Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
โครงสร้างและหน้าที่ของพืชดอก - Coggle Diagram
โครงสร้างและหน้าที่ของพืชดอก
เนื้อเยื่อพืช
เนื้อเยื่อเจริญ ( meristematic tissue)
เนื้อเยื่อเจริญส่วนปลาย(apical meristem)
เนื้อเยื่อเจริญที่อยู่บริเวณปลายยอดหรือปลายราก รวมทั้งที่ตา
เมื่อแบ่งเซลล์ยืดยาวออกไปแนวดิ่งได้
มีการแบ่งตัวแบบ mitosis อยู่ตลอดเวลา
เซลล์มีลักษณะผนังบาง ขนาดเล็ก ภายในเซลล์มี cytoplasm และมีนิวเคลียสขนาดใหญ่อยู่กลางเซลล์ มี vacuole ขนาดเล็กหรือไม่มีเลย ไม่มี intercellular space
เนื้อเยื่อเจริญด้านข้าง(lateral meristem)
เพิ่มขนาดของรากหรือลำต้น พบในพืชใบเลี้ยงและพืชใบเลี้ยงเดี่ยวบางชนิด เจริญที่อยู่ท่อลำเลียง เรียกว่า vascular cambium อยู่ถัดจากเนื้อเยื่อชั้นนอกของรากหรือลำต้นเข้าไปข้างในเรียกว่า cork cambium
เนื้อเยื่อเจริญที่ข้อ (intercalary meristem)
เนื้อเยื่อเจริญเหนือข้อ เป็นเนื้อเยื่อเจริญที่อยู่เหนือโคนปล้องหรือเหนือข้อ ทำให้ปล้องยืดยาวขึ้น
พบได้ในพืชใบเลี้ยงเดี่ยวบางชนิด เช่น หญ้า ข้าว ข้าวโพด ไผ่ อ้อย
เนื้อเยื่อถาวร (permanent tissue)
เนื้อเยื่อถาวรเชิงเดี่ยว (Simple permanent tissue)
เป็นกลุ่มเซลล์ที่ประกอบด้วยเซลล์ชนิดเดียวกัน ทำหน้าที่ อย่างเดียวกัน แบ่งออกเป็นชนิดต่างๆ ตามหน้าที่และส่วนประกอบที่อยู่ภายในเซลล์
เอพิเดอร์มิส(epidermis)
ส่วนใหญ่เป็นเซลลืชั้นเดียวเรียงตามยาว ไม่มีคลอโรพลาสต์ (ยกเว้นเซลล์คุม) central vscuole ขนาดใหญ่ดัน cytoplasm ไปริมเซลล์ ทำหน้าที่ปกคลุมและป้องกันอันตรายให้แก่พืช
พาเรงคิมา (parenchyma)
เซลล์มีรูปร่างหลายแบบ มี Intercellular space เยอะ central vscuole ขนาดใหญ่ดัน cytoplasm ไปริมเซลล์ เนื้อเยื่อพาเรงคิมามีหน้าที่เก็บสะสมเม็ดแป้ง หยดน้ำมัน น้ำ เกลือแร่ และหลั่งสารพวกแทนนิน ฮอร์โมนเอนไซม์ และน้ำหวานของดอกไม้
คอลเลงคิมา (Collenchyma) เป็นเนื้อเยื่อที่มีเซลล์คอลเลงคิมา รูปร่างคล้ายคลึงกับ พาเรงคิมา ผนังเซลล์ประกอบด้วยเซลลูโลส แต่ผนังเซลล์จะมีความหนาไม่เท่ากัน โดยส่วนที่หนามักจะอยู่ตามมุม เซลล์ ซึ่งมีเพกตินมากนอกเหนือไปจากเซลลูโลสและเฮมิเซลลูโลส พบเนื้อเยื่อชนิดนี้อยู่ตามก้านใบ เส้นกลางใบ และในส่วนคอร์เทกซ์ (cortex) (คอร์เทกซ์เป็นชั้นของเนื้อเยื่อที่อยู่ถัดจากชั้นเอพิเดอร์มิสเข้าไป ทั้งในล าต้น และ รากซึ่งจะกล่าวถึงต่อไปในเรื่องของรากและล าต้น) ของพืชล้มลุก มีหน้าที่เสริมสร้างความแข็งแรงให้กับพืช
สเกลอเรงคิมา (Sclerenchyma) เนื้อเยื่อชนิดนี้ประกอบด้วยเซลล์ที่มีผนังหนามาก มีผนัง เซลล์ทั้งปฐมภูมิ (Primary cell wall) และผนังเซลล์ทุติยภูมิ(Secondary cell wall) เพราะมีสารลิกนิน (lignin) เคลือบผนังเซลล์ทุติยภูมิจึงเป็นส่วนที่ท าให้พืชมีความแข็งแรง สเกลอเรงคิมา ประกอบด้วยเซลล์ 2 ชนิด คือ ไฟเบอร์ (Fiber) และสเกลอรีด (Sclereid) ซึ่งแตกต่างกันที่รูปร่างของเซลล์ ไฟเบอร์ เป็นเซลล์เรียวและยาว ส่วนสเกลอรีดเซลล์มีลักษณะสั้นกว่าและมีรูปร่างแตกต่างกัน พบได้ตามส่วนที่แข็งแรงของเปลือกต้นไม้และเปลือกหุ้มเมล็ดหรือเนื้อผลไม้ที่สากๆ
เอนโดเดอร์มิส (Endodermis) เป็นเนื้อเยื่อที่อยู่ด้านนอกของเนื้อเยื่อล าเลียงของราก เป็น เนื้อเยื่อที่มีเซลล์คล้ายพาเรงคิมาแต่ที่ผนังเซลล์มีสารลิกนินและซูเบอริน (Suberin) (ซึ่งเป็นสารพวกขี้ผึ้ง) มาพอก หนา เซลล์เรียงตัวกันแน่นจนไม่มีช่องว่างระหว่างเซลล์
คอร์ก (cork หรือ phellem) เป็นเซลล์ที่พบด้านนอกสุดของล าต้น กิ่ง หรือรากที่มีอายุมาก จากการเจริญเติบโตขั้นที่สอง (Secondary growth) มีสีน้ าตาล เป็นเซลล์ที่ซ้อนกันอยู่หลายชั้น เป็นเซลล์ที่ตาย แล้วเนื่องจากมีสารพวกลินิก และซูเบอริน ซึ่งเป็นขี้ผึ้งสีน้ าตาลมาเคลือบทับผนังเซลล์เพื่อป้องกันการระเหยของ น้ าภายในเซลล์ เรียกเนื้อเยื่อคอร์ก, คอร์แคมเบียม และเฟลโลเดิร์มว่า เพอริเดร์ม (periderm) เป็นเนื้อเยื่อที่เกิด แทนที่เอพิเดอร์มิสในพืชที่มีการเจริญเต็มที่แล้ว บางชนิดอยู่ชั้นนอกสุดของส่วนของพืชที่มีอายุมาก ได้แก่ ราก ล าต้น
เนื้อเยื่อถาวรเชิงซ้อน (Complex permanent tissue)
เนื้อเยื่อถาวรเชิงซ้อนเป็นกลุ่มเซลล์ที่ประกอบด้วยเซลล์หลายชนิดอยู่ร่วมกัน และท างาน
ร่วมกันเป็นเนื้อเยื่อล าเลียง (vascular tissue) ซึ่งแบ่งเป็นไซเลมและโฟลเอ็ม
ไซเลม (Xylem)
เซลล์พาเรงคิมา (Parenchyma) เป็นเซลล์ชนิดเดียวกับที่อยู่ในชั้นคอร์เทกซ์ และพิธ (Pith คือชั้นที่อยู่ใจกลางของรากพืชใบเลี้ยงเดี่ยว) คือ เป็นเซลล์ที่อ่อนนุ่ม ผนังบาง อมน้ าได้ดี ท าหน้าที่สะสม อาหารพวกแป้ง เซลล์พาเรงคิมานี้เรียกว่า ไซเลมพาเรงคิมา (Xylem parenchyma)
ไฟเบอร์ (fiber) เซลล์รูปร่างยาวปลายเรียว มีผนังเซลล์หนามีความเหนียวและแข็งแรง
แทรกอยู่ในไซเลม เรียกว่า Xylem fiber
เทรคีด (Tracheid) เป็นเซลล์ยาว ผนังหนามีลิกนินสะสมอยู่มากที่ผนังเซลล์ ส่วนใหญ่ที่ ผนังมักมีส่วนบางๆ เป็นระยะๆ เรียกว่า พิต (pit) ซึ่งไม่มีลิกนินสะสม พิตเป็นบริเวณที่น้ าผ่านจากเทรคีดของ เซลล์หนึ่งไปอีกเซลล์หนึ่ง ปลายสุดของเซลล์มักแหลม เซลล์เมื่อโตเต็มที่แล้วมักจะตาย โพรโทพลาซึมสลายไปท า ให้เกิดเป็นช่อง (lumen) ตรงกลางเซลล์รูปร่างทรงกระบอกหรือเป็นเหลี่ยม พบมากในพวกเฟิร์นและ จิมโนสเปริ์ม ในพืชดอกมีจ านวนน้อยกว่ามาก และไม่พบในพวกมอส มีหน้าที่ล าเลียงน้ าและแร่ธาตุ และยังสามารถส่งออกไป ทางด้านข้างโดยผ่านพิต การล าเลียงจะเกิดได้ดีต่อเมื่อเซลล์ตายแล้ว เนื่องจากเทรคีดมีความแข็งแรงจึงช่วยเพิ่ม ความแข็งแรงให้กับส่วนของพืชที่มีเซลล์ชนิดนี้อยู่
เวสเซลอีลีเมนต์ (vessel element) เป็นเซลล์ที่มีลักษณะคล้ายเทรคีด คือ เมื่อเซลล์โต เต็มที่แล้วจะตายไป โพรโทพลาซึมตรงกลางจะสลายไปกลายเป็นช่อง (lumen) ใหญ่ เซลล์มีผนังหนา เพราะมี ลิกนินสะสมเช่นเดียวกับเทรคีดและมีพิตเช่นเดียวกับเทรคีด เซลล์มีขนาดใหญ่แต่สั้นกว่าเทรคีด ปลายทั้งสองของ เซลล์ตัดเฉียงและมีรูพรุน (Perforation) เวสเซลอีลีเมนต์จะมาเรียงซ้อนกันโดยต่อกันเป็นท่อ เรียกว่า เวสเซล (Vessel) ที่มีผนังด้านข้างหนาและแข็งแรงมาก เพื่อท าหน้าที่ล าเลียงน้ าและแร่ธาตุเช่นเดียวกับเทรคีด
โฟลเอ็ม (Phloem)
เซลล์พาเรงคิมา (Phloem parenchyma) มีอยู่ในกลุ่มของโฟลเอ็ม เช่น เดียวกับไซเลม
บางกลุ่มท าหน้าที่ล าเลียงอาหารของทางด้านข้าง เรียก phloem ray
ไฟเบอร์(Phloem fiber) เป็นเส้นใยช่วยท าให้โฟลเอ็มแข็งแรงเมื่อโตเต็มที่แล้วเซลล์จะตาย
ซีฟทิวป์เมมเบอร์ (Sieve tube member) เป็นเซลล์ที่ยังมีชีวิตอยู่ รูปร่างทรงกระบอก ด้านสุดปลายทั้งสองของเซลล์มีลักษณะเสี้ยม บริเวณนี้มีแผ่นที่มีรูพรุนอยู่ด้วย เรียกว่า ซีฟเพลต (sieve plate) ในตอนที่เกิดใหม่ซีฟทิวป์มีนิวเคลียส แต่เมื่อเจริญเติบโตเต็มที่แล้วนิวเคลียสและออร์แกเนลล์อื่นๆ จะสลายไป แต่ เซลล์ยังมีชีวิตอยู่ *(ท่อของไซเลม คือ เทรคีด และเวสเซลล์ ตอนท าหน้าที่ล าเลียงเป็นเซลล์ที่ตายแล้ว แต่ท่อของ โฟลเอ็มคือ ซีฟทิวป์เป็นเซลล์ที่ยังมีชีวิตอยู่ถึงแม้ว่าจะไม่มีนิวเคลียสแล้วก็ตาม) ซีฟทิวป์เมมเบอร์แต่ละเซลล์จะมาเรียงต่อกันเป็นท่อยาว เรียกว่า ซีฟทิวป์ (sieve tube) ซึ่งท า หน้าที่เป็นท่อล าเลียงอาหาร
เซลล์คอมพาเนียน (Companion cell) เป็นเซลล์ขนาดเล็กอยู่ติดกับซีฟทิวป์เมมเบอร์ ความจริงทั้งซีฟทิวป์เมมเบอร์และเซลล์คอมพาเนียนนั้น เกิดมาจากเซลล์ๆ เดียวกัน เมื่อแบ่งเซลล์ได้เซลล์ใหม่ 2 เซลล์ เซลล์หนึ่งจะเปลี่ยนเป็นซีฟทิวป์เมมเบอร์ อีกเซลล์เป็นเซลล์คอมพาเนียน ซีฟทิวป์เมมเบอร์อาจมีเซลล์คอม พาเนียนเพียง 1 หรือมากกว่า 1 ก็ได้อยู่ข้างๆ ท าหน้าที่ช่วยเหลือซีฟทิวป์เมมเบอร์ ซึ่งไม่มีนิวเคลียสแล้ว เช่น ช่วยขนส่งน้ าตาลเข้ามาในซีฟทิวป์เมมเบอร์เพื่อส่งไปยังส่วนต่างๆ ของพืช และช่วยสร้างเอนไซม์ หรือสารอื่นให้กับ ซีฟทิวป์เมมเบอร์