Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ทฤษฎีพื้นฐานทางการพยาบาลจิตเวช, นางสาววราภรณ์ แพศักดิ์ เลขที่ 34 ห้อง 34/2…
ทฤษฎีพื้นฐานทางการพยาบาลจิตเวช
ทฤษฎีมนุษยนิยม
หลักการสำคัญของทฤษฎีเชื่อว่ามนุษย์ทุกคนมีความสามารถและมีศักยภาพในการพัฒนาตนเองไปให้ถึงจุดมุ่งหมายในการดำเนินชีวิต
กลุ่มปรัชญาอัตถิภาวะนิยมหรืออัตนิยม (Existentialism)
เนื้อหาของทฤษฏีสอนให้มนุษย์ทุกคนมีความเป็นตัวของตัวเอง
มีเสรีภาพในการเลือกและตัดสินใจได้ด้วยตนเอง
กลุ่มปรัชญา (Humanistic)
ทฤษฎีเกี่ยวกับตนของคาร์ล โรเจอร์เชื่อว่า บุคคลทุกคนมีศักยภาพในตนเองและเป็นสิ่งที่สำคัญมาก
ตนที่ตนมองเห็น ( self concept) คือ ภาพที่ตน มองเห็นตนเองว่าเป็นอย่างไร
ตนตามที่เป็นจริง (Real self) คือ ตัวตนตามข้อเท็จจริง แต่บุคคลอาจจะมองไม่เห็นข้อเท็จจริงเพราะไม่รู้ตัวเอง
ตนตามอุดมคติ(Ideal self) คือ ตัวตนที่อยากมีอยากเป็น แต่ยังไม่มีไม่เป็นในปัจจุบัน
ทฤษฎีลำดับขั้นความต้องการของมาสโลว์เชื่อว่า ธรรมชาติของมนุษย์เกิดมาดีและพร้อมที่จะทำสิ่งที่ดี ถ้าได้รับการตอบสนองความต้องการพื้นฐานเพียงพอ
Physical ความต้องการด้านร่างกาย (อาหาร น้ำ อากาศ หลับนอน การขับถ่าย)
Safety ความต้องการความปลอดภัย
Love & Belonging ความต้องการความรักและการเป็นเจ้าของ
Acceptation & Recognition ความต้องการการยอมรับยกย่องจากคนอื่น
Self-actualization ความต้องการตระหนักรู้ในตนเอง
สาเหตุ/ปัจจัยที่อธิบายการเกิดโรคตามทฤษฎี
ผู้ป่วยคิดว่าตนเองเป็นภาระของผู้อื่น
ผู้ป่วยคิดว่าตนเองเป็นคนไม่ดี
ผู้ป่วยคิดว่าตนเองด้อยกว่าผู้อื่น
ผู้ป่วยไม่ได้เรียนหนังสือ และไม่ได้รับการพัฒนาตามศักยภาพ
รูปแบบการรักษา/กิจกรรมการพยาบาล
ที่แสดงถึงการนำทฤษฎีที่ศึกษามาประยุกต์ใช้
สอบถามความต้องการพื้นฐานของผู้ป่วย
หาข้อดีและศักยภาพของผู้ป่วย พร้อมทั้งสนับสนุนให้ผู้ป่วยทำในสิ่งที่ตนมีศักยภาพ
ให้ข้อมูลต่างๆแก่ผู้ป่วย ทั้งข้อดี และข้อเสีย โดยไม่กระทบต่อการรักษาของแพทย์
ส่งเสริมให้ผู้ป่วยมีเป้าหมาย ความหวัง ในชีวิต และให้กำลังใจผู้ป่วย
ให้ผู้ป่วยได้แสดงความคิดเห็นและเลือกปฏิบัติในสิ่งที่ตนเองเลือกโดยไม่กระทบต่อการรักษาของแพทย์
ทฤษฎีทางชีวภาพทางการแพทย์ (Biomedical Theory)
หลักการสำคัญของทฤษฎี
เชื่อว่าความเจ็บป่วยทางจิตมีสาเหตุมาจากพยาธิสภาพของสมองโดยความผิดปกติดังกล่าวจะปรากฏออกมาเป็นความผิดปกติของความคิด อารมณ์และพฤติกรรม
อุบัติเหตุที่ทำให้สมองได้รับความกระทบกระเทือน
การขาดออกซิเจนขณะตั้งครรภ์หรือขณะคลอด
การชัก (การชักจะทำให้มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของสารเคมีในสมองความผิดปกติของระบบโครงสร้างของสมอง
การรักษาด้วยไฟฟ้า
จากสารพิษ (สุรา สารเสพติดต่างๆ)
พันธุกรรม
กายวิภาคของสมองผิดปกติ
พยาธิสภาพของโรคในระบบอื่นๆที่ส่งผลต่อสมอง เช่น โรคตับ โรคไต โรคไทรอยด์ เป็นต้น
สาเหตุ/ปัจจัยที่อธิบายการเกิดโรคตามทฤษฎี
ผู้ป่วยมีประวัติไข้สูงและชักเมื่ออายุ 5 ปี
ผู้ป่วยมีประวัติสารเสพติด คือ ดมกาวตั้งแต่อายุ 14 ปี
ผู้ป่วยมีปัญหาทางด้านสารสื่อประสาท
Dopamine
ผู้ป่วยมักคิดว่าพ่อไม่รักตน คิดว่าตนเองเป็นคนไม่ดี และคิดว่าตนเป็นภาระแก่ครอบครัว
Norepinephrine
เมื่อมีเรื่องไม่สบายใจหรือเครียดผู้ป่วยมักเก็บไว้คนเดียว ไม่พูดคุยกับใคร เพราะคิดว่าพูดไปก็ไม่มีใครเข้าใจตนเอง
Serotonin
ผู้ป่วยมีอาการก้าวร้าว ทำลายข้าวของและทำร้ายเพื่อนบ้าน
รูปแบบการรักษา/กิจกรรมการพยาบาลที่แสดงถึงการนำทฤษฎีมาประยุกต์ใช้
รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับปัจจัยทางชีวภาพ
ที่ก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพจิต และความเจ็บป่วยทางจิต
กำหนดปัญหาและความต้องการของผู้ป่วย
ที่มาจากการเปลี่ยนแปลงทางชีวภาพ
วางแผนการพยาบาลที่
ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงระบบทางชีวภาพของผู้ป่วย โดยการดูแลให้ผู้ป่วยได้รับยาตามแพทย์สั่งและการรักษาที่วางไว้
ปฏิบัติการพยาบาลเพื่อการส่งเสริมสุขภาพจิต การให้ผู้ป่วยรับประทานยาตามแพทย์สั่งอยากเคร่งครัดและไม่หยุดยาเองและการป้องกันการเจ็บป่วยทางจิต โดยการแนะนำให้บิดาของผู้ป่วยพูดคุยกับผู้ป่วยดีๆ และให้ครอบครัวช่วยในการดูแลผู้ป่วยโดยการเห็นคุณค่าของผู้ป่วยและเปิดโอกาสให้ผู้ป่วยได้แสดงความคิดเห็นในเรื่องต่างๆ รวมทั้งบรรเทาผลกระทบที่มาจากการเจ็บป่วยทางจิต
ประเมินผลลัพธ์ของการปฏิบัติการพยาบาล จากการเปลี่ยนแปลงทางชีวภาพที่เป็นผลมาจากการปฏิบัติการพยาบาล
ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ (Psychoanalytical Theory)
หลักการสำคัญของทฤษฎี
เชื่อว่าพฤติกรรมมนุษย์ทุกพฤติกรรมมีความหมาย และไม่ได้เกิดขึ้นโดยบังเอิญ การกระทำของมนุษย์มีพลังจิตส่วนหนึ่งผลักดันให้กระทำ ประสบการณ์ในวัยต้นของชีวิตเป็นสิ่งที่ฝังในจิตใจของบุคคลให้แสดงพฤติกรรมต่างๆ ออกมา
จิตใต้สำนึก ( Unconscious Mind )
จิตกึ่งสำนึก ( Preconscious Mind )
จิตสำนึก ( Conscious Mind )
สาเหตุ/ปัจจัยที่อธิบายการเกิดโรคตามทฤษฎี
ผู้ป่วยรู้สึกเก็บกดและคิดมากหลังจากย่าผู้ที่เลี้ยงดูตั้งแต่เด็กเสียชีวิต
ผู้ป่วยเก็บกดและคิดมากว่าตนเองไม่ใช่ลูกของบิดา มารดา
ผู้ป่วยมีความน้อยใจคิดว่าตนเองด้อยกว่าพี่น้อง
ผู้ป่วยคิดว่าตนเองเป็นคนไม่ดีและเป็นภาระของผู้อื่น
ความน้อยใจคิดว่าบิดาไม่รักตนเอง
รูปแบบการรักษา/กิจกรรมการพยาบาลที่แสดงถึงการนำทฤษฎีมาประยุกต์ใช้
ให้ผู้ป่วยได้ระบายอารมณ์และความในใจ
ให้แก่บุคคลในครอบครัวรับรู้รวมถึงบิดา
จัดกิจกรรมให้ผู้ป่วยได้ทำร่วมกับครอบครัวเพื่อสร้างสัมพันธภาพที่ดีต่อกันเพื่อเพิ่มความไว้วางใจของผู้ป่วยที่มีต่อบิดามารดาและคนในครอบครัว
เปิดโอกาสให้ผู้ป่วยได้แสดงความคิดเห็นในการ
ดำเนินชีวิต
นางสาววราภรณ์ แพศักดิ์ เลขที่ 34 ห้อง 34/2