Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 3 การพยาบาลด้านจิตสังคมสำหรับผู้ประสบภาวะวิกฤต - Coggle Diagram
บทที่ 3
การพยาบาลด้านจิตสังคมสำหรับผู้ประสบภาวะวิกฤต
ปฏิกิริยาด้านจิตใจของผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์รุนแรง
ปฏิกิริยาของผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์รุนแรง
ด้านปฏิกิริยา/การแสดงออก
แยกตัวออกจากสังคม หวาดระแวง กวาดตามองไปมาบ่อยๆ หันเข้าหาสรุาของมึนเมาและยาเสพติดมากขึ้น
นอนไม่หลับ หลับๆตื่นๆ ฝ้นร้าย ตกใจง่าย ร้องไห้ไม่มีสาเหตุ เฉยเมย
ด้านอารมณ์
ต้องการแก้แค้น ฉุนเฉียวง่าย โทษตัวเองและผู้อื่น อารมณ์แกว่งไปแกว่งมา คาดเดาไม่ได้
ช็อค ไม่ยอมรับในสิ่งที่เห็น วิตกกังวล กลัว เศร้า โกรธ
ด้านร่างกาย
รู้สึกตีบแน่นในลำคอ ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย ไม่มีแรง ปวดท้องและคลื่นไส้ อาเจียน
อาการกำเริบหนักขึ้น ทำให้สุขภาพทรุดโทรมหนัก
อาการหน้ามืด วิงเวียนศีรษะ รู้สึกร้อนหรือหนาว
ด้านการรับรู้
อาการเหล่านี้เป็นเรื่องปกติที่อาจเกิดขึ้นหลังเผชิญเหตุการณ์สะเทือนขวัญ โดยจะเกิดขึ้นและลดลงจนหายไปภายใน 1 เดือน
หากอาการเหล่านี้ยังคงอยู่ จำเป็นต้องพบเชี่ยวชาญทางด้านจิตใจ
สับสน มึนงง ไม่่มีสมาธิ มีปัญหาด้านความจำ มีปัญหาในการตัดสินใจ ภาพทรงจำผู้านเข้ามาแบบวูบวาบ
ปฏิกิริยาทางจิตใจที่เกิดขึ้นหลังเกิดเหตุการณ์วิกฤต
Bargaining
ลักษณะอาการ พูดซ้ำๆ หรือพูดคาดคั้นในเรื่องใด เรื่องหนึ่ง เช่น พูดรุกเร้าขอให้ช่วย ขอเข้าไปดู/เยี่ยมญาติ เรียกร้องหรือต่อรอง
เพื่อให้ได้ในสิ่งที่ต้องการซึ่งเป็นสิ่งที่ ไม่สามารถตอบสนองให้ได้จริงในเวลานั้น ไม่สามารถยอมรับความจริงที่เกิดขึ้นได้ อาจคาดหวังปาฏิหาริย์ บนบาน
Anger
ลักษณะอาการ ตะโกนด่า กระวนกระวายเดินไปมา ทำร้าย ตนเองหรือขว้างของรอบตัว กล่าวโทษแก่บุคคลอื่น พูดขู่อาฆาต
ไม่ร่วมมือ แยกตัว ในบางครั้งผู้ประสบเหตุการณ์ วิกฤตอาจมีอารมณ์โกรธ แต่ไม่แสดงออกอย่างเปิดเผย
Depression
ลักษณะอาการอารมณ์เศร้าเป็นอารมณ์ที่พบ เห็นได้ง่าย และพบบ่อย อาการเช้น การร้องไห้ เสียใจ ปากสั่น ไม่พูดจา
หมดเรี่ยวแรง อาจมีอาการเป็นลม หรือ ยืนไม่ไหว อาการเศร้ามักปรากฏร่วมกับการรู้สึกผิด และโทษตัวเอง
Shock & Denial
ลักษณะอาการมึนงง สับสน หลงลืม จำอะไรไม่ได้ ความคิดแตกกระจาย ไม่สามารถเชื่อมโยงความคิดการรับรู้สิ่งแวดล้อมเปลี่ยนไป
ปฏิเสธ ไม่ยอมรับ เหตุการณ]ที่เกิดขึ้นกับตัวเอง มีอารมณ์เศร้า โกรธรุนแรง ควบคุมตนเองไม่ได้
มีอาการทางกาย ใจสั่น มือสั่น ตัวสั่น หายใจถี่แรง
ปัญหาที่เกิดขึ้นในผู้ประสบภาวะวิกฤต
ด้านร่างกาย
ร่างกายอ่อนแอ การพักผ่อนไม่เพียงพอเนื่องจากมีอาการนอนไม่หลับที่เกิดจากการฝันร้ายกลางดึกเกี่ยวกับเหตุการณ]รุนแรงที่เกิดขึ้น
ทั้งภาพความสูญเสียของตนเอง ตื่นนอนกลางดึก หลับๆ ตื่นๆ
ด้านพฤติกรมม
ไม่สนใจดูแลตนเองและสิ่งแวดล้อม แยกตัวออกจากสังคม ปฏิเสธการรับรู้เรื่องราวต่างๆ
ลักขโมยหรือก่ออาชญากรรมในผู้ที่รู้สึกการไม่ได้รับความยุติธรรมหรือผู้ที่ได้รับการดูแลไม่ทั่วถึงโดยเฉพาะการปัจจัย 4
การติดยาหรือสารเสพติดเพื่อเป็นหนทางในการแก้ปัญหาและต้องการเหลีกเลี่ยงการเผชิญความรู้สึกในด้านลบของตนเอง
ด้านจิตใจ
เกิดปัญหาความเจ็บป่วยทางจิตเวช
โรคเครียดแบบเฉียบพลัน (Acute traumatic Stress Disorder)
โรคเครียดหลังเกิดเหตุการณ์ (Posttraumatic Stress Disorder)
โดยเฉพาะอาการกลัวว่าเหตุการณ์รุนแรงนั้นจะย้อนกลบัมาอีก (Flashbacks)
เกิดอาการหวาดกลัว/หวาดผวา สถานที่เกิดเหตุการณ]หรือสิ่งเร้าที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ส่งผลให้ไม่สามารถกลับไปใช้ชีวิตและทำงานเหมือนอย่างเดิมได้
มีภาวะสับสนว้าวุ่นความคิดแปรปรวนเครียด มีความคิดอยากตาย สิ้นหวัง ท้อแท้ รู้สึกผิด มองตัวเองไร้ค่าที่ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองหรือญาติที่อยู่ในเหตุการณ์ได้
ระดับทีมช่วยเหลือเยียวยาจิตใจผู้ประสบภาวะวิกฤต
(MCATT)
ระดับอำเภอ
ทีม MCATT ประจำพื้นที่ในระดับอำเภอ
จิตแพทย์/แพทย์ พยาบาลที่รับผิดชอบงานสุขภาพจิตและจิตเวช นักจิตวิทยาคลินิก/
นักจิตวิทยา/นักสังคมสงเคราะห์
เภสัชกร นักวิชาการสาธารณสุข และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง
ระดับจังหวัด
ทีม MCATT ประจำพื้นที่ระดับจังหวัด
จิตแพทย์ พยาบาล จิตเวช นักจิตวิทยาคลินิก/นักจิตวิทยา นักสังคมสงเคราะห์ นักวิชาการสาธารณสุข เภสัชกร และเจ้าหน้าที่ที่ เกี่ยวข้อง
ระดับตําบล
ทีม MCATT ประจำพื้นที่ในระดับตำบล
เจ้าหน้าที่มูลนิธิ ตัวแทนจาก อปท.
แกนนำชุมชน
กํานัน/ ผู้ใหญ่บ้าน
เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง
ผอ.รพ.สต. และ ผู้ร้บผิดชอบงานสุขภาพจิต รพ.สต. อสม.
ระดับกรมสุขภาพจิต
จิตแพทย์ พยาบาลจิตเวช นกัจิตวิทยา คลินิก/นกัจิตวิทยา นักสังคมสงเคราะห์นักวิชาการสาธารณสุข เภสัชกร และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง
หน้าที่
เป็นที่ปรึกษาด้านสุขภาพจิตแก่ทีม MCATT ในพื้นที่ให้การสนับสนุนทีม MCATT แก่เครือข่าย
ดูแลผู้ประสบภาวะวิกฤต/ภัยพิบัติกลุ่มเสี่ยงยุ่งยาก ซับซ้อนที่ส่งต่อ
ให้การช่วยเหลือเยียวยาจิตใจ ครอบครัวผูเ้สียชีวิต ถ่ายทอดความรู้ในเรื่องการช่วยเหลือเยียวยาจิตใจ
ผู้ประสบภาวะวิกฤตให้แก่บุคลากรในเครือข่าย
บริการด้านสุขภาพจิต
กิจกรรมการมีส่วนร่วมของชุมชน (Empowerment) ในศูนย์พักพิงขนาด กลางและใหญ่
ในพื้นที่ประสบภัยที่หน่วยงานรับผิดชอบ
รายงานผลการปฏิบัติงาน เพื่อนำเสนอ War room กระทรวงสาธารณสุข
ติดตามการดําเนินงานวิกฤตสุขภาพจิตในพื้นที่
การช่วยเหลือเยียวยาจิตใจผู้ประสบภาวะวิกฤตของทีม
MCATT
ระยะเตรียมการ
ครอบคลุมตั้งแต่การรับ นโยบายจากผู้ว่าราชการจังหวัด/นายแพทย]สาธารณสุขจังหวัด ในการจัดเตรียมโครงสร้างการดำเนินงานช่วยเหลือ ด้านสุขภาพจิตผู้ประสบภาวะวิกฤต และแผนการดำเนินงานเพื่อรองรับสถานการณ์วิกฤต รวมถึงการจัดต้ังศูนย์อำนวยการช่วยเหลือด้านสุขภาพจิต
เตรียมทีมเพื่อปฏิบัติงานให้การช่วยเหลือเยียวยาจิตใจผู้ประสบภาวะวิกฤต โดยจะมีการพัฒนาความรู้และทักษะของบุคลากรโดยการฝกอบรมเกี่ยวกับการช่วยเหลือเยียวยาจิตใจผู้ประสบภาวะวิกฤติฃ
เตรียมความพร้อมเพื่อรองรับสถานการณ์วิกฤตต่างๆ อย่างทันท่วงที จำเป็นต้องเป็นเตรียมความพร้อมทั้งระดับบุคคล องค์กรและชุมชน
การเตรียมความพร้อมของชุมชนเพื่อรับมือกับสถานการณ์วิกฤต เช่น การให้ความรู้เรื่องภัยพิบัติ
ระยะวิกฤตและฉุกเฉิน
(ภายใน 72 ชั่วโมงแรกหลังเกิดเหตุ - 2 สัปดาห)
ระยะวิกฤต (ภายใน 72 ชั่วโมงแรกหลังเกิดเหตุ)
ผู้คนจำนวนมากเข้ามาให้การช่วยเหลืออย่างไม่มีระบบ/ระเบียบ การช่วยเหลือจะมุ่งให้ความช่วยเหลือเฉพาะหน้า เน้นการช่วยเหลือตามสภาพความเป็นจริงทั้งด้านร่างกาย ความต้องการพื้นฐาน
ผู้ประสบภาวะวิกฤตจะมีการตื่นตัวทาง สรีระและพฤติกรรม มีพลังอย่างมากเพื่อให้รอดชีวิต เกิดความเครียด หวาดผวา หวาดกลัว ช็อก วิตกกังวล สับสน ผู้ประสบภาวะวิกฤตจะช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
ระยะฉุกเฉิน (72 ชั่วโมง - 2 สัปดาห์)
ประเมินคัดกรองภาวะสุขภาพจิตเพื่อค้นหากลุ่มเสี่ยงในแต่ละวัย และนำมาวางแผนในการช่วยเหลือ ที่ถูกต้องเหมาะสม
การจัดลำดับความต้องการของกลุ่มเสี่ยงที่ต้องได้รับการช่วยเหลืออย่างเร่งด่วนและ ต่อเนื่อง
สามารถสำรวจหาข้อมูลของสถานการณ์และความต้องการของ ผู้ประสบภาวะวิกฤตได้ชัดเจนมากขึ้น เพื่อวางแผนในการให้ความช่วยเหลือได้ตรงกับความต้องการของผู้ประสบภาวะวิกฤต
การดูแลช่วยเหลือกลุ่มเป้าหมายจะพิจารณาตามความรุนแรง
กลุ่มผู้ได้รับผลกระทบหลังประสบภาวะวิกฤต
ผู้สูงอายุและเด็ก
ประวัติการรักษาทางจิตเวชหรือใช้สารเสพติด
ผู้พิการและเจ็บป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มผู้สูญเสียบุคคลในครอบครัว/ทรัพย์สิน
กลุ่มผู้ที่ต้องการบริการด้านสุขภาพจิต
มีขั้นตอน
คัดกรองและค้นหากลุ่มเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพจิต โดยใช้เวชระเบียนสำหรับผู้ประสบภาวะ วิกฤต/ภัยพิบัติ (ผู้ใหญ่และเด็ก) และให้การปฐมพยาบาลด้านจิตใจ
สำรวจความต้องการช่วยเหลือทั้งด้านร่างกายและจิตใจ และการให้การช่วยเหลือเยียวยาจิตใจ โดยใช้วิธีให้การปฐมพยาบาลด้านจิตใจ (PFA) สร้างสัมพันธภาพกับผู้ประสบภาวะวิกฤต สำรวจความต้องการของผู1ประสบภาวะวิกฤต ด้านปัจจัยสี่
เข้าพื้นที่ให้การช่วยเหลือผู้ประสบภาวะวิกฤตในพื้นที่เสี่ยง โดยลงพื้นที่ร่วมกับทีมให้การช่วยเหลือทางกายและด้านจิตใจ
เน้นให้ผู้ประสบภาวะวิกฤต ระบายความรู้สึกให้มากที่สุด ให้การช่วยเหลือทางด้านสุขภาพจิตผู1ประสบภาวะวิกฤต
ประสบภาวะวิกฤตทั้งผู้สูญเสียหรือผู้รอดชีวิตจะ มองโลกในแง่ดี การช่วยเหลือหลั่งไหลเข้ามา ผู้ประสบภาวะวิกฤตเกิดกำลังใจว่าครอบครัวและชุมชนจะสามารถฟื้นตัวได้
หลักการปฐมพยาบาลทางด้านจิตใจ
วิธีการประเมินผู้ได้รับผลกระทบ (Assessment: A)
การประเมินสภาพจิตใจ
ภาวะโกรธ
การดูแลทางกาย โดยให้อยู่ในสถานที่ปลอดภัย ให้มีการดูแลอย่างใกล้ชิด ไม่รุกเข้าไป จัดระยะห่างที่เหมาะสมระหว่างผู้ประสบภาวะวิกฤต และผู้ให้การช่วยเหลือต้องมีท่าทีสงบนิ่ง ยอมรับพฤตกิรรมที่แสดงออกมาของผู้ประสบภาวะวิกฤต
การดูแลทางใจ โดยให้ระบายความรู้สึกโดยใช้ทักษะการฟังอย่างตั้งใจ (Active Listening Skill) และพูดสะท้อนอารมณ์
ภาวะช็อกและปฏิเสธ
การดูแลทางจิตใจ ให้ผู้ประสบภาวะวิกฤตได้ระบายความรู้สึก และใช้เทคนิคการสัมผัสตาม ความเหมาะสม เพื่อให้เกิดความรู้สึกอบอุ่น และความปลอดภัย
การช่วยเหลือทางสังคม สอบถามความต้องการเร่งด่วนของผู้ประสบภาวะวิกฤต ให้ความช่วยเหลือตามความต้องการอย่างรีบเร่ง
การดูแลทางกายโดยให้อยู่ในสถานที่ที่สงบ รู้สึกปลอดภัย เตรียมนํ้า ยาดมให้นั่งหรือนอนราบ
ภาวะต่อรอง
สนองความต้องการในสิ่งที่สามารถให้ได้
การให้ข้อมูลที่ถูกต้อง ที่เป็นจริงตามความเหมาะสม
อดทน รับฟัง ไม่แสดงอาการท่าทางเบื่อหน่าย
ทักษะการประเมินอารมณ์ ความรู้สึกผู้ประสบภาวะวิกฤตและทักษะการบอกข่าวร้าย
ภาวะเสียใจ
การช่วยเหลือทางกายทำได้โดยหาผ้าเช็ดหน้า ผ้าเย็นในรายที่มีอาการหายใจไม่ออก อาจใช่การฝึกหายใจแบบ Breathing Exercise หรือใช้การสัมผัส (Touching)
การประเมินภาวะฆ่าตัวตาย
ตัวชี้วัด
อารมณ์สงบ
ลดเงื่อนไขในการต่อรองลง อาจต่อรองในสิ่งที่มีความเป็นไปได้มากขึ้น ยอมรับความจริงมากขึ้น
ผู้ประสบภาวะวิกฤตรับฟังมากขึ้น ยอมรับข้อมูล
หลังจากผู้ประสบภาวะวิกฤตยอมรับความจริงมีอารมณ์สงบลง อาจมีการหดหู่ท้อแท้ ไม่มีกำลังใจ อาจเข้าสู่อาการภาวะซึมเศร้าได้ ผู้ให้การช่วยเหลือต้องประเมินสภาพการณ์เฉพาะหน้า
ประเมินความต้องการทางสังคม
ไร้ญาติขาดมิตร ประสานกำนัน หรือผู้ใหญ่บ้าน หรือหน่วยงานที่ให้ความช่วยเหลือ ด้านที่พักอาศัย หรือสถานสงเคราะห์ มูลนิธิหรือวัด เพื่อหาที่พักพิงชั่วคราว
ต้องการความช่วยเหลือ ด้านการเงิน ทุนการศึกษา ให้ติดต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ต้องการพบญาติ หรือครอบครัวให้ติดต่อประสานโดยการโทรศัพท์
ประเมินและตอบสนองความต้องการทางด้านร่างกาย
มีอาการอ่อนเพลีย ควรจัดหานํ้าให้ดื่ม หาอาหารใหรับประทาน
เป็นลม ควรจัดหายาดมแอมโมเนีย ผ้าเย็นเช็ดหน้าและแขน
ได้รับบาดเจ็บทางด้านร่างกายก็ตอ้งบรรเทาความเจบ็ปวดด้วยการให้ยา
กำลังอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ไม่ปลอดภัย เช่น มีเศษแก้วตกอยู่ให้เคลื่อนย้าย
ผู้ประสบภาวะวิกฤตไปอยู่ในที่ปลอดภัย
วิธีการเรียกขวัญคืนสติลดความเจ็บปวดทางใจเสริมสร้างทักษะ (Skills: S)
Touching skill (การสัมผัส) การสัมผัสทางกาย เช่น แตะบ่า แตะมือ บีบนวดเบาๆ โดยคำนึงถึงความเหมาะสม
ทักษะการ Grounding การใช้การ Grounding คือ การช่วยให้ผู้ประสบเหตุการณ]วิกฤตที่มีอารมณ์ท่วมท้น (overwhelmed feeling) กลับมาอยู่กับความเป็นจริงโดยเพิ่มปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมรอบตัว เป็นเทคนิคที่ง่ายและรวดเร็ว
การนวดสัมผัสและการนวดกดจุดคลายเครียด การนวดสัมผัสนอกจากจะเป็นการลดความเครียด ผ่อนคลายกล้ามเนือ้แล้ว การสัมผัสยังเสริมสร้างความรู้สึกอบอุ่นใจ มั่นคงปลอดภัย การนวด สัมผัสเป็นการนวดที่ผู้ให้การช่วยเหลือทําให้กับผู้ประสบเหตุการณ์วิกฤตเท่านั้น
การฝึกกำหนดลมหายใจ (Breathing exercise) เพื่อให้เกิดความผ่อนคลายทางอารมณ์ ลดอาการใจสั่น หายใจถี่แรง
การลดความเจ็บปวดทางใจ
การฟังอย่างใส่ใจ (Active Listening)
การสะท้อนความรู้สึก
การเงียบ
การทวนซ้ำ
การเสริมสร้างทักษะ
การเรียนรู้การเสริมสร้าง Coping skills สามารถช่วยลดความกังวล ปฏิกิริยาที่เป็นทุกข์อื่นๆช่วยแก้ไขสถานการณ์
ช่วยผู้ประสบเหตุการณ์วิกฤตให้ผ่านพ้นช่วงเวลาอันเลวร้าย
วิธีการสร้างสัมพันธภาพและการเข้าถึงจิตใจของผู้ได้รับผลกระทบ
การสื่อสาร
ควรเริ่มพูดคุยเบื้องต้นเมื่อผู้ประสบเหตุการณ์วิกฤตมีความพร้อม
เพื่อให้พูดระบายความรู้สึก แต่ไม่ควรซักถามถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น นอกจากผู้ประสบเหตุการณ์วิกฤตอยากเล่า
รับรู้ว่ารอบตัวเขา เป็นสถานที่ใด โดยเน้นถึงความรู้สึกขณะนั้น
เริ่มสบตามีท่าทีที่ผ่อนคลายมีสติรู้ตัว รับรู้สิ่งแวดล้อมรอบตัวชัดเจนขึ้น
สังเกตภาษาท่าทางและพฤติกรรม
Nonverbal
สีหน้า แววตา ท่าทาง การเคลื่อนไหวของร่างกาย
ผุดลุกผุดนั่ง ลุกลี้ลุกลน น้ำเสียงกรีดร้อง ตะโกน แผ่วเบาละล่ำละลักจับใจความไม่ได้ ลั่นสะอื้น
Verbal
พูดสับสนฟังไม่รู้เรื่อง ด่าทอ ร้องขอความช่วยเหลือ พูดซ้ำไปซ้ำมา พูดวกวน
การสร้างสัมพันธภาพ
การแสดงออกของ ผู้ให้การช่วยเหลือควรเหมาะสมกบัเหตุการณ์อารมณ์ความรู้สึกและสภาพสังคม วัฒนธรรม ศาสนาของผู้ประสบเหตุการณ์วิกฤต
เริ่มจากการที่ผู้ให้การช่วยเหลือควรมีท่าทีสงบนิ่ง มีการแนะนำตัวเอง มีการมองหน้าสบตา รับฟังด้วยท่าทีที่สงบให้กำลังใจ ด้วยการพยักหน้า การสัมผัส
วิธีการให้สุขภาพจิตศึกษาและข้อมูลที่จำเป็น (Education)
ต.2 เติมเต็มความรู้
ให้ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับอาการที่เกิดขึ้นจากความเครียด และผลกระทบทางจิตใจที่อาจเกิดขึ้น
ทั้งบอกวิธีการปฏิบัติตัวเพื่อลดความเครียด แหล่งช่วยเหลือต่างๆ ทั้งของภาครัฐและเอกชน
ต.3 ติดตามต่อเนื่อง
ร่วมกันวางแผนและหาแนวทางในการรับการช่วยเหลือต่างๆเพิ่มเติม ควรมีการพูดคุยวางแผนร่วมกันระหว่างผู้ให้การช่วยเหลือกับผู้ประสบภาวะวิกฤต
ด้านการดูแลติดตามอย่างต่อเนื่องโดย อาจใช้วิธีการติดตามโดยการนัดหมายมาพบที่สถานบริการสาธารณสุข การโทรศัพท์ติดตามผล และการเยี่ยมบ้าน
ต.1 ตรวจสอบความต้องการ
ไต่ถามถึงข้อมูลและตรวจสอบความต้องการช่วยเหลือที่จำเป็นและ เร่งด่วน การตรวจสอบความต้องการของผู้ประสบภาวะวิกฤตจะใช้วิธีสอบถามเพื่อสำรวจในเรื่อง ความต้องการ การสนับสนุนในด้านเศรษฐกิจ