Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 7 การบริหารคุณภาพทางการพยาบาล - Coggle Diagram
บทที่ 7 การบริหารคุณภาพทางการพยาบาล
1.1 คุณภาพ (Quality) หมายถึงลักษณะต่างๆของผลิตภัณฑ์หรือการบริการที่ดีเลิศตรงตามความต้องการของผู้บริโภคหรือผู้รับบริการหรือทําให้ผู้รับบริการมีความพึงพอใจในการเข้ารับบริการ
1.2 คุณภาพบริการพยาบาล หมายถึงการบริการด้านการพยาบาลที่มีคุณภาพตามมาตรฐานวิชาชีพและมีคุณภาพสนองความคาดหวังของผู้ใช้บริการ1.3 การควบคุมคุมภาพ (Quality Control :QC) หมายถึงกิจกรรมในการประเมินตรวจสอบการพยาบาลหรือควบคุมดูแลบริการที่ให้แก่ผู้ใช้บริการ เพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานการพยาบาลตามต้องการ
1.3 การควบคุมคุมภาพ (Quality Control :QC) หมายถึงกิจกรรมในการประเมินตรวจสอบการพยาบาลหรือควบคุมดูแลบริการที่ให้แก่ผู้ใช้บริการ เพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานการพยาบาลตามต้องการ
1.4 แนวคิดการพัฒนาคุณภาพ
1.4.1 แนวคิดการพัฒนาคุณภาพของเดมมิ่ง(Deming) Dr. Edward Deming ได้นำแนวคิดการวางแผนคุณภาพมาใช้โดยมีกระบวนการคือการวางแผน (Plan) การปฏิบัติ (Do) การตรวจสอบ (Check) และการปฏิบัติจริง (Act) หรือที่เรียกย่อว่า PDCA หรือ วงจรเดมมิ่ง(PDCA Deming cycle) มาใช้ในการพัฒนาคุณภาพ
1.4.2 แนวคิดการพัฒนาคุณภาพของจูแรน (Juran)
จูแรนเป็นผู้นำด้านการพัฒนาคุณภาพที่สำคัญคนหนึ่ง
1.4.4 แนวคิดการพัฒนาคุณภาพที่ยั่งยืน
(Continuous quality improvement ,CQI) เป็นแนวคิดเชิงกระบวนการพัฒนาระบบงานอย่างต่อเนื่องไม่มีสิ้นสุด เป็นการใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และความคิดสร้างสรรค์ในการปรับปรุงระบบงานเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้รับผลงานอย่างไม่หยุดยั้ง โดยมุ่งสู่ความเป็นเลิศ
2.1 การประกันคุณภาพการพยาบาล (Nursing Quality assurance) คือลักษณะต่างๆของวิชาชีพการพยาบาลที่ถูก
สร้างขึ้นเพื่อให้เกิดความมั่นคงและเกิดการปฏิบัติการดูแล
ผู้ป่วยหรือผู้รับบริการอย่างดีเลิศ
2.2 แนวคิดการประกันคุณภาพในยุคเดิม
2.2.1 พัฒนามาตรฐาน โดยกำหนดนโยบายและวิธีปฏิบัติขึ้นในหน่วยงานที่รับผิดชอบหรือเรียกว่า nursing procedure เพื่อให้พยาบาลปฏิบัติการพยาบาลที่เหมือนกัน
2.2.2 มีการตรวจสอบรวบรวมข้อมูล โดยผู้บริหาร
การพยาบาลนิเทศงาน เช่น การให้ยาผิด
2.2.3 รายงานผลการตรวจสอบ
เมื่อมีเหตุการณ์ที่ทำให้เกิดปัญหาและมีการประชุมเพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาต่อไป
2.3 แนวคิดของการประกันคุณภาพการพยาบาลในช่วง ค.ศ. 1952 – 1992
สมาคมพยาบาลอเมริกัน (American nurses association : ANA)
ได้แต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนามาตรฐานเพื่อเป็นการพัฒนาการพยาบาล
และการประเมินคุณภาพแต่ยังเป็นการดำเนินการเฉพาะเรื่อง
2.4 แนวคิดการประกันคุณภาพการพยาบาลเน้นที่กระบวนการ
ซึ่งจะทำให้มีคุณภาพ โดยการประเมินคุณภาพและนำผลมาพัฒนาปรับปรุงอย่างต่อเนื่องโดยใช้กระบวนการพัฒนาคุณภาพทั้งองค์การเป็นการแก้ปัญหาทั้งระบบมากกว่าแก้จุดเล็กๆ
2.5 ระบบการประกันคุณภาพ
2.5.1 การประกันคุณภาพภายใน(Internal quality assurance)
หมายถึงกิจกรรมการควบคุมคุณภาพในฝ่ายบริการพยาบาล
โดยมีการกำหนดของฝ่ายบริการการพยาบาล เพื่อให้มีความมั่นใจว่าการบริการพยาบาลได้บริการดำเนินการตามหลักวิชาชีพอย่างมีคุณภาพ
2.5.2 การประกันคุณภาพภายนอก (External quality assurance)
หมายถึงการดำเนินการตามระบบการควบคุมคุณภาพภายใน
รวมทั้งการตรวจสอบและประเมินผลทั้งหมดโดยหน่วยงานภายนอก
เพื่อประกันว่าโรงพยาบาลนั้นมีขั้นตอนดำเนินการของผู้ประกอบวิชาชีพและวิธีการบริหารจัดการนั้นสามารถให้บริการกับผู้ใช้บริการได้อย่างมีคุณภาพ
2.6 องค์ประกอบของระบบการประกันคุณภาพการพยาบาล
2.6.1 การกำหนดมาตรฐานการพยาบาล (Nursing standard)
2.6.2 การตรวจสอบคุณภาพการพยาบาล (Nursing Audit)
2.6.3 การพัฒนาคุณภาพหรือการปรับปรุงคุณภาพ (Quality improvement)
2.7 แนวทางการกำหนดมาตรฐานการพยาบาล
2.7.1 กำหนดขอบเขตและวัตถุประสงค์ของความต้องการที่จะประกันคุณภาพหรือควบคุมการพยาบาลให้ชัดเจนก่อนกำหนดมาตรฐานการพยาบาล
2.7.2 กำหนดให้สอดคล้องกันทั้งปรัชญา มาตรฐานและวัตถุประสงค์ของหน่วยงาน
2.7.3 การกำหนดมาตรฐานการพยาบาลในลักษณะกระบวนการ
ผู้กำหนดต้องมีความรู้ ความสามารถในการวิเคราะห์ปัญหาผู้ป่วยและความต้องการผู้ป่วยอย่างถูกต้องและเที่ยงตรง
มาตรฐานทางการพยาบาล(Nursing standard)
3.1 มาตรฐานการพยาบาล หมายถึงข้อความที่อธิบายแนวทางการปฏิบัติหรือวิธีดำเนินการที่ครอบคลุมขอบเขตของการพยาบาล
ถือเป็นข้อกำหนดให้มีการปฏิบัติเพื่อให้เกิดผลดีต่อการดูแลหรือ
การให้บริการแก่ผู้รับบริการทั้งในส่วนบุคล ครอบครัว และชุมชนตลอดทั้งข้อความนั้นต้องเที่ยงตรง ชัดแจ้ง สามารถนำไปปฏิบัติได้
3.2 ประเภทของมาตรฐานการพยาบาล
3.2.1 มาตรฐานเชิงโครงสร้าง(Structure standard) หมายถึงปัจจัยนำเข้าทั้งหมดของระบบบริการพยาบาล
3.3.2 มาตรฐานเชิงกระบวนการ(Process standard) หมายถึงกิจกรรมการพยาบาลทั้งหมดที่ให้กับผู้ป่วย
3.3.3 มาตรฐานเชิงผลลัพธ์ (Outcome standard)
หมายถึงการวัดผลการดูแลผู้ป่วยซึ่งเป็นจุดประสงค์สุดท้ายในการวัดผลทางการพยาบาล
3.3 มาตรฐานการพยาบาล ตามสภาการพยาบาล พ.ศ. 2562
3.3.1 มาตรฐานเชิงโครงสร้าง หมวดที่ 1 การบริหารองค์กรพยาบาล (Nursing Organization)
3.3.2 มาตรฐานเชิงกระบวนการ หมวดที่ 2 การปฏิบัติการพยาบาล (Nursing practices)
3.3.3 มาตรฐานเชิงผลลัพธ์ หมวดที่ 3 ผลลัพธ์การพยาบาล (Nursing Outcome)
3.4 การตรวจสอบคุณภาพการพยาบาล(Nursing audit)
การตรวจสอบคุณภาพด้านโครงสร้าง
เป็นการประเมินคุณภาพในการจัดระบบงาน
การตรวจสอบคุณภาพด้านกระบวนการ วัดคุณภาพการพยาบาลจากกิจกรรมการพยาบาล
การตรวจสอบคุณภาพด้านผลลัพธ์โดยเปรียบเทียบ
กับเกณฑ์มาตรฐานผลลัพธ์ทางการพยาบาล
3.5 การพัฒนาคุณภาพหรือการปรับปรุงคุณภาพ
(Quality improvement) เป็นกระบวนการวิเคราะห์และรายงานผลการปฏิบัติงานการพยาบาลขององค์กรโดยแยกแยะปัญหาหรือตัวแปรที่ส่งผลกระทบ
และหาแนวทางการแก้ไขป้องกัน
ระบบการบริหารคุณภาพ
4.1 การรับรองคุณภาพโรงพยาบาล (Hospital Accreditation: HA)
การรับรองคุณภาพโรงพยาบาล เป็นสิ่งจำเป็นในการประกันคุณภาพ
4.1.2 ประโยชน์จากการรับรองคุณภาพโรงพยาบาล (Hospital Accreditation)
4.1.3 ฉบับเฉลิมพระเกียรติฉลองศิริราชสมบัติครบ ๖๐ ปี “มาตรฐานโรงพยาบาลฉบับปีกาญจนาภิเษก”
4.2 การพัฒนาคุณภาพบริการแบบเครือข่าย
(Hospital Network Quality Audit: HNQA)
เป็นระบบการรับรองมาตรฐานโรงพยาบาล
ที่สำนักพัฒนาระบบริการสุขภาพ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ
เป็นผู้คิดริเริ่มขึ้น โดยกรมสนับสนุนบริการสุขภาพได้การกำหนดมาตรฐานบริการสาธารณสุข
4.2.2 การพัฒนาคุณภาพบริการแบบเครือข่าย
(Hospital Network Quality Audit: HNQA) ในทางปฏิบัติ
Product content in service คืออุปกรณ์การให้บริการที่ให้ผู้ป่วยไปด้วย
2.Mechanize service คือ เครื่องมืออาคารสถานที่ที่ให้บริการแล้วไม่ได้ให้ผู้ป่วยไปด้วย
Personalized service คือ การทำหัตถการ การดูแล และพฤติกรรมบริการคนทุกคนต้องเป็นผู้ปฏิบัติในกระบวนการ ให้เกิดคุณภาพ
4.3 ระบบมาตรฐาน (ISO) ย่อมาจาก (International Organization for Standardization)
คือองค์การระหว่างประเทศว่าด้วยการมาตรฐาน เป็นองค์กรที่ออกมาตรฐานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจและอุตสาหกรรม ส่วนมาตรฐานที่องค์กรนี้ออกมา ก็ใช้ชื่อนำหน้าว่า ISO เช่น ISO 9000
และ ISO 14000 ซึ่งก็เป็นมาตรฐานที่ว่าด้วยระบบบริหารคุณภาพ และระบบบริหารสิ่งแวดล้อม
4.3.4 มาตรฐาน ISO 26000
เป็นมาตรฐานที่ได้รับการพัฒนาขึ้นมาโดย ISO (the International
Organization for Standardization) เพื่อใช้เป็นแนวทางสำหรับองค์กรต่างๆ
ในการพัฒนาความรับผิดชอบต่อสังคมให้เกิดขึ้นกับองค์กร ซึ่งมาตรฐานนี้
จะมีลักษณะเป็นแนวปฏิบัติในการดำเนินงาน (Guidance) ไม่ใช่ข้อกำหนด (Requirements)
มาตรฐาน ISO ๒๖๐๐๐ ได้ให้ความหมายของคำว่า ความรับผิดชอบต่อสังคม
ไว้ว่าเป็นความรับผิดชอบขององค์กรในผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการตัดสินใจ
และกิจกรรมต่างๆ ขององค์กร (รวมถึงผลิตภัณฑ์บริการและกระบวนการ)
ที่มีต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ผ่านการแสดงออกอย่างโปร่งใสและมีจริยธรรม
ในการมีส่วนร่วมในการพัฒนาอย่างยั่งยืน รวมถึงการสร้างสุขอนามัยและสวัสดิการที่ดีกับสังคม
4.3.3 มาตรฐาน ISO 18000
มาตรฐาน ISO 18000 หรือ OH & S ที่ถูกกำหนดขึ้นมานั้น
จะอาศัยมาตรฐาน BS 8800 : Occupational Health and Safety Management System ของประเทศอังกฤษ
BS 8800 ระบุไว้ว่าไม่สมควรนำมาตรฐานนี้ไปใช้
เพื่อรับรอง กระแสโลกาภิวัตน์
ISO 18000 จะเป็นมาตรฐานที่ว่าด้วยระบบ
จัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย
(Occupational Health and Safety Management System เรียกสั้น ๆ ว่า OH & S)
การบริหารความเสี่ยง (Risk Management: RM)
5.1 ความเสี่ยง(Risk) คือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นไม่เป็นไปตามที่คาดหวัง
มีโอกาสที่จะประสบความสูญเสียหรือสิ่งที่ไม่พึงประสงค์
5.2 การบริหารความเสี่ยง(Risk Management)
คือการบริหารจัดการที่วางแผนสำหรับมองไปข้างหน้า
และมีกิจกรรมเพื่อป้องกันความล้มเหลวที่เกิดขึ้น
5.3 ประโยชน์ของการบริหารความเสี่ยง
ได้ปรับปรุงกระบวนการตัดสินใจ
ได้ปรับปรุงกระบวนการปฏิบัติงานทั้งภายในองค์กร
และกับภายนอกองค์กร
ได้ปรับปรุงระบบการสื่อสารและการแบ่งปันความรู้ในองค์กร
มีระบบรายงานการบริหารความเสี่ยงและการควบคุม
ทั้งภายในองค์กรและการนำเสนอสู่ภายนอก
มีการจัดสรรทรัพยากรไปบริหารความเสี่ยงในจุดที่ถูกต้อง
5.4 ประเภทของความเสี่ยง
5.4.1 ความเสี่ยงทั่วไป(Non Clinical Risk) หมายถึง
ความเสี่ยงหรือโอกาสที่จะประสบกับความสูญเสีย
หรือสิ่งที่ไม่พึงประสงค์ที่ไม่เกี่ยวข้องกับการดูแลผู้ป่วย
5.4.2 ความเสี่ยงทางคลินิก (Common Clinical Risk) หมายถึงเหตุการณ์หรือการดูแลรักษาที่อาจเกิดอันตราย
หรือเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์กับผู้ป่วยทั่วไปเป็นความเสี่ยง
ทางคลินิกที่ระบุกว้างๆ ในกระบวนการรักษาไม่จำเพาะ
ต่อโรคใดโรคหนึ่งอาจพบร่วมในหลายคลินิกบริการ
5.4.3 ความเสี่ยงทางคลินิกเฉพาะโรค(Specific Clinical Risk)
หมายถึง ความเสี่ยงใดๆที่เกี่ยวข้องกับการดูแลรักษาผู้ป่วยและอาจเกิดภาวะไม่พึงประสงค์ หรือเสียชีวิต โดยระบุจำเพาะโรค
และภาวะเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นกับโรคนั้นๆ
5.5 ประเภทของเหตุการณ์ที่มีความเสี่ยง
5.5.1 เหตุการณ์ที่พึงระวัง (Sentinel event : SE)
เป็นเหตุการณ์ที่ไม่พึ่งประสงค์ โดยเป็นเหตุการณ์ที่ไม่คาดหวัง
ซึ่งเกี่ยวข้องกับการเสียชีวิต หรืออันตรายที่ร้ายแรง
จำเป็นต้องมีการสืบสวนและต้องสืบสวนทันที
5.5.2 เหตุการณ์ไม่พึ่งประสงค์(Averse event : AE)
เป็นเหตุการณ์ที่ไม่พึ่งประสงค์ที่เกิดจากการบาดเจ็บ
อันตรายหรือภาวะแทรกซ้อน ที่เป็นผลจากการดูแลรักษา
มิใช่กระบวนการตามธรรมชาติของโรค ส่งผลให้ผู้ป่วยเสียชีวิต
นอนโรงพยาบาลนานขึ้นหรืออวัยวะสูญเสียการทำหน้าที่
5.6 กระบวนการบริหารความเสี่ยง
5.6.1 การค้นหาความเสี่ยง (Risk indentification)
โดยการเรียนรู้จากประสบการณ์ในอดีต
5.6.2 การประเมินความเสี่ยง คือการระบุปัจจัยเสี่ยง
และวิเคราะห์ความเสี่ยงอย่างเป็นระบบในการตัดสินใจ
รวมถึงการจัดลำดับความสำคัญว่าเหตุการณ์ใด
หรือเงื่อนไขใดมีผลกระทบต่อการบรรลุวัตถุประสงค์ของหน่วยงาน
5.6.3 การจัดการความเสี่ยง (Risk Responses) หมายถึง
การกำหนดแนวทางดำเนินงานเพื่อลดโอกาสที่เกิด
ที่เกิดความสูญเสียและนำผลจากการประเมินความเสี่ยง
มาจัดทำแผนจัดการบริหารความเสี่ยงตามลำดับ