Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ภาวะน้ำคร่ำอุดกั้นหลอดเลือดในปอด, นางสาวฐานิกา มะโหละกุล รหัส 601001041 -…
ภาวะน้ำคร่ำอุดกั้นหลอดเลือดในปอด
ความหมาย
ภาวะที่มีน้ำคร่ำผ่านเข้าสู่กระแสเลือดขอมารดา ซึ่งจะเข้าไปในหลอดลมฝอยในปอด แล้วไปอุดกั้นบริเวณหลอดเลือดดำที่ปอด ทำให้ร่างกายเกิดปฏิกริยาต่อต้านทำให้เกิดภาวะล้มเหลวของการทำงานของระบบหายใจ ระบบหัวใจและการไหลเวียนโลหิต ระบบการแข็งตัวของโลหิต ช็อคและเสียชีวิตในที่สุด เป็นภาวะฉุกเฉินทางการคลอดที่มีลักษณะเฉพาะ 3 ประการ
ภาวะขาดออกซิเจน (hypoxia)
ภาวะความผิดปกติของการแข็งตัวของเลือด (consumptive coagulopathy)
ภาวะความดันโลหิตต่ำ (hypotention) อย่างทันทีทันใด
ปัจจัยส่งเสริม
รกลอกตัวก่อนกำหนด
มดลูกแตก
รกเกาะต่ำ
การบาดเจ็บในช่องท้อง
การคลอดเฉียบพลัน
ทารกตายในครรภ์ เป็นเวลานาน ทำให้มีการเปื่อยยุ่ย ขาดง่าย อาจะเกิดการฉีกขาดของหลอดเลือด ทำให้น้ำคร่ำเข้าสู่กระแสเลือด
การผ่าตัดเอาทารกออกทางหน้าท้อง
การเร่งคลอด โดยการใช้ยากระตุ้นการหดรัดตัวของมดลูก
มารดามีบุตรหลายคน
มารดาตั้งครรภ์หลังที่มีอายุมากกว่า 35 ปี
น้ำคร่ำมีขี้เทาปน
การแบ่งคลอดขณะถุงน้ำคร่ำยังไม่แตก
การเจาะถุงน้ำคร่ำ
การรูดเพื่อเปิดขยายปากมดลูก
การตรวจวินิจฉัยน้ำคร่ำก่อนคลอด
การหมุนเปลี่ยนท่าทารกภายในและภายนอกครรภ์
พยาธิสรีรวิทยา
ถุงน้ำคร่ำมีรูรั่วหรือแตก ส่วนประกอบของน้ำคร่ำจะผ่านเข้าสู่กระแสเลือดของผู้คลอด โดยผ่านเข้าไปในบริเวณที่รกลอกตัว หรือบริเวณที่ปากมดลูกที่ฉีกขาด ด้วยแรงดันจากการหดรัดตัวของมดลูก
อาการและอาการแสดง
เส้นเลือดที่หัวใจตีบ
ความดันโลหิตต่ำมาก (low bloood pressure)
เกิดภาวะน้ำคั่งในปอด (pulmonary edema)
หายใจลำบาก (dyspnea) เกิดภาวะหายใจล้มเหลวทันทีทันใด เขียวตามใบหน้า และลำตัว (cyanosis)
ชัก
คลื่นไส้ อาเจียน วิตกกังวล
หมดสติ (Unconscious) และเสียชีวิตในเวลาต่อมา
เหงื่อออกมาก
ถ้าเกิดอาการนานกว่า 1 ชม ผู้คลอดยังมีชีวิตอยุ่จะเกิดภาวะกลไกการแข็งตัวของเือดเสียไป และเกิดอาการตกเลือดอย่างรุนแรง
มีอาการหนาวสั่น (chill)
การวินิจฉัย
การวินิจฉัยจากอาการและอาการแสดง
เส้นเลือดหัวใจหดเกร็ง (cardiovascular collapse)
เลือดออก
อาการเขียว
ไม่รู้สติ
ระบบหายใจล้มเหลว (respiratory distress)
การตรวจทางห้องปฎิบัติการ
การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (ECG) จะพบลักษณธ tachycardia ST และ T wave เปลี่ยนแปลง และมี RV strain
ตรวจการไหลเวียนองเลือดในปอดอาจพบความบกพร่องในการกำซาบ (perfusion defect) ได้
การถ่ายภาพรังสีทรวงอก ส่วนใหญ่จะไม่พบความผิดปกติแต่อาจพบลักษณะ pulmonary edema
การตรวจหา Sialy 1TH antigen จะพบมีระดับสูงขึ้นในน้ำคร่ำที่มีขี้เทาปนเปื้อน
การตรวจหาเซลล์ผิวหนัง ขนอ่อน (lanugo hair) เมือกของทารกหรือเซลล์จากรก (fetal squamous cell, fetal debris,trophoblasts) ซึ่งต้องอาศัยการย้อยสีพิเศษโดยตรวจได้จาก
เลือดจากกระแสเลือดไปปอดของมารดา หรือจากในสายของซีวีพี (CVP line)
เสมหะ
การชันสูตรศพ (autopsy)
ผลกระทบ
ต่อมารดา
ทำให้ผู้คลอดเสียชีวิตจากการเสียเลือด ช็อค พบว่าร้อยละ 39 ของผู้เสียชีวิตเกิดขึ้นภายใน 1 ชม หลังจากการเริ่มปรากฎอาการ และยังพบว่า 1 ใน 3 ของผู้เสียชีวิตทั้งหมด มักเสียชีวิตภายใน 30 นาที ถ้ามีผู้รอดชีวิตมักมีอาการทางระบบประสาท เนื่องจากมีการขาดออกซิเจนรุนแรง
ต่อทารก
พบว่า มารดาที่หัวใจและปอดหยุดทำงาน โอกาสรอดของทารกมีค่อนข้างน้อย โดยทั่วไปโอกาสรอดของทารกมีประมาณร้อยละ 70 แต่เกือบครึ่งของทารกที่รอดชีวิตจะมีภาวะบกพร่องทางระบบประสาท
การป้องกัน
การเจาะถุงน้ำคร่ำควรทำอย่างระมัดระวัง ไม่ให้ถูกปากมดลูก เนื่องจากจะทำให้เส้นเลือดที่ปากมดลูกฉีกขาด
ขณะเจ็บครรภ์คลอด ไม่ควรเร่งให้มดลูกหดรัดตัวถี่เกินไป ควรจะหดรัดตัวแต่ละครั้งนานไม่ควรเกิน 60 นาที ระยะห่างประมาณ 2-3 นาทีต่อครั้ง
การกระตุ้นการเจ็บครรภ์ ในรายที่เด็กตายในครรภ์โดยใช้ Oxytocin drip ควรทำอย่างระมัดระวัง ไม่ควรเจาะถุงน้ำคร่ำก่อนปากมดลูกเปิดหมด
ไม่ควรกระตุ้นการเจ็บครรภ์โดยวิธีเลาะแยกเยื่อถุงน้ำคร่ำ (stripping membranes) จากคอมดลูก เพราะจะทำให้หลอดเลือดดำบริเวณปากมดลูกด้านในฉีกขาดได้
ในรายที่มีภาวะรกเกาะต่ำ การตรวจภายในควรจะกระทำอย่างระมัดระวัง
ถ้าผู้คลอดเจ็บครรภ์ถี่มากเกินกำหนด ผู้คลอดพักได้น้อย ควรรายงานแพทย์เวรทราบทุกครั้ง
การรักษา
ดูแลระบบไหลเวียนเลือด เพื่อแก้ปัญหาภาวะความดันต่ำ โดยการให้ IV เพื่อเพิ่มปริมาตรเลือด พลาสมา และสารไฟบริโนเจนโดยเลือดที่ใช้จะต้องไม่เกิน 24 ชม หลังได้รับการบริจาค อาจให้ยากระตุ้นหัวใจ เช่น Dopamine
ดูแลทางเดินหายใจให้โล่ง โดยจัดให้นอน Fowler's position ให้ออกซิเจน 100% และถ้ามีระบบทางเดินหายใจล้มเหลวให้ใส่ท่อช่วยหายใจและใช้เครื่องช่วยหายใจ
ดูแลการหดรัดตัวของมดลูก โดยให้ยา oxytocin หรือ methergin ทาง IV
ถ้าทารกยังไม่คลอด ประเมินอัตราการเต้นของหัวใจทารก และรีบให้การช่วยเหลือโดยการผ่าตัดคลอดทางหน้าท้องอย่างเร่งด่วน
เตรียมยาในการช่วยชีวิตผู้คลอถ้ามีความดันโลหิตต่ำ เช่น Dopamine,Norepinephrine,Epinephrine
เจาะเลือดเพื่อประเมินความเข้มข้นของเลือดและการแข็งตัวของเลือด
รักษาภาวะการแข็งตัวของเลือดผิดปกติ (DIC) โดยให้ยา Heparin
ประเมินการเสียเลือดทางช่องคลอด อาจมีการชั่งน้ำหนักของผ้าอนามัย น้ำหนัก 1 กรัม เท่ากับปริมาการเสียเลือด 1 มิลลิลิตร
นางสาวฐานิกา มะโหละกุล รหัส 601001041