Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
สายสะดือย้อย (Prolapsed of the umbilical cord), สายสะดือย้อย, Prolapse2 -…
สายสะดือย้อย (Prolapsed of the umbilical cord)
สายสะดือย้อย(Prolapsed of the umbilical cord) คือภาวะที่สายสะดือลงมาอยู่ข้างๆหริอต่ำกว่าส่วนนำ หรือสายสะดือโผล่ออกมานอกช่องคลอด
อุบัติการณ์ พบได้ประมารร้อยละ 0.1-0.6 ในทารกส่วนนำเป็นก้น Frank breech จะพบอุัติการณ์สูงขึ้นร้อยละ 1 แบบ Complete breech พบร้อยละ 5 แบบ Footling breech ร้อยละ 15 และท่าขวางพบร้อยละ 20
ชนิดของสายสะดือ
2.สายสะดือย้อยลงมาอยู่ต่ำกว่าส่วนนำของทารก และถุงน้ำคร่ำยังไม่แตก (Forelying cord/Funic presentation /Cord presentation)
3.สายสะดือย้อยลงมาอยู่ต่ำกว่าส่วนนำของทารกในครรภ์มักอยู่ในช่องคลอด หรือนอกช่องคลอด และถุงน้ำแตกแล้ว (Overt prolapsed cord / Prolapsed of cord presentation)
1.สายสะดือย้อยลงมาต่ำกว่าปกติ หรือลงมาอยู่ข้างๆส่วนนำของทารกในครรภ์ สายสะดือส่วนนี้จะถูกกดกับช่องทางคลอดได้ เมื่อทารกเคลื่อนต่ำ หรือมดลูกหดรัดตัว ถุงน้ำคร่ำอาจจะแตกหรือไม่แตกก็ได้ (Occult prolapsed cord)
สาเหตุ
ทารกท่าผิดปกติ
ท่าก้นชนิดมีเท้ายื่นออกเป็นสวนนำ
ท่าขวาง
ภาวะที่มีการผิดสัดส่วนของส่วนนำทารกกับช่องทางคลอด
ตั้งครรภ์แฝด/ครรภ์แฝดน้ำ
ทารกไม่ครบกำหนด
ตั้งครรภ์หลัง
การเจาะถุงน้ำหรือถุงน้ำแตกก่อนที่ส่วนนำจะลงสู่ช่องเชิงกราน
สายสะดือยาวกว่าปกติ
รกเกาะต่ำ หรือสายสะดือเกาะบริเวณริมขอบรก
อาการและอาการแสดง
คลำพบสายสะดือจากการตรวจภายใน หรือจับได้ชีพจรบนสายสะดือเต้นเป็นจังหวะ
เห็นสายสะดือพ้นปากช่องคลอด
เสียงหัวใจทารกผิดปกติ
ชนิดoccult prolapsed cord ไม่โผล่ออกมา
ตรวจด้วย ultrasound จะช่วบวินิจฉัยสายสะดือย้อยชนิด Forelying cord หรือ occult prolapseก cord ได้
ผลกระทบ
มารดา
มีผลกระทบด้านจิตใจมารดาถ้าทารกเสียชีวิต
ทารก
ทารกขาดออกซิเจนเนื่องจากสายสะดือถูกส่วนนำกดทับช่องทางคลอด
การรักษา
1.การช่วยเหลือแบบฉุกเฉิน
1.1จัดท่าให้ผู้คลอด
ท่า Trendelenburg position
ท่า Elevate Sim's position
ท่า Kneechest position
ถ้าเคลื่อนย้ายผู้คลอดระยะทางไกลๆ ควรให้นอนท่า Elevate Sim's position
1.2 สอดมือเข้าในช่องคลอด แล้วดันส่วนนำไวไม่ให้ส่วนนำเคลื่อนลงมากดสายสะดือ
1.3 ให้ออกซิเจนแก่มารดา
1.4 ควรพยายามให้สายสะดืออยู่ในช่องคลอด
1.5 หากสายสะดือย้อยใช้ก๊อชชุบน้ำเกลือ NSS ปิดสายสะดือ ป้องการสายสะดือแห้ง ลดการหดเกร็งของหลอดเลือด
1.6 ทำกระเพาะปัสสาวะให้โป่งตึง เพราะจะช่วยดันมดลูกและส่วนนำของทารก
2.การช่วยเหลือการคลอด
2.1 ถ้าทารกมีชีวิต ปากมดลูกปิดหมด ศีรษะทารกลงมาต่ำ ทำคลอดด้วยคีม
2.2 ผ่าตัดทางหน้าท้องยกเว้นทารกเสียชีวิตและพิการแต่กำเนิด
2.3 ถ้าทารกเสียชีวิตให้คลอดทาางช่องคลอด ยกเว้นการผิดสัดส่วนระหว่างทารกกับช่องเชิงกราน
2.4 Breech extraction ในท่าก้น ปากมดลูกเปิดหมด ไม่มีภาวะผิดสัดส่วนของทารกกับช่องเชิงกราน
2.5ใช้เครื่องดูดในครรภ์หลัง ปากมดลูกเปิดเกือบหมด ท่าศีรษะไม่ผิดสัดส่วนกับช่องเชิงกราน
2.6 ในครรภ์หลัง ปามดลูกเปิด 7-8 ซม. ชนิด Forelying cord มีความก้าวหน้าการคลอดเร็ว ทารกไม่มีภาวะขาดออกซิเจนพยายามไม่ให้ถุงน้ำแตก เพื่อให้คลอดทางช่องคลอด
การพยาบาล
1.ประเมินสภาพมารดาและทารกในครรภืที่มีภาวะเสี่ยง
ทารกมีท่าผิดปกติ
มีน้ำเดินก่อนเจ็บครรภ์
2.ดูแลให้นอนพักบนเตียงเมื่อถุงน้ำแตก
3.ประเมิน FHS เพื่อเมินสภาพทารกในครรภ์
4.ตรวจภายในอย่างนุ่มนวล ระมัดระวังถุงน้ำแตก
5.ตรวจพบสายสือดือย้อยให้ใช้นิ้วดันส่วนนำไว้และจัดท่านอนยกก้นสูง
6.ดูแลให้มารดาได้รับออกซิเจน
7.เตรียมการคลอดฉุกเฉินหรือเตรียมผ่าตัดคลอดทางหน้าท้องและรายงานแพทย์
8.อธิบายให้มารดาเข้าใจเพื่อลดความวิตกกังวลและการให้ความร่วมมือ
9.ประเมินสภาพจิตใจมารดากรณีสูญเสียบุตร เพื่อให้การดูแลด้านจิตใจ
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
เสี่ยงต่อการเกิดสายดือย้อย เนื่องจากมีน้ าเดินก่อนการเจ็บครรภ์
วัตถุประสงค์การพยาบาล: ไม่เกิดภาวะสายสะดือย้อย
เกณฑ์การประเมินผล
1.ตรวจภายในไม่พบสายสะดือ
2.เสียงการเต้นของหัวใจทารกในครรภ์เป็นปกติอยู่ในช่วง110-160 ครั้ง/นาที
3.ทารกในครรภ์ดิ้นดี
กิจกรรมการพยาบาล
1.อธิบายให้มารดาเข้าใจ เพื่อให้ความร่วมมือและคลายความวิตกกังวล
2.ดูแลให้นอนพักบนเตียงเพื่อป้องกันสายสะดือย้อย
3.ฟังและบันทึก FHS อย่างสม่ำเสมอทุก 30นาที เพื่อประเมินภาวะสายสะดือย้อย
4.สังเกตลักษณะน้ำคร่ำ หากมี thin หรือ thick meconium stained จัดท่าให้นอนตะแคงซ้ายให้ออกซิเจน ตรวจภายใน
ทารกในครรภ์ขาดออกซิเจน เนื่องจากเกิดภาวะสายสะดือย้อย
วัตถุประสงค์การพยาบาล: ทารกในครรภ์ไม่ขาดออกซิเจน
เกณฑ์การประเมินผล
1.เสียงการเต้นของหัวใจทารกในครรภ์เป็นปกติอยู่ในช่วง 110-160 ครั้ง/นาที
2.ทารกแรกคลอดปลอดภัย APGAR score ไม่น้อยกว่า 8 คะแนน
กิจกรรมการพยาบาล
1.อธิบายให้มารดาเข้าใจเกี่ยวกับการช่วยเหลือ เพื่อให้มารดาให้ความร่วมมือและคลายกังวล
2.หากตรวจพบสายสะดือย้อย ใช้นิ้วมือดันส่วนนำไว้ไม่ให้เคลื่อนต่ำลงมา
3.จัดทานอนยกก้นสูง เพื่อลดการกดทับส่วนนำกับช่องคลอด
4.ดูแลให้มารดาได้รับออกซิเจน
Monitor EFM และบันทึกFHS
6.รายงานแพทย์และเตรียมมารดาเพื่อการคลอดฉุกเฉิน หรือเตรียมผ่าตัดท้องทำคลอด
มารดาและครอบครัวมีความเศร้าโศก เนื่องจากการสูญเสียทารก
เกณฑ์การประเมินผล
1.สีหน้าและแววตาคลายความโศกเศร้า
2.ทำใจยอมรับการสูญเสียทารกได้
กิจกรรมการพยาบาล
1.ประเมินภาวะจิตใจของมารดาและครอบครัวต่อการสูญเสียทารกเพื่อวางแผนให้การพยาบาล
2.รับฟังอย่างตั้งใจ นั่งเป็นเพื่อน หรือช่วยเหลือในการทำกิจวัตรประจำวัน
3.ส่งเสริมการปรับตัวต่อความเครียด
การใช้เทคนิคการผ่อนคลาย การหายใจ
การบริหารร่างกาย
การพูดคุย
4.ส่งเสริมให้สมาชิกของครอบครัวมีส่วนร่วมในการดูแลสมาชิก
วัตถุประสงค์การพยาบาล: ลดความเศร้าโศกจากการสูญเสียทารก