Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ความผิดปกติหลอดเลือดและการไหลเวียนเลือด - Coggle Diagram
ความผิดปกติหลอดเลือดและการไหลเวียนเลือด
ความดันโลหิต
อาการ
ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงเล็กน้อยหรือปานกลางมักไม่มีอาการแสดง
เมื่อมีความดันสูงมากขึ้น จะปรากฎอาการเหล่านี ้ได้ แต่ไม่เฉพาะเจาะจง คือมีหรือไม่มีอาการก็ได้
ปวดศีรษะ ลักษณะอาการปวดมักจะปวดที่ท้ายทอย โดยเฉพาะช่วงเช้าหลังตื่นนอน และมักค่อยๆ ดีขึ้นและหายไปเอง
เวียนศีรษะ มึนงง ซึ่งอาจเกิดจากสมองขาดเลือดชั่วขณะ อาจมีอาการคล้ายจะเป็นลม
เลือดกําเดาไหล แต่ไม่พบบ่อย
หายใจลําบากขณะออกแรงหรือทํางานหนัก หรือหายใจลําบากขณะนอนราบ (มักพบในผู้ป่วยที่ภาวะแทรกซ้อนในหัวใจ)
มีอาการเจ็บหน้าอกจากกล้ามเนื ้อหัวใจขาดเลือดหรือหลอดเลือดเอออร์ต้าฉีกขาด
อาการอื่น ๆ ที่อาจพบได้ เช่น ปัสสาวะมาก กระหายน้ำใจสั่นและ
ความดันโลหิตสูงมี 2 ประเภท
ความดันโลหิตสูงไม่ทราบสาเหตุ (Essential or primaryhypertension) ไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด มีความเชื่อว่ามีความเกี่ยวพันการปฎิบัติตัว เช่น การรับประทานอาหาร การออกกําลังกาย เป็นต้น
ความดันโลหิตสูงที่มีสาเหตุ (Secondary hypertension)เช่น โรคเกี่ยวกับไต และต่อมหมวกไต
การแบ่งระดับของความดันโลหิตสูง
ระดับความดันโลหิตปกติคือ ตํ่ากว่า 120/80 mmHg
ระดับขั้นของความดันโลหิตสูง มี 3 ระดับ ดังนี้
Prehypertension ระดับความดันโลหิตอยู่ในช่วง120/80-139/89 mmHg
Stage 1 ระดับความดันโลหิตอยู่ในช่วง 140/90-159/99 mmHg
Stage 2 ระดับความดันโลหิตตั้งแต่ 160/100 mmHg เป็นต้นไป
ระดับความดันโลหิตที่สูงมากขั้นวิกฤติ ระดับความดันโลหิตตั้งแต่ 180/110 mmHg เป็นต้นไป
Hypertensive urgency มีความดันโลหิตสูง ตั้งแต่ 180/110 mmHgเป็นต้นไป แต่ยังไม่มีอวัยวะเป้าหมายที่สําคัญถูกทําลาย
Hypertensive emergency มีความดันโลหิตสูง ตั้งแต่ 180/110 mmHg เป็นต้นไป และมีสัญญาณของอวัยวะเป้าหมายที่สําคัญถูกทําลาย
สาเหตุของความดันโลหิตสูงทุติยภูมิ
โรคไต
ความปกติของเนื้อไต
หลอดเลือดแดงไปเลี้ยงไตตีบตัน
เนื้องอกที่เกิดจากเรนนิน
โรคของต่อมไร้ท่อ
Acromegaly ภาวะที่มีการเจริญเติบโตผิดปกติ
ต่อมไธรอยด์ทํางานน้อย
ต่อมธัยรอยด์ทํางานมาก
โรคของต่อมหมวกไต
ความผิดปกติทางระบบประสาท
มีภาวะแรงดันในกระโหลกสูงขึ้น จากเนื้องอกในสมอง หรือเนื้อสมองอักเสบ
Sleep apnea
Autonomic dysreflexia
ได้รับยาบางชนิด ได้แก่ ยากินคุมกําเนิด
ยากลุ่มกลูโคคอร์ติคอยด์ มิเนอโรคอร์ติคอยด์
อาหารที่มีสารธัยรามีน เช่น เนยเก่า ตับไก่ เบียร์ ไวน์
ภาวะเครียดเฉียบพลัน: psychogenic hyperventilation ภาวะน้ำตาลในเลือดตํ่า ไฟไหม้ น้ำร้อนลวก
ความผิดปกติของหลอดเลือด หลอดเลือดแข็ง หลอดเลือดเออร์ต้าตีบคอด (Coarctation of aorta) มีปริมาตรน้ำในหลอดเลือดมาก
ความดันโลหิตสูงจากการตั้งครรภ์
Renovascular disease
Pheochromocytoma
ปัจจัย
ปัจจัยที่เปลี่ยนแปลงไม่ได้
ประวัติครอบครัว พันธุกรรมและปัจจัยหลายอย่าง
อายุ (Age) ความดันโลหิตสูงแบบปฐมภูมิพบบ่อยในช่วงอายุ 30-50 ปีอัตราการเกิดโรคเพิ่มขึ้นตามอายุที่สูงขึ้น
เพศ (Sex) ผู้ชายมีความเสี่ยงที่จะเป็นความดันโลหิตสูงมากกว่าผู้หญิง
เชื้อชาติ (Race)
ปัจจัยเสี่ยงที่เปลี่ยนแปลงได้
ภาวะ (Stress) ตัวกระตุ้นทําให้มีภาวะเครียดมีมากมายเช่น เสียง การติดเชื้อ การอักเสบ ความเจ็บปวด การได้รับออกซิเจนลดลง อากาศเย็นทํางานหนัก
อ้วนมากโดยเฉพาะอ้วนลงพุง
สารอาหารโดยเฉพาะโซเดียม
สารเสพติด บุหรี่ แอลกอฮอล์
ออกกําลังกายหรือมีกิจกรรมทางกายน้อย
พยาธิสภาพ
ตัวรับความดันโลหิตและตัวรับเคมีในหลอดเลือดแดง
การควบคุมปริมาตรนํ้าในร่างกาย
ระบบเรนนินแอนจิโอเทนซิน
การควบคุมตัวเองของหลอดเลือด
ผลกระทบของการที่มีภาวะความดันโลหิตสูงเป็นเวลานาน
มีการทําลายผนังหลอดเลือดแดง ทําให้ผนังหลอดเลือดแดงอ่อนแอและโป่งพอง และอาจแตก
ถ้ามีรอยแตกเล็ก ๆ ที่ผนังหลอดเลือด จะเป็นที่สะสมของไขมัน โปรตีนแคลเซียม และอื่น ๆ เมื่อสะสมมาก ๆ จะทําให้หลอดเลือดตีบแคบเกิดลิ่มเลือดและอุดตันในที่สุด
การทํางานของหัวใจมากขึ้น
มีการทําลายของอวัยวะสําคัญ
การรักษา/พยาบาล
การรักษาโดยการไม่ใช้ยา
การปรับพฤติกรรม ประกอบด้วย การควบคุมอาหาร การออกกําลังกาย การลดนํ้าหนัก และการจัดการกับอารมณ์
การลดเกลือ ไม่เกิน 2400 mg/day ซึ่งสัดส่วนเท่ากับเกลือป่น 1 ช้อนชา/วัน
การลดน้ำหนัก นํ้าหนักลด 1 กิโลกรัม จะสามารถลดระดับความดันโลหิตลงได้ 2-3 mmHg
การออกกำลังกาย การออกกําลังกายโดยใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่
การลดความเครียด การจัดการอารมณ์ที่ดี โดยเฉพาะ ความเครียดและซึมเศร้า จะช่วยให้ลดความดันโลหิตลงได้
งดแอลกอฮอล์และบุหรี่
การรักษาโดยใช้ยา
เบต้าบล็อคเกอร์ (beta blocker) เพื่อลดอัตราการเต้นของหัวใจ และขยายหลอดเลือด
ยากลุ่ม Calcium channel blocker เพื่อ ลดอัตราการเต้นของหัวใจและลดการรบกวนการทํางานของหัวใจ
ยากลุ่ม ACEI เพื่อขยายหลอดเลือดและเพิ่ม renal blood flow
ยาขับปัสสาวะ
ยาต้านอะดรีเนอจิก (แอลฟาและเบตารีเซฟเตอร์)
ยาต้านแคลเซี่ยมเข้าเซล
ยาต้านระบบเรนินแอนจิโอเทนซิน
โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke)
ประเภทของ Stroke
Ischemia stroke
Thrombosis
Large artery มักพบว่ามีการตีบของหลอดเลือดแดงที่ Right or leftcarotid artery หรือ right or left vertrabral artery
Small artery บางครั้งเรียกว่า Lacunar infarction เกิดการตีบของหลอดเลือดเล็ก ๆ ที่ไปเลี้ยงสมอง มักพบในผู้ป่วยที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงเป็นเวลานานๆ
Emboli
การทํางานของกล้ามเนื้อหัวใจผิดปกติ เช่น CHF หรือ MI ที่มีผลต่อการสูบฉีดเลือดไม่ดี เกิดเลือดไหลวนเวียนอยู่ในหัวใจ เกิดเป็นลิ่มเลือดขึ้น
การเต้นของหัวใจผิดปกติ ได้แก่ AF
เยื่อบุหัวใจอักเสบ (Endocarditis)
Hemorrhagic stroke
Intracerebral hemorrhage เป็ นภาวะเลือดออกในเนื้อสมอง มักมีสาเหตุจาก uncontrolled HT, trauma, Bleeding disorder, vascularmalfunction, drug abuse
Subarachnoid hemorrhage เกิดจากหลอดเลือดแดงที่ผิวสมองแตกมักมีสาเหตุจาก สูบบุหรี่ ดื่มสุรา ความดันโลหิตสูง พันธุกรรม ยาและสารพิษอื่น ๆ
อาการ
ระยะเฉียบพลัน (Acute stage) เป็นระยะ
24 - 48ชั่วโมง ผู้ป่วยมีอาการหมดสติ มีภาวะความดันในกะโหลกศีรษะสูง ระบบการหายใจและการทำงานของหัวใจผิดปกติ
ระยะหลังเฉียบพลัน (Post acute stage) เป็นระยะที่ผู้ป่วยเริ่มมีอาการคงที่ 1- 14 วัน
ระยะฟื้นฟูสภาพ 3 เดือนแรก
ปัจจัยเสี่ยง
ปัจจัยเสี่ยงที่เปลี่ยนแปลงไม่ได้
อายุที่สูงขึ้นมีภาวะเสี่ยงสูงขึ้น
เพศชายมีภาวะเสี่ยงมากกว่าเพศหญิง
ประวัติครอบครัว
ประวัติเคยเป็นโรคหลอดเลือดสมอง หรือ Stroke มาก่อน
ปัจจัยเสี่ยงที่เปลี่ยนแปลงได้
เป็น HT, DM, สูบบุหรี่, สุรา หรือยาเสพติด
โรคของ carotid artery disease และ peripheral
โรคของหัวใจและระบบไหลเวียน
Atrial Fibrillation
Transient ischemic attack (TIA)
ไขมันในเลือดสูง
อ้วน
ไม่ออกกําลังกาย
อาการของสมองขาดเลือดชั่วคราว
เป็นอาการหรืออาการแสดงทางระบบประสาทที่เกิดขึ้นชั่วขณะโดยมีสาเหตุมาจากการขาดเลือดและหายเป็นปกติในเวลาภายใน 24 ชั่วโมง
มีอาการอ่อนแรง ปากเบี ้ยว พูดไม่ชัด อยู่ประมาณ 2-30 นาที
10-15% จะเกิดโรคหลอดเลือดสมองภายใน 3 เดือนหลังเกิด TIA ครั้งแรก
ร้อยละ 5-8 อาจเกิดโรคหลอดเลือดสมองภายใน 48 ชั่วโมง
ร้อยละ 30-50 พบความผิดปกติจากการขาดเลือด
การรักษา/พยาบาล
การรักษา Ischemic Stroke ที่เกิดจากลิ่มเลือดหรือการอุดตัน ตีบแคบของเส้นเลือด
ให้ยาละลายลิ่มเลือด
การให้ยา ASA 48 ชั่วโมงหลังได้รับยาฉีด
การให้การพยาบาลขณะและหลังในยาละลายลิ่มเลือดผู้ป่วย/ญาติเข้าใจประโยชน์หรือโทษที่จะเกิดจากการรักษา และยินยอมให้การรักษาโดยใช้ยาละลายลิ่มเลือด
ใกรณีที่เป็น Stroke ประเภทที่หลอดเลือดแตกและมีเลือดออกในสมองต้องได้รับการรักษาด้วยการผ่าตัด
ให้คําแนะนําเกี่ยวกับอาการเตือน Stroke แก่ผู้ป่วยและครอบครัว
Thrombopheblitis
สาเหตุ
การอักเสบของผนังหลอดเลือดดำร่วมกับการอุดตันโดยลิ่มเลือดที่หลอดเลือดดำ
มักพบผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงได้แก่ อ้วน ตั้งครรภ์ ความผิดปกติของการแข็งตัวของเลือด ภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัด
ที่ทําให้เลือดมีการไหลชะลอตัว
เกิดลิ่มเลือดสะสมที่ผนังหลอดเลือดทําให้เกิดการอักเสบของผนังหลอดเลือด
และเนื้อเยื่อบริเวณโดยรอบอันตราย
คือลิ่มเลือดลอยไปอุดตันหลอดเลือด
ที่อวัยวะสําคัญ เช่น ปอด สมอง ไต
อาการ
ปวดบริเวณที่เกิดหลอดเลือดอักเสบ บวม แดง
มีการขาดเลือดของอวัยวะที่มีการอุดตัน
เช่น อวัยวะส่วนปลายบวม ซีด ปวดน่องเวลากระดกนิ้ว (Homann’s sign)
หลอดเลือดดําตื้น ๆ แข็ง บาง
การรักษา
ให้ยาขยายหลอดเลือด และยาละลายลิ่มเลือด เช่น Heparine, coumarin
ถ้ารักษาด้วยยาไม่ได้ผลทําการผ่าตัดขยายหลอดเลือดหรือเอาก้อนเลือดออก
การพยาบาล
ห้ามวิ่ง เดินนาน หรือยกนํ้าหนัก
ใส่ผ้ายืดหรือถุงน่องรัดขาไว้ สังเกตอาการเลือดออกจากการได้รับยาละลายลิ่มเลือด
ห้ามใช้ยาคุมกําเนิดชนิดฮอร์โมน
ดูแลป้องกันไม่ให้เกิดซํ้าโดยการจัดการปัจจัยเสี่ยงลดนํ้าหนัก
หลอดเลือดอักเสบเฉียบพลัน (TAO)
อาการ
ในระยะแรก มีอาการปวดบริเวณขา และหลังเท้ารุนแรง
อาจมีอาการปวดน่องร่วมด้วยเวลาเดิน เดินไม่ได้ไกล
เป็นตะคริวบ่อยที่เท้าและน่องหลังเดินหรือออกกำลังกาย
อาการหายไปเมื่อพัก อาการเหล่านี้เรียกว่า Intermittent Claudication
อาการจะเป็นมากขึ้นเมื่ออารมณ์แปรปรวน สูบบุหรี่ อากาศเย็น
ถ้าหลอดเลือดอักเสบที่มือ จะมีอาการดังกล่าวที่มือ
ในระยะต่อมาจะมีแผลเรื้อรังตามนิ้ว มือ นิ้ว เท้า อาจถูกตัดนิ้วมือและเท้าได้
การวินิจฉัย
เบื้องต้นจากประวัติ
การตรวจ ABI หรือ Droppler ultrasound, Artheriograms เพื่อวินิจฉัย ภาวะขาดเลือดที่หลอดเลือดส่วนปลาย
การรักษา/พยาบาล
งดสูบบุหรี่
รักษาแผลเรื้อรังที่เท้า
ให้ยาขยายหลอดเลือด แก้ปวด ตามอาการ
ให้ยา NSIAD เมื่อมีอาการหลอดเลือดดําอักเสบ
การรักษาโดยการผ่าตัด
Debride แผล เป็นการตัดเนื้อตายที่แผล
Lumbar sympathectomy ตัดเส้นประสาทซิมพาเธติคที่เอวออกเพื่อลดการหดเกร็งของหลอดเลือดแดง
การผ่าตัดหลอดเลือดซึ่งมักไม่ได้ผลเพราะหลอดเลือดที่ต่อไว้
หลอดเลือดดำตีบ
สาเหตุ
หลอดเลือดดําได้รับอันตราย เช่นอุบัติเหตุกระดูกหัก กล้ามเนื้อถูกกระแทก หรือการผ่าตัด
เลือดในหลอดเลือดมีการไหลเวียนช้าลงเช่นการนั่งหรือนอนนาน หลังผ่าตัด อัมพาต การเข้าเฝื อก
การที่เลือดมีการแข็งตัวง่าย
ปัจจัยเสี่ยง
คนแก่นอนไม่เคลื่อนไหวมากว่า 3วัน
อัมพาต การเข้าเผือก
หลังผ่าตัดทําให้ต้องนอนนาน
การที่ต้องนั่งรถ รถไฟ เครื่องบิน หรือนั่งไขว่ห้าง
การใช้ยาคุมกําเนิด ฉีดยาเสพติด
การตั้งครรภ์ หลังคลอด
โรคมะเร็ง โรคทางพันธุกรรมบางโรค
อาการ
อาการที่สําคัญคืออาการบวมที่เท้า
เนื่องจากการไหลกลับของเลือดไม่ดีมักจะบวมข้างเดียว
บางรายอาจจะเห็นเส้นเลือดโป่งพอง
อาจจะมีอาการปวดกล้ามเนื้อหรือเป็นตะคริวพบได้ครึ่งหนึ่งของ
ผู้ป่วยโดยเฉพาะเวลากระดกข้อเท้าจะทำให้ปวดมากขึ้น
เมื่อกดบริเวณน่องก็จะทําให้ปวด
ผู้ป่วยบางรายอาจจะไม่มีอาการที่เท้าอาจจะมาพบแพทย์ด้วยเรื่องหอบเหนื่อย เนื่องจากลิ่มเลือดไปอุดในปอด
พยาธิสภาพ
เส้นหลอดเลือดดําจะนําเลือดที่ใช้แล้วกลับสู่หัวใจ
โดยอาศัยการบีบตัวของกล้ามเนื้อร่วมกับลิ้นในหลอดเลือดดํา
หลอดเลือดดําที่ขามี 2 ชนิดคือหลอดเลือดดําที่ผิว superficial veinที่สามารถเห็นได้ด้วยตา
ซึ่งจะนําเลือดจากผิวไปสู่หลอดเลือดดําส่วนลึก deep vein
ไปยังหลอดเลือดดําใหญ่ในท้อง inferior venacava
เมื่อมีภาวะที่เลือดดําหยุดไหลเวียนและจับแข็งตัวเป็นภาวะ Trombosis
Thrombosisในหลอดเลือดเรียกภาวะนี ้ว่าลิ่มเลือดคั่งในหลอดเลือดดําภาวะนี้อาจจะเกิดร่วมกับการอักเสบของหลอดเลือดดํา
ภาวะนี้อาจจะเกิดที่เส้นเลือดผิว superficial vein ซึ่งเพียงทําให้บวมและปวดเท้า
การรักษา/พยาบาล
หากวินิจฉัยว่าเป็ น DVT จะต้องรีบให้การรักษาโดยรับตัวไวในโรงพยาบาลแพทย์จะเลือกให้ heparin หรือ low molecular weight heparin หลังจากนั้นต้องให้ warfarin เพื่อป้องกันลิ่มเลือดอีก 3 เดือน
การป้องการคือการลดปัจจัยเสี่ยงของการเกิดลิ่มเลือดในหลอดเลือดดําลึกและการป้องกันเส้นเลือดขอด
วิตามินอีช่วยลดการเกิดโรค
หลอดเลือดแดงส่วนปลายตีบ
สาเหตุ
การที่ผนังหลอดเลือดแดง (intima)ได้รับอันตรายซึ่งอาจจะเกิดจาก
แรงดันของความดันโลหิต
การอักเสบจากโรคที่เกิดจากภูมิคุ้มกัน
โรคติดเชื้อบางชนิดเช่น Chlamydia pneumoniae or Helicobacterpylori หรือเชื้อไวรัสบางตัวเช่ocytomegalovirus
สารเคมีในร่างกาย เช่น ไขมัน Cholesterol นํ้าตาล
อาการ
คล้ายหลอดเลือดแดงอักเสบ
คือ จะมีอาการปวดรุนแรงบริเวณที่หลอดเลือดแดงไปเลี้ยง
เช่น บริเวณ แขน ขา น่อง
การรักษา/พยาบาล
การดูแลรักษาแบบประคับประคอง
การเดินเป็นวิธีการที่ดีที่สุด กระตุ้นให้เดินจนกระทั่งเริ่มปวดแล้วหยุด
เมื่อหายปวดเริ่มเดินใหม่
หลีกเลี่ยงการประคบนํ้าแข็งหรือนํ้าร้อน
สวมรองเท้าที่พอดีไม่คับ
หลีกเลี่ยงอาหารที่ให้พลังงานมากเกินไป หรืออาหารมันมากเกินไป
รับประทานอาหารที่มีวิตามินบีมาก
การดูแลเท้า
การออกกําลังกาย
การควบคุมระดับไขมันในเลือด
การควบคุมความดันโลหิต และโรคเบาหวาน
การรักษาด้วยยา
ยาต้านเกล็ดเลือด
ยาละลายลิ่มเลือด
การให้ยาขยายหลอดเลือด
การให้ยา Beta-blocker ,estrogen
การผ่าตัด
การทํา Balloon angioplasty
การผ่าตัด Bypass
การพยาบาลหลังผ่าตัด
จัดท่านอนราบขาเหยียดตรง ห้ามงอ ห้ามเอาหมอนรองใต้เข่าเนื่องจากมีระบบไหลเวียนเลือดลดลง
สังเกตออาการ Bleeding, pain, infection, ขาดเลือด, หายใจและวิตกกังวล
เฝ้าระวังภาวะเลือดออกง่ายเนื่องจากได้รับยา Anticoagulance
คําแนะนําป้องกันกลับเป็นซํ้า ได้แก่ งดบุหรี่ ควบคุมไขมันในเลือดเบาหวาน และความดันโลหิต
สังเกตอาการผิดปกติ 6 P ได้แก่ ปวดขามาก ไข้ แขนขาอ่อนแรง เย็นคลําชีพจรไม่ได้ แผลตัดเชื้อให้มาพบแพทย์
หลอดเลือดดำขอด (Varicose vein)
สาเหตุ
การเกิดยังไม่ทราบแน่ชัด
แต่มีปัจจัยเสริมที่ทําให้เกิดหลอดเลือดขอดเพิ่มขึ้น
การยืนนานๆ การตั้งครรภ์ ความร้อน การถูกผูกรัด
พบว่าเพศหญิงมีอัตราการเกิดสูงกว่าเพศชาย
พยาธิสภาพ
เป็นความผิดปกติของหลอดเลือดดําให้ผิวหนัง
เกิดจากลิ้นกั้นในเลือดเลือดเสียหน้าที
ทําให้การไหลเวียนเลือดผิดปกติ
ไม่สามารถไล่เลือดให้ไหลกลับสู่หัวใจได้หมด
จึงเกิดการคั่งของเลือดในหลอดเลือดดํา
ทําให้หลอดเลือดดําขยายตัวกว้างใหญ่ขึ น ยาวขึ้นและหงิกงอ
พบได้บ่อยบริเวณขา น่อง ข้อเท้า และหลังเท้า
การรักษา/พยาบาล
รักษาแบบประคับประคอง
การผ่าตัดนําหลอดเลือดที่ขอดออก
หลังผ่าตัดพยาบาลควรตรวจสอบเกี่ยวกับการตกเลือด
ซึ่งหลังผ่าตัดต้องให้แนะนําเพื่อป้องกันการกลับเป็นซํ้า
ห้ามนั่งไขว่ห้าง
ออกกําลังกายเป็นประจํา
ลดนํ้าหนัก หลีกเลี่ยงการยืนนาน ๆ
ห้ามสวมเสื้อผ้าคับ รัดแน่นที่ขา ขาหนีบ เอว สวม Elastic stocking
รับประทานอาหารเส้นใยสูง หลีกเลี่ยงอาการท้องผูก
ลุกเคลื่อนไหว ทุก 35-45 นาที เมื่อนั่งนาน หรือเดินทางด้วยเครื่องบิน
เดินระยะสั้น ๆ อย่างน้อยทุก 45 นาที
เมื่อเดินทางด้วยรถยนต์
อาการ
ปวดตื้อ ๆ บริเวณขา กล้ามเนื้อเป็นตระคริว
มีอาการเมื่อยล้าขามากผิดปกติ
ถ้าเป็นเส้นเลือดขอดในระดับรุนแรง จนมีหลอดเลือดอุดตัน จะมีอาการบวมปวด ขามีสีคลํ้า
อาจมีแผลที่เท้าจากการขาดเลือดไปเลี้ยง
เสี่ยงต่อการบาดเจ็บ และติดเชื้อได้ง่าย