Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ภาวะขาดออกซิเจน (Birth asphyxia), นางสาวทัชฌาวดี โปทอง รหัส 601001049 -…
ภาวะขาดออกซิเจน (Birth asphyxia)
ความหมาย
เป็นภาวะที่ทารกแรกเกิดไม่สามารถหายใจได้อย่างมีประสิทธิภาพ (APGAR Score < 8 คะแนน) เป็นผลให้ขาดสมดุลของการแลกเปลี่ยนก๊าซ ทำให้มีระดับออกซิเจนในเลือดต่ำ (hypoxia) มีการคั่งของคาร์บอนไดออกไซด์ (hypercapnia) และมีสภาพเป็นกรดในกระแสเลือด (metabolic acidosis)
กลไกการเกิด
ไม่มีการแลกเปลี่ยนออกซิเจนที่รก ซึ่งเกิดจากรกมีการแยกตัวออกจากมดลูก
มีการนำออกซิเจนหรือสารอาหารจากมารดาไปยังทารกโดยผ่านทางรกไม่เพียงพอ
การไหลเวียนเลือดทางสายสะดือขัดข้อง มีการหยดุไหลเวียนหรือไหลเวียนลดลง
ปอดทารกขยายไม่เต็มที่และการไหลเวียนเลือดยังคงเป็นแบบทารกในครรภ์ไม่
สามารถปรับเป็นแบบทารกหลังคลอดได้และไม่พัฒนาเป็นแบบผู้ใหญ่
อาการและอากรแสดง
ระยะคลอด
พบขี้เทาปนในน้ำคร่ำ
ระยะหลังคลอด
APGAR score < 7 คะแนน
ตัวเขียว ไม่หายใจ ตัวนิ่ม อ่อนปวกเปียก ปฏิกิริยาตอบสนองต่อสิ่งกระตุ้นลดลง หัวใจเต้นช้า
ระยะตั้งครรภ์หรือก่อนคลอด
ทารกจะเคลื่อนไหวมากในระยะแรกและจะช้าลงหรือ FHS > 160 ครั้ง/นาที ในระยะแรกต่อมาจึงช้าลง
ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ
ค่า arterial blood gas ผิดปกติ คือ PaCO2 > 80 mmHg, PaO2 < 40 mmHg, pH < 7.1
ระดับน้ำตาลในเลือด 30 mg%
ค่าของ calcium ในเลือดต่ำกว่า 8 mg%
ค่าของ potassium ในเลือดสูง
พยาธิสภาพ
มีปริมาณออกเจนในกระแสเลือด < 40 mmHg ทำให้เลือดไเลี้ยงสมอง หัวใจ และต่อมหมวกไตมากขึ้น เลือดไปเลี้ยงอวัยวะอื่นลดลง ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่เห็นได้ชัดคือทารกหายใจแบบgasping ประมาณ 1 นาที ตามด้วยหายใจไม่สม่ำเสมอและหัวใจเต้นช้าลง ถ้าได้รับการแก้ไขจะกลับมาเป็นปกติ แต่ถ้าไม่ได้รับการแก้ไขทารกจะหยุดหายใจครั้งแรก (primary apnea) ถ้าช่วยกู้ชีพจะกลับไปปกติ แต่ถ้าไม่ได้รับการช่วยกู้ชีพอีกทารกจะพยายามหายใจโดยหายใจไม่สม่ำเสมอ ประมาณ 4-5 นาทีแล้วหยุดหายใจถาวร (secondary apnea) ร่างกายพยายามปรับตัวทำให้เกิดmetabolic acidosis ทำให้ขาดออกซิเจนรุนแรงมากขึ้นและจะเสียชีวิต
การรักษาจำแนกตามความรุนแรงของการขาดออกซิเจน
moderate asphyxia
ให้ออกซิเจน 100% และช่วยหายใจด้วย mask และbag เมื่อดีขึ้นจึงใส่ feeding tube เข้ากระเพาะอาหารเพื่อดูดลมออก ถ้าไม่ดีขึ้นหลังช่วยหายใจนาน 30 วินาที ใส่ ET tubeและนวดหัวใจ
severe asphyxia
ให้การช่วยเหลือโดยช่วยหายใจทันทีที่คลอดเสร็จ โดยใส่ ET tube
และช่วยหายใจด้วยออกซิเจน 100% ผ่าน bag ร่วมกับการนวดหัวใจ ถ้าไม่ดีขึ้นจึงรักษาด้วยยา
mild asphyxia
ให้ความอบอุ่น ทำทางเดินหายใจให้โล่ง กระตุ้นการหายใจ
การเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้นของลักษณะทารกหลังได้รับการช่วยเหลือ
3) ลักษณะสีผิว
4) อัตราการหายใจ
2) การตอบสนองเมื่อถูกกระตุ้น
5) การเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อ
1) อัตราการเต้นของหัวใจทารก
การพยาบาล
ดูแลให้ได้รับการตรวจทางห้องปฏิบัติการและได้รับยาตามแผนการรักษาของแพทย์
ดูแลให้ได้รับอาหารและสารน้ำตามแผนการรักษาของแพทย์
สังเกตอาการขาดออกซิเจน เช่น ริมฝีปากและปลายมือปลายเท้าซีด เขียว หายใจปีกจมูกบาน หายใจออกมีเสียงคราง หน้าอกบุ๋ม หรืออาการเปลี่ยนแปลงอื่นๆ เพื่อให้การช่วยเหลือและปรึกษาแพทย์
ดูแลความสะอาดของร่างกาย
บันทึกอัตราการหายใจ การเต้นของหัวใจทารกภายหลังคลอด
ดูแลให้พักผ่อน
เช็ดตัวทารกให้แห้งทันทีหลังคลอดและห่อตัวรักษาความอบอุ่นของร่างกาย เพื่อลดการใช้ออกซิเจน
ส่งเสริมสัมพันธภาพระหวา่งมารดาและทารก
ดูดสิ่งคัดหลั่งให้มากที่สุดก่อนคลอดลำตัว
เตรียมเครื่องมือให้พร้อมก่อนคลอด ในรายที่มารดามีภาวะเสี่ยงหรือมีอาการแสดงที่น่าสงสัยวา่ จะเกิด asphyxia
นางสาวทัชฌาวดี โปทอง รหัส 601001049