Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การประเมินผลทางเศรษฐศาสตร์ด้านสุขภาพ และสาธารณสุข, นางสาวเครือวัลย์ …
การประเมินผลทางเศรษฐศาสตร์ด้านสุขภาพ
และสาธารณสุข
1. ภาวะของโรค(Burden of Disease)
ภาวะของโรค(Burden of Disease)การที่คนประสบอุบัติเหตุ เจ็บป่วย พิการ หรือทุพพลภาพ ตายก่อนวัย หรือสภาวะที่ทำให้ตนเสียสุขภาพไป ทั้งจากการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรและจากการสูญเสียคุณภาพชีวิตจากความเจ็บป่วยหรือพิการ
หลักการในการพิจารณา
กลุ่มโรคที่มีค่ารักษาพยาบาลสูง
กลุ่มโรคที่ผู้ป่วยมีโอกาสเข้ารับบริการที่ห้องฉุกเฉินได้มาก
กลุ่มโรคที่มีการใช้บริการผู้ป่วยในมากหรือต้องนอนโรงพยาบาลนาน
กลุ่มโรคเรื้อรัง
กลุ่มโรคที่เกิดภาวะแทรกซ้อนเป็นภาระสำหรับระบบบริการ
กลุ่มโรคที่มีขนาดปัญหาหรือผลกระทบต่อชุมชนมาก
การใช้ทรัพยากร
Personnel
Buildings and space
Equipment
Supplies and pharmaceutical
Transportation
Training
2.ดัชนีวัดสุขภาพ
การคำนวณความสูญเสียทางสุขภาพจากความเจ็บป่วย พิการ หรือเสียชีวิตก่อนวัยอันควรโดยวัดออกมาเป็นจำนวณปีอายุคาดเฉลี่ยเมื่อแรกเกิด เพศชาย 70 ปี เพศหญิง 80.1 ปี
Disability adjust life year (DALYs)
เป็นดัชนีวัดสถานะสุขภาพของประชากร แบบองค์รวมซึ่งเป็นที่รู้จักและใช้กันแพร่หลายในระดับนานาชาติ โดยวัดการสูญเสียทางสุขภาพจากความเจ็บป่วย พิการและการตายในหน่วยนับเป็นปีซึ่งหนึ่งหน่วยปีสุขภาวะที่สูญเสีย(1 DALY)เท่ากับการสูญเสียเวลาของการมี สุขภาพที่สมบูรณ์ไปจำนวน 1 ปี
DALYs คือ จำนวนปีสุขภาวะที่ปรับด้วยความบกพร่องทางสุขภาพ หรือ ดัชนีที่วัดสถานะสุขภาพของประชากรแบบองค์รวม
DALYs = YLL+YLD
YLL (Year of life lost) = จำนวนปีที่สูญเสียไปจากการตายก่อนวัยอันควร
YLD (Year of life lost due to disability) = จำนวนปีที่มีชีวิตอยู่กับความพิการบกพร่องทางสุขภาพ
YLD (Year of life lost due to disability) คือ จำนวนปีที่มีชีวิตอยู่กับความพิการบกพร่องทางสุขภาพ
สูตรที่ใช้ YLD = IDWL
I= อุบัติการณ์ของโรคในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง
DW = ค่าถ่วงนํ้าหนักของภาวะบกพร่องทางสุขภาพ
L= ระยะเวลาเฉลี่ยของภาวะบกพร่องทางสุขภาพ(ปี)
3.การประเมินผลเศรษฐศาสตร์ด้านสุขภาพและสาธารณสุข
การประเมินทางเศรษฐศาสตร์ (Economic evaluation)เป็นวิธีการที่ได้รับการพัฒนาโดยนักเศรษฐศาสตร์ เพื่อช่วยใน
การตัดสินใจเมื่อต้องการเลือกบางโครงการจากโครงการที่มีอยู่ทั้งหมด ผลของการประเมินโครงการทางเศรษฐศาสตร์จะ
มีความเป็นรูปธรรมสูงจนใช้ประกอบการตัดสินใจได้ง่ายฉะนั้นการประเมินทางเศรษฐศาสตร์จึงเป็นที่นิยมใช้ในการประเมินโครงการต่างๆมากมาย
ประโยชน์ของการประเมินผลในงานด้านสาธารณสุข
1.ทางเลือกในการป้องกันการเจ็บป่วย
2.ทางเลือกในวิธีการตรวจหาสาเหตุของโรค
3.ทางเลือกในวิธีการรักษา
4.ทางเลือกเกี่ยวกับสถานที่จะให้การดูแลรักษาผู้ป่วย
5.ทางเลือกในการจัดองค์การจัดการเพื่อการสาธารณสุข
หลักการประเมินทางเศรษฐศาสตร์
1.กำหนดสิ่งที่จะประเมิน
2.จำแนกองค์ประกอบของต้นทุนที่เกี่ยวข้อง
3.พิจารณาผลลัพธ์ที่เกี่ยวข้อง
4.รวบรวมต้นทุน
5.คำนวณต้นทุน
6.ตีค่าประโยชน์ที่ได้
การวิเคราะห์ต้นทุนตํ่าสุด (CMA: Cost-minimization analysis) การวิเคราะห์เพื่อเปรียบเทียบระหว่างทางเลือกหลายๆทางเลือกสามารถทำให้บรรลุผลที่เหมือนกันทุกประการ ทางเลือกใดที่เสียต้นทุนตํ่าสุดย่อมเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด เช่น รักษาตัวในโรงพยาบาล รักษาตัวที่บ้าน
ข้อดี ผู้วิเคราะห์ไม่ต้องประเมินด้านผลประโยชน์ของโครงการ เพราะทุกโครงการให้ผลประโยชน์เหมือนกันทุกประการ ดังนั้นจึงเปรียบเทียบกันเฉพาะด้านต้นทุน
ข้อเสีย ถ้าทางเลือกที่นำมาพิจารณาให้ผลประโยชน์ที่แตกต่างกันไป การวิเคราะห์ในรูปแบบนี้ก็ไม่เหมาะสม และเพื่อให้แน่ใจว่าผลของแต่ละทางเลือกเหมือนกันทุกประการก็จะต้องมีการทดลองและทดสอบประกอบด้วย
การวิเคราะห์ต้นทุน-ประสิทธิผล (Cost-Effectiveness analysis: CEA) การประเมินสำหรับโครงการที่มีประสิทธิผลอยู่ในรูปของผลทางคลินิก เช่นจำนวนคนตายที่หลีกเลี่ยงได้จากการรักษา การที่จะต่ออายุผู้ป่วยด้วยโรคไตวาย การผ่าตัดหัวใจ กับการผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจ
ข้อดี ของเป็นการลดข้อจำกัดของวิธีการ CMA นั้นคือโครงการที่นำมาเปรียบเทียบ ไม่จำเป็นต้องเป็นโครงการที่ให้ผลเหมือนกันทุกประการ เพียงแต่มีผลอันเป็นเป้าหมายร่วมอันเดียวกัน
ข้อจำกัด การใช้โครงการที่นำมาวิเคราะห์เปรียบเทียบกันตามวิธีการ CEAจะต้องเป็นเป้าหมายของโครงการที่นำเมาเปรียบเทียบนั้นต้องสามารถระบุและวัดขนาดได้ เช่นช่างเวลาที่สามารถยืดอายุผู้ป่วยออกไป หรือจำนวนการตายที่ลดลง หรือจำนวนวันลาป่วยที่ลดลง
การวิเคราะห์ต้นทุน-ผลประโยชน์ (CBA: Cost-Benefit analysis) เป็นการวิเคราะห์เปรียบเทียบโครงการโดยนำทั้งทางด้านต้นทุนและผลของโครงการมาคิดให้อยู่ในหน่วยของเงินเพื่อการเปรียบเทียบผลประโยชน์และต้นทุนของโครงการหนึ่งๆ
ข้อด้อยของ CBA ใช้ได้กับทุกโครงการอย่างกว้างขวางนั้นตั้งบนสมมติฐานที่ว่าต้นทุนและผลประโยชน์ต่างๆของทุกๆโครงการสามารถคิดค่าเป็นตัวเงินได้ แต่ยังเป็นเรื่องที่โต้แย้งกันในทางทฤษฏีหรือแนวความคิด และถึงแม้จะยอมรับในแนวความคิดกันได้ ความยุ่งยากในทางปฏิบัติก็ยังมีสูงมาก
ข้อดีของ สำหรับโครงการหนึ่งโครงการใดจะต้องให้ข้อมูลที่ครบถ้วนสมบูรณ์กับผู้ตัดสินใจได้ทราบว่าโครงการนั้นต้องใช้ทรัพยากรไปเป็นมูลค่าเท่าใด และจะก่อให้เกิดประโยชน์ต่างๆคิดเป็นมูลค่าเท่าใด สุทธิแล้วโครงการนั้นๆจะให้ผลคุ้มกับการลงทุนหรือไม่
ความเป็นธรรมทางสุขภาพ
ประเทศไทยได้กำหนดความเป็นธรรมไว้หลายด้านในรัฐธรรมนูญ เช่น ความเท่าเทียมกันทางสิทธิมนุษยชน ความเท่าเทียมกันทางการเมือง ความเท่าเทียมกันของโอกาสในการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร และความเป็นธรรมทางสุขภาพ
การวิเคราะห์ต้นทุน-อรรถประโยชน์ (CUA-Cost-utility Analysis) เป็นการวิเคราะห์ด้วยหลักการเดียวกันกับ CBAเพียงแต่วิธีการคิดมูลค่าของผลประโยชน์แทนที่จะคิดมูลค่าในหน่วยของเงินซึ่งเป็นจุดที่หลายคนไม่ชอบใจ (โดยเฉพาะในโครงการด้านสาธารณสุขซึ่งเกี่ยวข้องกับชีวิตมนุษย์เป็นสำคัญ) ไว้ในหน่วยวัดของอรรถประโยชน์หรือความพึงพอใจ
นางสาวเครือวัลย์ ทองดี
รหัส 6101110801099