Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การคลอดเฉียบพลัน(Precipitate labor) - Coggle Diagram
การคลอดเฉียบพลัน(Precipitate labor)
การคลอดเฉียบพลัน (Precipitate labor) เป็นการคลอดที่เกิดขึ้นเร็ว ใช้เวลาทั้งหมดประมาณ 3 ชม. หรือประมาณ 2-4 ชม.
อุบัติการณ์พบได้ร้อยละ 2 ของการคลอด ร้อยละ 93ของผู้ที่เคยผ่านการคลอดมาแล้ว
สาเหตุและปัจจัยส่งเสริม
แรงต้านทานของเนื้อเยื่อช่องคลอดไม่ดี
การหดรัดตัวของกล้ามเนื้อมดลูกและกล้ามเนื้อหน้าท้องแรงผิดปกติ เกิดจากการให้ยาเร่งคลอด
ผู้คลอดครรภ์หลัง เนื้อเยื่อมีการยืดขยายมาก
ผู้คลอดมีเชิงกรานกว้าง
เคยมีประวัติคลอดเฉียบพลัน
ผู้คลอดไม่มีความรู้สึกเจ็บปวดจากการคลอดหรือไม่รู้สึกอยากเบ่ง
ทารกตัวเล็กหรืออายุครรภ์น้อยกว่ากำหนด ทำให้เคลื่อนต่ำลงมาได้ง่าย
ได้รับยากระตุ้นการหดรัดตัวของมดลูก
อาการและอาการแสดง
มีอาการเจ็บครรภ์มาก
มดลูกหดรัดตัวถี่และรุนแรง
ตรวจภายในพบปากมดลูก เปิดมากกว่า 5 ซม./ชม.ในครรภ์แรกและเปิดมากกว่า 10 ซม./ชม.ในครรภ์หลัง
การวินิจฉัย
อัตราการเปิดขยายของมดลูก เปิดมากกว่า 5 ซม/ชม ในครรภ์แรก และเปิดมากกว่า 10 ซม/ชม. ในครรภ์หลัง
มีการหดรัดตัวถี่และรุนแรง มีการหดหัดตัวทุก 2 นาทีหรือยบ่อยกว่าและระยะเวลาของการหดรัดตัวของมดลูกนานมากกว่า 90 วินาที หรือไม่มีการคลายตัว
ระยะเวลาในการเจ็บครรภ์และคลอดน้อยกว่า 3 ชม.
ความดันภายในโพรงมดลูก ประมาณ 50-70 mmHg.
ภาวะแทรกซ้อน
มารดา
เนื้อเยื่อบริเวรช่องทางคลอดเกิดการฉีกขาด
มีการติดเชื้อที่แผลฝีเย็บ
ตกเลือดหลังคลอดเนื่องจากมดลูกอ่อนล้าหดรัดตัวไม่ดี
อาจเกิดถุงน้ำคร่ำอุดตัน
มดลูกแตกจากการหดรัดตัวอย่างรุนแรง
เกิดการคั่งของเลือดใต้ชั้นผิวหนังที่ฉีกขาด
อาจเกิดมดลูกปลิ้นจากความดันในโพรงมดลูกลดลงอย่างรวดเร็ว
ทารก
มีเลือดออกในสมอง (subdural hemorrhage)
อาจเกิดภาวะ Erb'palsy
อาจเกิดภาวะขาดออกซิเจนเนื่องจากรกลอกตัวก่อนกำหนด
ทารกได้รับบาดเจ็บเนื่องจากการกระแทกเพราะช่วยคลอดไม่ทัน
สายสะดือขาดเนื่องจากสายสะดือสั้นหรือรกยังไม่ลอกตัว
ถ้าคลอดออกมาทั้งถุงน้ำคร่ำ (caul delivery) ทารกอาจสำลักน้ำคร่ำได้
ทารกอาจเกิดการติดเชื้อเนื่องจากไม่ได้เตรียมทำความสะอาดก่อนคลอด
รกลอกตัวก่อนกำหนด
ถ้าให้การช่วยเหลือช้า ทารกอาจเกิดภาวะหนาวสั่น หรือการช่วยฟื้นคืนชีพช้าทำให้เสียชีวิตได้
การรักษา
1.ให้การดูแลตามอาการ
2.ถ้าให้ยากระตุ้นการหดรัดตัวของมดลูกควรหยุดให้ยาและอาจให้ยายับยั้งการหดรัดตัวของมดลูก ในการที่คลอดเฉียบพลันมักจะให้ยาปฏิชีวนะเพื่อป้องกันการติดเชื้อ
3.ผ่าตัดคลอดทำในรายที่มีภารวะแทรกซ้อน uterine rupture หรือ amniotic fluid embolism
การประเมินสภาพ
การตรวจร่างกาย
ตรวจภายใน
ประเมินการหดรัดตัว
ฟัง FHS ร่วมกับการ monitot EF
ภาวะจิตสังคม
ความวิตกกังวล
ความหวาดกลัว
ซักประวัติ
ประวัติการคลอดเฉียบพลัน
การคลอดเร็วในครรภ์ก่อน
ลักษะการเจ็บครรภ์คลอด
ซักถามอาการอื่นๆร่วมกับการเจ็บครรภ์
การพยาบาล
1.มารดามีประวัติการคลอดเร็ว
1.1 ประเมินและบันทึกการหดรัดตัวของมดลูก และฟัง FHS ทุก 30 นาที
1.2 ประเมินการเปิดขยาย และความบางของปากมดลูกเมื่อมารดาอยากเบ่ง
1.3 พิจารณาเข้าห้องคลอด ในมารดาที่มีประวัติคลอดเร็วย้ายเข้าห้องคลอดเมื่อปากมดลูกเปิด 5 ซม.
2.ดูแลตามอาการ กรณีจะมีภาวะคลอดเฉียบพลัน
2.1 กระตุ้นให้มารดาใช้เทคนิคการหายใจแบบตื้นๆ เร็วๆ เบา ๆ เข้าออกทางปากและจมูก
2.2 ใช้ผ้าสะอาดกดบริเวณฝีเย็บ พร้อมทั้งใช้มืออีกข้างกดศีรษะทารกให้ก้มลงก่อนที่ศีรษะทารกจะคลอด
2.3 กรณีที่มารดาไม่สามารถหยุดเบ่ง และศีรษะทารกคลอดออกมาแล้ว ให้กางขามารดาออก เพื่อป้องกันศีรษะทารกถูกหนีบ
2.4 จับให้ทารกนอนศีรษะต่ำ ตะแคงหน้าไปด้านใดด้านหนึ่ง และดูดน้ำคร่ำในปากและจมูกทารกออก เพื่อป้องกันทารกสำลักน้ำคร่ำ
3.ระยะหลังคลอดดูแลอย่างใกล้ชิด
4.แนะนำให้รักษาความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ และดูแลให้ได้รับยาปฏิชีวนะตามแผนการรักษา
ข้อวินิจฉัยทงการพยาบาล
ช่องทางคลอดอ่อนมีโอกาสฉีกขาดมากผิดปกติเนื่องจากการคลอดเฉียบพลัน
วัตถุประสงค์การพยาบาล:ช่องทางคลอดอ่อนฉีกขาดในระดับปกติ
เกณฑ์การประเมินผล
แผลฝีเย็บฉีกขาดไม่เกินระดับ 2 (second degree tear)
กิจกรรมการพยาบาล
1.หยุดการให้ยา Oxytocin ในมารดาที่แสดงภาวะที่จะคลอดเร็ว
ปากมดลูกเปิดเร็ว
แรงการหดรัดตัวของมดลูกมากกว่าปกติ
ช่องทางคลอดค่อนข้างหลวม
2.กระตุ้นและควบคุมให้มารดาหายใจแบบตื้นๆ เร็วๆ เบาๆ เข้าออกทางปากและจมูก เมื่อปากมดลูกเปิดหมด เพื่อลดลดความรู้สึกอย่างเบ่งหรือไม่ให้เบ่งเร็วเกินไป
3.ไม่ทอดทิ้งผู้คลอดให้อยู่ตามลำพัง และพิจารณาการย้ายผู้คลอด
4.ประเมิน probable sign ถ้ามีอาการเหล่านี้ให้ตรวจภายใน
Interval สั้น Duration ยาว
มีมูกปนเลือดออกทางช่องคลอด
ฝีเย็บโป้งตึง มัน
รูทวารหนักเปิดขยาย
5.ประเมินความรู้และให้ข้อมูลที่จำเป็น เกี่ยวกับกระบวนการคลอด
ทารกอาจได้รับอันตรายจากการคลอดเฉียบพลัน
วัตถุประสงค์การพยาบาล:ทารกไม่เกิดอันตรายจากการคลอดเฉียบพลัน
เกณฑ์การประเมินผล
1.ทารกไม่มีภาวะขาดออกซิเจน
2.FHS= 110-160 ครั้ง/นาที
3.ทารกไม่ได้รับบาดเจ็บจากการช่วยคลอด ได้แก่ มีเลือดออกในสมอง มีภาวะ Erb’s palsy และ Asphyxia
กิจกรรมการพยาบาล
1.จัดเตรียมอุปกรณ์ในการทำคลอดและอุปกรณ์ช่วยฟื้นคืนชีพทารกไว้ให้พร้อม
2.ทำคลอดทารกโดยใช้หลักปราศจากเชื้อ
3.ถ้าถุงน้ำยังไม่แตก ตอนผู้คลอดเบ่งคลอดให้เจาะถุงน้ำคร่ำขณะที่มดลูกคลายตัว เพื่อป้องกันทารกสำลักน้ำคร่ำ
4.ถ้าถุงน้ำยังไม่แตก ไม่ควรจับทารกมากเกินไป ควรรีบฉีกถุงน้ำให้แตกและจับทารกให้นอนศีรษะต่ำกว่าลำตัว
5.ดูดเมือกและน้ำคร่ำออกจากปากและจมูกของทารก โดยจัดท่านอนศีรษะต่ำกว่าลำตัว
6.ประเมินคะแนน APGAR ใน 1 นาที และ5 นาที ถ้าคะแนนต่ำกว่า 7 คะแนน แสดงว่าอยู่ในภาวะเสี่ยง ต้องรีบให้ความช่วยเหลือ
7.เตรียมอุปกรณ์และให้ความช่วยเหลือในการประเมินสภาพทารก
8.ให้ยาปฏิชีวนะตามแผนการรักษา