Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ความผิดปกติของทางเดินอาหาร อาการท้องเสีย - Coggle Diagram
ความผิดปกติของทางเดินอาหาร อาการท้องเสีย
ท้องเสีย หรือ อุจจาระร่วง (Diarrhea) เป็นอาการถ่ายอุจจาระเหลวหรือเป็นน้ำมากกว่าปกติ หรือในบางครั้งถ่ายเป็นมูกปนเลือด มักเกิดจากการติดเชื้อหรือภาวะอาหารเป็นพิษ หลังจากการรับประทานอาหารที่ปนเปื้อนเชื้อโรคเข้าไป โดยอาการจะเกิดขึ้นในระยะเวลาเพียงไม่กี่วัน แต่ในบางรายอาจอาการเรื้อรังเป็นเวลานาน ซึ่งอาจเกิดจากโรคอื่น ๆ ได้ เช่น โรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง (Inflammatory Bowel Disease: IBD) หรือโรคลำไส้แปรปรวน (Irritable Bowel Syndrome: IBS)
อาการ
อุจจาระเป็นมูก หรือมูกเลือด หรือีกลิ่นเหม็นผิดปกติ
ร่างกายอ่อนเพลียมาก
อุจจาระมากกว่า 10 ครั้งต่อวัน
ปวดท้อง ท้องอืด
มีไข้สูงเกิน 38 องศาเซลเซียส
สาเหตุของอาการท้องเสีย
ท้องเสียแบบเฉียบพลัน
อาการท้องเสียแบบเฉียบพลับมักเกิดจากโรคกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กอักเสบ เนื่องจากการติดเชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัส หรือเชื้อปรสิต ดังนี้
การติดเชื้อไวรัส มีไวรัสหลายชนิดที่ก่อให้เกิดอาการท้องเสีย เช่น โรต้าไวรัส โนโรไวรัส ซึ่งสามารถหายได้ภายใน 3-7 วัน แต่อาจจะก่อให้เกิดปัญหาในการย่อยและดูดซึมแล็กโทสที่พบในน้ำนมได้
การติดเชื้อแบคทีเรีย เชื้อแบคทีเรียที่มักปนเปื้อนในน้ำหรืออาหาร และก่อให้เกิดอาการท้องเสียตามมา ได้แก่ เชื้อแคมไพโลแบคเตอร์ เชื้อซาลโมเนลลา
การได้รับเชื้อปรสิต เชื้อปรสิตสามารถเข้าสู่ร่างกายผ่านอาหารและน้ำที่ปนเปื้อน และอาศัยอยู่ในระบบย่อยอาหารของคนเรา เชื้อปรสิตที่มักพบ คือ เชื้อไกอาเดีย เชื้อแอนตามีบาฮิสโตลิติกาหรือเชื้อบิดอะมีบา
ท้องเสียแบบเรื้อรัง
อาการท้องเสียที่เกิดขึ้นติดต่อกันอย่างน้อย 2 สัปดาห์ขึ้นไป จะถือเป็นอาการท้องเสียเรื้อรัง ซึ่งอาจเกิดจากปัจจัยต่อไปนี้
โรคในระบบทางเดินอาหารและโรคลำไส้ผิดปกติ เช่น โรคโครห์น โรคลำไส้อักเสบ
อาหาร บางคนอาจมีปัญหาในการย่อยสารอาหารบางประเภท อย่างการขาดน้ำย่อยสำหรับย่อยน้ำตาลแล็กโทส ซึ่งเป็นน้ำตาลที่พบมากในนมหรือผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับนม นอกจากนี้ การรับประทานสารทดแทนความหวานในปริมาณมากก็อาจเป็นปัจจัยหนึ่งที่ก่อให้เกิดอาการท้องเสียได้
การตอบสนองต่อยาบางประเภท ยาปฏิชีวนะ ยารักษาโรคมะเร็ง รวมถึงยาลดกรดที่มีแมกนีเซียม สามารถทำให้เกิดอาการท้องเสียได้
การผ่าตัด อาการท้องเสียอาจเกิดขึ้นหลังจากเข้ารับการผ่าตัดบางชนิด อย่างการผ่าตัดลำไส้ หรือการผ่าตัดนำถุงน้ำดีออกไป
ภาวะแทรกซ้อนของอาการท้องเสีย
ภาวะขาดน้ำและเกลือแร่
ภาวะย่อยน้ำตาลแล็กโทสบกพร่อง
ร่างกายส่วนอื่นตอบสนองต่อการติดเชื้อในทางเดินอาหารจนเกิดการอักเสบตามไปด้วย
โรคลำไส้แปรปรวน
การดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะท้องเสีย
ในผู้สูงอายุ หากมีท้องเสีย 1-2 ครั้ง ควรเริ่มทานผลเกลือแร่สำเร็จรูปได้แล้ว โดยดื่มแทนน้ำเปล่า เป็นการดูแลอาการเบื้องต้นที่ช่วยบรรเทาอาการได้เป็นอย่างดีแต่หากผู้สูงอายุมีอุจจาระมีเลือดปนควรรีบพบแพทย์
หากผู้สูงอายุท้องเสียมากๆ จะเกิดอาการแสบก้นหรือก้นเปื่อย ให้ใช้ปิโตรเลียมเจลทาบริเวณดังกล่าว เพื่อช่วยลดอาการแสบ
หลังท้องเสีย 1 สัปดาห์ ควรระวังเรื่องอาหารการกินมากขึ้น เพราะอาจจะท้องเสียซ้ำอีกได้ หากทานอาหารที่ไม่สะอาด หรือรสจัด
วรงดอาหารรสจัด มีแก๊สเยอะ ถั่ว ผลิตภัณฑ์จากนม แต่ควรทานอาหารอ่อนๆ ย่อยง่ายแทน
ไม่จำเป็นต้องทานยาหยุดถ่าย ควรปล่อยให้ถ่ายไป เพราะร่างกายต้องขับของเสียออกมาจนหมดจึงจะหยุดถ่ายไปเองตามธรรมชาติ