Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
:no_entry:ผู้ที่มีความวิตกกังวล เครียด :no_entry:, FaceQ1425641390875,…
:no_entry:
ผู้ที่มีความวิตกกังวล เครียด
:no_entry:
ความวิตกกังวล (Anxiety)
:warning:
ความหมาย
:check:
:explode:
ความวิตกกังวล
หมายถึง ความรู้สึกไม่สบาย สับสน กระวนกระวาย กระสับกระส่าย หรือตื่นตระหนกต่อสถานการณ์ที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคตและเกรงว่าจะเกิดอันตราย หรือความเสียหายซึ่งบอกไม่ได้ชัดเจน ซึ่งอาจเกิดขึ้นจริงหรือคิดขึ้นเองจากสิ่งที่ไม่รู้ ไม่แน่ใจ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งร่างกายและพฤติกรรม
การประเมินสภาวะความวิตกกังวล
:star:
ความเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกาย จิตใจ และสังคม เมื่อมีความวิตกกังวลเกิดขึ้น
ระดับความรุนแรงของความวิตกกังวล
สาเหตุของความวิตกกังวลและวิธีการเผชิญกับภาวะวิตกกังวลจากการซักประวัติจากผู้ป่วย และบุคคลใกล้ชิด รวมทั้งการสังเกตพฤติกรรมในขณะนั้น
ประเมินสมรรถภาพ และองค์ประกอบในด้านอื่นๆของผู้ป่วย
การวินิจฉัยทางการพยาบาล:star:
มีความวิตกกังวลระดับรุนแรงเนื่องจากคิดว่าตนเองไม่สามารถควบคุม หรือแก้ไขปัญหาได้
การเผชิญปัญหาไม่เหมาะสมเป็นผลมาจากมีความวิตกกังวลระดับรุนแรง
มีความผิดปกติด้านการคิดเนื่องจากวิตกกังวลในระดับรุนแรง
มีความวิตกกังวลระดับปานกลาง เนื่องจากรู้สึกว่าชีวิตถูกคุกคามและถูกบีบคั้นทางจิตวิญญาณ
กิจกรรมการพยาบาล
:star:
ยอมรับและท่าความเข้าใจในพฤติกรรมของผู้ป่วย และไม่กล่าวตำหนิ
อยู่เป็นเพื่อนเพราะการอยู่คนเดียวเพียงลำพังจะท่าให้ผู้ป่วยรู้สึกหวาดหวั่นโดดเดี่ยวเหมือนถูกทอดทิ้งมากขึ้น
ใช้คำพูดง่ายๆ สั้นๆ กะทัดรัด ได้ใจความตรงไปตรงมา น้ำเสียงที่พูดต้องชัดเจน นุ่มนวล รับฟัง เปิดโอกาสให้ได้ระบายความวิตกกังวลออกมา
นำผู้ป่วยออกจากสถานการณ์ที่ก่อให้เกิดความวิตกกังวล ซึ่งผู้ป่วยไม่อาจทนหรือควบคุมตนเองได้
ดูแลป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นกับผู้ป่วยและบุคคลอื่น อันเนื่องมาจากผู้ป่วยไม่สามารถควบคุมตนเองได้ มีอารมณ์พฤติกรรมก้าวร้าวและรุนแรง หรืออยู่ในระดับไม่รู้สึกตัว
ดูแลผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด พร้อมทั้งบันทึกรายงานอาการ และพฤติกรรมของผู้ป่วยโดยละเอียดเพื่อตรวจสอบดูความก้าวหน้าของการรักษาพยาบาล
ดูแลผู้ป่วยให้ได้รับอาหารและน้ำตามความต้องการของร่างกาย เนื่องจากผู้ป่วยจะไม่สนใจเรื่องการรับประทานอาหาร
การประเมินผลทางการพยาบาล
:star:
รู้สึกผ่อนคลายได้มากขึ้น
สามารถแยกแยะและประเมินระดับความวิตกกังวลของตนเองได้
สามารถบอกถึงความรู้สึกวิตกกังวลที่มีต่อตนเองและผู้อื่นได้
สามารถอธิบายเชื่อมโยงผลของความวิตกกังวลที่มีต่อตนเองและผู้อื่นได้
สามารถบอกวิธีการที่เหมาะสมในการแก้ไขความวิตกกังวลได้
สามารถแสวงหาแหล่งสนับสนุนช่วยเหลือทางสังคม เพื่อลดความวิตกกังวลให้กับตนเองได้อย่างสร้างสรรค์มากขึ้น
ความเครียด (Stress)
:warning:
ความหมาย
:check:
:explode:
ความเครียด
คือ ปฏิกิริยาตอบสนองของร่างกายและจิตใจที่มีต่อสิ่งกระตุ้น (Stressor) และบุคคลนั้นได้ประเมินแล้วว่าสิ่งกระตุ้นนั้นคุกคาม หรือทำให้ตนเองรู้สึกไม่มั่นคงปลอดภัย หากบุคคลมีความเครียดระดับสูงและสะสมอยู่นานๆ จะก่อให้เกิดโรคทางกายและทางจิตได้
:star:
การประเมินสภาวะความเครียด
ประเมินอาการแสดงทางร่างกายที่เป็นผลมาจากความเครียด
เช่น การนอนหลับพักผ่อน การรับประทานอาหาร ระบบย่อยอาหาร อาการปวดศีรษะ มึนงง ปวดตามกล้ามเนื้ออ่อนแรง ไม่อยากทำอะไร อ่อนเพลีย หัวใจเต้นเร็ว หายใจไม่อิ่ม มือเย็น แน่นจุกท้อง เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน ท้องร่วง ท้องผูก หรืออาการทางกายที่มีอยู่เดิมกำเริบ เป็นต้น
ประเมินอาการแสดงทางจิตใจ
เช่น ด้านอารมณ์ บุคคลอาจมีความวิตกกังวล ความโกรธ ก้าวร้าว หรือความกลัว อาจมีการเปลี่ยนแปลงอื่นๆ เช่น สูญเสียสมาธิ ความสามารถในการจำลดลง มีการเปลี่ยนแปลงทางด้านการรู้คิดและสติปัญญา รวมถึงพฤติกรรมการใช้กลไกทางจิตที่ไม่เหมาะสม และอาจเป็นสาเหตุนำไปสู่ภาวะซึมเศร้า และการฆ่าตัวตาย
การวินิจฉัยทางการพยาบาล
:star:
เป้าหมายระยะสั้น
เพื่อลดความเครียดของผู้ป่วยให้กลับสู่ภาวะปกติ หรือเพื่อให้การบำบัดรักษาอาการทางกายที่มีอยู่ในตอนนั้น
เป้าหมายระยะยาว
จะมุ่งเน้นให้ผู้ป่วยได้รู้และเข้าใจถึงกลวิธีในการปรับตัวต่อเหตุการณ์ที่ก่อให้เกิดความเครียดของตนเอง เพื่อให้ได้เรียนรู้วิธีจัดการความเครียดที่เหมาะสมมากยิ่งขึ้น
:star:
กิจกรรมการพยาบาล
สร้างสัมพันธภาพ เพื่อการบ่าบัดเพื่อให้ผู้ป่วยได้รู้และเข้าใจตนเองถึงสาเหตุที่ท่าให้เกิดความเครียด
ให้ก่าลังใจและฝึกให้ผู้ป่วยได้เรียนรู้กลวิธีในการจัดการความเครียดที่สร้างสรรค์มากขึ้น
สอนและแนะนำให้ประเมินระดับความเครียดด้วยตนเอง เมื่อต้องเผชิญกับเหตุการณ์ที่เข้ามากระตุ้น
กระตุ้นและให้กำลังใจ ให้วางแผนการเปลี่ยนแปลงตนเอง ในการใช้ชีวิตเพื่อผ่อนคลายความเครียด
ฝึกทักษะการคิดเชิงบวก เพื่อปรับเปลี่ยนมุมมองต่อสถานการณ์ที่กระตุ้นให้เกิดความเครียด
รับประทานผักให้มากขึ้น เพราะจะทำให้สมองสร้าง serotonin เพิ่ม จะช่วยลดความเครียด และควรจะได้รับวิตามิน และเกลือแร่ในปริมาณที่เพียงพอ
มอบหมายให้ผู้ป่วยทำตารางเวลาของชีวิต
การประเมินผลทางการพยาบาล
:star:
อาการทางกายทุเลาหรือกลับสู่ภาวะปกติ
รู้สึกผ่อนคลายมากขึ้น ระดับความเครียดลดลง
สามารถเชื่อมโยงอาการ และอาการแสดงที่สัมพันธ์กับความเครียดของตนเองได้
สามารถประเมินระดับความเครียดของตนเองได้
สามารถบอกวิธีการจัดการความเครียดที่เหมาะสมกับตนเองได้
สามารถแสวงหาแหล่งสนับสนุนช่วยเหลือทางสังคม เพื่อลดความเครียดให้กับตนเองได้มากขึ้น
นางสาวปิยธิดา เตราชูสงค์ เลขที่ 37