Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ขุนช้างขุนแผน ตอน ขุนช้างถวายฎีกา - Coggle Diagram
ขุนช้างขุนแผน ตอน ขุนช้างถวายฎีกา
ผู้แต่ง
ไม่ปรากฏนามผู้แต่งตอนขุนช้างถวายฎีกาแต่ได้รับการยกย่องจากวรรณคดีสโมสรว่าแต่งดีเยี่ยมโดยเฉพาะ กระบวนกลอนที่สื่ออารมณ์ สะเทือนใจ(เป็น ๑ ใน ๘ ตอนที่ได้รับการยกย่อง)
ตอนขุนช้างขอนางพิมและขุนช้างตามนางวันทองเป็นพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
ในตอนขุนแผนขึ้นเรือนขุนช้างและตอนขุนแผนพานางวันทองหนีเป็นพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จ พระพุทธเลิศหล้านภาลัย
ตอนกำเนิด พลายงามเป็นสำนวนของสุนทรภู่
ลักษณะคำประพันธ์
เรื่องขุนช้างขุนแผนเป็นคำประพันธ์ ประเภทกลอนเสภา ๔๓ ตอน ซึ่งมีอยู่ ๘ ตอนที่ได้รับการยกย่องว่าแต่งดียอดเยี่ยมจากวรรณคดีสมาคม อันมีสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงเป็นประธานโดยลงมติเมื่อ พ.ศ.๒๔๗๔ และตอน ขุนช้างถวายฎีกาเป็นหนึ่ง ในแปดตอนที่ ได้รับการยกย่อง
ลักษณะคำประพันธ์กลอนเสภาเป็นกลอนสุภาพ เสภาเป็นกลอนขั้นเล่าเรื่องอย่างเล่านิทานจึงใช้คำมากเพื่อบรรจุข้อความให้ชัดเจนแก่ผู้ฟัง และมุ่งเอาการขับได้ ไพเราะเป็นสำคัญ สัมผัสของคำประพันธ์ คือ คำสุดท้ายของวรรคต้น ส่งสัมผัสไปยังคำใดคำหนึ่งใน ๕ คำแรกของวรรคหลังสัมผัสวรรคอื่นและสัมผัสระหว่างบทเหมือนกลอนสุภาพ
ที่มาของเรื่อง
บทเสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน มีกวีเอกหลายท่านร่วมกันแต่ง สันนิษฐานว่าแต่งตั้งแต่สมัย สมเด็จพระนารายณ์มหาราช
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงสันนิษฐานว่า
ตอน ขุนแผนขึ้นเรือนขุนช้าง และตอน ขุนแผนพานางวันทองหนี เป็นพระราชนิพนธ์พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
ตอนขุนช้างขอนางพิม และ ตอนขุนช้างตามนางวันทอง เป็นพระราชนิพนธ์พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (เมื่อครั้งยังดำรงพระ อิสริยยศเป็นกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์)
ตอน กำเนิดพลายงาม เป็นสำนวนของสุนทรภู่
ต่อมามีการนำเรื่อง ขุนช้างขุนแผน มาแต่งเป็นกลอนสุภาพและใช้ บทขับเสภา โดยใช้กรับเป็นเครื่องประกอบจังหวะ
บทขับเสภาที่นิยมมากที่สุดคือเรื่อง ขุนช้างขุนแผน ซึ่งได้รับการยกย่อจากวรรณคดีสโมสรว่า เป็นยอดของกลอนสุภาพที่มีความไพเราะ ดีเลิศ ทั้งเนื้อเรื่องและกระบวนกลอน
ขุนช้างขุนแผนเป็นตำนานที่เล่าสืบต่อกันมาในเมืองสุพรรณบุรี และกาญจนบุรี โดยเชื่อกันว่าเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นจริงในแผ่นดินสมเด็จพระ
พันวษาแห่งกรุงศรีอยุธยา
ตำนวนเดิมเล่าเพียงว่า มีนายทหารผู้มีฝีมือนายหนึ่ง มีตำแหน่งเป็นขุนแผน ได้ถวาย ดาบฟ้าฟื้นแด่สมเด็จพระพันวษา
ตอน ขุนช้างถวายฎีกานี้ ไม่ปรากฏนามผู้แต่ง แต่เป็นหนึ่งใน ๘ ตอนที่ได้รับการยกย่องจากสมาคมวรรณคดี (สมัย ร.๗) ว่าแต่งดีเป็นเยี่ยม โดยเฉพาะกระบวนกลอนที่สื่ออารมณ์สะเทือนใจ
เรื่องย่อ
พลายงามคิดถึงมารดา อยากให้กลับมาอยู่ด้วยกันพร้อมหน้า จึงลอบขึ้นเรือนและพานางหนี รุ่งขึ้นก็เกรงว่าขุนช้างจะเอาผิด จึงให้บ่าวไปส่งความว่าตน ป่วยหนัก อยากให้แม่มาดูใจสักพัก แล้วจะส่งคืน
ขุนช้างโกรธ จึงร่างฎีกาถวายถวายต่อสมเด็จพระพันวษาอีก
สมเด็จพระพันวษามีรับสั่งให้ไปเรียกทุกคนที่เกี่ยวข้องมา และเริ่มทำการตัดสินคดีความ ฝ่ายพลายงามผิดด้วยการไปลอบขึ้นบ้านผู้อื่น ทำเช่นบ้านเมือง ไม่มีกฎหมาย ฝ่ายขุนช้างก็ผิดที่ว่าไปแย่งวันทองมา
สมเด็จพระพันวษาให้นางวันทองเข้าเฝ้าและตรัสถามให้กระจ่างว่านางจะเลือกอยู่กับใคร ขุนแผน ขุนช้าง หรือ พลายงาม ด้วยความประหม่า และ ณ ตอนนั้นชะตาถึงฆาต ทำให้นางตอบออกไปว่า นางก็รักขุนแผน แต่ขุนช้างก็แสนดี ส่วนพลายงามนี้ก็ลูกในอก
พระพันวษาโกรธมาก จึงมีรับสั่งให้ประหารชีวิตนาง