Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ภาวะตกเลือดหลังคลอด - Coggle Diagram
ภาวะตกเลือดหลังคลอด
ความหมาย
ภาวะที่มีการเสียเลือดหลังคลอด ตั้งแต่ 500 ml. ขึ้นไป หรือมากกว่าร้อยละ 1 ของน้ำหนักตัวของมารดา
ชนิดของการตกเลือดหลังคลอด
การตกเลือดหลังคลอดระยะแรก (Early or immediate postpartum hemorrhage)
สาเหตุ
การหดรัดตัวของมดลูก (Tone)
การฉีกขาดของช่องทางคลอด (Trauma)
รกหรือเศษรกค้างภายในโพรงมดลูก (Tissue)
ความผิดปกติของการแข็งตัวของเลือด (Thrombin)
การวินิจฉัยการตกเลือดหลังคลอดระยะแรก
อาการและอาการแสดง
อาการแสดงของภาวะตกเลือด หน้าซีด ชีพจรเต้นเร็ว ระยะแรกจะหายใจเร็ว
ต่อมาจะหายใจช้า ใจสั่น เหงื่อออกมาก อ่อนเพลีย ความดันหิตต่ำ หมดสติและถึงแก่ชีวิตได้
มดลูกปลิ้นก็จะพบว่ามีเลือดพุ่งออกมาให้เห็นเป็นจำนวนมาก และอาจมีลิ่มเลือดสีแดงคล้ำปน
ออกมาด้วย
เกิดเลือดคั่งที่เอ็นยึดมดลูก จะไม่ปรากฏเลือดไหลออกมาให้เห็นภายนอก
การมีเลือดออก ซึ่งอาจไหลออกมาให้เห็นทางช่องคลอด หรืออาจไม่มีเลือดออกมาให้เห็นแต่ขัง
อยู่ข้างใน
ตรวจดูชิ้นส่วนของรกที่อาจค้างอยู่
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
การป้องกันการตกเลือดหลังคลอดระยะแรก
ระยะก่อนคลอด
2.การตรวจร่างกาย กับหญิงที่มาฝากภรรค์ทุกราย
การซักประวัติอย่างละเอียด
ระยะคลอด
ระวังการให้ยาแก้ปวดในขนาดที่มากเกินไป เพราะอาจเกิดผลต่อการหดรัดตัวของมดลูก
ทำคลอดในระยะที่ 2 และระยะที่ 3 อย่างถูกต้องเหมาะสม
ดูแลไม่ให้เกิดการคลอดยาวนาน
หลีกเลี่ยงการทำสูติศาสตร์หัตถการอย่างยาก
ตรวจรกและช่องทางคลอดอย่างละเอียด
ระยะหลังคลอด
ในรายที่ได้รับยากระตุ้นให้เกิดการเจ็บครรภ์ อาจให้ Oxytocin ต่อภายหลัง การคลอดอย่าง
น้อย 2 ชั่วโมง
กระตุ้นให้บุตรดูดนมมารดาทันทีหลังคลอด เพื่อกระตุ้นให้ฮอร์โมน Oxytocin หลั่งมากขึ้น
เพื่อให้มดลูกหดรัดตัวดี
ดูแลให้กระเพาะปัสสาวะว่าง โดยกระตุ้นให้ถ่ายปัสสาวะภายใน 2 ชั่วโมงแรกหลังคลอด
ผลจากการตกเลือดหลังคลอดระยะแรก
ระยะทันทีภายหลังคลอด ผู้คลอดจะมีอาการใจสั่น ซีดลง ชีพจรเบาเร็ว ความดันโลหิตต่ำ ช็อก มีการ ขาดออกซิเจน เกิดภาวะอวัยวะล้มเหลว ได้แก่ ไตวาย หัววาย มีความผิดปกติในการแข็งตัวของเลือดจากภาวะ ไฟปริโนเจนในเลือดต่ำและอาจตายได้ ต่อมาผู้คลอดจะมีภูมิต้านทานโรคต่ำลง ทำให้มีโอกาสติดเชื้อได้ง่าย ปริมาณน้ำนมของมารดาไม่เพียงพอ สำหรับเลี้ยงทารก อ่อนเพลีย ซีด สุขภาพทรุดโทรม และภาหลังพบว่า อาจจะเกิด Anterior pituitary necrosis ซึ่งเซลล์ของต่อมใสมองตายและเป็นผลทำให้การทำงานของระบบ ต่อมไร้ท่อเกิดความบกพร่องขึ้น ได้แก่ ต่อมไทรอยด์ ต่อมหมวกไต และรังไข่ ทำให้มีอาการไม่มีน้ำนมหลัง คลอด เต้านมเหี่ยว ระดูขาดและขนของอวัยวะเพศร่วง อ่อนเพลีย ขาดความสนใจสิ่งแวดล้อมซึ่งเป็นกลุ่ม อาการที่เรียกว่า Shechan’s Syndromes
การรักษาการตกเลือดหลังคลอดระยะแรก
การตกเลือดก่อนรกคลอด
ตรวจวัดความดันโลหิต ชีพจร การหายใจ
ให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำคือ 5% D/W หรือ 5% D/NSS หรือ Ringer lactase
solution (RLS) 1,000 ml. ร่วมกับ Oxytocin 10 – 20 unit โดยเร็ว
เจาะเลือดมารดาเพื่อตรวจหาระดับความเข้มข้นของเลือด พร้อมทั้งขอเลือด เตรียมไว้อย่าง
น้อย 2 Unit
ใส่สายสวนปัสสาวะคาไว้ เพื่อวัดปริมาณของปัสสาวะที่ออกมา และลดสิ่งขัดขวางการหดรัด
ตัวของมดลูก
ให้ยา Oxytocin 10 – 20 unit เข้าทางกล้ามเนื้อหรือหลอดเลือดดำ เมื่อไหล่หน้าหรือศีรษะทารกคลอดแล้ว
ทำคลอดรกโดยวิธี Cord traction ถ้ารกไม่คลอดให้ล้วงรกภายใต้ยาระงับความรู้สึกหรือยาระงับความเจ็บปวด หรือ ฉีด Pethidine 50 mg เข้าทางหลอดเลือดดำ
ตรวจรกที่คลอดแล้วอย่างละเอียด
คลึงมดลูกให้หดรัดตัวตลอดเวลา
ฉีด Methergin 0.2 mg เข้าทางหลอดเลือดดำอีก ถ้าจำเป็นเพื่อกระตุ้นการหดรัดตัวของมดลูก(ยกเว้นรายที่มีภาวะความดันโลหิตสูง)
กรณีภายหลังรกคลอดแล้ว ถ้าเลือดยังออกอยู่ให้ปฏิบัติข้อ 2 ต่อไป
การตกเลือดภายหลังรกคลอด
กรณีมดลูกหดรัดตัวไม่ดี
คลึงมดลูกให้หดรัดตัวตลอดเวลา
สวนปัสสาวะออกให้หมด แล้วคาสายสวนไว้ เพื่อให้กระเพาะปัสสาวะว่าง ไม่ขัดขวางการหดรัดตัวของมดลูก
ให้ 5%D/W หรือ 5% D/NSS หรือ Ringer lactase solution (RLS) 1,000 ml. ร่วมกับ
Oxytocin 10 – 20 unit ผสมอยู่ (กรณีที่ยังไม่ได้ให้) และขอเลือดเตรียมไว้ 2 – 4 unit
ฉีด Methergin 0.2 mg เข้าทางหลอดเลือดดำ
วางกระเป๋าน้ำแข็งบริเวณหน้าท้อง และคลึงให้มดลูกหดรัดตัวตลอดเวลา
การตกเลือดหลังคลอดระยะหลัง (Late or Delay postpartum hemorrhage)
สาเหตุ
มีก้อนเลือด หรือเศษรกค้างอยู่ภายในโพรงมดลูก เป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยที่สุด มักเกิดภายหลัง
คลอดประมาณ 1 – 2 สัปดาห
เลือดออกจากแผลภายในช่องคลอดมักเกิดจากการติดเชื้อบริเวณแผลภายในช่องคลอด
สาเหตุร่วมกันที่พบได้บ่อย ได้แก่ ภาวะมีเศษรกค้างในโพรงมดลูกร่วมกับการติดเชื้อภายในโพรง
มดลูก
ภาวะติดเชื้อภายในโพรงมดลูก ผู้ปุวยมักมีอาการของการติดเชื้อ เช่น มีไข้ น้ าคาวปลามีกลิ่นเหม็น
ปวดท้องน้อย มดลูกเข้าอู่ไม่ดี
เลือดออกจากแผลของมดลูกภายหลังผ่าตัดคลอดทางหน้าท้องและมะเร็งไข่ปลาอุก เป็นสาเหตุที่
พบได้น้อยมาก มักเกิดภายหลังคลอด 4 สัปดาห
การรักษาการตกเลือดหลังคลอดระยะหลัง
รายที่มีเศษรกค้าง หรือมีก้อนเลือดค้างอยู่ในโพรงมดลูก ให้Oxytocin แล้วท าการขูดมดลูกด้วย
ความระมัดระวัง เนื่องจากผนังมดลูกมีลักษณะนุ่ม และทะลุได้ง่าย
รายที่มีการติดเชื้อภายในโพรงมดลูก พิจารณาให้ยาช่วยการหดรัดตัวของมดลูก เพื่อช่วยให้มดลูก
หดรัดตัวดี ร่วมกับให้ยาปฏิชีวนะ
รายที่มีเลือดออกจากแผลภายในช่องคลอด ให้ทำความสะอาดและเย็บแผลให้เลือดหยุด ถ้าเนื้อเยื้อบริเวณแผลยุ่ยมาก เย็บแล้วเลือดไม่หยุด อาจต้องกดไว้หรือใช้ผ้าก๊อซอัดไว้ในช่องคลอดร่วมกับการใช้ยาปฏิชีวนะ
การวินิจฉัยการตกเลือดระยะหลัง
สามารถวินิจฉัยการตกเลือดหลังคลอดระยะหลัง ได้จากอาการและอาการแสดง ได้แก่ มีเลือดออกทางช่องคลอด มักเกิดอาการภายใน 3 สัปดาห์หลังคลอด ส่วนใหญ่พบระหว่างวันที่ 7 – 14 หลังคลอด ส่วนอาการอื่นๆ คล้ายกับการตกเลือดหลังคลอดระยะแรก
ผลของการตกเลือดหลังคลอดระยะหลัง
ภาวะซีด อ่อนเพลีย สุขภาพทรุดโทรม
ภูมิต้านทานโรคต่ำ ติดเชื้อได้ง่าย
เกิด Necrosis ของต่อมใต้สมองส่วนหน้า (Sheehan’ s syndrome)
กระบวนการพยาบาลในการดูแลมารดา
หลังคลอดที่มีภาวะตกเลือด
การประเมินสภาพ
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
CBC, การตรวจหาหมู่เลือด และการตรวจเลือดเพื่อประเมิน
การแข็งตัวของเลือด เช่น Platelets, PT, PTT , Fibrinogen depression
การซักประวัติ
ประวัติส่วนตัว เช่น ภาวะโลหิตจาง การแข็งตัวของเลือดผิดปกต
ประวัติความผิดปกติในระยะตั้งครรภ์ เช่น ภาวะครรภ์เป็นพิษ Aminionitis และทารกตาย
ในครรภ์ ภาวะรกเกาะต่ำ ภาวะครรภ์แฝดน้ำ หรือการตั้งครรภ์แฝด
ประวัติทางสูติศาสตร์ เช่น การคลอดเร็ว หรือระยะที่ 1 ระยะที่ 2 ของการคลอดยาวนาน ได้รับยาที่มีผลต่อการหดรัดตัวของมดลูก เช่น ยาสลบ Oxytocin และ MgSO4 การทำสูติศาสตร์หัตถการมีประวัติเคยตกเลือดหลังคลอดมดลูกแตกหรือการผ่าตัดมดลูกการทำคลอดรกขณะที่รกยังไม่ลอกตัว
การตรวจร่างกาย
การหดรัดตัวของมดลูก มักคล าได้นุ่ม ตรวจระดับยอดมดลูก อาจถึงระดับสะดือ หรือเหนือ ระดับ
สะดือ
การฉีกขาดของช่องทางคลอด
การบวมเลือดของอวัยวะสืบพันธ์
การมีรกหรือเศษเยื่อหุ้มรกค้างในโพรงมดลูก
เลือดสดออกทางช่องคลอด
ซีด ตัวเย็น ชีพจรเบาเร็ว อ่อนเพลีย ความดันโลหิตต่ำ กระสับกระส่าย
ความรุนแรงของการเสียเลือด การมีเลือดออกทางช่องคลอด ปริมาณเลือด ลักษณะ สี กลิ่น
ความสามารถในการเข้าอู่ของมดลูก ประเมินจากระดับยอดมดลูก
อาการติดเชื้อ เช่น มีไข้ น้ำคาวปลามีกลิ่นเหม็น ปวดท้องน้อย
การตรวจทางช่องคลอด พบเศษเยื้อหุ้มรกที่ปากมดลูก
วัตถุประสงค์การพยาบาล
ได้รับการป้องกันการตกเลือดอย่างถูกต้อง
การป้องกันการเกิดภาวะ Hypovolemic shock
ผู้ป่วยได้รับการดูแลรักษาพยาบาลภาวะตกเลือดหลังคลอดระยะหลัง
การป้องกันภาวะติดเชื้อหลังคลอด
ผู้ปุวยสามารถปรับตัวทางจิตสังคมหลังคลอดได้ตามปกติ
ผู้ป่วยลดความวิตกกังวลและสามารถปฏิบัติตนเมื่อมีภาวะตกเลือดหลังคลอดระยะหลังได้
แสดงบทบาทการเป็นบิดามารดาและมีความผูกพันกับทารกได้
สามารถปฏิบัติตนในระยะหลังคลอด และเลี้ยงดูบุตรได้
ความวิตกกังวลลดลง (ร่างกายกลับสู่สภาพปกติโดยเร็ว)
กิจกรรมการพยาบาล
การพยาบาลขณะตกเลือด
จัดท่าให้นอนราบเพื่อให้เลือดไปเลี้ยงหัวใจและสมองดีขึ้น
ตรวจและบันทึกสัญญาณชีพ ทุก 15 นาที จนกว่าจะคงที่
คลึงมดลูกให้แข็งตัวเป็นระยะ
ดูแลการให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำและยากระตุ้นการหดรัดตัวของมดลูก
ดูแลกระเพาะปัสสาวะให้ว่างป้องกันการขัดขวางการหดรัดตัวของมดลูก
ช่วยเหลือแพทย์ในการตรวจหาเศษเยื่อหุ้มรกค้าง
ให้ออกซิเจน
ตรวจสอบผลการตรวจเลือด ติดตามค่า CBC
ตรวจการมีเลือดออก และการหดรัดตัวของมดลูก ถ้ามีการฉีกขาดของช่องคลอด ให้เย็บ
ซ่อมแซม
บันทึกปริมาณสารน้ำที่ได้รับจำนวนเลือดที่เสียไปจำนวนปัสสาวะที่ออก
อธิบายพยาธิสภาพที่เกิดขึ้น ตลอดจนการรักษาพยาบาลให้ผู้คลอดทราบและเข้าใจเพื่อลด
ความวิตกกังวลและให้ความร่วมมือในการรักษา
ติดตามปริมาณน้ำคาวปลา สี กลิ่น จากจจำนวนผ้าอนามัย
ถ้ามีเลือดออกไม่หยุด กรณีรักษาดังกล่าวข้างต้นแล้ว แพทย์อาจพิจารณา ตัดมดลูก พยาบาล ควรให้กำลังใจและอธิบายให้เข้าใจถึงความจำเป็นในการรักษา เพื่อให้ผู้ป่วยปรับตัวกับสถานการณ์จริงและมีกำลังใจที่จะดูแลตนเอง
3.การพยาบาลระยะหลังการตกเลือด
ใส่ผ้าอนามัยเพื่อสังเกตปริมาณเลือดที่ออกทางช่องคลอด
ดูแลให้ได้รับการพักผ่อนอย่างเพียงพอ
ดูแลให้รับประทานอาหารและยาวิตามิน ธาตุเหล็ก ตามแผนการรักษา
ระวังอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นจากอาการหน้ามืด เมื่อลุกนั่ง
แนะนำการคลึงมดลูก
แนะนำการปฏิบัติตัวหลังคลอด ได้แก่การเปลี่ยนแปลงของน้ำคาวปลา ระดับยอดมดลูก การ
ดูแลความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์
แนะนำอาการผิดปกติที่ควรมาพบแพทย์ ได้แก่ อาการของการติดเชื้อ มีเลือดออกทางช่อง
คลอด น้ำคาวปลามีกลิ่นเหม็น เป็นต้น
กระตุ้นการรับรู้เกี่ยวกับบุตร
การพยาบาลเพื่อปูองกันการตกเลือด
ประเมินปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดการตกเลือดหลังคลอด เพื่อการเฝูาระวังและเตรียมการ
ช่วยเหลือ ได้แก่ ภาวะทุพโภชนาการ ภาวะโลหิตจาง ประวัติการตั้งครรภ์และการคลอด
ระมัดระวังการทำคลอดทุกระยะให้ถูกวิธี โดยป้องกันการฉีกขาดบริเวณรอบปากช่องคลอด
ไม่เร่งทำคลอดรกก่อนรกลอกตัว
ในรายที่คาดว่าจะมีการตกเลือดให้เตรียมสารน้ำ ยา และอุปกรณ์กู้ชีวิตให้พร้อมใช้งานได้
ทันที
ตรวจหากลุ่มเลือดขณะตั้งครรภ์
ดูแลในระยะ 2 ชั่วโมงหลังคลอดอย่างใกล้ชิด ได้แก่การหดรัดตัวของมดลูก การสังเกต
จำนวนและลักษณะของเลือดที่ออกจากช่องคลอด และสัญญาณชีพ
การประเมินผลการพยาบาล
ผู้คลอดปลอดภัยจากภาวะตกเลือด
ผู้คลอดไม่มีเลือดออกทางช่องคลอดผิดปกติ มดลูกหดรัดตัวกลมแข็ง แผลฉีกขาดได้รับการเย็บซ่อมแซม
คลอดไม่มีภาวะติดเชื้อหลังคลอด
ผู้คลอดได้รับการดูแลและสามารถปฏิบัติกิจวัติประจำวัน และแสดงบทบาทการเป็นมารดาได้
ผู้คลอดและญาติได้รับข้อมูลเกี่ยวกับความก้าวหน้าของอาการและการรักษาพยาบาล
ผู้คลอดปฏิบัติตนเมื่อมีภาวะตกเลือดหลังคลอดได้