Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ความรู้เบื้องต้น ในการบริหารงานคุณภาพในองกรณ์ - Coggle Diagram
ความรู้เบื้องต้น ในการบริหารงานคุณภาพในองกรณ์
เทคนิคการบริหารงานคุณภาพ
กิจกรรม 5ส
องค์ประกอบของกิจกรรม 5ส เป็นเทคนิคการบริหารงานคุณภาพที่ยึดแบบอย่างมาจากประเทศญี่ปุ่น
ซึ่งคำว่า 5ส มาจากตัวอักษรนำหน้าคำของภาษาญี่ปุ่น
5 คำ ที่ขึ้นค้นด้วยอักษร S ดังนี้
Seiri อ่านว่า เซริ แปลว่า สะสาง
Seiton อ่านว่า เซตง แปลว่า สะดวก
Seiso อ่านว่า เซโซ แปลว่า สะอาด
Seiketsu อ่านว่า เซเคทซึ แปลว่า
Shitsuke อ่านว่า ซึทซึเคะ แปลว่า สร้างนิสัย
กิจกรรม Q.C.C
เป็นกิจกรรมกลุ่มคุณภาพที่มีบุคลากรปฏิบัติงานอยู่ในแผนกเดียวกันรวมตัวกันจำนวน 4-10 คน เพื่อแก้ไขปัญหาหรือข้อบกพร่องที่เกิดจากการปฏิบัติงาน ทั้งนี้การทำงานของกลุ่มจะต้องไม่ขัดต่อนโยบายของหน่วยงานและจะต้องกระทำอย่างต่อเนื่อง
กิจกรรมข้อเสนอเเนะเพื่อปรับปรุง
กิจกรรมข้อเสนอแนะเพื่อปรับปรุงงาน เป็นกิจกรรมที่ให้โอกาสพนักงานทุกคนมีส่วนร่วมในการบริหารเพื่อเสนอความคิดเห็นต่อฝ่ายบริหาร
กระบวนการบริหารงานคุณภาพ
องค์ประกอบ
ปัจจัยนำเข้า (Input) การบริหารงานคุณภาพ คือการดำเนินกิจกรรมในการตอบสนองความต้องการของลูกค้า สร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า ดังนั้นปัจจัยนำเข้าของกระบวนการบริหารงานคุณภาพก็คือข้อมูลความต้องการของลูกค้า
กระบวนการดำเนินงาน (Process) เพื่อให้บรรลุเป้าหมายหลักของการดำเนินงานบริหารงานคุณภาพขององค์กร
ความหมาย
กระบวนการบริหารงานคุณภาพ คือ กระบวนการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับปัจจัยนำเข้า (Input) กระบวนการดำเนินงาน (Process) ผลดำเนินงาน (Output) ซึ่งปัจจัยนำเข้าของกระบวนการบริหารคุณภาพ คือ ความต้องการของลูกค้า องค์การมีหน้าที่นำเอาความต้องการของลูกค้าเข้าสู่กระบวนการดำเนินงานแล้วดำเนินกิจกรรมต่างๆ เพื่อให้ได้ผลการดำเนินงานที่สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ ผลของกระบวนการบริหารคุณภาพ คือ ความพึงพอใจของลูกค้า
ผลการดำเนินงาน
ผลการดำเนินงาน (Output) เป้าหมายของการบริหารงานคุณภาพองค์กร คือ ความพึงพอใจของลูกค้า ดังนั้นผลการดำเนินงานในการบริหารงานคุณภาพ คือ องค์กรสามารถสร้างความพึงพอใจในสินค้าหรือบริการลูกค้า
การบริหารงานคุณภาพในองค์กร
วิวัฒนาการของการบริหารงานคุณภาพ
ช่วงที่ 1 ช่วงก่อนการปฏิวัติอุตสาหกรรมในช่วงนี้การจัดการคุณภาพจะอยู่ในรูปแบบของการตรวจสอบ (Inspection) จะเป็นการผลิต สินค้าเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าซึ่งมีจํานวนไม่มากนัก น้นที่การตรวจสอบสินค้าก่อนที่จะส่งถึงมือของลูกค้า
ช่วงที่ 2 ช่วงของการปฏิวัติอุตสาหกรรม
อุตสาหกรรมต่าง ๆ มีการใช้เครื่องจักรแทนแรงงานคน การผลิตสินค้าเป็นกระบวนการผลิต จํานวนมาก (Mass Product) ในช่วงนี้จึงเป็นการควบคุมคุณภาพในกระบวนการผลิต มีการตรวจสอบคุณภาพของสินค้าที่ผลิต ได้เปรียบเทียบกับเกณฑ์หรือมาตรฐานที่กําหนด
ช่วงที่ 3 เป็นช่วงของการแข่งขันที่เข้มข้นขึ้นในช่วงนี้เป็นยุคของโลกาภิวัตน์เปิดโลกเสรีทางการค้า ส่งผลให้เกิดการแข่งขันกันมากในด้าน ธุรกิจการค้า แนวคิดสําคัญของคุณภาพได้พัฒนาสู่การสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าเน้นที่ลูกค้าเพื่อสร้าง ความพึงพอใจให้กับลูกค้า
ความหมายของคุณภาพและการบริหารงานคุณภาพ
การบริหารคุณภาพ คือ กระบวนการบริหารงาน ที่ประกอบด้วยนโยบายคุณภาพ วัตถุประสงค์ คุณภาพการวางแผนงานคุณภาพ ระบบการบริหารจัดการเชิงคุณภาพ ระบบการตรวจสอบหรือการประเมินผลและการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง
คุณภาพ หมายถึง คุณลักษณะและประโยชน์ของ การใช้งานโดยรวมของผลิตภัณฑ์ ที่จะทำให้สามารถตอบสนองการใช้งานได้ เหมาะสมสำหรับการใช้งาน สอดคล้องเหมาะสมกับความต้องการ
หลักการการบริหารงานคุณภาพ
ข้อมูลที่เป็นจริง การตัดสินใจที่ถูกต้องและเกิดประสิทธิภาพต่อการบริหารงานตั้งอยู่บนพื้นฐานของข้อเท็จจริงที่ได้จากข้อมูลที่ถูกต้องและมีการวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ
การสร้างความสัมพันธ์ องค์การและผู้ขาย/ผู้ให้บริการ ต้องพึงพาอาศัยซึ่งกันและกัน การที่องค์การมีความสัมพันธ์กับผู้ขายเพื่อประโยชน์ร่วมกันจะช่วยเพิ่มความสามารถในการสร้างคุณค่าร่วมกันของทั้งสองฝ่าย
การปรับปรุงงานอย่างต่อเนื่อง ารดำเนินการทั้งหมดที่มีการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องขององค์กร ควรกำหนดวัตถุประสงค์ขององค์กรอย่างชัดเจน องค์กรจะต้องมีการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องขององค์กร ควรกำหนดเป็นวัตถุประสงค์
การบริหารงานอย่างเป็นระบบ การให้ความสำคัญกับการสัมพันธ์เกี่ยวข้องกันของหน่วยงานต่างๆ ขององค์การและเชื่อมโยงการทำงานของแต่ละหน่วยงานให้มีแนวทางสอดคล้องกันและเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
การบริหารด้วยความเป็นผู้นำ ผู้นำในองค์กรจะต้องเป็นผู้ที่จำเตรียมนโยบายและแนวทางรวมทั้งเป้าหมายการดำเนินงานขององค์กรให้เป็นไปในทางเดียวกัน
การมีส่วนร่วมของบุคลากร บุคลากรถือเป็นทรัพยากรที่สำคัญขององค์กรและมีส่วนร่วมในการใช้ความรู้ ความสามารถ ในการผลิตและพัฒนาองค์กร
องค์กรที่มุ่งเน้นลูกค้า แต่ละองค์กรย่อมมีเป้าหมายในการดำเนินงานที่แตกต่างกัน หากเป็นองค์กรที่ขึ้นอยู่กับลูกค้าขององค์กรเป็นสำคัญ ควรต้องทำความเข้าใจกับความต้องการของลูกค้า
การดำเนินงานอย่างเป็นกระบวนการ การนำเอาทัพยากรหรือปัจจัยการผลิตป้อนเข้าสู่ระบบการทำงานต่างๆ เพื่อให้ได้ผลงานตามเป้าหมาย เป็นหลักการที่เน้นการบริหารทั้งกระบวนการ ไม่ได้เน้นที่เรื่องใดเรื่องหนึ่งเป็นสำคัญ
ประโยชน์ของการบริหารงานคุณภาพ
ความรู้เบื้องต้น ในการบริหารงานคุณภาพในองกรณ์
ลูกค้ามีความพึงพอใจในตัวสินค้าและบริการ
เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนางานช่วยให้สามารถจัดการหรือกำหนดการทำงานอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง
ความรู้เบื้องต้น ในการบริหารงานคุณภาพในองกรณ์
เพิ่มประสิทธิภาพขององค์การ