Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
มดลูกแตก (Uterine rupture) - Coggle Diagram
มดลูกแตก (Uterine rupture)
อาการและอาการแสดง
อาการและอาการแสดงเตือนว่ามดลูกจะแตก (threatened uterine rupture)
กระสับกระส่าย ชีพจรเบาเร็ว หายใจไม่สม่ำเสมอ
กดเจ็บบริเวณเหนือหัวเหน่า
ปวดท้องน้อยบริเวณเหนือหัวเหน่าอย่างรุนแรง
พบ Bandl’s ring หรือ pathological retraction ring
มดลูกหดรัดตัวตลอดเวลา (tetanic uterine contraction) ไม่สัมพันธ์กับความก้าวหน้าของการคลอด
ตรวจภายในพบปากมดลูกลอยสูงขึ้น
อาจมีเลือดออกทางช่องคลอด
อัตราการเต้นของหัวใจทารกในครรภ์ไม่สม่ำเสมอ
อาการและอาการแสดงของมดลูกแตก (uterine rupture)
เลือดออกทางช่องคลอดมากผิดปกติ
hypovolemic shock ขึ้นอยู่กับพยาธิสภาพของมดลูกแตก
อาการปวดท้องน้อยจะทุเลาลง ภายหลังจากที่มารดาบางรายบอกว่ารู้สึกเหมือนกับมี การแยกออกของอวัยวะในช่องท้อง
คลำส่วนของทารกได้ชัดเจนมากขึ้น
เสียงหัวใจทารกจะเปลี่ยนแปลง
การตรวจภายในพบว่าส่วนนำถอยกลับ
อาจคลำได้ก้อนหยุ่น ๆ ข้างมดลูก
สวนปัสสาวะอาจได้เลือดปนในปัสสาวะ
ปวดท้องอย่างรุนแรง รู้สึกอึดอัด
ลักษณะ
มดลูกแตกไม่สมบูรณ์ (Incomplete rupture)
รอยแตกไม่ทะลุชั้น peritoneum
มดลูกปริ (Dehiscence)
อาจไม่พบอาการอะไรเลย ในรายที่เคยผ่าตัดมดลูก แผลเก่าอาจปริแยก จากกันโดยเยื่อหุ้มรกยังไม่แตก
มดลูกแตกสมบูรณ์ (Complete rupture)
รอยแตกทะลุชั้นเยื่อบุช่องท้อง
สาเหตุ
รอยแผลผ่าตัดเดิม
การทำสูติศาสตร์หัตถการอย่างยาก
การทำคลอดท่าก้น
สูติศาสตร์หัตถการทำลายเด็ก
การทำคลอดด้วยคีม
severe abdominal trauma
grand multiparty
เคยผ่านการตั้งครรภ์ และการคลอดบุตรจำนวนมาก
การใช้ยากระตุ้นการหดรัดตัวของมดลูก
รกฝังตัวลึกชนิด placenta percreta หรอื placenta increta
การคลอดติดขัด (obstructed labor)
การรักษา
แก้ไขภาวะช็อค
การผ่าตัดเปิดช่องท้อง (exploratory laparotomy)
รายงานกุมารแพทย์ เพื่อช่วยฟื้นคืนชีพทารก
การเย็บซ่อมแซมหรือตัดมดลูก
ถ้าเลือดออกอีกอาจต้องทำผ่าตัด เพื่อผูก hypogastric arteries ทั้งสองข้าง
ให้เลือดทดแทน และให้ยาปฎิชีวนะอย่างเต็มที่
ความหมาย
ภาวะที่มีการฉีกขาดของผนังมดลูก ในขณะตั้งครรภ์หลังจากทารกโตพอที่จะมีชีวิตอยู่ได้ หรือหลังอายุครรภ์ 28 สัปดาห์ และเกิดการฉีกขาดระหว่างตั้งครรภ์ ระหว่างเจ็บครรภ์ หรือระหว่างการคลอดโดยไม่รวมการแตกหรือฉีกขาดในการตั้งครรภ์นอกมดลูก
ชนิด
การแตกของมดลูกที่เป็นปกติ เนื่องจากได้รับการกระทบกระเทือน (Traumatic rupture of the intact uterus)
เกิดจากอุบัติเหตุและมีการบาดเจ็บที่บริเวณช่องท้อง
การแตกเองของมดลูก (Spontaneous rupture of the intact uterus)
การแตกของแผลเป็นที่ตัวมดลูก (Rupture previous uterine scar)
มดลูกแตกจากแผลผ่าตัด
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
ทารกมีโอกาสเกิดภาวะขาดออกซิเจน เนื่องจากมดลูกหดรัดตัวถี่และรุนแรง
เสี่ยงต่อการเกิดภาวะช็อค เนื่องจากเสียเลือดมากจากภาวะมดลูกแตก
เสี่ยงต่อการเกิดภาวะมดลูกแตก เนื่องจากเคยผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง
มีโอกาสเกิดการติดเชื้อ เนื่องจากมดลูกปริหรือแตก
มารดาและครอบครัวมีความวิตกกังวลหรือกลัว เนื่องจากมีภาวะมดลูกปริหรือแตก
ผลกระทบ
ต่อมารดา
อัตราตายของมารดาจากมดลูกแตกเพิ่มขึ้น
ต่อทารก
ทารกขาดออกซิเจน
อัตราการตายปริกำเนิด
การพยาบาล
เพื่อการป้องกันภาวะมดลูกแตก
มารดาที่เคยผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง ควรแนะนำให้คุมกำเนิด
ในระยะคลอดต้องเฝ้าดูแลมารดาอย่างใกล้ชิด
ตรวจการหดรัดตัวของมดลูก
สังเกตลักษณะมดลูก
แนะนำให้ฝากครรภ์อย่างสม่ำเสมอในระยะตั้งครรภ์ และแนะนำให้มาคลอดที่โรงพยาบาล
เมื่อมีภาวะมดลูกแตกแล้ว
เตรียมมารดาเพื่อทำผ่าตัด
เตรียมอุปกรณ์ช่วยฟื้นคืนชีพ
ให้การดูแลจิตใจมารดาและครอบครัว ในกรณีที่สูญเสียบุตร