใจ หรือทำความรู้จักกับกระบวนการอื่น ๆ เพราะว่าโดยส่วนใหญ่พนักงานจะรู้ปัญหาเฉพาะในพื้นที่ของตนเท่านั้น แต่เมื่อมีการ ทำผังก้างปลาแล้วจะทำให้เราสามารถรู้กระบวนการของแผนกอื่นได้ง่ายขึ้น
ใช้เป็นแนวทางใน การระดมสมอง ซึ่งจะช่วยให้ทุกๆคนให้ความสนใจในปัญหาของกลุ่มซึ่งแสดงไว้ที่หัวปลา
วิธีการสร้างแผนผังก้างปลา
กำหนดประโยคปัญหาที่ต้องแก้ไขมาเขียนไว้ที่หัวปลา
เขียนลูกศรชี้ที่หัวปลาแทนกระดูกสันหลังของปลา
เขียนก้างใหญ่ให้ลูกศรวิ่งเข้าสู่กระดูกสันหลัง เพื่อระบุถึงกลุ่มใหญ่ของสาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหา
เขียนก้างกลางแยกออกจากก้างใหญ่เพื่อแสดงสาเหตุของก้างใหญ่-เขียนก้างเล็กแยกออกจากก้างกลางเพื่อแสดงสาเหตุของก้างกลาง-เขียนก้างย่อยแยกออกจากก้างเล็กเพื่อแสดงสาเหตุของก้างเล็ก
ระดมสมองหาสาเหตุของปัญหาโดยการตั้งคำถามทำไมๆๆๆๆ ซ้ำๆกัน 5-7 ครั้ง ในการเขียนก้างย่อยๆ พร้อมทั้งเขียนข้อความแสดงสาเหตุของปัญหาลงในก้างระดับต่างๆ ทำไปจนกระทั่งระบุถึงสาเหตุที่เป็นรากเหง้าของปัญหาได้ หรือจนกระทั่งไม่มีใครเสนอความคิดเห็นอีก จัดลำดับความสำคัญของสาเหตุ และใช้แนวทางการปรับปรุงที่จำเป็น
ข้อควรระวังในการใช้แผนภาพก้างปลา
สาเหตุความผันแปรในก้างปลาต้องมาจากการระดมสมอง ภายใต้หลักการ ๓ จริง คือ สถานที่เกิดเหตุจริง ด้วยของจริง ภายใต้สภาวะแวดล้อมจริง
แผนภาพก้างปลาหน้างาน ต้องคำนึงถึงสาเหตุที่เกิดขึ้นจริง
ข้อความที่ระบุในก้างปลาเป็นเพียง สมมุติฐานของสาเหตุ ไม่ใช่สาเหตุที่แท้จริงอย่าพึ่งหาคนผิด
การนำผลการวิเคราะห์ไปใช้
เมื่อได้สาเหตุของปัญหาแล้วเลือกสาเหตุที่เชื่อว่าน่าจะสามารถแก้ปัญหาตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ได้มาวางแผนแก้ไขปัญหาต่อไป โดยใช้ Deming cycle (Plan-Do- Check-Act: P-D-C-A)
การวิเคราะห์อุบัติการณ์ทางคลินิก ควรพิจารณาถึงปัจจัย
ปัจจัยที่ตัวผู้ป่วย ปัจจัยเกี่ยวกับงาน ปัจจัยเกี่ยวกับตัวบุคคล ปัจจัยเกี่ยวกับทีมปัจจัยแวดล้อมในการทำงาน ปัจจัยเกี่ยวกับองค์กรและการทำงาน